φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



วัดตงเยวี่ย พิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมพื้นเมืองปักกิ่ง
เขียนเมื่อ 2015/05/13 13:22
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
#พฤหัส 23 เม.ย. 2015

ในปักกิ่งมีวัดอยู่มากมายเลย ส่วนใหญ่แล้ววัดในจีนจะเป็นวัดในศาสนาพุธ แต่ก็มีบ้างที่เป็นวัดของลัทธิเต๋าหรือขงจื๊อ สังเกตจากคำศัพท์ที่ใช้ต่อท้ายวัด หากเป็นคำว่า ซื่อ (寺) จะเป็นวัดพุทธ ถ้าเป็นเมี่ยว (庙) จะเป็นวัดขงจื๊อหรือเต๋า

ก่อนหน้านี้ได้มีโอกาสไปเที่ยววัดพุทธหลายแห่งแล้ว คราวนี้จึงลองไปชมวัดเต๋าดูบ้าง วัดที่ลองไปคราวนี้คือวัดตงเยวี่ย (东岳庙, ตงเยวี่ยเมี่ยว)

วัดตงเยวี่ยเป็นวัดเก่าแก่มากแห่งหนึ่งในปักกิ่ง เริ่มถูกสร้างขึ้นในปี 1322 ซึ่งเป็นยุคราชวงศ์หยวน (元朝, ปี 1271 - 1368) ใช้บูชาเทพตงเยวี่ยต้าตี้ (东岳大帝) ซึ่งเป็นเทพแห่งเขาไท่ซาน (泰山)

เนื่องจากค่อนข้างเก่าจึงมีการเสื่อมสลายไปตามเวลาและมีการบูรณะเป็นช่วงๆ ในช่วงศตวรรษที่ 20 ที่นี่เสื่อมโทรมลงอย่างมากอยู่ในสภาพซากปรักหักพัง ในที่สุดปี 1995 ทางรัฐบาลจึงตัดสินใจฟื้นฟูวัดนี้ขึ้นมาและเปลี่ยนให้กลายเป็นพิพิธภัณฑ์

ปัจจุบันวัดนี้ได้กลายเป็นพิพิธภัณฑ์ที่จัดแสดงประวัติศาสตร์และของโบราณ เรียกว่าพิพิธภัณฑ์ประเพณีพื้นเมืองปักกิ่ง (北京民俗博物馆)



วัดนี้อยู่ระหว่างรถไฟฟ้าสาย ๖ สถานีเฉาหยางเหมิน (朝阳门站) และสถานีตงต้าเฉียว (东大桥站) แต่เฉาหยางเหมินอยู่ใกล้ตัวเมืองมาได้สะดวกกว่าดังนั้นโดยทั่วไปควรจะลงที่สถานีนี้ อย่างไรก็ตามทั้ง ๒ สถานีนี้เมื่อลงแล้วก็ยังต้องเดินต่ออีกหน่อยเพื่อจะถึง หากไม่อยากเดินควรจะนั่งรถเมล์มา โดยลงที่ป้ายเสินลู่เจีย (神路街) จะจอดหน้าวัด

ครั้งนี้เรานั่งรถไฟฟ้ามาลงที่สถานีเฉาหยางเหมิน เมื่อมาถึงก็ออกทางประตูทิศตะวันออกเฉียงเหนือ จากนั้นก็เดินต่อไปทางทิศตะวันออก ไปตามถนนเฉาไว่ (朝外大街) ประมาณ ๔๐๐ - ๕๐๐ เมตรก็มาถึงวัด โดยจะเจอส่วนของหอระฆัง (钟楼) ตั้งเด่นอยู่หน้าทางเข้า



หน้าทางเข้าวัด ซื้อตั๋วเข้าชมราคา ๑๐ หยวน ถ้าเป็นนักเรียนก็ลดครึ่ง เหลือ ๕ หยวน



เข้ามาถึงก็จะเจออาคารด้านหน้าสุดต่อจากทางเข้า คืออาคารประตูจานไต้เหมิน (瞻岱门)



เมื่อผ่านเข้ามาก็จะเจออาคารที่เป็นระเบียงทางเดินยาวและมีห้องเต็มไปหมดทั้งทางซ้ายขวา



ในห้องเหล่านั้นแต่ละห้องจะมีรูปปั้นอยู่ แต่ละห้องก็ไม่เหมือนกัน เป็นสำนักต่างๆ มีป้ายอธิบายว่าแต่ละห้องคืออะไร มีเยอะมากหากจะดูทั้งหมดคงใช้เวลานานมาก ก็เลยลองสุ่มดูแค่บางห้องแล้วถ่ายภาพเก็บกลับมา



วัดนี้มีลานขนาดใหญ่อยู่ตรงกลาง ตรงส่วนซีกตะวันออกมีศาลาบรรจุแผ่นจารึกของจักรพรรดิคางซี (康熙, ปี 1662 - 1722) แห่งราชวงศ์ชิง ซึ่งบันทึกเกี่ยวกับการบูรณะวัดนี้ในปี 1704



ด้านหน้าศาลาเป็นสัตว์เทพที่มีหัวเป็นม้า ร่างกายเป็นลา หางเป็นล่อ เชื่อว่าเป็นสัตว์ที่เทพเจ้าเหวินชาง (文昌) ขี่



และข้างๆมีให้เล่นโยนเหรียญ ๒๐ เหรียญ ๑๐ หยวน



ด้านหลังศาลาเป็นสวนแผ่นป้ายหิน นี่เป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของวัดเลย วัดนี้เต็มไปด้วยแผ่นป้ายหิน เมื่อก่อนมีมากกว่า ๑๔๐ อัน ส่วนมากบันทึกเกี่ยวกับการปรับปรุงวัดนี้ เป็นข้อมูลสำคัญในการศึกษาประวัติศาสตร์ของที่นี่รวมทั้งประเพณีพื้นเมือง



บางอันก็วางนอนอยู่บนพื้น



ตรงกลางของระเบียงยาวทางตะวันออกมีห้องชื่อฟู่ไฉเตี้ยน (阜财殿) ภายในบูชาเทพปี่ก้าน (比干) เทพแห่งความมั่งคั่ง



พอไปดูที่ลานฝั่งตะวันตกก็เจอศาลาแผ่นหินเช่นกัน แต่อันนี้เป็นของสมัยจักรพรรดิเฉียนหลง (乾隆, ปี 1736 - 1795) ส่วนที่อยู่หน้าศาลาคือสัตว์เทพอีกตัว คือม้าหยก (玉马) ก็เป็นสัตว์ที่เทพเจ้าเหวินชางขี่เช่นกัน



ฝั่งตะวันตกนี้ก็มีห้องตรงกลางระหว่างระเบียงยาว ชื่อกว่างซื่อเตี้ยน (广嗣殿)



จากนั้นเดินตรงกลางไปทางทิศเหนือของลานก็จะเป็นห้องที่ชื่อไต้เยวี่ยเตี้ยน (岱岳殿) เป็นศาลเจ้าบูชาเทพตงเยวี่ย



เดินผ่านจากตรงนี้เข้าไปต่อทางฝั่งตะวันตกเจออาคารนี้ซึ่งข้างในเป็นร้านขายของ




มีแต่ของแพงๆจนแทบไม่กล้าจับ อย่างสิงโตหยกตัวเล็กๆนี่ราคา ๑๙๙๐ หยวน



ถัดมามีอาคารที่มีฉายเกี่ยวกับข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวข้อง สามารถเข้าไปนั่งดูได้



บริเวณนั้นเป็นอาคารที่เต็มไปด้วยห้องที่เก็บวัตถุโบราณมากมาย แต่เขาไม่ให้ถ่ายรูปในห้องพวกนี้ก็เลยไม่ได้เก็บภาพมาให้ดู



เดินถัดมาฝั่งตะวันออกเจอห้องที่จัดแสดงเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของที่นี่ มีอยู่ ๒ ห้องเล็กๆ



นี่คือแผนที่เมืองสมัยราชวงศ์หยวน บริเวณสีเหลืองคือภายในกำแพงเมือง จะเห็นว่าวัดตงเยวี่ยอยู่นอกเมืองทางตะวันออกหน้าป้อมประตูเฉาหยางเหมิน



แบบจำลองประตูด้านหน้าวัด



แบบจำลองอาคารทั้งหมดของบริเวณวัดนี้เมื่อสมัยก่อน เห็นได้ว่าใหญ่ทีเดียว



ถัดมาห้องจัดแสดงที่สอง



แผนที่แสดงตำแหน่งของวัดนี้เมื่อเทียบกับตำแหน่งเมืองปักกิ่งในสมัยราชวงศ์หยวนและเมืองเก่าสมัยราชวงศ์จิน เส้นสีเหลืองคือถนนลากผ่านจากทางตะวันออกมายังเมืองโดยต้องผ่านวัดนี้



นี่เป็นสภาพของวัดนี้เมื่อปี 1995 ก่อนที่จะมีการบูรณะครั้งใหญ่ จะเห็นว่าอาคารอยู่ในสภาพโทรมแทบพัง พวกแผ่นป้ายหินก็ล้มระเนระนาด



จับแผ่นป้ายหินมาตั้ง



ผู้เชี่ยวชาญด้านสมบัติทางวัฒนธรรมหลายคนมาช่วยในการบูรณะที่นี่



ข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์เรื่องการบูรณะที่นี่




ถัดจากส่วนตรงนี้เดินย้อนออกมาก็เจออาคารที่แสดงเกี่ยวกับวัฒนธรรมพื้นเมือง



พอเข้ามาก็เห็นมีจัดแสดงอะไรอยู่นิดเดียวเท่านั้นเอง



ทางซ้ายคือแม่พิมพ์ทำขนมรูปเท
พฝูลู่โซ่ว (福禄寿) หรือที่คนไทยเรียกว่าฮกลกซิ่ว ของสมัยราชวงศ์ชิง



แค่นี้ก็เดินทั่วแล้ว ส่วนจัดแสดงมีแค่นิดเดียว โดยหลักๆแล้วก็คือก็คือมาเดินชมบรรยากาศวัดเก่าๆมากกว่าที่จะมาชมของจัดแสดง





เมื่อออกจากวัด มองไปฝั่งตรงข้ามถนนก็เจอซุ้มประตูด้านหน้าทางใต้ทางเข้าวัด นี่ก็เป็นซุ้มประตูโบราณซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวัดนี้ หากเดินมาจากทางใต้มาเข้าวัดนี้ก็จะต้องผ่าน



เดินข้ามไปดูใกล้ๆ หากเดินต่อไปด้านหลังประตูนี้ก็จะเป็นถนนเสินลู่ (神路街)



จากนั้นก็เดินกลับ



ระหว่างทางเจออาคารที่มีเขียนคำว่า 昆泰国际中心商业街 เห็นคำว่า 泰国 แล้วสะดุดก่อนเลย เพราะมันแปลว่าประเทศไทย แต่พอดูดีๆแล้วจึงรู้ว่ามันมาจากคำว่า 昆泰 กับ 国际 สองคำมาต่อกัน ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับไทยเลย



เดินกลับสถานีเฉาหยางเหมิน ป้ายบอกทางว่าอยู่ห่างไป ๔๐๐ เมตร



โดยรวมแล้วใช้เวลาไปประมาณชั่วโมงในการเดินเที่ยวในวัดนี้ ก็ถือเป็นวัดที่สวยน่าลองมาเดินเที่ยวอยู่เหมือนกัน



-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ท่องเที่ยว >> พิพิธภัณฑ์
-- ท่องเที่ยว >> ศาสนสถาน >> วัด
-- ประเทศจีน >> จีนแผ่นดินใหญ่ >> ปักกิ่ง
-- ประวัติศาสตร์ >> ประวัติศาสตร์จีน

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

บทความแต่ละเดือน

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2020年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

ค้นบทความเก่ากว่านั้น

ไทย

日本語

中文