# ศุกร์ 1 ก.ย. 2023
ต่อจากตอนที่แล้วที่มาถึงเมืองโทมาโกไมและเริ่มเช่ารถออกเดินทาง
https://phyblas.hinaboshi.com/20230905ในตอนนี้จะเริ่มเป็นการไปเที่ยวตามสถานที่เที่ยว โดยเริ่มจากสถานที่ที่มีชื่อว่า
อูโปโปย (upopoy) ซึ่งเป็นสถานที่เที่ยวที่เกี่ยวข้องกับชาวไอนุ ชนกลุ่มน้อยทางตอนเหนือของเกาะฮกไกโด
ชื่ออูโปโปยนั้นเป็นภาษาไอนุ หมายถึงการร่วมร้องเพลงด้วยกันหลายคน
ภายในอูโปโปยนั้นประกอบไปด้วยส่วนสำคัญคือ
พิพิธภัณฑ์ชนเผ่าไอนุแห่งชาติ (国立アイヌ民族博物館) ซึ่งจัดแสดงเกี่ยวกับไอนุ การเข้าชมที่นี่ทำให้ได้เห็นและเข้าใจอะไรเกี่ยวกับไอนุขึ้นมามากมาย นอกจากนี้แล้วยังมีบ้านแบบดั้งเดิมของชาวไอนุที่ถูกสร้างจำลองขึ้นมาสามารถเข้าไปชมด้านในได้ด้วย
ในหน้านี้จะมีชื่อต่างๆที่เป็นภาษาไอนุ ซึ่งจะเขียนทับศัพท์ตามที่เขียนเอาไว้ในหน้า
หลักการเขียนทับศัพท์ภาษาไอนุสำหรับใครที่สนใจภาษาก็สามารถอ่านได้ในหน้านั้น ถ้าจะเที่ยวฮกไกโด รู้ภาษาไอนุไว้ก็เป็นประโยชน์ไม่น้อย ที่มาของชื่อสถานที่ต่างๆในฮกไกโด
อูโปโปยตั้งอยู่ที่ริมทะเลสาบ
ทะเลสาบโปโรโต (ポロト湖) ใน
เมืองชิราโออิ (白老町) ซึ่งอยู่ทางตะวันตกของเมืองโทมาโกไมซึ่งเราลงเรือมา เดินทางไม่นานก็ถึง
ชื่อเมืองชิราโออินี้ก็มีที่มาจากภาษาไอนุ โดยมาจากคำว่า "ซีเราโออี" (
siraw-o-i) แปลว่า "สถานที่ที่มาเหลือบมาก"
ตำแหน่งเมืองชิราโออิในกิ่งจังหวัดอิบุริบนเกาะฮกไกโด แสดงเป็นสีเหลืองเข้มทางซ้าย
หลังจากได้เช่ารถแล้วขึ้นรถนั่งออกมาจากเมืองโทมาโกไม รถก็วิ่งท่ามกลางสายฝนมาเรื่อยๆจนมาถึงเมืองชิราโออิ แล้วก็เข้ามาจอดรถที่ที่จอดรถหน้าทางเข้าอูโปโปย ที่นี่คิดค่าจอดรถด้วยคือ ๕๐๐ เยน
แล้วก็เดินตากฝนเข้าไปด้านใน
ที่เห็นตั้งเด่นอยู่ตรงหน้าทางเข้านี้คือตัวละครมาสคอตของอูโปโปย ชื่อว่า
ตูเร็ปปน (tureppon) มาจากคำว่า ตูเร็ป (
turep) เป็นชื่อพืชชนิดหนึ่งในภาษาไอนุ ส่วนในภาษาญี่ปุ่นจะเรียกว่าโออุบายุริ (
大姥百合) ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า
Cardiocrinum cordatum เดินเข้ามาในบริเวณก็มีพวกร้านเล็กๆ
ร้านด้านหน้าสุดนี้ขายพวกขนมและไอศกรีม
ถัดมาร้านคาเฟริมเซ (
café rimse) โดยคำว่า "ริมเซ" นั้นเป็นคำภาษาไอนุหมายถึงการเต้นรำ ร้านนี้ขายอาหารไอนุ
จากนั้นเดินลึกเข้ามาก็เจอตูเร็ปปนอีก
ส่วนตรงนี้มีร้านอาหาร
ตรงส่วนนี้เป็นศูนย์อาหาร
เนื่องจากเป็นเวลาอาหารเที่ยง พวกเราจึงกินกันก่อนที่จะเข้าไปชมด้านใน โดยได้แบ่งเป็น ๒ กลุ่ม ๔ คนกินอาหารไอนุที่ร้านริมเซ และอีก ๕ คนกินที่ศูนย์อาหาร เราอยู่ในกลุ่มที่เลือกไปกินอาหารไอนุ
นี่เป็นเมนูร้านริมเซ ด้านบนเป็นอาหารพื้นบ้านไอนุ เจ็ปโอเฮา (
cep ohaw) และ กีนาโอเฮา (
kina ohaw) โดยคำว่า "เจ็ป", "กีนา", "โอเฮา" เป็นภาษาไอนุ แปลว่า "ปลา", "ผัก", "ซุป" ตามลำดับ ดังนั้นเมนูนี้จึงหมายถึงซุปปลาและซุปผักแบบไอนุนั่นเอง จะอันไหนก็ราคา ๘๐๐ เยน แต่ถ้าสั่งเป็นชุดก็จะเป็น ๑๔๐๐
เราเลือกสั่งเจ็ปโอเฮา นั่นคือซุปปลา ก็อร่อยดีทีเดียว
หลังจากกินเสร็จก็มาเดินดูแถวหน้าทางเข้าอีกหน่อย ตรงนี้มีห้องน้ำ และร้านขายของที่ระลึก
ในร้านขายพวกขนมพื้นเมืองของที่นี่
อันนี้เป็นเจ็ปโอเฮาที่เพิ่งกินไป ซื้อกลับไปทำกินได้ด้วย นอกจากนี้ยังมียุกโอเฮา (
yuk ohaw) คือซุปเนื้อกวาง
ส่วนตรงนี้เป็นพวกของที่ทำเป็นลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวไอนุ ลวดลายแบบนี้มักวาดลงบนเสื้อผ้าของชาวไอนุ เชื่อว่ามีไว้เพื่อปกป้องจากปีศาจร้าย
อันนี้เป็นถุงเท้า เราได้มีซื้อไปคู่นึงด้วย ราคา ๗๗๐ เยน
ตุ๊กตาตูเร็ปปน น่ารักดี
ในร้านมีเขียนอธิบายเกี่ยวกับตูเร็ปปนไว้ด้วย เห็นหน้าตาแบบนี้จริงๆแล้วดูเหมือนว่าจะเป็นเด็กสาวไวรุ่น
จากนั้นก็ได้เวลาเข้าชมด้านในกัน โดยก่อนอื่นต้องซื้อตั๋วเข้าชมที่เครื่องขายอัตโนมัติ
ตั๋วราคา ๑๒๐๐ เยน
จากนั้นก็เดินเข้าไปชมด้านใน ตอนนั้นเห็นเด็กมาเป็นกลุ่มกำลังเดินเข้าไปชมกันพอดี แม้จะฝนตกแต่ก็มีคนเข้ามเที่ยวที่นี่กันไม่น้อยเลย
เมื่อเข้ามาด้านใน ที่เห็นอยู่ทางซ้ายก็คือโรงละคร โดยในนี้จะมีการฉายหนังอยู่เป็นรอบๆ สามารถเข้าไปขมได้ตามรอบที่กำหนด ตอนที่เราไปถึงนั้นเป็นเวลา 14:05 และรอบต่อไปที่จะฉายคือเวลา 14:30 ทำให้ตัดสินใจไปเดินเล่นในส่วนของพิพิธภัณฑ์จนใกล้เวลาแล้วจึงไปที่โรงละครเพื่อเข้าชม จากนั้นเสร็จแล้วจึงกลับไปชมพิพิธภัณฑ์ต่อ
สำหรับเรื่องการชมพิพิธภัณฑ์จะเล่าทีเดียวเลย ส่วนตอนนี้จะเล่าถึงโรงละครก่อน
เมื่อเข้ามาด้านใน ภายในห้องชมหนังเป็นแบบนี้
สำหรับหนังที่ฉายนั้นมีอยู่ ๒ เรื่องฉายต่อกันไป เรื่องที่ฉายคือตำนานพื้นบ้านของชาวไอนุที่ได้รับการเล่าขานกันปากต่อปากมา เรียกว่า "ยูการ์" (
yukar) เรื่องแรกคือเรื่องของเด็กหนุ่มชาวไอนุ ซึ่งเราสามารถทำความเข้าใจธรรมเนียมความเชื่อและวิถีชีวิตของชาวไอนุได้ผ่านเรื่องราวนี้ ส่วนอีกเรื่องคือตำนานเรื่องล่าเกี่ยวกับเทพเจ้าแห่งดวงอาทิตย์ จุปกามุย (
cup kamuy) กับหมาจิ้งจอกชั่วร้ายที่จับลูกชายของจุปกามุยไป
มีแจกแผ่นพับให้มาอ่านด้วย
หลังจากดูเสร็จไปโดยใช้เวลาไปครึ่งชั่วโมง ต่อมาก็มาชมในส่วนของพิพิธภัณฑ์ ซึ่งเป็นส่วนหลักที่สำคัญที่สุดของที่นี่
ด้านหน้าทางเข้ามีที่วางร่มซึ่งถูทำไว้เป็นอย่างดีด้วย
ด้านในภายในชั้น ๑
เดินขึ้นมาที่ชั้น ๒
จากตรงนี้มองไปเห็นทิวทัศน์ในบริเวณนี้
เข้ามาชมห้องจัดแสดงหลัก ส่วนจัดแสดงทั้งหมดอยู่ที่ห้องใหญ่ห้องเดียวนี้ ซึ่งมีขนาดใหญ่มีอะไรอยู่มากมาย
นี่เรียกว่า อีเนา (
inaw) เป็นของที่ทำขึ้นเพื่อสำหรับใช้บูชาเทพเจ้าของชาวไอนุ
ตรงนี้แสดงเครื่องแต่งกายของชาวไอนุ โดยหลักแล้วเป็นชุดคลุมทำจากผ้าฝ้าย มีวาดลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวไอนุ
นี่เป็นชุดสำหรับใส่เมื่อทำพิธี ของผู้ชาย
ชุดของผู้หญิง
นอกจากนี้ก็มีชุดที่ทำจากเส้นใยที่ได้จากต้นอิรากุสะ (
刺草) พืชจำพวกตำแย
ที่เป็นที่รู้จักดีคือเสื้อผ้าที่ทำผ้าที่ถัดจากเปลือกไม้ต้นโอเฮียว (
於瓢) เสื้อผ้าแบบนี้มีชื่อเรียกในภาษาไอนุว่า "อัตตุส" (
attus)
นอกจากนี้แล้วที่นี่ยังแสดงเสื้อผ้าของชนเผ่าวิลตา (
уилта) และเผ่านิฟฮ์ (
нивх) ซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยที่อาศัยอยู่บนเกาะซาฮาลิน มีความใกล้ชิดกับไอนุมาก แต่เป็นคนละเผ่ากัน มีวัฒนธรรมที่แตกต่างกันไป เสื้อผ้าก็มีลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์คนละแบบกับไอนุ
อุปกรณ์สำหรับจับปลา
อุปกรณ์สำหรับเก็บหาของป่า
งานฝีมือของชาวไอนุ
ตรงนี้เป็นวีดีโอที่บอกเล่าเกี่ยวกับ "กามุย" (kamuy) ซึ่งเป็นคำเฉพาะในภาษาไอนุที่ใช้เรียกสิ่งต่างๆในธรรมชาติที่ไม่ใช่มนุษย์ บ่อยครั้งมักหมายถึงพระเจ้า แต่ก็ยังใช้เรียกพวกสัตว์ต่างๆหรือรวมถึงวิญญาณด้วย
ตรงนี้อธิบายเกี่ยวกับพิธีกรรมทางจิตวิญญาณของชาวไอนุ
จะเห็นว่าตรงหัวข้อมีเขียนเป็นภาษาไทยด้วย แม้จะแค่เล็กๆ อันนี้เป็นเรื่องของ รามัต (
ramat) ซึ่งหมายถึงจิตวิญญาณ ข้างล่างที่เห็นเป็นคาตากานะล้วนนั้นเป็นภาษาไอนุ ถูกเขียนอยู่ปนกับภาษาอื่น
นอกจากนั้นแถวนี้ก็แสดงของที่เกี่ยวกับประเพนีและพิธีกรรมของชาวไอนุอีกหลายอย่าง
เครื่องทอผ้าจากเปลือกไม้
อุปกรณ์สำหรับการกินและทำอาหาร
ตรงนี้จัดแสดงเกี่ยวกับช่วงชีวิตของชาวไอนุตั้งแต่เด็กจนแก่
เครื่องดนตรีไอนุ
แบบจำลองเรือนที่อยู่อาศัยพื้นบ้านของชาวไอนุ แบบนี้เรียกว่า โตยจีเซ (
toycise) เป็นบ้านที่มีส่วนที่ขุดลงไปอยู่ใต้ดิน
วิดีโอแสดงโครงสร้างบ้านแบบไอนุ
ตรงนี้จัดแสดงอะไรหลายอย่างเกี่ยวกับอาหารหรือของใช้ในชีวิตประจำวันของชาวไอนุ จริงๆจะมีคนมายืนบรรยายอยู่ตรงนี้ด้วย แต่จังหวะที่ไปนั้นไม่มีคนอยู่
มีตุ๊กตาใส่เสื้อผ้าลายต่างๆของไอนุให้ลองเปลี่ยนชุดเล่นได้ด้วย
ตรงนี้เป็นวิดีโอเล่าประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับไอนุ ที่เห็นอยู่นี้เป็นเรื่องราวของชากุชาอิง (
シャクシャイン, ปี 1606-1669) เป็นผู้นำชาวไอนุที่ลุกฮือขึ้นต่อต้านรัฐบาลญี่ปุ่นในช่วงต้นยุคเอโดะ เนื่องจากช่วงนั้นชาวญี่ปุ่นทั้งกึ่งปกครองฮกไกโดและได้ทำการค้ากับชาวไอนุในฮกไกโดโดยผ่าน
มัตสึมาเอะฮัง (松前藩) ซึ่งเป็นเขตการปกครองที่ตั้งอยู่ที่
เมืองมัตสึมาเอะ (松前町) ทางใต้สุดของฮกไกโด แต่การค้าไม่เป็นธรรมจึงเกิดการต่อต้านจากชาวไอนุในปี 1669 ซึ่งก็จบลงด้วยความพ่ายแพ้ และชากุชาอิงก็ถูกสังหาร
การลุกฮือของชาวไอนุเกิดขึ้นไม่บ่อยครั้งนักในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น นอกจากนี้แล้วในวิดีโอกก็ยังมีบรรยายถึงอีกศึกคือศึกคุนาชิริ-เมนาชิ (
クナシリ・メナシの戦い) ที่เกิดขึ้นทางตะวันออกของฮกไกโดในปี 1789 ซึ่งก็จบลงด้วยความพ่ายแพ้ของไอนุ และยิ่งเวลาผ่านไปชาวไอนุในฮกไกโดก็ยิ่งถูกคนญี่ปุ่นเข้าครอบงำ และยิ่งเสียความเป็นอัตลักษณ์ของตัวเองลงไปเรื่อยๆ
ตรงนี้มีอธิบายประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง
ผู้มีส่วนสำคัญในการศึกษาประวัติศาสตร์ไอนุ
หน้าจอนี้อธิบายเกี่ยวกับผลผลิตที่เก็บในฤดูต่างๆของชาวไอนุ
ตรงส่วนนี้เล่าถึงชาวไอนุคนสำคัญที่ประกอบอาชีพต่างๆ
เช่นนักแสดงชื่อ อุกาจิ ทากาชิ (
宇梶 剛士) เขาเป็นครึ่งไอนุ พ่อเป็นคนญี่ปุ่น ส่วนแม่ของเขาคือ อุกาจิ ชิซึเอะ (
宇梶 静江) เป็นชาวไอนุคนนึงที่มีบทบาทในการสนับสนุนการอนุรักษ์วัฒนธรรมไอนุ
นี่คือวงดนตรีไอนุที่มีชื่อว่า OKI DUB AINU BAND นำโดยคาโนว โอกิ (
加納 沖) ซึ่งมีเชื้อสายไอนุ
แบบจำลองเรือแบบต่างๆของไอนุ
นี่เป็นเศษซากเรือที่ขุดเจอที่ทะเลสาบอักเกชิ (
厚岸湖) ทางตะวันออกของฮกไกโด เรือแบบนี้เรียกว่า อีตาโอมาจิป (
itaomacip)
อุปกรณ์สำหรับเคลื่อนไหวบนหิมะ
ที่จริงแล้วที่นี่ยังมีอะไรอีกมาก ไม่อาจกล่าวถึงได้หมด เรามีเวลาเพียงจำกัด ใช้เวลาเดินชมไปชั่วโมงนึงเท่านั้นก็ต้องออกไปแล้ว
หลังจากนั้นก็เดินลงมาชั้น ๑
ตรงนี้มีร้านขายของที่ระลึก
จากนั้นออกจากพิพิธภัณฑ์มา เดินเข้ามาด้านในเลียบริมทะเลสาบต่อก็ยังมีอะไรให้ชมอีก
ตรงนี้มีแผนที่ให้ดูด้วย อาคารพิพิธภัณฑ์อยู่ด้านล่าง และตอนนี้เรากำลังเดินไปชมส่วนทางขวา
ตรงนี้เรียว่าอีการ์ อูซี (
ikar usi) หมายถึงที่สำหรับทำงานฝีมือ
ภายในมีพวกเสื้อผ้า ของใช้ หรืองานฝีมือที่ชาวไอนุทำขึ้น มีพื้นที่ให้ลองด้วย แต่เราไม่ได้ทำอะไร แค่มาดูผ่านๆแบบรีบๆ
นี่คือรองเท้าทำจากหนังปลา เรียกว่า "เจ็ปเกร์" (
cepker)
มีดสั้นของชาวไอนุ เรียกว่า "มากีรี" (
makiri)
มีเสื้อผ้าพื้นเมืองของชาวไอนุ เหมือนที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ที่เพิ่งไปชมมี แต่อันนี้วางไว้ให้สามารถจับต้องได้ เราก็ได้ลองจับดูสัมผัสเนื้อผ้า
หมีสลักไม้ ชาวไอนุเรียกหมีว่ากีมุนกามุย (
kimunkamuy) นับถือเป็นพระเจ้า
เดินถัดต่อเข้ามาเห็นอาคารสวยๆ นั่นคืออาคารสำนักงานของที่นี่ ไม่ได้เปิดให้เข้าชม ได้แค่เดินผ่านไป
ถัดมาเป็นบ้านหลังเล็กๆแบบไอนุดั้งเดิม เรียกว่า "จีเซ" (
cise)
หลังนี้เรียกว่า "ซีนตจีเซ" (
sinot cise) ภายในดูเหมือนว่าจะมีจัดกิจกรรมอะไรตามเวลา สามารถเข้าไปได้ แต่ตอนนี้ไม่ได้เปิดอยู่
บ้านถัดมาเป็นหลังใหญ่ที่เรียกว่า "โปโรจีเซ" (
poro cise) แปลว่า "บ้านหลังใหญ่" สามารถเข้าไปชมด้านในได้
ด้านใน
หลังถัดมาด้านในสุดเรียกว่า "ปนจีเซ" (
pon cise) แปลว่า "บ้านหลังเล็ก"
หลังนี้ก็สามารถเข้าไปชมด้านในได้
ถัดจากตรงนี้ไปก็ไม่ใช่บริเวณที่เปิดให้เข้าชมแล้ว การเที่ยวที่นี่จึงจบลงเท่านี้
หลังจากนั้นก็ได้เวลาเดินกลับไปยังทางเข้าและไปยังที่จอดรถเพื่อเดินทางไปต่อ
แม้ว่าจะมีเวลาเที่ยวจำกัด แถมฝนยังตกอยู่ทำให้ลำบากไปบ้าง แต่ก็ได้เที่ยวชมที่นี่อย่างจุใจ ได้เรียนรู้อะไรเกี่ยวกับไอนุเพิ่มขึ้นมามาก ถือว่าคุ้มค่าจริงๆที่ได้มา
ตอนต่อไปจะเดินทางต่อไปมุ่งสู่ทะเลสาบโทวยะ (
洞爺湖)