φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



ลองเล่น pokémon go ดูในวันแรก
เขียนเมื่อ 2016/08/06 22:53
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
6 สิงหาคม 2016 ในที่สุดโปเกมอนโกก็เข้าไทยแล้ว หลังจากรอมาตั้งนาน เราเองก็ชอบโปเกมอนเล่นมาตั้งแต่เด็กเหมือนกันก็ย่อมไม่พลาดที่จะเล่นอยู่แล้ว

แต่ถึงอย่างนั้นก็แค่อยากลองเล่นดูสักนิดเฉยๆ เพราะเท่าที่ได้ยินมาระบบเกมไม่ได้ถึงกับถูกใจนัก เพื่อนที่เล่นกันมาแล้วที่ญี่ปุ่นส่วนใหญ่ก็เห่อกันอยู่ไม่นานเหมือนกัน

ว่าแล้วก็ลองโหลดมาเล่น แต่พอเปิดขึ้นมาก็พบว่าทุกอย่างเป็นภาษาอังกฤษหมดเลย นั่นเป็นปัญหา เพราะพอเป็นภาษาอังกฤษแล้วชื่อโปเกมอนก็จะเพี้ยนแปลกไปหมด ไม่ใช่ชื่ออย่างที่เราคุ้นเคย

เมื่อลองค้นข้อมูลดูก็พบว่าภาษาในเกมจะเปลี่ยนไปตามภาษาของเครื่อง ซึ่งเครื่องเราตอนนี้ใช้ภาษาจีนอยู่ ที่จริงมันก็ควรจะเป็นภาษาจีน แต่ดูเหมือนว่าเขาจะไม่ได้ทำภาษาจีนเอาไว้ก็เลยกลายเป็นภาษาอังกฤษ

ที่จริงอยากเล่นภาษาญี่ปุ่นมากที่สุด เพราะชื่อโปเกมอนก็จะเป็นชื่อที่คุ้นเคยกันดี ไทยเราเรียกชื่อตามภาษาญี่ปุ่นคุ้นเคยตามนั้นอยู่แล้ว ต่างจากอีกหลายที่อย่างจีนหรือฝรั่งเศสที่ตั้งชื่อใหม่เองหมด

แต่น่าเสียดายว่ามือถือที่ใช้อยู่ไม่มีภาษาญี่ปุ่นให้ใช้ จึงไม่สามารถเล่นภาษาญี่ปุ่นได้ ดังนั้นก็เลยลองเปลี่ยนดูภาษาอื่นๆก็พบว่าพอใช้ภาษาสเปนตัวเกมก็จะเป็นภาษาสเปนด้วย ก็เลยลองเล่นดูทั้งอย่างนั้นแหละ

เริ่มเปิดเกมมา



จากนั้นฮิโตคาเงะก็โผล่มาในห้องทันทีเลย เราก็รีบจับมันมาได้ไม่ยาก แต่ไม่ได้ถ่ายรูปตอนจับเอาไว้

เวลา 17:51 น. ลองดูในแผนที่ก็เห็นข้อมูลยิมใกล้ๆนี้มีเกียราดอสกันแล้ว



ได้เวลาออกไปเดินลุยดูบ้างล่ะ

จุดเก็บไอเท็มแห่งแรกที่เจออยู่ที่โรงแรมเชียงใหม่ออร์คิด ตรงนี้เจอเนียวโรโมแต่ไม่ได้ถ่ายมา



ต่อมาดูที่กาดสวนแก้ว ที่นี่ก็เป็นยิม



ที่หน้ากาดสวนแก้วคราวนี้เจออาร์บ็อกแล้วเราก็จับมาได้



พอเดินมาถึงริมคูเมืองเจอโป๊ปโป



เดินเลียบคูเมืองมา เจอจุดเก็บไอเท็มอีกแห่ง คราวนี้เป็นศาลพระภูมิ



เดินมาอีกนิดใกล้ๆกันเจออีกจุด เป็นโอ่งน้ำหน้าโรงพยาบาลเชียงใหม่ราม



แล้วก็มาเจออีกจุด เป็นศาลพระภูมิอีกแล้ว เท่าที่ดูก็มีอีกหลายแห่งที่เป็นศาลพระภูมิ คาดว่าถ้าเล่นไปเรื่อยๆคงจะจำได้หมดว่ามีศาลพระภูมิอยู่ตรงไหนในเมืองบ้าง



เดินย้อนกลับมาเจออีกจุดที่ห้องสมุด กศน. เชียงใหม่ คราวนี้เจอไข่ด้วย



ไข่ต้องเดินไป ๒ กม. เพื่อที่จะฟักออกมาเป็นตัว ก็ถือว่าไม่ไกล แต่วันนี้เย็นแล้วพอแค่นี้ก่อนดีกว่า



สถานะในตอนนี้ จับโปเกมอนได้แล้ว ๕ ตัว



แวะทานข้าวที่กาดสวนแก้วแล้วก็ค่อยกลับ



เวอร์ชันภาษาสเปนที่เล่นนี้ชื่อโปเกมอนก็ใช้ตามภาษาอังกฤษเลย ดูเหมือนว่าในหลายประเทศจะมีการตั้งชื่อโปเกมอนใหม่ต่างกันไป แต่สเปนไม่ตั้งเองแต่ใช้ตามอังกฤษ

จากนั้นพอกลับมาถึงห้องก็เลยลองเปลี่ยนเป็นภาษาฝรั่งเศสดูบ้าง ก็พบว่าชื่อเปลี่ยนไปจริงๆด้วย



หน้าแสดงข้อมูลโปเกมอนหมายเลข 069 Chétiflor นี่เป็นชื่อภาษาฝรั่งเศสของมาดัตสึโบมิ



ลองมาดูรายละเอียดของโปเกมอนแต่ละตัวที่จับมาบ้าง ในเกมนี้น้ำหนักและส่วนสูงของโปเกมอนเปลี่ยนไปตามแต่ละตัวไม่เหมือนกันด้วย

หมายเลข 004 ฮิโตคาเงะชื่อ Salamèche



หมายเลข 016 โป๊ปโปะชื่อ Roucool



หมายเลข 060 เนียวโรโมชื่อ Ptitard



ส่วนอาร์บ็อกนี่ไม่ว่าจะภาษาไหนก็ไม่เปลี่ยนชื่อ ยังเป็น Arbok



ก็เอาเป็นว่าพอเท่านี้ก่อนล่ะ ถือว่ามาลองประสบการณ์การเล่นเกมที่แปลกออกไป ปกติไม่เคยเล่นอะไรแบบนี้มาก่อนเลย ยุคสมัยเปลี่ยนไปจากเมื่อตอนที่เล่นโปเกมอนภาคแรกๆมากจริงๆ ก็หวังว่าจะมีอะไรแบบนี้ออกมาอีก

อ่านตอนต่อไปได้ที่ https://phyblas.hinaboshi.com/20160813


-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- บันเทิง >> เกม >> โปเกมอน

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

บทความแต่ละเดือน

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2020年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

ค้นบทความเก่ากว่านั้น

ไทย

日本語

中文