φυβλαςのβλογ
phyblas的博客



เที่ยวตอนเหนือของจังหวัดฟุกุอิ เริ่มต้นจากสถานีอาวาระอนเซง
เขียนเมื่อ 2018/11/10 08:39
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
# พุธ 31 ต.ค. 2018

หลังจากที่ขึ้นรถไฟจากสถานีโคมัตสึเพื่อเดินทางมุ่งลงใต้สู่จังหวัดฟุกุอิ https://phyblas.hinaboshi.com/20181109

แผนวันนี้คือเที่ยวในจังหวัดฟุกุอิทั้งวัน แต่ว่าที่จริงจังหวัดฟุกุอินั้นกว้างใหญ่ มีสถานที่เที่ยวน่าสนใจอยู่มากมายนัก จะเที่ยวหมดต้องใช้เวลา และครั้งนี้เราได้เผื่อเวลาสำหรับเที่ยวที่นี่แค่วันเดียว จึงเลือกเที่ยวแค่ในบริเวณหนึ่ง

แผนที่แสดงการแบ่งเขตเมืองในจังหวัดฟุกุอิ



1. อาวาระ あわら市
2. ซากาอิ 坂井市
3. เอย์เฮย์จิ 永平寺町
4. คัตสึยามะ 勝山市
5. ฟุกุอิ 福井市
6. เอจิเซง (ชิ) 越前市
7. ซาบาเอะ 鯖江市
8. เอจิเซง (โจว) 越前町
9. อิเกดะ 池田町
10. โอโนะ 大野市
11. มินามิเอจิเซง 南越前町
12. ทสึรุงะ 敦賀市
13. มิฮามะ 美浜町
14. วากาสะ 若狭町
15. โอบามะ 小浜市
16. โออิ おおい町
17. ทากาฮามะ 高浜町

เมื่อก่อนตอนที่เที่ยวญี่ปุ่นครั้งแรกปี 2013 เคยเที่ยวจังหวัดฟุกุอิมาแล้วครั้งหนึ่ง ที่เมืองทสึรุงะ (敦賀市) และเมืองโอบามะ (小浜市) ซึ่งเป็นเมืองทางตอนใต้ของจังหวัด อยู่ติดกับภูมิภาคคันไซ
https://phyblas.hinaboshi.com/20130211
https://phyblas.hinaboshi.com/20130213

ส่วนเป้าหมายในการท่องเที่ยวคราวนี้คือบริเวณทางตอนเหนือสุดของจังหวัดฟุกุอิ ซึ่งติดกับจังหวัดอิชิกาวะ

ดังนั้นนี่เป็นการเที่ยวจังหวัดฟุกุอิครั้งที่ ๒ ถือเป็นจังหวัดแรกในญี่ปุ่นที่ได้มีโอกาสเที่ยวซ้ำ แม้ว่าจะเที่ยวคนละซึกของจังหวัดเลยก็ตาม

ตอนเหนือและตอนใต้ของฟุกุอินั้นเดิมถูกแบ่งแยกจากกันด้วยแนวเขาคิโนะเมะ (木ノ芽峠) ทางเหนือของแนวเขาเรียกว่าเรย์โฮกุ (嶺北) ส่วนทางใต้เรียกว่าเรย์นัง (嶺南)

เมื่อสมัยอดีตซึกเหนือและใต้ต่างก็ถูกตั้งเป็นแคว้นแยกจากกัน ทางเหนือเรียกว่าแคว้นเอจิเซง (越前国) ส่วนทางใต้เรียกว่าแคว้นวากาสะ (若狭国)

ดังนั้นหากคิดในแง่นี้แล้วการเที่ยวฟุกุอิครั้งนี้กับครั้งที่แล้วก็ไม่เหมือนกัน เพราะเป็นการเที่ยวกันคนละแคว้น



เป้าหมายคราวนี้คือเมืองอาวาระและเมืองซากาอิซึ่งเป็นสองเมืองทางเหนือสุดของจังหวัด

เมืองอาวาระ (あわら市) เป็นเมืองที่อยู่ทางเหนือสุดของจังหวัดฟุกุอิ เป็นที่ตั้งของสถานีอาวาระอนเซง (芦原温泉駅) ซึ่งเป็นสถานีศูนย์กลางที่สำคัญของจังหวัดฟุกุอิตอนเหนือ เป็นสถานีที่มีรถไฟด่วนพิเศษจอด และมีรถเมล์เชื่อมไปยังบริเวณต่างๆ ใครจะมาแถบนี้มักต้องมาลงสถานีนี้

ชื่อเมืองนี้ปกติจะถูกเขียนด้วยฮิรางานะล้วน แต่ชื่อออนเซงมักเขียนด้วยคันจิ แต่จริงๆเป็นคำคำเดียวกัน
あわら=芦原

ส่วนเมืองซากาอิ (坂井市) เป็นเมืองที่เดิมทีประกอบขึ้นมาจากเมืองเล็กหลายเมือง คือเมืองมิกุนิ (三国町) , เมืองฮารุเอะ (春江町) , เมืองซากาอิ (坂井町) และเมืองมารุโอกะ (丸岡町) ทั้งหมดนี้มารวมตัวกันในชื่อว่าเมืองซากาอิตั้งแต่ปี 2006

สถานที่ท่องเที่ยวหลักจะอยู่ในส่วนของเมืองมิกุนิและเมืองมารุโอกะ ซึ่งเป็นเป้าหมายของการเที่ยวครั้งนี้

เมืองมิกุนิเป็นที่ตั้งของแหลมโทวจิมโบว (東尋坊) คาบสมุทรอันสวยงามที่คนนิยมไปฆ่าตัวตาย แล้วก็เกาะโอชิมะ (雄島) ส่วนเมืองมารุโอกะมีปราสาทมารุโอกะ (丸岡城)  หนึ่งในสิบสองปราสาทโบราณที่ยังคงเหลือหอหลักดั้งเดิม

เส้นทางเที่ยวของเมืองนี้มักใช้รถเมล์เป็นหลัก โดยมีจุดเริ่มต้นอยู่ที่สถานีอาวาระอนเซง โดยรถเมล์จะวิ่งผ่านสถานที่เที่ยวต่างๆ

ที่สถานีอาวาระอนเซงจะมีขายตั๋วฟรีพาสซึ่งใช้นั่งรถเมล์ในเส้นทางนี้ได้ไม่จำกัด

ตั๋วมี ๒ แบบ คือตั๋วแบบที่ใช้นั่งรถเมล์ระหว่างสถานีอาวาระอนเซงกับเมืองมิกุนิ ราคา ๑๐๐๐ เยน

กับอีกแบบคือใช้เดินทางได้ตั้งแต่จากเมืองมิกุนิไปจนถึงเมืองเอย์เฮย์จิ (永平寺町) โดยมีเมืองมารุโอกะอยู่ระหว่างทาง ราคา ๒๐๐๐ เยน

เอย์เฮย์จิเป็นเมืองเล็กๆอีกเมืองซึ่งมีสถานที่เที่ยวเป็นวัดเก่าแก่ที่สวยงาม วัดเอย์เฮย์จิ (永平寺) แต่ไม่ได้อยู่ในแผนการเที่ยวนี้เพราะอยู่ไกลออกไป

ตั๋วทั้ง ๒ แบบนี้มีอายุการใช้งาน ๒ วัน แต่เราใช้เพื่อเที่ยวแค่วันเดียว ซึ่งจริงๆก็เพียงพอ ถ้าไม่ได้จะเก็บสถานที่ต่างๆตามเส้นทางให้ครบ เลือกเฉพาะที่สำคัญ

พวกเราไปลงที่สถานีอาวาระอนเซงเพื่อซื้อตั๋วฟรีพาส แต่เนื่องจากเพื่อนไม่ว่างตอนบ่าย มีเวลาเที่ยวแค่ครึ่งเดียว จึงตัดสินใจว่าให้เพื่อนซื้อแค่บัตร ๑๐๐๐ เยนที่เที่ยวได้แค่ฝั่งมิกุนิ แล้วเริ่มเที่ยวฝั่งมิกุนิก่อน ส่วนเราซื้อบัตร ๒๐๐๐ เยน ตอนแรกก็ไปเที่ยวฝั่งมิกุนิด้วยกัน จากนั้นตอนบ่ายก็ไปเที่ยวทางฝั่งมารุโอกะต่อ

บัตร ๒๐๐๐ เยนที่เราซื้อเพื่อเที่ยวในคราวนี้



เห็นมีรอยฉีกแบบนี้แต่จริงๆเขาห้ามฉีกบัตร เวลาใช้ก็แค่ยื่นให้คนขับรถเมล์ดูตอนลงรถ ในบัตรมีเขียนวันที่ไว้ด้วยซึ่งก็คือวันสุดท้ายที่ใช้งานได้ ก็คือวันถัดไป วันที่ 1 เดือน 11 ปีเฮย์เซย์ที่ 30 (1 พ.ย. 2018)



สถานีอาวาระอนเซงยังมีความสำคัญอีกอย่างคือเป็นฉากของอนิเมะเรื่องจิฮายะฟุรุ (ちはやふる)



แม้ว่าฉากส่วนใหญ่ในเรื่องจะอยู่ที่โตเกียว แต่ว่าพระเอกของเรื่องคืออาราตะนั้นเป็นคนฟุกุอิ และสถานีอาวาระอนเซงก็ปรากฏในเรื่องจริงๆโดยเป็นสถานีใกล้บ้านอาราตะที่สุด

ฉากในสถานีนี้ปรากฏในตอนที่ ๕ ของอนิเมะภาคแรก ซึ่งนางเอกของเรื่อง จิฮายะ เดินทางจากโตเกียวเพื่อมาเยี่ยมอาราตะถึงบ้าน

การเดินทางจากโตเกียวมาอาจนั่งชิงกันเซงมาลงที่สถานีไมบาระ (米原駅) เมืองไมบาระ (米原市) จังหวัดชิงะ (滋賀県)

ที่สถานีไมบาระเองก็ปรากฏในเรื่องด้วย ในฉากที่จิฮายะมาเปลี่ยนรถ ที่จริงเมื่อก่อนเราเองก็เคยไปเปลี่ยนรถที่ไมบาระมาทีนึงแล้วแต่ไม่ได้นั่งชิงกันเซง ไม่เช่นนั้นก็คงได้มาตามเก็บฉากนั้นเหมือนกัน https://phyblas.hinaboshi.com/20130217



จากสถานีโคมัตสึไปยังสถานีอาวาระอนเซงนั้นต้องนั่งรถไฟสายหลักโฮกุริกุ (北陸本線) ระยะทางตามเส้นทาง ๓๐ กม.

ทั้งสองสถานีมีรถไฟแบบด่วนพิเศษจอด ดังนั้นถ้าจะนั่งแบบด่วนพิเศษก็ไปได้ เร็วกว่ามากด้วย แต่ราคาจะต่างกันมาก รถไฟธรรมดาคือ ๕๘๐ เยน แต่ถ้านั่งรถไฟแบบด่วนพิเศษมาจะเป็น ๑๘๕๐ เยน แพงกว่ามาก จึงนั่งรถไฟแบบธรรมดาก็พอ ซึ่งจะจอดทุกสถานี มีทั้งหมด ๖ สถานีอยู่ระหว่าง ๒ สถานีนี้

ระหว่างทางจากสถานีโคมัตสึมา ทิวทัศน์ระหว่างทางสวยงามดูแล้วเพลิดเพลิน





ระหว่างทางผ่านสถานีอาวาซึ (粟津駅), สถานีอิบุริฮาชิ (動橋駅), สถานีคางะอนเซง (加賀温泉駅) และ สถานีไดโชวจิ (大聖寺駅) ทั้งหมดนี้ยังอยู่ในจังหวัดอิชิกาวะ

นี่คือสถานีคางะอนเซง เป็นอีกสถานีที่มีรถไฟด่วนพิเศษจอด อยู่ห่างจากโคมัตสึไป ๑๔ กม. ตั้งอยู่ในเมืองคางะ (加賀市) เป็นย่านอนเซงแห่งหนึ่งของแถบนี้



เมืองคางะนี้ยังมีความสำคัญอีกอย่างคือเป็นจุดกำเนิดของฮาจิบังราเมง (8番らーめん) หากใครจะมาเที่ยวเมืองนี้ก็น่าลองแวะไปกินฮาจิบังราเมงที่สาขาหลัก

ทิวทัศน์ในบริเวณเมืองคางะ หลังผ่านสถานีคางะอนเซงมา





ถัดมาเป็นสถานีไดโชวจิซึ่งเป็นสถานีหลักของเมืองคางะ ที่นี่ดูมีคนลงเยอะเป็นพิเศษ ส่วนใหญ่เป็นนักเรียน



สถานีนี้ตั้งอยู่กลางย่านชุมชนมากกว่าสถานีคางะอนเซงและมีคนขึ้นลงเยอะกว่า แต่กลับไม่ใช่จุดจอดของรถไฟด่วนพิเศษเหมือนอย่างสถานีคางะอนเซง

เลยจากสถานีไดโชวจิไปคราวนี้ก็เข้าสู่เขตของเมืองอาวาระจังหวัดฟุกุอิแล้ว รถไฟมีจอดที่สถานีอุชิโนะยะ (牛ノ谷駅) และ สถานีโฮโซโรงิ (細呂木駅) ก่อนที่จะมาจอดที่สถานีอาวาระอนเซงซึ่งเป็นจุดหมายปลายทาง




ถึงสถานีอาวาระอนเซงเวลา 8:07



เมื่อมาถึงก็เห็นป้ายจิฮายะฟุรุวางเด่นอยู่ สมแล้วที่สถานีถูกใช้เป็นฉากของเรื่อง บางทีคนเมืองนี้อาจรู้จักเรื่องนี้กันหมดก็เป็นได้



ก่อนอื่นสิ่งที่เราทำก็คือเดินไปหามุมที่เป็นฉากในอนิเมะจิฮายะฟุรุ

เนื่องจากเรามาจากฝั่งเหนือ แต่จิฮายะเดินทางมาจากฝั่งไมบาระซึ่งอยู่ทางใต้ ดังนั้นฉากตอนขามาจะอยู่อีกฝั่ง ส่วนฉากทางฝั่งที่เราลงนี้จะปรากฏในฉากขากลับ

เทียบฉากของสถานีนี้ที่ถ่ายได้กับภาพที่ปรากฏในอนิเมะ ภาพนี้สุ่มถ่าย ไม่ได้ตั้งใจเล็งให้มุมตรงกันจึงไม่ใช่ตำแหน่งเดียวกับในภาพจริงๆ ได้แค่ใกล้เคียง อีกทั้งไม่มีรถไฟด่วนพิเศษชิราซางิ (しらさぎ) จอดอยู่ด้วย




จากนั้นข้ามไปอีกฝั่งซึ่งเป็นฉากตอนจิฮายะเดินทางมา ทางฝั่งนั้นจะมีภาพให้เทียบเยอะกว่า



อย่างแรกคือป้ายสถานี เป็นป้ายฝั่งนี้ไม่ผิดแน่ แต่ตอนที่ถ่ายยืนผิดมุม




หน้าบันไดขึ้นทางข้าม มุมที่ถ่ายไม่ค่อยตรงกันแต่ก็เป็นบันไดเดียวกัน




อีกมุมที่พอจะใกล้เคียง




ภายในสถานีหมดเท่านี้ จากนั้นก็เดินแตะบัตรออกมาด้านนอก




ออกมาก็เจอป้ายจิฮายะฟุรุอีกภาพ



ภาพด้านหน้าสถานี อันนี้เปิดภาพในอนิเมะเทียบแล้วพยายามเล็งให้ตรงที่สุด ตัวสถานีเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมแล้วแต่ก็ยังมีเค้าเดิมอยู่เห็นได้ชัด




แถวๆหน้าสถานี






เนื่องจากเรามาถึงสถานีตอน 8:07 แต่รถเมล์ที่จะขึ้นนั้นออกตอน 8:40 จึงยังพอมีเวลาก่อนที่รถเมล์จะมา เราจึงตามหาฉากที่ปรากฏในอนิเมะต่ออีกสักพักระหว่างรอรถ มีฉากนึงที่ปรากฏภาพสถานีจากทางฝั่งใต้ เป็นฉากตอนที่รถไฟที่จิฮายะนั่งตอนขากลับนั้นวิ่งออกจากสถานีในตอนเย็น



ลองเทียบภาพแล้วถ่ายตาม ก็ได้ออกมาตรงในระดับนึง




ก็ได้ภาพเปรียบเทียบมาทั้งหมด ๖ ภาพสำหรับเช้านี้ ที่จริงยังมีฉากบริเวณรอบๆสถานีอีกซึ่งยังไม่ได้ไปเพราะไม่มีเวลา แต่ว่าตอนเย็นขากลับก็ต้องกลับมาขึ้นรถไฟที่นี่อีก ถึงตอนนั้นจึงมีเวลาไปเก็บฉากเพิ่มเติม ตรงส่วนนั้นจะค่อยมาเล่าถึงภายหลัง https://phyblas.hinaboshi.com/20181121



สำหรับตอนนี้ ตัดกลับมาที่แผนการเที่ยวต่อไป ก่อนอื่นต้องมาซื้อบัตรฟรีพาสที่หน้าต่างขายตั๋วด้านนอกสถานี



ป้ายนี้อธิบายเกี่ยวกับพาส ๒​ ชนิด แสดงเส้นทางและเงื่อนไขการใช้งาน เพื่อนซื้อแบบ ๑๐๐๐ เยนไปเที่ยวแค่ฝั่งมิกุนิ ส่วนเราซื้อแบบ ๒๐๐๐ เยนเพื่อจะไปปราสาทมารุโอกะด้วย



รถบัสที่จะขึ้นคือหมายเลข 85 ออกจากที่นี่ตอน 8:40 มีปลายทางที่เมืองมิกุนิ





รถเมล์ออกเดินทางตามเวลา มุ่งสู่ที่หมายแห่งแรก เกาะโอชิมะ https://phyblas.hinaboshi.com/20181111




------------------------------------------------------------
ในบทความนี้มีการนำภาพจากอนิเมะ "จิฮายุฟุรุ" มาใช้อ้างอิงเพื่อการวิจัยศึกษาภาพเปรียบเทียบ ลิขสิทธิ์ทั้งหมดเป็นของผู้จัดทำ "จิฮายุฟุรุ"
この記事では、比較研究を目的としてアニメ「ちはやふる」の画像を引用しています。画像の著作権はすべて
ちはやふる」の製作者に帰属します。



-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ประเทศญี่ปุ่น >> อิชิกาวะ
-- ประเทศญี่ปุ่น >> ฟุกุอิ
-- ท่องเที่ยว >> ตามรอย
-- ท่องเที่ยว >> รถไฟ

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

目录

从日本来的名言
模块
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
机器学习
-- 神经网络
javascript
蒙古语
语言学
maya
概率论
与日本相关的日记
与中国相关的日记
-- 与北京相关的日记
-- 与香港相关的日记
-- 与澳门相关的日记
与台湾相关的日记
与北欧相关的日记
与其他国家相关的日记
qiita
其他日志

按类别分日志



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  查看日志

  推荐日志

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ