φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



ตามรอยชมรมคนไร้เพื่อนมาที่สถานีโฮซึมิเมืองมิซึโฮะ
เขียนเมื่อ 2013/02/19 00:38
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
#อาทิตย์ 20 ม.ค. 2013

ต่อจากตอนที่แล้วที่ไปเที่ยวปราสาทโองากิ (大垣城) https://phyblas.hinaboshi.com/20130217

เป้าหมายต่อไปที่เรามาแวะนั้น เป็นสถานที่ที่นักท่องเที่ยวทั่วไปปกติคงไม่ได้สนใจจะมาเป็นแน่

แต่เป้าหมายการท่องเที่ยวญี่ปุ่นของเราครั้งนี้ จะว่าไปก็มีส่วนหนึ่งที่แตกต่างไปจากนักท่องเที่ยวทั่วไปอยู่แล้ว นั่นคือการแวะมาชมสถานที่ที่ถูกใช้เป็นฉากในอนิเมะ

จากที่เมื่อวันที่ 18 ได้ไปเที่ยวมาที่หนึ่งแล้วคือที่ย่านโควโยวเอง (甲陽園) ในเมืองนิชิโนมิยะ (西宮市) จังหวัดเฮียวโงะ (兵庫県) ซึ่งเป็นฉากของเรื่องสึซึมิยะ ฮารุฮิ (涼宮ハルヒ) https://phyblas.hinaboshi.com/20130209

ครั้งนี้เป้าหมายเราอยู่ที่สถานีรถไฟแห่งหนึ่งซึ่งอยู่ไม่ไกลจากสถานีโองากิ นั่นคือสถานีโฮซึมิ (穂積駅) ในเมืองมิซึโฮะ (瑞穂市) จังหวัดกิฟุ (岐阜県)

ที่นี่ถูกใช้เป็นฉากส่วนหนึ่งของอนิเมะเรื่อง 僕は友達が少ない (boku wa tomodachi ga sukunai) หรือที่เรียกเป็นชื่อไทยว่าชมรมคนไร้เพื่อน



อนิเมะเรื่องนี้โดยหลักๆใช้ฉากที่เมืองกิฟุ (岐阜市) จังหวัดกิฟุ แต่ว่าฉากบางส่วนก็มีการใช้สถานที่ของเมืองข้างเคียงอยู่บ้าง

เมืองมิซึโฮะเป็นเมืองเล็กๆขนาดพื้นที่แค่ ๒๘.๑๙ ตร.กม. ที่ตั้งอยู่ระหว่างเมืองโองากิและเมืองกิฟุ มีสถานีโฮซึมิเป็นสถานีกลาง

ตำแหน่งเมืองมิซึโฮะ สีชมพูเข้มเล็กๆในแผนที่




สถานีโฮซึมิเป็นสถานีที่อยู่ถัดจากสถานีโองากิ ถัดจากสถานีโฮซึมิไปก็จะเป็นสถานีนิชิกิฟุ (西岐阜駅) ซึ่งอยู่ในเขตเมืองกิฟุ และถ้าถัดไปอีกก็จะเป็นสถานีกิฟุ (岐阜駅) ซึ่งเป็นสถานีกลางของเมืองกิฟุ

ค่าเดินทางจากสถานีโองากิไปสถานีโฮซึมินั้นแค่ 190 เยน ระยะทางแค่ ๗.๗ กม. เดินทางแค่ ๕ นาทีก็ถึง



รถออกตอน 10:11 ถึงตอน 10:16



จากบริเวณชานชลา มองออกไปรอบๆ




แล้วก็เดินออกจากที่ตรวจตั๋ว





จากนั้นปฏิบัติการค้นหาภาพที่เป็นฉากในอนิเมะจึงเริ่มต้นขึ้น โดยที่ครั้งนี้เราได้เอาภาพต้นฉบับจากอนิเมะมาเปิดเปรียบเทียบตอนเดินหาด้วย ทำให้หาภาพได้ใกล้เคียงเป็นที่น่าพอใจในระดับนึง


เนื้อเรื่องส่วนที่ใช้สถานีโฮซึมินี้เป็นฉากทั้งหมดปรากฏในตอนที่ ๘ ช่วงสั้นๆแค่ ๓๐ วินาทีแรก แต่ทุกฉากในช่วงนี้มาจากบริเวณนี้ทั้งสิ้น

ผลคือถ่ายมาได้ทั้งหมด ๗ ฉาก ดังนี้





บันไดทางขึ้นไปชานชลา
มุมที่ถ่ายถือว่าใกล้เคียง แต่ก็ยังไม่ค่อยพอดี โปสเตอร์ที่ติดอยู่นั้นต่างกัน นอกนั้นดูแล้วเหมือนกันพอดี





ที่ตรวจตั๋ว

องค์ประกอบโดยรวมดูตรงกันดี แค่อาจมีป้ายบางอย่างเกินมานิดหน่อย





ด้านหน้าสถานี

ของจริงดูจะมีจำนวนเสาเยอะกว่า และก็มีโปสเตอร์เพิ่มเข้ามาด้วย





ด้านหน้าสถานี

ของจริงมีป้ายมาบังทางด้านขวา




น้ำพุหน้าสถานี

มุมที่ถ่ายต่างกันเยอะเกินไปหน่อย และในภาพมีหนุ่มสาวนั่งเป็นคู่กันเต็มไปหมด แต่ของจริงไม่มีใครเลย น้ำพุก็ไม่ได้เปิดด้วย





อีกภาพด้านหน้าสถานี







เสาที่อยู่กลางน้ำพุ

ภาพนี้ก็ถ่ายมุมได้ไม่ตรงเลย แถมฤดูกาลก็ต่างกัน ต้นไม้ตอนนี้มีแต่กิ่งไม่มีใบ ถ่ายยังไงก็ไม่มีทางเหมือน



และนี่แถมภาพสุดท้าย





ภาพนี้ที่จริงไม่เกี่ยวอะไรกับสถานีโฮซึมิ แต่เป็นภาพรถไฟของเมย์เท็ตสึ (名鉄) ซึ่งเป็นบริษัทรถไฟเอกชนท้องถิ่นซึ่งมีเส้นทางอยู่ในบริเวณจังหวัดไอจิ (愛知県) โดยมีเมืองนาโงยะ (名古屋市) เป็นศูนย์กลาง และยังมีบางส่วนลากผ่านจังหวัดกิฟุด้วย


เพียงแต่ว่าภาพในอนิเมะฉากนี้อยู่ที่สถานีนิชิกิฟุ ซึ่งเป็นสถานีของ JR ดังนั้นในความเป็นจริงไม่มีทางที่จะมีรถไฟของเมย์เท็ตสึวิ่งผ่านได้ เลยออกจะดูตลกอยู่สักหน่อย ราวกับได้เห็นรถไฟหลงสถานี
ส่วนในภาพถ่ายนี้คือภาพที่เราถ่ายเองที่สถานีคานายามะ (金山駅) ในเมืองนาโงยะ ซึ่งเขียนไว้ในตอนสุดท้ายของบันทึกการเดินทาง https://phyblas.hinaboshi.com/20130728



หลังจากตามถ่ายภาพจนครบแล้วก็รีบกลับไปขึ้นรถไฟเพื่อจะเดินทางกลับสถานีไมบาระเพื่อจะไปเที่ยวในเส้นทางหลักต่อไป

แต่ตอนกำลังจะซื้อตั๋วรถไฟก็เกิดความคิดขึ้นมาว่า เราไม่จำเป็นต้องซื้อตั๋วราคาเท่ากับที่จะเดินทางไปไมบาระก็ได้นี่ เพราะเดิมทีเราต้องซื้อตั๋วรถไฟก็เพราะบริเวณนี้อยู่นอกเขตของ Kansai WIDE area pass ซึ่งสุดทางแค่ที่ไมบาระ

แต่พอลองคิดดู ตอนนี้ขอแค่ผ่านด่านตรวจตั๋วเข้าไปที่ชานชลาได้ พอขึ้นรถไฟไปถึงที่สถานีไมบาระเราก็ไม่จำเป็นต้องออกจากสถานีแล้ว ก็เปลี่ยนสายรถได้ทันที และหลังเปลี่ยนรถแล้วไม่ว่าจะไปสถานีไหน ตอนออกจากสถานีก็แค่ยื่น Kansai WIDE area pass ก็ออกไปได้เลย

ทำแบบนี้เราจะได้ตั๋วเก็บกลับไปเป็นที่ระลึกด้วย ไม่ต้องหยอดคืนตอนออก

ซึ่งตั๋วราคาถูกที่สุดที่ซื้อได้ที่สถานีโฮซึมิก็คือตั๋วไปสถานีนิชิกิฟุ ซึ่งราคาแค่ 140 เยน เราก็ใช้ตั๋วนี้หยอดเข้าเครื่องตรวจ แต่เราไม่ได้นั่งไปที่นั่นจริงๆแต่ขึ้นไปนั่งเส้นทางตรงกันข้ามเพื่อกลับไปยังไมบาระ สุดท้ายตั๋วไบนี้ก็กลายเป็นของที่ระลึกติดตัวกลับบ้าน



แล้วรถไฟก็ออกตอน 10:26 ซึ่งเป็นเวลาหลังจากที่เราเพิ่งมาถึงสถานีแค่ ๑๐ นาทีเท่านั้น ภาพทั้งหมดถูกถ่ายเสร็จหมดอย่างรวดเร็วภายในช่วงเวลาเพียงแค่นี้ ไม่คิดว่าจะเร็วขนาดนี้เหมือนกัน

ตอนต่อไปจะกลับไปเที่ยวในจังหวัดชิงะ ติดตามกันต่อไป https://phyblas.hinaboshi.com/20130221

อ่อ ตอนนี้อนิเมะเรื่องชมรมคนไร้เพื่อนกำลังฉายภาค ๒ อยู่พอดี ไม่รู้ว่าจะมีสถานที่ไหนถูกใช้เป็นฉากเพิ่มเข้ามาอีกหรือเปล่าต้องรอดูกันต่อไป



------------------



ไปๆมาๆบันทึกการท่องเที่ยวครั้งนี้ยิ่งเขียนยิ่งยาว ตอนนี้กะไว้คร่าวๆแล้วว่าทั้งหมดจะต้องเขียนยาวถึง ๔๖ หน้าจึงจะจบ เพราะเที่ยวนานถึง ๑๒ วัน แล้วบันทึกของแต่ละวันต้องเขียนยาวประมาณ ๓-๕ หน้า

ซึ่งถ้าลงด้วยอัตราสองวันหนึ่งหน้าแบบนี้กว่าจะเสร็จก็ใช้เวลาสามเดือน ช่วงนี้ปิดเทอมอยู่ก็เลยมีเวลาเขียน แต่เดี๋ยวก็เปิดเทอมแล้ว ก็ชักเป็นห่วงว่าจะสามารถเขียนได้ต่อเนื่องแบบนี้หรือเปล่า แต่มีเขียนล่วงหน้าตุนเอาไว้ส่วนหนึ่งอย่างน้อยช่วงนี้ก็คงยังสามารถลงอย่างต่อเนื่องต่อไปได้แม้วันไหนไม่ว่างเขียนก็ตาม

ยังไงต่อจากนี้ก็จะพยายามลงวันเว้นวันแบบนี้ต่อไป หวังว่าคนที่ติดตามจะสนุกกับการอ่านต่อไปเรื่อยๆ



ในบทความนี้มีการนำภาพจากอนิเมะ "boku wa tomodachi ga sukunai" มาใช้อ้างอิงเพื่อการวิจัยศึกษาภาพเปรียบเทียบ ลิขสิทธิ์ทั้งหมดเป็นของผู้จัดทำ "boku wa tomodachi ga sukunai"
この記事では、比較研究を目的としてアニメ「僕は友達が少ない」の画像を引用しています。画像の著作権はすべて「僕は友達が少ない」の製作者に帰属します。




-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ประเทศญี่ปุ่น >> กิฟุ
-- ท่องเที่ยว >> ตามรอย
-- ท่องเที่ยว >> รถไฟ

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

บทความแต่ละเดือน

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2020年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

ค้นบทความเก่ากว่านั้น

ไทย

日本語

中文