# เสาร์ 20 ม.ค. 2023วันนี้ได้ไปเที่ยว
หอดูดาวเมืองเซนได (
仙台市天文台) ซึ่งเป็นหอดูดาวแห่งหนึ่งที่ตั้งอยู่ในย่าน
นิชิกิงาโอกะ (
錦ケ丘) ซึ่งเป็นชานเมืองทางตะวันตกของเมืองเซนได
หอดูดาวแห่งนี้มี
กล้องโทรทรรศน์ฮิโตมิ (ひとみ
望遠鏡) ซึ่งมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางกล้อง ๑.๓ เมตร มีขนาดใหญ่ที่สุดในภูมิภาคโทวโฮกุ ตอนกลางวันเปิดให้เข้าชมตัวกล้องได้ และมีให้ลองส่องเห็นดาวตอนกลางวันได้ด้วย
หอดูดาวแห่งนี้เดิมทีตั้งอยู่ใกล้ย่านใจกลางเมืองเซนได เปิดเมื่อปี 1955 แต่ถูกย้ายไปยังที่ปัจจุบันในปี 2008
ที่นี่เปิดให้เข้าชมช่วงกลางวัน เวลา 9:00-17:00 ค่าเข้าชมส่วนจัดแสดง ๖๐๐ เยน และภายในยังมีท้องฟ้าจำลอง ค่าเข้าชม ๖๐๐ เยน แต่ถ้าซื้อตั๋วเข้าชมส่วนจัดแสดงพร้อมกับท้องฟ้าจำลองก็จะราคา ๑๐๐๐ เยน
การเดินทางไปยังหอดูดาวนี้มีหลายวิธี แต่ที่สะดวกที่สุดคือนั่งรถเมล์สายที่วิ่งจากสถานีเซนไดไปยัง
เมืองคาวาซากิ (
川崎町) ซึ่งเราก็เคยนั่งสายนี้มาแล้วตอนไปเที่ยว
สวนมิจิโนกุ (みちのく
公園) เล่าไว้ใน
https://phyblas.hinaboshi.com/20231030หอดูดาวตั้งอยู่ระหว่างทางไปเมืองคาวาซากิ และเป็นป้ายแรกที่รถเมล์สายนี้จอด ใช้เวลา ๒๐ นาทีในการเดินทางไปถึง
ครั้งนี้เรามารอขึ้นรถเมล์รอบเวลา 9:30 ซึ่งเป็นรอบแรกของวัน (ที่จริงสายนี้มีรอบ 8:30 อยู่ด้วย แต่รอบนั้นไม่จอดที่หอดูดาวด้วย)
แล้วก็เดินทางมาถึงหอดูดาว
ทางเข้าเดินไปทางนี้
เมื่อเข้ามาถึงด้านในก็พบเครื่องฉายดาวของท้องฟ้าจำลองอันเก่าวางแสดงอยู่เด่นหน้าประตู
จากนั้นก็เข้ามาซื้อตั๋วชุดสำหรับเข้าชมส่วนจัดแสดงและส่วนท้องฟ้าจำลองราคา ๑๐๐๐ เยน ซึ่งตอนที่ไปถึงก็เป็นเวลาที่ท้องฟ้าจำลองกำลังเริ่ม คือเวลา 10:00 จึงเข้าไปชมก่อนที่จะไปชมส่วนอื่น
ทั้งหมดความยาว ๔๐ กว่านาที ระหว่างที่ฉายอยู่แค่นั่งชมไป ห้ามถ่ายรูปจึงไม่ได้เก็บภาพอะไรมา
ภายในห้องฉายดาวหลังจากฉายเสร็จ
จากนั้นเวลา 11:00 มีการเปิดให้ชมกล้องโทรทรรศน์ฮิโตมิ พอเสร็จจากการฉายดาวก็รีบขึ้นไปชมต่อ ตัวกล้องอยู่ที่ชั้น ๓
เดินขึ้นไปถึงก่อนเวลา ต้องรอเล็กน้อยจนกว่าห้องจะเปิด มีคนมาเข้าชมไม่น้อย
พอได้เวลาก็เข้าไปได้
ที่อยู่ตรงกลางห้องนี้คือกล้องโทรทรรศน์ฮิโตมิ ผู้เข้าชมยืนชมอยู่รอบๆ โดยมีผู้บรรยายอยู่ตรงกลาง
เมื่อผู้ชมเข้ามายืนกันพร้อมก็เริ่มการบรรยายเกี่ยวกับตัวกล้องนี้ และมีการสาธิตการควบคุมกล้องให้ดูด้วย การควบคุมกล้องทำโดยผ่านจอสัมผัสที่อยู่ใต้ตัวกล้องนี้
แล้วเขาก็ควบคุมหันกล้องให้ก้มลงมาให้เห็นด้านหน้า แต่ในภาพนี้ลำกล้องยังปิดอยู่ มองไม่เห็นภายใน
แล้วเขาก็ทำการเปิดลำกล้องให้มองเห็นส่วนกระจกด้านใน
ระหว่างที่กล้องกำลังหมุนก็แหงนมองเห็นตัวกระจกปฐมภูมิของกล้องโทรทรรศน์ได้
จากนั้นเขาก็เริ่มทำการเปิดโดม
โดมด้านบนเปิดออก เริ่มมองเห็นท้องฟ้า
เท่านี้กล้องก็พร้อม เริ่มทำการสังเกตการณ์ได้
จากนั้นเขาก็เปิดให้ผู้ชมเข้ามาส่องกล้องโทรทรรศน์เพื่อดูดาวทีละคน เวลานี้เป็นตอนกลางวันเห็นดาวยาก แต่ถ้าใช้กล้องนี้ก็สามารถเห็นดาวสว่างได้ ครั้งนี้เขาเล็งกล้องไปทางดาวเวกาในกลุ่มดาวพิณ ซึ่งเป็นดาวสว่างที่ปกติเห็นได้ในท้องฟ้าฤดูร้อน แต่ว่าในฤดูหนาวแบบนี้จะอยู่บนฟ้าในช่วงกลางวัน
นี่เป็นครั้งแรกเลยที่มีโอกาสได้ส่องกล้องโทรทรรศน์ดูดาวเวลากลางวัน ปกติไม่เคยเจอแบบนี้เหมือนกันเพราะกล้องโทรทรรศน์มักจะส่องตอนกลางคืนกัน ถือเป็นประสบการณ์แปลกใหม่
หลังจากส่องดาวเวกาเสร็จ การชมกล้องก็จบลงเท่านี้ เดินกลับลงมาชั้นล่าง
ตรงนี้มีร้านขายของกินเล่น
แล้วก็ร้านขายของที่ระลึก
ได้เวลาเข้าชมส่วนจัดแสดง
ตรงส่วนนี้จัดแสดงเกี่ยวกับโลกและระบบสุริยะ
ตรงส่วนนี้อธิบายเรื่องการเกิดฤดูกาลโดยให้หมุนดูโลกที่โคจรรอบดวงอาทิตย์และความเปลี่ยนแปลงของการรับแสง
อธิบายเกี่ยวกับดาวเคราะห์น้อย ดาวหาง ฯลฯ
อุกกาบาตแบบต่างๆ
แบบสามมิติแสดงตำแหน่งของดาวต่างๆในดาราจักรทางช้างเผือก แต่ว่าดูยากไปหน่อย
ตรงส่วนนี้แสดงให้ดูระยะทางจริงๆของดาวแต่ละดวงในกลุ่มดาว ให้เห็นว่าถ้ามองจากมุมอื่นกลุ่มดาวก็จะไม่เป็นกลุ่มดาวดังที่เห็นจากโลก
ฐานข้อมูลดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ
ส่วนนี้อธิบายเกี่ยวกับปรากฏการณ์เลนส์ความโน้มถ่วง
บริเวณนี้เป็นส่วนจัดแสดงเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ดาราศาสตร์
ตรงส่วนนี้อธิบายเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของท้องฟ้าจำลอง และพูดถึงของที่เซนได
อุปกรณ์ดาราศาสตร์สมัยก่อน
อันนี้มีให้สแกน QRcode เพื่อคุยกับนักดาราศาสตร์
เราลองเอาโทรศัพท์มือถือขึ้นมาสแกนดูก็โผล่มาเป็นเว็บที่มีรูปกาลิเลโอหน้าดุๆ ปากขยับและมีข้อความขึ้นมาอธิบายเรื่องดาราศาสตร์
ตรงนี้แสดงประวัติศาสตร์ดาราศาสตร์ไล่ตามเวลา
มีแบบจำลองกล้องโทรทรรศน์ต่างๆด้วย อันนี้เป็นกล้องโทรทรรศน์เก่าที่วิลเลียม เฮอร์เชลใช้สังเกตการณ์
กล้องโทรทรรศน์สึบารุ (すばる
望遠鏡) ขนาด ๘.๒ เมตร ของญี่ปุ่น
การชมภายในหอดูดาวแห่งนี้ก็จบลงแต่เพียงเท่านี้ จากนั้นก็เดินออกมา
การเที่ยวครั้งนี้ยังไม่ได้จบลงเท่านี้ เพราะในย่านแถวนี้ยังมีสถานที่เที่ยวอื่นอยู่ด้วย ตอนต่อไปจะแวะไปชมพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำที่อยู่ใกล้ๆกันนีต่อไป
https://phyblas.hinaboshi.com/20240121