φυβλαςのβλογ
phyblasのブログ



สุสานมัตเตโอ ริชชี และคณะมิชชันนารีต่างชาติ
เขียนเมื่อ 2015/05/15 13:31
แก้ไขล่าสุด 2024/02/04 06:10
#พฤหัส 23 เม.ย. 2015

ประเทศจีนนั้นตั้งแต่สมัยโบราณก็มีการติดต่อกับดินแดนต่างๆ ทั้งในเอเชียด้วยกันและกับทางยุโรป การติดต่อกับทางยุโรปนั้นมีทั้งจุดประสงค์เรื่องการค้าและการเผยแพร่ศาสนา

มีหลักฐานบันทึกว่าตั้งแต่ยุคราชวงศ์ถัง (唐朝, ปี 618 - 907) ก็มีคณะเยซูอิดเริ่มเดินทางมาที่จีนเพื่อเผยแพร่ศาสนาแล้ว และหลังจากนั้นก็มีอยู่เรื่อยๆ

คณะเยซูอิตที่เข้ามาเผยแพร่ศาสนาในจีนซึ่งมีชื่อเสียงมากคนหนึ่งคือมัตเตโอ ริชชี (Matteo Ricci) หรือที่รู้จักกันในชื่อจีนว่าลี่หม่าโต้ว (利玛窦) เป็นชาวอิตาลีซึ่งเข้ามาในช่วงปลายยุคราชวงศ์หมิง (明朝, ปี 1368 - 1644)

เขาเดินทางมาพำนักอยู่จีนตั้งแต่ปี 1583 และอยู่จีนโดยตลอดจนเสียชีวิตไปในปี 1610 ตลอดเวลาช่วงนั้นเป็นรัชสมัยของจักรพรรดิว่านลี่ (万历) ซึ่งครองราชย์ช่วงปี 1572 - 1620

เขาไม่เพียงแต่จะมาเผยแพร่ศาสนาเท่านั้นแต่ยังนำวิทยาการความรู้จากทางตะวันตกมาด้วย หนึ่งในผลงานที่สำคัญของเขาก็คือแผนที่โลกที่วาดขึ้นในปี 1602 ซึ่งแสดงพื้นที่ต่างๆบนโลกอย่างละเอียด แม้แต่ทวีปอเมริกาเหนือใต้ซึ่งสมัยนั้นถือเป็นดินแดนใหม่มากก็มีการวาดเอาไว้ด้วย สวีกวางฉี่ (徐光启) นักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญคนหนึ่งของจีนก็ได้เรียนวิทยาการต่างๆจากเขามา จักรพรรดิว่านลี่ก็เห็นความสำคัญของเขาไม่น้อยเช่นกัน

เมื่อเขาเสียชีวิตลงศพของเขาก็ได้ถูกนำมาฝังที่สุสานจ้าหลาน (栅栏) ซึ่งอยู่นอกกำแพงเมืองปักกิ่งไปทางตะวันตกเล็กน้อย บริเวณนั้นเป็นที่ฝังศพคณะเยซูอิดทั้งหลาย ปัจจุบันได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นสมบัติทางวัฒนธรรมที่สำคัญในชื่อสุสานมัตเตโอ ริชชีและคณะมิชชันนารีต่างชาติ (利玛窦和外国传教士墓地)

ปัจจุบันสุสานนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิทยาลัยบริหารศาสตร์ปักกิ่ง (北京行政学院) สามารถเดินเข้าไปชมได้ตามสบายไม่ต้องเสียค่าเข้า



การเดินทางให้นั่งรถไฟฟ้าสาย ๖ ไปลงที่สถานีเชอกงจวางซี (车公庄西站) สถานีนี้อยู่ใกล้สุด หรือถ้าใครนั่งรถไฟฟ้าใต้ดินสาย ๒ ละก็จะลงที่สถานีเชอกงจวาง (车公庄站) เลยโดยไม่ต้องอุตส่าห์เปลี่ยนรถมายังสาย ๖ ก็ได้ แต่จะเดินไกลกว่าหน่อย

ครั้งนี้เราเดินทางมาจากสถานีเฉาหยางเหมินหลังเที่ยววัดตงเยวี่ย (东岳庙) เสร็จ https://phyblas.hinaboshi.com/20150513



ดังนั้นจึงนั่งยาวตามสาย ๖ มาลงที่สถานีเชอกงจวางซีเลย



เมื่อออกมาจากสถานีก็ออกทางประตูตะวันออกเฉียงใต้จากนั้นเดินไปทางตะวันออก



แล้วก็จะเจอทางเข้าสู่วิทยาลัยบริหารศาสตร์ปักกิ่ง เดินเข้าไปได้เลย



เข้ามาด้านในแล้ว พวกนี้ก็เป็นอาคารของโรงเรียน ปกคลุมไปด้วยต้นไม้เต็มไปหมดดูสวยดี




นี่คือดอกเหวินกว้านกั่ว (文冠果) เป็นพืชในวงศ์เงาะ




เดินไปตามทางเรื่อยๆ เข้าไปด้านใน




เมื่อเดินมาใกล้ถึงก็เจอกับคณะทัวร์กลุ่มหนึ่งที่พาฝรั่งมาหลายคน พอเข้าไปดูใกล้ๆก็เห็นว่าพวกเขาพูดภาษาฝรั่งเศสกัน



ลองมองไปที่รถที่พวกเขานั่งมาก็เห็นมีป้ายเขียนเป็นภาษาฝรั่งเศสว่า intermèdes Le voyage culturel พอลองกลับมาหาข้อมูลดูก็พบว่านี่เป็นทัวร์ของฝรั่งเศสสำหรับจัดการท่องเที่ยวในเชิงวัฒนธรรม นี่เป็นเว็บของเขา http://www.intermedes.com



ดูก็รู้ว่าคนพวกนี้ต้องมีเป้าหมายเดียวกับเราแน่นอน จึงรีบเดินช่วงหน้านำพวกเขาไปยังที่หมายก่อนที่พวกเขาจะตามมาแล้วคนจะเยอะ แล้วเราก็มาถึงประตูทางเข้าสุสานในที่สุด



เมื่อเดินเข้าไปตามทางที่มีต้นไม้ขนาบข้างทางอยู่ในที่สุดก็พบป้ายหลุมศพของมัตเตโอ ริชชีอยู่ตรงหน้า แต่ว่ามีประตูกั้นอยู่เข้าไปไม่ได้



สักพักมีคนจีนเดินตามเราเข้ามาเขาถือกุญแจอยู่ในมือ เขาเข้ามาถามเราว่ามาทำอะไรเราก็บอกว่ามาชมหลุมศพ เขาก็บอกว่าที่นี่เข้าไม่ได้ ต้องมากับกลุ่ม อย่างไรก็ตามเขามาเพื่อเปิดประตูเพื่อต้อนรับกลุ่มนักท่องเที่ยวที่เข้ามานี่อยู่แล้ว เขาอนุญาตให้เราเดินตามกลุ่มนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้เข้าไปด้วย


กลุ่มนักท่องเที่ยวชาวฝรั่งเศส คนที่ถือธงน่าจะเป็นมัคคุเทศก์ชาวจีนแต่พูดภาษาฝรั่งเศสได้



เราเดินตามพวกเขาเข้ามา จะเห็นว่าป้ายหลุมศพของมัตเตโอ ริชชีตั้งเด่นอยู่ตรงกลาง โดยมีป้ายหลุมศพของอีกสองคนตั้งขนาบอยู่ แผ่นป้ายทั้งสามมีสลักทั้งเป็นภาษาจีนและภาษาละติน



ป้ายหลุมศพมัตเตโอ ริชชี ตัวอักษรค่อนข้างเลือนอ่านยาก



ทางซ้ายคือหลุมศพของโยฮัน อดัม ชาล ฟอน เบล (Johann Adam Schall von Bell) ชาวเยอรมัน มีชื่อจีนว่าทางนั่วว่าง (汤若望)



ด้านหลัง



ทางขวาคือหลุมศพของแฟร์ดีนันด์ แฟร์บีสต์ (Ferdinand Verbiest) ชาวเบลเยียม มีชื่อจีนว่าหนานหวยเหริน (南怀仁)



ด้านหลัง



ทั้งสองคนนี้ก็เป็นบุคคลที่มีความสำคัญมากในประวัติศาสตร์จีนเช่นกัน พวกเขาต่างนำวิทยาการต่างๆมาให้จีน เป็นบุคคลที่น่ายกย่อง

นอกจาก ๓ คนนี้แล้ว มองข้ามกำแพงไปอีกฝากก็ยังเจอหลุมศพของคนอื่นๆอีกหลายคนซึ่งป้ายอันเล็กกว่า



บนกำแพงนั้นมีแมวอยู่ ๒ ตัว



มองดูแล้วขนปุยน่ารักทั้งคู่เลย




ระหว่างนั้นคนจีนคนที่เปิดประตูให้เข้ามาตอนแรกซึ่งน่าจะเป็นคนของที่นี่ก็อธิบายเป็นภาษาจีน แล้วมัคคุเทศก์ก็แปลเป็นภาษาฝรั่งเศสให้กลุ่มนักท่องเที่ยวฟัง



เราลองถือโอกาสฟังไปด้วย ระหว่างนั้นก็เดินเล่นถ่ายรูปไปพลาง แล้วก็มีโอกาสได้ลองทักนักท่องเที่ยวคนหนึ่งซึ่งดูเหมือนจะไม่ได้กำลังฟังที่มัคคุเทศก์พูดอยู่ ถามไปเป็นภาษาอังกฤษ ถามว่าคุณมาจากไหน เขาก็ตอบว่ามาจากฝรั่งเศส พอเราถามต่อว่าคุณมาเที่ยวหรือ เขาก็ทำหน้างงๆแล้วพูดตอบอะไรมาเราฟังไม่รู้เรื่อง เราถามย้ำอีกทีเขาก็ตอบมาอีก ฟังจับใจความได้ว่าน่าจะพูดประมาณว่า "โดนต์อันเดอร์สแตนด์" ก็คือแปลว่าไม่เข้าใจ เราเองก็ไม่ค่อยเข้าใจที่เขาพูดเหมือนกัน บทสนทนาจึงจบลงแค่นี้ เขายิ้มให้ในขณะที่เราเดินจากไป


อย่างที่รู้มา คนฝรั่งเศสเขาไม่ค่อยพูดภาษาอังกฤษกันจริงๆ นั่นก็เป็นเหตุผลหนึ่งว่าทำไมคนถึงนิยมเรียนภาษาฝรั่งเศสกันมาก สงสัยถ้าอยากคุยกับเขาก็คงต้องเรียนภาษาฝรั่งเศสบ้างสักหน่อยแล้ว

เราเดินออกมาแล้วไปดูด้านข้างซึ่งอยู่อีกฝั่งของกำแพง ตรงนี้ก็เป็นสุสานซึ่งมีป้ายหลุมศพอยู่หลายอัน ที่นี่ปิดไม่ให้เข้าไปได้



หย่อนกล้องเข้าไปข้างในแล้วถ่ายมาสักรูป



จากนั้นเราลองอ้อมมาด้านหลังสุสานของ ๓ คนหลัก เนื่องจากกำแพงไม่สูงมากนักเราจึงยกกล้องขึ้นสูงเหนือกำแพงแล้วถ่ายภาพนี้มาได้ ถ้าทำแบบนี้ต่อให้เราไม่ได้บังเอิญมาเจอกลุ่มทัวร์ก็สามารถถ่ายภาพภายในได้เหมือนกัน



หมดแค่นี้สำหรับบริเวณสุสาน เราลองเดินชมในบริเวณแถวนั้นอีกหน่อยก็มีสวนสวย




เสร็จแล้วก็เดินออกไปทางประตูเดิมที่เข้ามา





โดยรวมแล้วที่นี่ก็ไม่มีอะไรมากนอกจากเป็นสุสานเงียบๆ บริเวณในนั้นก็ร่มรื่นดี ถ้าใครสนใจประวัติศาสตร์ลองแวะมาชมก็ไม่เสียหายเหมือนกัน ต่อให้ไม่ได้มากับกลุ่มและไม่สามารถเข้าไปจับป้ายหลุมศพได้แต่แค่มองจากด้านนอกก็ยังชัดเจนอยู่ ที่นี่เดินทางง่าย ใกล้ใจกลางเมือง มีรถไฟฟ้า อย่างน้อยก็ถือว่าได้มาเคารพศพของบุคคลสำคัญที่ครั้งหนึ่งได้ทำคุณประโยชน์มากมายให้กับประเทศชาติ

พวกเขาเองก็คงรักประเทศจีนในฐานะบ้านหลังที่สอง เช่นเดียวกับเรา~



-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ประเทศจีน >> จีนแผ่นดินใหญ่ >> ปักกิ่ง
-- ประวัติศาสตร์ >> ประวัติศาสตร์จีน
-- ท่องเที่ยว >> สุสาน
-- ท่องเที่ยว >> แมว

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

目次

日本による名言集
モジュール
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
機械学習
-- ニューラル
     ネットワーク
javascript
モンゴル語
言語学
maya
確率論
日本での日記
中国での日記
-- 北京での日記
-- 香港での日記
-- 澳門での日記
台灣での日記
北欧での日記
他の国での日記
qiita
その他の記事

記事の類別



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  記事を検索

  おすすめの記事

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

ไทย

日本語

中文