φυβλαςのβλογ
phyblasのブログ
ทวีต
ชมฟ้าหญิงดีดกู่เจิงในงานสายสัมพันธ์สองแผ่นดินที่มหาวิทยาลัยชิงหัว
เขียนเมื่อ 2013/12/15 22:35
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
#เสาร์ 14 ธ.ค. 2013
เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2013 ที่ผ่านมามีโอกาสได้ไปชมงานสายสัมพันธ์สองแผ่นดิน (ไทยจีน) ครั้งที่ ๖ ซึ่งเป็นงานแสดงดนตรีและการแสดงต่างๆโดยมีทั้งของไทยและของจีน และจุดเด่นที่สำคัญสุดของงานนี้ก็คือฟ้าหญิงมาแสดงการดีดกู่เจิง
การแสดงมีทั้งหมด ๑๖ ชุด ใช้เวลา ๒ ชั่วโมงครึ่ง ในจำนวนนั้นเป็นการแสดงดีดกู่เจิงทั้งหมด ๙ เพลง ที่เหลือเป็นการแสดงของไทย ๔ รายการและการแสดงของจีน ๓ รายการ
รายละเอียดเกี่ยวกับการแสดงนั้นคงจะไม่พูดถึงเลยเพราะว่าไม่ค่อยมีความรู้เรื่องเพลงและเรื่องศิลปะการแสดงอะไรเลย เลยได้แค่เล่าคร่าวๆ
งานนี้จัดขึ้นทุกปี โดยปีนี้เป็นปีที่ ๖ แล้ว สำหรับปีนี้มีจัดทั้งหมดสามที่คือที่ปักกิ่งในวันที่ 14 ที่หางโจวในวันที่ 17 และที่เซี่ยงไฮ้ในวันที่ 20
สำหรับในปักกิ่งจัดที่มหาวิทยาลัยชิงหัว ซึ่งบังเอิญว่าวันก่อนก็เพิ่งไปสอบวัดระดับภาษาญี่ปุ่นมาพอดี
https://phyblas.hinaboshi.com/20131201
อาคารที่จัดแสดงก็คือตึกซินชิงหัวเสวียถาง (新清华学堂) ที่เคยเดินผ่านมาแล้วตอนนั้น
รูปที่ถ่ายเมื่อวันนั้น ตอนนั้นแค่เดินผ่านก็รู้สึกว่าเป็นตึกที่สวยดี
สำหรับวันนี้เรามาตอนกลางคืน เพราะงานนี้เป็นเวลา 19:30-22:00 น. ที่ตึกนี้เป็นเป็นอีกบรรยากาศ มีเปิดไฟสวยงาม ตอนที่มาถึงก็พบว่ามีคนมารอต่อแถวเข้ากันอยู่แล้วมากมาย ส่วนใหญ่เป็นคนไทยเกือบทั้งหมดเลย เต็มไปด้วยคนไทยมาจนแทบลืมไปว่าอยู่จีนเลย
จะเข้าไปข้างในใด้ต้องมีบัตรเข้าร่วมงาน ซึ่งนักเรียนทุกคนที่เรียนอยู่ในปักกิ่งสามารถรับมาได้มาฟรี แค่ต้องบอกชื่อจองไว้ล่วงหน้าเท่านั้น
ด้านใน
บัตรของเราอยู่ชั้น ๓ ต้องขึ้นไป
ห้องที่จัดแสดง มีทั้งหมด ๓ ชั้น เวทีอยู่ด้านล่างสุด ที่จริงอยู่ชั้น ๓ ค่อนข้างไกลไปหน่อย เห็นเวทีเล็กมากเลย
เราไปถึงตอนหกโมงครึ่ง คนยังโล่งๆอยู่เลย ต้องนั่งรออยู่ชั่วโมง
พอเจ็ดโมงครึ่งการแสดงก็เริ่มขึ้น เพลงแรกที่ออกมาก็คือเพลง "เดือนเพ็ญ" เป็นเพลงเก่าที่ชอบมากเพลงหนึ่งเลย ด้านหน้าเป็นสองคนดีดกู่เจิง ส่วนด้านหลังนั้นมีวงดนตรีขนาดใหญ่คอยเล่นประสาน
คนแรกที่อยู่ทางซ้ายก็คือฟ้าหญิง
ส่วนอีกคนเป็นอาจารย์ที่สอนฟ้าหญิงเล่นกู่เจิง ชื่อว่าฉางจิ้ง (常静) เป็นนักดนตรีที่มีชื่อเสียงมากในจีน เรื่องเกี่ยวกับฉางจิ้งเห็นมีคนเขียนไว้ละเอียดเลยสามารถอ่านได้ที่นี่
http://www.thaichinese.net/thaichineseblog/lily-chang
จะเห็นได้ชัดว่าเธอดีดกู่เจิงเก่งมาก ด้วยท่าทีพริ้วไหวมีลีลา ไม่ใช่แค่นั่งจ้องกู่เจิงตั้งหน้าตั้งตาดีดอยู่ตลอดเวลา สมเป็นมืออาชีพจริงๆ
ต่อจากเพลงเดือนเพ็ญก็เป็นเพลงจีนชื่อฉางเจียงฮวาเยวี่ยเย่ (春江花月夜)
หลังจากเล่นจบไปสองเพลง ต่อมาก็เป็นการแสดงรำเชี่ยวเจียงหนาน (俏江南) ของจีน
ตามด้วยรำไทย
รำไทยอีกชุด
พอดีตำแหน่งมุมที่นั่งไม่ค่อยดีเท่าไหร่ มีเหล็กด้านหน้าบัง เลยไม่อาจถ่ายภาพการแสดงอันนี้ได้ชัด
ตามด้วยการแสดงชุดสุ่ยจือหลิง (水之灵) ของจีน (เสียดายจริงๆ เหล็กด้านหน้าที่นั่งบังเต็มๆเลยไม่มีรูปชัดๆเลย)
เสร็จแล้วก็กลับมาเป็นการดีดกู่เจิงต่อ เพลงดวงทิพย์
ตามด้วยเพลงฉางเสี่ยงสือ (长相思) ของจีน
แล้วก็เพลงแคนลำโขง อันนี้ตอนแรกที่เขาขึ้นชื่อภาษาอังกฤษมานี่เล่นเอางงว่าควรจะอ่านว่าอะไร สะกดให้ถูกจริงๆน่าจะเขียนว่า khaen lam khong มากกว่า
หลังจากแสดงไป ๙ ชุดแล้วก็มีการพักครึ่ง ระหว่างพักครึ่งเขาบอกว่าให้คนที่อยู่ชั้น ๓ บางส่วนย้ายไปนั่งชั้น ๑ ได้ เนื่องจากที่ข้างล่างโล่งเยอะ ลงไปข้างล่าง ตอนแรกเขาก็จะให้เราย้ายไปด้วย แต่ไปๆมาๆสุดท้ายก็กลับมาอยู่ชั้น ๓ เหมือนเดิม เพียงแต่เปลี่ยนตำแหน่งที่นั่งให้เห็นชัดขึ้น
แล้วการแสดงก็เริ่มต่อ คราวนี้ได้ตำแหน่งที่เห็นชัดกว่าเดิมมาก
การแสดงของไทย
แล้วก็ต่อด้วยการแสดงของจีนอีก
แล้วก็การแสดงของไทยอีกชุด เป็นอย่างสุดท้าย
ก่อนจะมาเริ่มการแสดงกู่เจิ้งช่วงท้ายสุดอีกสองเพลง นี่คือเพลงยามเย็น เป็นเพลงพระราชนิพนธ์ที่ใครๆก็ต้องเคยได้ยินตอนข่าวพระราชสำนัก
จะสังเกตได้อย่างหนึ่งว่าหลังจากช่วงพักนั้นทั้งสองคนมีไปเปลี่ยนชุดมาด้วย
แล้วเพลงสุดท้ายของงานนี้ก็คือเพลงสายสัมพันธ์สองแผ่นดิน เป็นเพลงที่มีเนื้อร้องทั้งภาษาไทยและจีน
และแล้วงานก็จบ นักแสดงทั้งหมดออกมาอยู่หน้าเวที พิธีกรกล่าวปิดงาน
หลังงานจบแล้ว สำหรับคนไทยที่มาดูงานนั้นมันยังไม่จบ เพราะต่อไปต้องลงมาชั้นล่างมาส่งเสด็จฟ้าหญิง
ตั้งแถวรอส่งเสด็จ
แล้วเวลาที่รอก็มาถึง ฟ้าหญิงเดินออกมาแล้ว
เมื่อส่งเสด็จเสร็จเราก็เดินออกจากอาคารที่จัดแสดงงานแล้วก็ได้เวลาแยกย้ายกันกลับมหาวิทยาลัยตัวเองโดยนั่งรถเท็กซีเนื่องจากดึกแล้วไม่มีรถเมล์กลับ
เป็นงานที่คุ้มดี ได้ชมการแสดงกู่เจิงของฟ้าหญิงและก็นักดนตรีชื่อดังอย่างฉางจิ้ง แล้วก็ยังการแสดงอื่นๆอีก นานๆทีมาร่วมกิจกรรมแบบนี้ก็ดีเหมือนกันอยู่ไทยก็ยังไม่เคยมีโอกาสแบบนี้เลย
และงานนี้ทำให้รู้ว่ามีคนไทยอาศัยอยู่ในปักกิ่งมากแค่ไหน เท่าที่เห็นก็มีเป็นร้อยๆ ให้บรรยากาศเหมือนอยู่เมืองไทยเลยจนอาจเผลอนึกว่าเรากลับไทยแล้วทีเดียว
{{s.chue}}
〇
✖
ทวีต
-----------------------------------------
囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧
ดูสถิติของหน้านี้
หมวดหมู่
--
ท่องเที่ยว
>>
มหาวิทยาลัย
--
ประเทศจีน
>>
จีนแผ่นดินใหญ่
>>
ปักกิ่ง
ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ
三
~ 自己紹介 ~
目次
日本による名言集
python
モジュール
-- numpy
-- matplotlib
-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
機械学習
-- ニューラル
ネットワーク
javascript
モンゴル語
言語学
maya
確率論
日本での日記
中国での日記
-- 北京での日記
-- 香港での日記
-- 澳門での日記
台灣での日記
北欧での日記
他の国での日記
qiita
その他の記事
記事の類別
==เลือกหมวด==
ดาราศาสตร์
คณิตศาสตร์
-ความน่าจะเป็น
คอมพิวเตอร์
-เขียนโปรแกรม
--python
---numpy
---scipy
---matplotlib
---pandas
---manim
---pyqt
---sklearn
---pytorch
---mayapython
--ruby
--javascript
--dart
--MATLAB
--SQL
--regex
--opencv
-shell
-3D
--maya
--MMD
-microsoft_office
-pdf
-ปัญญาประดิษฐ์
--โครงข่ายประสาทเทียม
--สเตเบิลดิฟฟิวชัน
---comfyui
-การสุ่ม
ภาษาศาสตร์
-ตัวอักษร
-เรียนภาษา
-หลักเกณฑ์การทับศัพท์
-ภาษาจีน
--ภาษาจีนกลาง
-ภาษาญี่ปุ่น
-ภาษามองโกล
-ภาษาลาว
-ภาษาเขมร
ประวัติศาสตร์
-ประวัติศาสตร์จีน
-ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น
ปรัชญา
ประเทศจีน
-จีนแผ่นดินใหญ่
--ปักกิ่ง
--เทียนจิน
--เหลียวหนิง
--เหอเป่ย์
--เหอหนาน
--ซานตง
--ซานซี
--อานฮุย
--เจ้อเจียง
--หูเป่ย์
--หูหนาน
--ฝูเจี้ยน
--กวางตุ้ง
---แต้จิ๋ว
--ยูนนาน
--ซินเจียง
-ฮ่องกง
-มาเก๊า
-ไต้หวัน
--ไทเป
--จีหลง
--เถาหยวน
--ซินจู๋
--เหมียวลี่
--ไถจง
--จางฮว่า
--หยวินหลิน
--เจียอี้
--ไถหนาน
--เกาสยง
--ผิงตง
--อี๋หลาน
ประเทศญี่ปุ่น
-ฮกไกโด
-อาโอโมริ
-อิวาเตะ
-มิยางิ
-อากิตะ
-ยามางาตะ
-ฟุกุชิมะ
-อิบารากิ
-โทจิงิ
-กุมมะ
-ไซตามะ
-จิบะ
-โตเกียว
-คานางาวะ
-นีงาตะ
-โทยามะ
-อิชิกาวะ
-ฟุกุอิ
-ยามานาชิ
-นางาโนะ
-กิฟุ
-ชิซึโอกะ
-ไอจิ
-มิเอะ
-ชิงะ
-เกียวโต
-โอซากะ
-เฮียวโงะ
-นาระ
-วากายามะ
-โอกายามะ
-ฮิโรชิมะ
-ยามางุจิ
-ฟุกุโอกะ
-ซางะ
-นางาซากิ
-คุมาโมโตะ
-โออิตะ
ต่างแดน
-อุษาคเนย์
--กัมพูชา
--พม่า
--สิงคโปร์
-ยุโรป
--สวีเดน
--เดนมาร์ก
--ฟินแลนด์
-ออสเตรเลีย
ท่องเที่ยว
-มหาวิทยาลัย
-พิพิธภัณฑ์
--พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์
--หอศิลป์
-สวนสัตว์
--พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ
-ท้องฟ้าจำลอง
-ตึกระฟ้า
-ปราสาท☑
--ปราสาทญี่ปุ่น
--ปราสาทขอม
--ปราสาทยุโรป
-ศาสนสถาน
--วัด
--ศาลเจ้า
--โบสถ์
--มัสยิด
-สุสาน
-มรดกโลก
-ทะเล
-ทะเลสาบ
-ภูเขา
-ภูเขาไฟ
-หิมะ
-ดอกซากุระ
-แมว
-รถไฟ
-เรือ
-ตลาดกลางคืน
-งานเทศกาล
-ที่ระลึกภัยพิบัติ
-ตามรอย
-ราเมง
บันเทิง
-เกม
--อาเตอลีเย
--โปเกมอน
--caligula
--vn
-อนิเมะ
-มังงะ
-นิยาย
-เพลง
--เพลงอนิเมะ
--เพลงเกม
เรื่องแต่ง
บันทึก
ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ
記事を検索
最新記事
เดินเล่นแถวย่านจายามะและทาจิมะในเขตโจวนังใจกลางเมืองฟุกุโอกะในวันบรรลุนิติภาวะ
วันที่หิมะแรกตกในฟุกุโอกะ 10 มกราคม 2025
รอต่อแถวยาว ๒ วันเพื่อกินราเมงร้านดัง เมนยะคาเนโตระ ในย่านเทนจิงใจกลางเมืองฟุกุโอกะ
เดินหาร้านไปทั่วย่านเมย์โนฮามะและอุจิฮามะที่เงียบเหงาในวันปีใหม่ เจอแต่ความว่างเปล่า
วันปีใหม่ไปฮัตสึโมวเดะที่ศาลเจ้าวาชิโอะอาตาโงะในเขตนิชิของเมืองฟุกุโอกะ
おすすめの記事
รวมร้านราเมงในเมืองฟุกุโอกะ
ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ
月別記事
2025年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2024年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2023年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2022年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2021年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
もっと前の記事
ไทย
日本語
中文