φυβλαςのβλογ
phyblasのブログ



บันทึกการเล่น pokémon go สัปดาห์แรก
เขียนเมื่อ 2016/08/13 22:09
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
หลังจากที่วันเสาร์ที่ 6 สิงหาคมได้เล่าถึงการเล่นโปเกมอนโกในวันแรกไปแล้ว https://phyblas.hinaboshi.com/20160806

หลังจากนั้นก็ไม่ได้เล่นอะไรต่อมากมายนัก แต่ก็พอจะมีเวลาได้เล่นตามโอกาส

ที่จริงตอนแรกกะว่าจะไม่เล่นอะไรมากแล้ว แต่พอวันจันทร์มาเห็นเพื่อนเล่นก็เลยหยิบมาเล่นต่อ

เพื่อนเปิดไอเท็มกลีบซากุระล่อโปเกมอนตอนอยู่ที่ทำงานทำให้นั่งจับโปเกมอนได้เรื่อยๆทั้งที่นั่งอยู่เฉยๆในห้องทำงาน



เราเองก็อยากจับโปเกมอนในห้องทำงานบ้างแต่ว่ามือถือไม่มีสัญญาณ GPS ตอนอยู่ในตึกดังนั้นก็เล่นไม่ได้ แต่ดีแล้วเดี๋ยวจะไม่ได้ทำอย่างอื่นกันพอดี

หลังจากนั้นตอนเลิกงานเราเลยหยิบโปเกมอนโกมาเล่นต่อบ้าง อย่างน้อยก็เดินฟักไข่ไปพลาง

ก่อนอื่นแวะไปกินข้าวที่ห้าง Maya ที่นั่นมีคนเปิดไอเท็มกลีบซากุระล่อโปเกมอนเราเลยเดินเล่นแถวนั้นเพื่อจับโปเกมอนสักพัก



เดินออกมาตรงหัวมุมเจอเนียวโรโม ชื่อที่เห็นนี้เป็นชื่อในภาษาฝรั่งเศส คือ Ptitard (อ่านว่า "พทีตาร์") เพราะเราตั้งภาษาเป็นฝรั่งเศสทิ้งเอาไว้และก็ใช้แบบนี้มาเรื่อยๆ



แล้วใกล้ๆกันนั้นก็เจอคงปัง (ชื่อฝรั่งเศส Mimitoss อ่านว่า "มีมีโตส")



อ้วนตันเสื้อเขียวฝั่งตรงข้าม Maya ก็เป็นจุดเก็บไอเท็มอีกจุด แต่ตอนแรกเราเจออ้วนตันเสื้อม่วงแล้วเข้าใจผิดว่าเป็นที่เดียวกัน จริงๆแล้วเสื้อเขียวอยู่ห่างออกไปทางตะวันตกเฉียงเหนืออีกหน่อย



ที่ตรงนั้นจับอีวุย (ชื่อฝรั่งเศส Évoli อ่านว่า "เอโวลี") ได้ ตอนแรกคิดว่าจะเป็นโปเกมอนหายากแต่ก็เห็นคนจับกันได้มากมายอยู่



ได้เวลาเดินกลับที่พัก ระหว่างทางเจอจุดเก็บไอเท็มที่มีชื่อว่าหมีเหลืองถือป้ายบังหน้าตัวเอง (ไม่รู้ใครคิดชื่อ มันตรงตัวมาก) อยู่ตรงหน้าโรงแรมในซอยแห่งหนึ่ง



เจอพีจ็อต (ชื่อฝรั่งเศส Roucarnage อ่านว่า "โรวการ์นาฌ") ตรงนั้นด้วย จับได้แต่ว่า cp ต่ำมาก



เดินกลับมาถึงที่พักก็ฟักไข่ไปได้เท่านี้แล้ว ครึ่งทาง



ระหว่างทางจับโปเกมอนที่ซ้ำได้หลายตัวก็เอามาส่งตัวไปเพื่อแลกลูกอมได้





หลังจากนั้นวันต่อมาวันอังคาร ตอนเช้าเจออาร์โบตรงจุดที่เจอหมีสีเหลืองเมื่อคืน อยู่กลางถนนแบบนั้นเลย ถ้าเราไม่รีบจับอาจโดนรถจักรยานยนต์ชนไปก็เป็นได้



ดูแล้วชื่ออาร์โบในภาษาฝรั่งเศสคือ Abo (อ่านว่า "อาโบ") นั่นคือตัด r ไปตัวนึง ไม่ใช่ arbo จึงไม่เหมือนชื่อในภาษาญี่ปุ่นซะทีเดียว

เดินต่อมาถึงที่ทำงานไข่ก็ฟักพอดี



ตัวที่ฟักออกมาก็คือปิปปีนั่นเอง ชื่อภาษาฝรั่งเศสคือ Mélofée (อ่านว่า "เมโลเฟ")



ตอนกลางวันเดินออกมากินข้าวเจอโกลแบต (ชื่อฝรั่งเศส Nosferalto อ่านว่า "โนสเฟรัลโต") แต่จับไม่สำเร็จ ปล่อยให้หนีไปได้ น่าเสียดาย



หลังเลิกงานก็เดินกลับ ระหว่างทางก็เจอหนอนบีเดิล (ชื่อฝรั่งเศส Aspicot อ่านว่า "อัสพีโก") อยู่ตรงนั้นด้วย เจ้าตัวนี้เจอบ่อยอยู่แต่ไม่เท่าโป๊ปโปกับโครัตตา



พอจับได้สั่งสมประสบการณ์ไปเรื่อยๆในทีสุดก็เลเวล 5 แล้ว เมื่อถึงเลเวล 5 ก็ได้เวลาต้องเลือกว่าจะเข้าฝ่ายไหนใน ๓ ฝ่าย ระหว่างฝ่ายสีเหลือง Intuition, สีฟ้า Sagesse และ สีแดง Bravoure (ทั้งหมดนี้เป็นชื่อในภาษาฝรั่งเศส)

ระหว่างที่กำลังลังเลว่าจะเลือกทีมไหนดีก็ไปเจอนี่ใน facebook https://www.facebook.com/1339977692687633



ว่าแล้วก็เลยเลือกทีม Sagesse ไปในที่สุด

ถึงอย่างนั้นก็ไม่ได้กะว่าจะไปตียิมที่ไหนหรอก ยังห่างชั้นกับพวกที่ครองยิมอยู่มากนัก

ต่อจากตรงนั้นเดินไปเก็บไอเท็มแถวกาดสวนแก้วต่ออีกหน่อยก่อนกลับ มีจุดที่ยังไม่ได้ลองไปคือที่ด้านหลังมีภาพเขียนฝาผนังสวยๆอยู่



ภาพไม่ตรงกับที่แสดงในเกมอาจเพราะมีการเปลี่ยนใหม่ แต่ตำแหน่งคือตรงนี้ไม่ผิดแน่

ภาพวาดด้านหลังกาดสวนแก้วมีสองจุด ทั้งสองจุดเป็นที่เก็บไอเท็ม ตรงนี้เป็นอีกแห่ง





หลังจากนั้นวันพุธก็ผ่านไปในลักษณะเดิมๆ ตอนเช้าเดินจับโปเกมอนระหว่างทาง ตอนเย็นเดินกลับก็จับอีก แต่ก็ไม่ได้เจออะไรเป็นพิเศษ

พอถึงวันพฤหัสก็เจอตัวใหม่อีก นั่นคือนาโซโนะคุสะ (ชื่อฝรั่งเศส Mystherbe อ่านว่า "มิสแตร์บ")



ถึงที่ทำงาน มีขึ้นเตือนว่าฟุชิงิดาเนะ (ชื่อฝรั่งเศส Bulbizarre อ่านว่า "บูลบีซาร์") อยู่แถวๆนั้น แม้ภาพจะเห็นแค่เงาแต่ก็ดูออกอยู่แล้ว เลยลองเดินวนหา แต่ก็ไม่เจอ น่าเสียดาย





วันศุกร์เป็นวันหยุด เราไปเดินเที่ยวแถวกาดหลวง (ตลาดวโรรส) ที่นั่นมีศาลเจ้าปุงเถ่ากงเป็นจุดเก็บไอเท็มจุดหนึ่ง



แถวนี้มีโปเกมอนมากมาย ตัวที่มาถึงแล้วเจอเลยก็คือโคยคิง (ชื่อฝรั่งเศส Magicarpe อ่านว่า "มาฌีการ์ป") ว่าแต่ใช้หญ้าเป็นฉากหลังแบบนี้โคยคิงก็เลยดูเหมือนเกยตื้นอยู่ ดูแล้วก็อดยิ้มไม่ได้



เจอยาดอน (ชื่อฝรั่งเศส Ramoloss อ่านว่า "ราโมโลส") อยู่ในศาลเจ้า



มาเดินดูของในตลาดต้นลำไย ภายในนั้นเป็นที่ร่ม ไม่มีสัญญาณจึงเล่นไม่ได้

แต่พอเสร็จแล้วออกมาแถวนั้นเจอทัตทู (ชื่อฝรั่งเศส Hypotrempe อ่านว่า "อีโปทร็องป์")

จากนั้นก็เดินเล่นไปตามตลาดข้างทางแถวริมแม่น้ำปิง จับโปเกมอนไปพลาง



แล้วก็เจอโคดัก (ชื่อฝรั่งเศส Psykokwak อ่านว่า "พสีโกกวาก") กำลังป่วนแผงขายของ



ไคลอส (ชื่อฝรั่งเศส Scarabrute อ่านว่า "สการาบรูต") ก็มาด้วย



เจอมอนจารา (ชื่อฝรั่งเศส Saquedeneu อ่านว่า "ซาเกเดอเนอ") เกาะอยู่บนรถสามล้อ คนขับเขามองตอนเราจับด้วย



วันนี้จับได้เยอะจนเลเวลขึ้นเป็น 7 แล้ว!





เท่านี้ก็จบหนึ่งสัปดาห์แห่งการเป็นโปเกมอนเทรนเนอร์ ค่อยๆเล่นไปเลเวลเพิ่งจะถึง 7 ไม่ได้ไปเร็วเหมือนคนอื่นเขาแต่ก็ไม่เป็นไร เล่นไปเรื่อยๆในแบบของตัวเอง ไม่ได้จะเอาไปแข่งกับใครอยู่แล้ว



โดยส่วนตัวแล้วมีความรู้สึกว่าเกมนี้ทำระบบไว้ไม่ค่อยดีนัก ไม่ค่อยมีความหลากหลายเท่าที่ควร และอาจอิ่มตัวได้ง่าย อะไรๆต่างๆดูต่างจากโปเกมอนดั้งเดิมเยอะ อาจเพราะด้วยข้อจำกัดอะไรหลายอย่าง

จากนี้ไปจะเล่นต่อไปอีกแค่ไหนก็ไม่อาจบอกได้ แต่ก็จะติดตามจับตาดูความคืบหน้าของเกมนี้ต่อไป


-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- บันเทิง >> เกม >> โปเกมอน

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

目次

日本による名言集
モジュール
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
機械学習
-- ニューラル
     ネットワーク
javascript
モンゴル語
言語学
maya
確率論
日本での日記
中国での日記
-- 北京での日記
-- 香港での日記
-- 澳門での日記
台灣での日記
北欧での日記
他の国での日記
qiita
その他の記事

記事の類別



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  記事を検索

  おすすめの記事

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

ไทย

日本語

中文