φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



ปาหลี่เฉียว สะพานโบราณข้ามคลองใหญ่
เขียนเมื่อ 2015/05/05 01:39
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
#อังคาร 21 เม.ย. 2015

ต่อจากตอนที่แล้วที่ไปชมหอคอยหรานเติง (燃灯塔) https://phyblas.hinaboshi.com/20150503

เรานั่งรถเมล์สาย 666 มาเพื่อไปเที่ยวยังสถานที่ต่อไปซึ่งอยู่ใกล้กันและมีความเกี่ยวข้องกันนั่นคือสะพานปาหลี่ (八里桥, ปาหลี่เฉียว)

สะพานปาหลี่เป็นสะพานเก่าแก่โบราณถูกสร้างตั้งแต่ปี 1446 สมัยจักรพรรดิเจิ้งถ่ง (正统, ปี 1436 - 1449) แห่งราชวงศ์หมิง มีชื่อเดิมว่าสะพานหย่งทง (永通桥) แต่เนื่องจากตั้งอยู่ไกลจากเขตเมืองเก่าทงโจวไป ๘ ลี้ ก็เลยถูกเรียกว่าสะพานปาหลี่ ซึ่งปาหลี่แปลว่า ๘ ลี้ ที่นี่ตั้งอยู่ตรงรอยต่อระหว่างเขตเฉาหยาง (朝阳区) กับเขตทงโจว (通州区) ของปักกิ่ง

สะพานนี้เป็นสะพานที่ใช้ข้ามคลองทงฮุ่ยเหอ (通惠河) ซึ่งเป็นส่วนปลายสุดของคลองใหญ่ต้ายวิ่นเหอ (大运河) ซึ่งขุดลากยาวจากปักกิ่งไปถึงหางโจว

ในปี 1860 ช่วงสงครามฝิ่นครั้งที่สอง (第二次鸦片战争, ปี 1856 - 1860) ที่นี่ถูกใช้เป็นสมรภูมิรบในช่วงท้ายสุด เรียกว่าการต่อสู้ที่สะพานปาหลี่ (八里桥之战) โดยกองทัพอังกฤษและฝรั่งเศสได้ยึดเขตทงโจวทางตะวันออกไปเรียบร้อยแล้วและกำลังจะบุกเข้าเมืองปักกิ่ง โดยสะพานนี้เป็นเส้นทางที่จำเป็นต้องผ่าน ทัพจึนจึงพยายามทำการตั้งรับที่นี่อย่างเต็มที่ เกิดการปะทะกันอย่างหนัก

ผลคือทัพจีนแพ้ย่อยยับ วันต่อมาจักรพรรดิเสียนเฟิงก็ต้องหลบหนีลี้ภัยไปยังพระราชวังพักร้อนที่เฉิงเต๋อ และต่อมาทัพอังกฤษและฝรั่งเศสก็บุกเข้าถึงตัวเมืองปักกิ่งและเผาทำลายหยวนหมิงหยวน สงครามจบลงโดยที่จีนต้องยอมทำสนธิสัญญาที่เสียเปรียบกับอังกฤษและฝรั่งเศส เช่นเปิดให้เทียนจินเป็นท่าเรือเพื่อทำการค้า มอบแผ่นดินเกาลูนให้กับอังกฤษ และชดใช้ค่าเสียหายของสงครามเป็นจำนวนเงินมหาศาล

ปัจจุบันบริเวณนี้เป็นที่ตั้งของรถไฟฟ้าสถานีปาหลี่เฉียว (八里桥站) โดยสถานีนี้อยู่ในสายปาทง (八通线) ซึ่งเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสาย 1 โดยลากจากสถานีซื่อฮุ่ย (四惠站) ออกไปไกลทางตะวันออกเชื่อมถึงเขตทงโจว

สะพานปาหลี่เป็นหนึ่งในสะพานโบราณโบราณที่มีชื่อของปักกิ่ง อีก ๒ แห่งคือสะพานเฉาจง (朝宗桥) ซึ่งตั้งอยู่ในเขตชางผิง (昌平区) และสะพานหลูโกว (卢沟桥) ซึ่งตั้งอยู่ในเขตเฟิงไถ (丰台区)

สะพานหลูโกว หรือที่คนนิยมเรียกว่าสะพานมาร์โคโปโลนั้น ดูจะมีชื่อเสียงที่สุดและเป็นสถานที่เที่ยวสำคัญแห่งหนึ่งของปักกิ่งที่คนรู้จักมากเพราะมีประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องมากมาย เราเคยไปเที่ยวที่นั่นมาแล้ว แต่ยังไม่ได้เล่าถึง ไว้จะหาโอกาสเล่าในภายหลัง

เทียบกันแล้วสะพานปาหลี่นี้ดูจะไม่ได้มีความสำคัญเท่า ไม่ได้ใหญ่และไม่ได้สวยเท่า ประวัติศาสตร์ก็ไม่ยาวเท่า ถึงอย่างนั้นก็ถือเป็นสะพานที่สวยงามแห่งหนึ่ง และข้อได้เปรียบของที่นี่ก็คือเดินทางมาได้สะดวกเพราะติดกับรถไฟฟ้า

อย่างไรก็ตามที่นี่ไม่ถือว่าเป็นสถานที่เที่ยวอะไรที่คนทั่วไปจะมา เพราะมาถึงก็มีแค่สะพานอันเดียว เมื่อก่อนอาจมีสิ่งก่อสร้างเก่าๆอยู่รอบๆแต่ตอนนี้ก็ไม่เหลือแล้ว ถึงอย่างนั้นเราก็อยากมาลองเดินเล่นชมสะพานสักหน่อย อย่างน้อยมันก็เป็นโบราณสถานแห่งหนึ่งที่มีความเป็นมายาวนาน

สะพานปาหลี่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นสมบัติทางวัฒนธรรมที่สำคัญของจีนโดยถือเป็นส่วนหนึ่งของต้ายวิ่นเหอ



รถเมล์มาลงที่ป้ายปาหลี่เฉียว ซึ่งยังห่างจากตัวสะพานไปอีกหน่อย ต้องเดินต่ออีกนิด



เห็นสะพานแล้ว



สามารถลงมาเดินเล่นด้านล่างริมแม่น้ำได้ มาส่องดูใต้สะพาน



มองไปตามคลองไปทางตะวันออก ซึ่งเป็นเส้นทางออกจากตัวเมืองปักกิ่งไปตามทางต้ายวิ่นเหอเรื่อยๆเพื่อไปยังหางโจว



ที่หน้าสะพานมีติดป้ายที่เป็นสัญลักษณ์ว่าได้ขึ้นทะเบียนสมบัติทางวัฒนธรรมที่สำคัญของจีน




สะพานนี้สามารถผ่านได้ทั้งรถและคนเดินถนน เราลองเดินข้ามดูสักหน่อย



ส่วนกลางของสะพานนั้นเต็มไปด้วยสิงโตแกะสลักซึ่งถูกกั้นโดยรั้วอยู่



เมื่อสังเกตดีๆแล้วสิงโตแต่ละตัวก็หน้าตาไม่เหมือนกันเลยด้วย เห็นสิงโตพวกนี้แล้วทำให้รู้สึกว่ามันก็สวยงามไม่ต่างอะไรจากสะพานหลูโกวมากนัก



ส่วนหัวสะพาน



เมื่อเดินข้ามมาแล้วก็ขอถ่ายตัวสะพานจากอีกฝั่งสักหน่อย



จากนั้นก็เดินกลับโดยเดินอีกฝั่งถนนของสะพาน



สิงโตและลำน้ำ เส้นทางตรงนี้คือทางที่จะมุ่งหน้าเข้าสู่ใจกลางเมืองปักกิ่ง




พอเดินกลับมาฝั่งเดิมก็จบแค่นี้ ไม่มีอะไรแล้ว แค่มาเดินเล่นบนสะพานจริงๆ แต่ก็คิดว่าคุ้ม ต่อจากนี้เดินไปอีกหน่อยก็จะเป็นสถานีรถไฟฟ้า



ภาพสะพานอีกรูปก่อนจาก



ทางมุดเพื่อเชื่อมไปยังสถานีรถไฟฟ้า รถไฟฟ้าสายปาทงนี้เป็นสายที่ลอยอยู่เหนือพื้นดิน ไม่ใช่มุดอยู่ใต้ดิน แต่ต้องมุดดินก่อนเพื่อจะข้ามไปยังตัวสถานีซึ่งตั้งอยู่เหนือถนน



ใกล้ๆตัวสถานีถ้ามองไปก็จะเห็นว่าที่นี่เป็นด่านเก็บเงินขึ้นทางด่วน นี่เป็นทางด่วนที่พาออกนอกเมืองปักกิ่งไปทางตะวันออก



เราไปขึ้นรถไฟฟ้าเพื่อจะไปยังที่เที่ยวแห่งต่อไป การเที่ยวตามรอยคลองใหญ่ต้ายวิ่นเหอก็จบลงแต่เพียงเท่านี้ แต่ว่ายังมีสถานที่เที่ยวโบราณสถานที่น่าสนใจแถวนี้อีกแห่งที่น่าแวะไปชม เป้าหมายต่อไปคือหอคอยสือฟางจูฝัว (十方诸佛宝塔)

ลองสำรวจเส้นทางการเดินทางไปโดยใช้แผนที่ในมือถือขณะที่อยู่ที่สถานี การจะไปนั้นจะต้องนั่งรถไฟฟ้าไปต่อรถเมล์



รอสักพักรถไฟฟ้าก็มาและเราก็ขึ้นไปเพื่อเดินทางต่อไปตามเส้นทางที่แสดงในมือถือ ติดตามอ่านต่อตอนหน้าได้ https://phyblas.hinaboshi.com/20150507




-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ประเทศจีน >> จีนแผ่นดินใหญ่ >> ปักกิ่ง
-- ประวัติศาสตร์ >> ประวัติศาสตร์จีน

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

บทความแต่ละเดือน

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2020年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

ค้นบทความเก่ากว่านั้น

ไทย

日本語

中文