φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas
ทวีต
ปราสาทโองากิ สมรภูมิแห่งศึกเซกิงาฮาระ
เขียนเมื่อ 2013/02/17 00:33
แก้ไขล่าสุด 2023/03/30 13:58
#อาทิตย์ 20 ม.ค. 2013
เข้าสู่วันที่ ๔ ของการเที่ยวญี่ปุ่น หลังจากที่เมื่อวานนั่งรถไฟเที่ยวชมทิวทัศน์ที่เต็มไปด้วยหิมะ
https://phyblas.hinaboshi.com/20130215
วันนี้ก็จะเป็นการเที่ยวแบบอีกบรรยากาศนึง แผนเที่ยววันนี้ยังคงต้องตื่นเช้าตรู่เหมือนเดิม โดยออกไปขึ้นรถเมล์ตอน 6:13 เพื่อให้ถึงสถานีเกียวโตตอน 6:45 เพราะรถไฟเที่ยวที่จะขึ้นในวันนี้ออกตอน 6:56
รถเมล์ไปถึงตามเวลา และเราก็รีบเดินไปที่ชานชลาหมายเลข ๓ เพื่อจะขึ้นรถไฟ
สายบิวาโกะ (琵琶湖線)
ไปยัง
สถานีไมบาระ (米原駅)
ใน
เมืองไมบาระ (米原市) จังหวัดชิงะ (滋賀県)
ทางรถไฟสายบิวาโกะเป็นทางรถไฟที่ลากจากสถานีเกียวโตไปยังสถานีไมบาระ โดยวิ่งทางฝั่งตะวันออกของ
ทะเลสาบบิวะ (琵琶湖)
ทะเลสาบที่ใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่น ซึ่งตรงกันข้ามกับ
สายโคเซย์ (湖西線)
ซึ่งอยู่ฝั่งตะวันตกของทะเลสาบ ซึ่งเราเพิ่งนั่งผ่านไปเมื่อวาน
รอรถไฟไปไมบาระซึ่งมาตอน 6:56
ภายในรถไฟ
แล้วรถไฟก็มาถึงสถานีไมบาระ โดยใช้เวลานั่งนาน ๗๐ นาที มาถึงในเวลา 8:06
สถานีไมบาระนั้นเป็นสถานีที่สำคัญมาก เพราะเป็นชุมทางของรถไฟหลายสายที่สำคัญ นั่นคือ
สายหลักโทวไกโดว (東海道本線, โทวไกโดวฮนเซง)
ซึ่งเป็นสายหลักที่ลากยาวจาก
สถานีโตเกียว (東京駅)
ไปยัง
สถานีโควเบะ (神戸駅)
ในเมืองโควเบะจังหวัดเฮียวโงะ โดยที่สายบิวาโกะที่เรานั่งมาก็คือส่วนหนึ่งของสายหลักโทวไกโดวนี้
กับ
สายหลักโฮกุริกุ (北陸本線, โฮกุริกุฮนเซง)
ซึ่งลากจากสถานีนี้ผ่าน
จังหวัดฟุกุอิ (福井県)
,
จังหวัดอิชิกาวะ (石川県)
,
จังหวัดโทยามะ (富山県)
และไปสุดที่
สถานีนาโอเอตสึ (直江津駅)
ใน
เมืองโจวเอตสึ (上越市) จังหวัดนีงาตะ (新潟県)
นอกจากนี้แล้วก็ยังเป็นสถานีปลายทางของ
โอวมิเท็ตสึโดว (近江鉄道)
ซึ่งเป็นทางรถไฟของบริษัทเอกชนท้องถิ่นในจังหวัดชิงะ
แถมที่นี่ยังเป็นสถานีหนึ่งที่มีรถไฟชิงกันเซงจอดด้วย ดังนั้นจึงมีความสำคัญมาก
แผนที่แสดงตำแหน่งเมืองไมบาระ สีชมพูเข้มทางมุมตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัด
เมืองนี้ที่จริงก็เป็นแค่เมืองเล็กๆที่ไม่มีอะไรเป็นพิเศษ เราเองก็ไม่ได้มาที่สถานีนี้เพราะว่าจะมาเที่ยว แต่ก็มาเพื่อเปลี่ยนรถ เช่นเดียวกับคนอื่นๆ ทั้งๆที่ไม่ได้มีธุระอะไรกับเมืองนี้เลย
แต่ไหนๆก็มาถึงแล้ว และมีเวลาอยู่เล็กน้อยก่อนที่รถไฟที่เราตั้งใจนั่งจะออก ก็เลยขอไปเดินเล่นรอบๆสถานีสักหน่อย
ภาพตัวสถานีจากด้านนอก
บริเวณรอบๆ
เสร็จแล้วก็กลับมาที่ชานชลาเพื่อมาขึ้นรถซึ่งออกตอน 8:22 เพื่อเดินทางสู่
เมืองโองากิ (大垣市) จังหวัดกิฟุ (岐阜県)
น่าเสียดายว่าสถานีไมบาระเป็นสถานีสุดเขตที่ Kaisai WIDE area pass ที่เราใช้อยู่จะไปได้แล้ว หากจะไปไกลกว่านี้ไปยังจังหวัดกิฟุต้องเสียค่าโดยสารตามปกติ ซึ่งค่าโดยสารไปโองากิก็คือ 650 เยน
แล้วรถไฟก็เดินทางข้ามสู่จังหวัดกิฟุ
ผ่าน
สถานีเซกิงาฮาระ (関ヶ原駅)
ซึ่งตั้งอยู่ใน
เมืองเซกิงาฮาระ (関ケ原町)
จังหวัดกิฟุ
เซกิงาฮาระนี้มีความสำคัญมากในประวัติศาสตร์ เพราะเป็นสถานที่ที่เกิด
ศึกเซกิงาฮาระ (関ヶ原の戦い)
ในปี 1600 ซึ่งเป็นสงครามแตกหักระหว่าง
โทกุงาวะ อิเอยาสึ (徳川家康)
ไดเมียวผู้มีอำนาจสูงสุดในขณะนั้น กับ
อิชิดะ มิตสึนาริ (石田三成)
ไดเมียวผู้จงรักภักดีต่อ
รัฐบาล
ตระกูลโทโยโตมิ (豊臣氏政権)
ซึ่งเป็นโชกุนที่ปกครองประเทศอยู่ในขณะนั้น
ผลของสงครามคืออิเอยาสึเป็นฝ่ายได้รับชัยชนะ นี่กลายมาเป็นจุดเปลี่ยนให้เขาได้กลายเป็นโชกุนซึ่งกุมอำนาจทั้งญี่ปุ่น โดยเริ่มจัดตั้งรัฐบาลที่เมืองเอโดะ (โตเกียวในปัจจุบัน) นี่เป็นจุดเริ่มของ
ยุคเอโดะ (江戸時代)
ซึ่งจะเป็นยุคที่ญี่ปุ่นสงบสุขไปยาวนานกว่าสองร้อยปี
หลังจากผ่านเซกิงาฮาระไปไม่นานก็ถึง
สถานีโองากิ (大垣駅)
เวลา 8:57 รวมแล้วใช้เวลาเดินทาง ๓๕ นาที
ด้านหน้าสถานี
สถานีโองากินี้นอกจากจะเป็นสถานีรถไฟของ JR แล้ว ยังเป็นสถานีของรถไฟเอกชนท้องถิ่นอีกสองสายด้วย
คือ
สายทารุมิ (樽見線)
ของบริษัท
ทารุมิเท็ตสึโดว (樽見鉄道)
ซึ่งเป็นสายรถไฟที่ลากจากโองากิไปทางตะวันออกเฉียงเหนือไปสุดที่
สถานีทารุมิ (樽見駅)
ใน
เมืองโมโตสึ (本巣市)
จังหวัดกิฟุ
และ
สายโยวโรว (養老線)
ของบริษัท
โยวโรวเท็ตสึโดว (養老鉄道)
ซึ่งเริ่มจาก
สถานีคุวานะ (桑名駅)
ใน
เมืองคุวานะ (桑名市) จังหวัดมิเอะ (三重県)
ไปสุดที่
สถานีอิบิ (揖斐駅)
ใน
เมืองอิบิงาวะ (揖斐川町)
จังหวัดกิฟุ
นอกจากนี้รถไฟของ JR ซึ่งเดินทางจากไมบาระไปนาโงยะก็มักจะมาหยุดสุดทางที่นี่ก่อนแล้วต้องเปลี่ยนรถถึงจะไปต่อได้ ดังนั้นจึงเป็นสถานีที่สำคัญมาก
ตำแหน่งเมืองโองากิ สีชมพูเข้มในแผนที่ จะเห็นว่าแบ่งเป็นสามส่วนแต่ถือว่าเป็นเขตเมืองเดียวกัน
แล้วเราก็รีบเดินตรงสู่
ปราสาทโองากิ (大垣城)
สภาพบ้านเมืองตามเส้นทางที่เดินผ่าน
ใช้เวลาสักเราก็เดินทางมาถึง
สวนสาธารณะโองากิ (大垣公園)
ซึ่งเป็นที่ตั้งของปราสาทโองากิ สวนสาธารณะแห่งนี้ได้รับการคัดเลือกเป็นหนึ่งใน
๑๐๐ สวนสาธารณะประวัติศาสตร์ของญี่ปุ่น (日本の歴史公園100選)
ซึ่งที่จริงแม้ว่าจะใช้ชื่อว่า ๑๐๐ แห่ง แต่จริงๆมีอยู่ ๒๕๐ แห่ง
ในบริเวณมีศาลเจ้าขนาดเล็กอยู่ด้วย
แล้วสักพักก็เห็นปราสาทโองากิ
ปราสาทโองากิ เป็นปราสาทที่ตั้งอยู่บนพื้นราบ ถูกสร้างขึ้นเมื่อปี 1500
เมื่อปี 1600 ในสมัยศึกเซกิงาฮาระ ปราสาทนี้ได้ถูกใช้เป็นที่มั่นของกองทัพของอิชิดะ มิตสึนาริ
เมื่อถึงสมัยเอโดะ ปราสาทนี้ได้กลายเป็นที่ว่าการของ
โองากิฮัง (大垣藩)
ซึ่งเป็นเขตการปกครองที่ตั้งขึ้นมาในสมัยเอโดะ
ในปี 1873 ปราสาทนี้ได้ถูกทิ้งร้างเนื่องจากคำสั่งทำลายปราสาทสมัยเมย์จิ แต่หอหลักก็ยังคงรอดมาได้ไม่ถูกทำลาย จนในปี 1936 ก็ได้ขึ้นทะเบียนเป็นสมบัติของชาติ
แต่แล้วในวันที่ 29 ก.ค. 1945 เมืองโองากิได้โดนโจมตีทางอากาศอย่างหนักจากกองทัพสหรัฐฯในปลายสงครามโลกครั้งที่สอง จนหอหลักของปราสาทถูกทำลายลง
หอหลักปัจจุบันถูกสร้างขึ้นมาใหม่ในปี 1959 โดยเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กให้ภายนอกดูเหมือนเดิม
หน้าปราสาทมีรูปปั้นของ
โทดะ อุจิคาเนะ (戸田 氏鉄)
ผู้ครองโองากิฮังในสมัยเอโดะ
ทางเข้าบริเวณปราสาท
เข้าถึงตัวปราสาทแล้ว
ปราสาทนี้ค่าเข้าชมภายในถูกมาก แค่ ๑๐๐ เยนเท่านั้น
ตั๋วเข้าชม
แถมข้างในไม่ได้ห้ามถ่ายรูปด้วย ก็เลยถ่ายมาบ้าง ส่วนใหญ่ก็จัดแสดงวัตถุโบราณเอาไว้
แล้วก็มีแบบจำลองสงครามที่เกิดขึ้นสมัยก่อนในบริเวณปราสาทนี้
วีดีโอจำลองเหตุการณ์สู้รบในศึกเซกิงาฮาระ
มีดีวีดีด้วย
วีดีทัศน์แนะนำสถานที่ท่องเที่ยวทางตะวันตกของจังหวัดกิฟุ
ส่วนนี่คือ
ปลาชาจิ (鯱)
เช่นเดียวกับที่เคยพูดถึงไปในหน้าที่เล่าถึงปราสาทโอกายามะ
https://phyblas.hinaboshi.com/20130203
เพียงแต่ต่างกันตรงที่ปลาชาจิของที่นี่เป็นสีดำ ไม่ใช่เป็นสีทองโดดเด่น
ปลาชาจิที่จัดแสดงอยู่นี้เคยประดับอยู่บนยอดหลังคาของปราสาทโองากิ ถูกสร้างขึ้นพร้อมกับหอหลักของปราสาทที่ถูกสร้างขึ้นใหม่หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งถูกสร้างให้คล้ายกับของ
ปราสาทนาโงยะ (名古屋城)
แต่ในความเป็นจริงปลาชาจิดั้งเดิมของที่นี่ดูเรียบง่ายกว่านั้นมาก
ดังนั้นหลังจากที่ปราสาทนี้ถูกซ่อมแซมปรับปรุงในปี 2010 ก็ได้เปลี่ยนปลาชาจิบนยอดปราสาทโดยทำขึ้นมาใหม่โดยดูจากหลักฐานเก่าๆเช่นภาพถ่ายสมัยก่อนและอื่นๆ เพื่อให้ได้ปลาชาจิที่ใกล้เคียงของเดิมมากที่สุด จากนั้นปลาชาจิตัวเก่าคือตัวนี้ก็เลยถูกนำมาวางแสดงไว้ตรงนี้แทน
นี่คือหน้าตาของปลาชาจิตัวปัจจุบัน ถ่ายจากด้านล่างปราสาท เนื่องจากคุณภาพของกล้องที่ใช้อยู่เลยไม่อาจซูมได้ชัดเจน เสียดายมากเหมือนกัน
ส่วนชั้นบนสุดของปราสาทเป็นหอสังเกตการณ์
มองตัวเมืองจากด้านบนก็ไม่ได้เห็นอะไรไกลเท่าไหร่ เพราะปราสาทนี้ตั้งบนที่ราบ ไม่ได้ตั้งบนเขา แถมยังไม่สูงมากด้วย ทิวทัศน์เลยไม่โดดเด่น
แล้วก็ได้เวลาเดินจากตัวปราสาทออกมา ตรงนี้ถ่ายตัวปราสาทจากอีกมุม
ขากลับเราออกจากปราสาทด้วยทางเข้าอีกทาง ซึ่งความจริงแล้วอยู่ใกล้สถานีรถไฟมากกว่า แถมเราก็มีเดินผ่านมาด้วย แต่กลับไม่ได้สังเกตเห็น เลยไปอ้อมเข้าทางไกลเลย
ระหว่างทางขากลับ ช่างบังเอิญจริงๆที่ไปเจอร้านขายรองเท้า ตอนนั้นรองเท้ากำลังขาดอยู่พอดี ที่จริงเป็นสาเหตุที่ทำให้เจ็บเท้าด้วย ก็เลยซื้อรองเท้าที่นี่แล้วเปลี่ยนทันที ขายไม่แพงด้วย ซึ่งก็ช่วยให้เดินสบายขึ้นเยอะเลยหลังจากนี้ แต่เท้าที่เจ็บอยู่แล้วก็ไม่อาจหายดีในทันที ยังคงทำให้ไม่อาจเดินได้คล่องอยู่
แล้วก็กลับมาถึงชานชลาเพื่อนั่งรถไฟเดินทางต่อไป ติดตามอ่านกันต่อได้
https://phyblas.hinaboshi.com/20130219
{{s.chue}}
〇
✖
ทวีต
-----------------------------------------
囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧
ดูสถิติของหน้านี้
หมวดหมู่
--
ประเทศญี่ปุ่น
>>
กิฟุ
--
ประเทศญี่ปุ่น
>>
ชิงะ
--
ท่องเที่ยว
>>
ปราสาท☑
>>
ปราสาทญี่ปุ่น
--
ท่องเที่ยว
>>
รถไฟ
--
ประวัติศาสตร์
>>
ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น
ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ
三
~ เกี่ยวกับเรา ~
สารบัญ
รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
ภาษา python
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib
-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ
บทความแบ่งตามหมวด
==เลือกหมวด==
ดาราศาสตร์
คณิตศาสตร์
-ความน่าจะเป็น
คอมพิวเตอร์
-เขียนโปรแกรม
--python
---numpy
---scipy
---matplotlib
---pandas
---manim
---pyqt
---sklearn
---pytorch
---mayapython
--ruby
--javascript
--dart
--MATLAB
--SQL
--regex
--opencv
-shell
-3D
--maya
--MMD
-microsoft_office
-pdf
-ปัญญาประดิษฐ์
--โครงข่ายประสาทเทียม
--สเตเบิลดิฟฟิวชัน
---comfyui
-การสุ่ม
ภาษาศาสตร์
-ตัวอักษร
-เรียนภาษา
-หลักเกณฑ์การทับศัพท์
-ภาษาจีน
--ภาษาจีนกลาง
-ภาษาญี่ปุ่น
-ภาษามองโกล
-ภาษาลาว
-ภาษาเขมร
ประวัติศาสตร์
-ประวัติศาสตร์จีน
-ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น
ปรัชญา
ประเทศจีน
-จีนแผ่นดินใหญ่
--ปักกิ่ง
--เทียนจิน
--เหลียวหนิง
--เหอเป่ย์
--เหอหนาน
--ซานตง
--ซานซี
--อานฮุย
--เจ้อเจียง
--หูเป่ย์
--หูหนาน
--ฝูเจี้ยน
--กวางตุ้ง
---แต้จิ๋ว
--ยูนนาน
--ซินเจียง
-ฮ่องกง
-มาเก๊า
-ไต้หวัน
--ไทเป
--จีหลง
--เถาหยวน
--ซินจู๋
--เหมียวลี่
--ไถจง
--จางฮว่า
--หยวินหลิน
--เจียอี้
--ไถหนาน
--เกาสยง
--ผิงตง
--อี๋หลาน
ประเทศญี่ปุ่น
-ฮกไกโด
-อาโอโมริ
-อิวาเตะ
-มิยางิ
-อากิตะ
-ยามางาตะ
-ฟุกุชิมะ
-อิบารากิ
-โทจิงิ
-กุมมะ
-ไซตามะ
-จิบะ
-โตเกียว
-คานางาวะ
-นีงาตะ
-โทยามะ
-อิชิกาวะ
-ฟุกุอิ
-ยามานาชิ
-นางาโนะ
-กิฟุ
-ชิซึโอกะ
-ไอจิ
-มิเอะ
-ชิงะ
-เกียวโต
-โอซากะ
-เฮียวโงะ
-นาระ
-วากายามะ
-โอกายามะ
-ฮิโรชิมะ
-ยามางุจิ
-ฟุกุโอกะ
ต่างแดน
-อุษาคเนย์
--กัมพูชา
--พม่า
--สิงคโปร์
-ยุโรป
--สวีเดน
--เดนมาร์ก
--ฟินแลนด์
ท่องเที่ยว
-มหาวิทยาลัย
-พิพิธภัณฑ์
--พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์
--หอศิลป์
-สวนสัตว์
--พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ
-ท้องฟ้าจำลอง
-ตึกระฟ้า
-ปราสาท☑
--ปราสาทญี่ปุ่น
--ปราสาทขอม
--ปราสาทยุโรป
-ศาสนสถาน
--วัด
--ศาลเจ้า
--โบสถ์
--มัสยิด
-สุสาน
-มรดกโลก
-ทะเล
-ทะเลสาบ
-ภูเขา
-หิมะ
-ดอกซากุระ
-แมว
-รถไฟ
-เรือ
-ตลาดกลางคืน
-งานเทศกาล
-ที่ระลึกภัยพิบัติ
-ตามรอย
บันเทิง
-เกม
--อาเตอลีเย
--โปเกมอน
--caligula
--vn
-อนิเมะ
-มังงะ
-นิยาย
-เพลง
--เพลงอนิเมะ
--เพลงเกม
เรื่องแต่ง
บันทึก
ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ
ค้นหาบทความ
บทความล่าสุด
การทำให้ comfyui ตรวจจับภาพไม่เหมาะสม (NSFW) แล้วทำการเซนเซอร์โดยอัตโนมัติ
การสร้างภาพพาโนรามาทรงกลม ๓๖๐ องศาโดยใช้ comfyui
การทำให้ comfyui บันทึกภาพเป็น .jpg หรือ .webp พร้อมทั้งยังฝังข้อมูลอภิพันธุ์ของกระแสงาน
การทำให้ comfyui สามารถเขียนข้อความสั่งเป็นภาษาไทยได้
แก้ปัญหาที่บางครั้งภาพที่อ่านใน python ถูกหมุนหรือพลิกกลับด้าน
บทความแนะนำ
ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ
บทความแต่ละเดือน
2024年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2023年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2022年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2021年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2020年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
ค้นบทความเก่ากว่านั้น
ไทย
日本語
中文