φυβλαςのβλογ
phyblasのブログ



พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาปักกิ่ง
เขียนเมื่อ 2016/12/03 23:28
แก้ไขล่าสุด 2023/07/01 20:17
#ศุกร์ 12 มิ.ย. 2015

พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาปักกิ่ง (北京自然博物馆, เป่ย์จิงจื้อหรานปั๋วอู้กว่าน) เป็นพิพิธภัณฑ์ที่จัดแสดงเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตต่างๆทั้งพืชและสัตว์ที่พบภายในจีน ส่วนใหญ่จะจัดแสดงซากหรือส่วนต่างๆของสัตว์ที่ตายแล้ว มีทั้งของจริงและแบบจำลองและป้ายบรรยายให้ความรู้ต่างๆที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งยังมีซากฟอสซิลของสัตว์ดึกดำบรรพ์ นอกจากนี้ยังมีส่วนของพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำด้วย

ที่นี่เริ่มตั้งขึ้นมาเมื่อปี 1951 สถานที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกของเทียนถาน (天坛)  สถานีรถไฟฟ้าที่ใกล้ที่สุดคือสถานีจูซื่อโข่ว (珠市口站)

สถานที่เที่ยวที่อยู่ใกล้ๆกันนอกจากเทียนถานแล้วยังมีเซียนหนงถาน (先农坛) https://phyblas.hinaboshi.com/20151024

และหย่งติ้งเหมิน (永定门) https://phyblas.hinaboshi.com/20111120

อาคารพิพิธภัณฑ์แบ่งออกเป็น ๔ ชั้น คือชั้น ๑,๒,๓ และชั้นใต้ดิน ๑

ชั้น ๑ ประกอบด้วยห้องแสดงดังนี้
- สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง (无脊椎动物)
- กำเนิดของชีวิต (生命的起源)
- สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมโบราณ (古哺乳动物)
- สัตว์เลื้อยคลานโบราณ (古爬行动物)
- ห้องจัดแสดงชั่วคราว (临时展厅)
- สัตว์และความสัมพันธ์อันดีกับมนุษย์ (动物-人类的朋友)

ชั้น ๒
- ความลึกลับของสัตว์ (动物奥秘)
- โลกของพืช (植物世界)
- ความงามแห่งสัตว์ (动物之美)
- ร้านกาแฟ (咖啡厅)

ชั้น ๓
- โรงหนัง 4D (4D影院)
- มุมค้นหา (探索角)

ชั้นใต้ดิน ๑
- สวนไดโนเสาร์ (恐龙公园)
- ที่พักผ่อนและเล่น (娱乐休闲区)
- เดินเข้าร่างกายมนุษย์ (走进人体)
- พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ (水族馆)



การเข้าชมที่นี่มีค่าเข้าชม ๑๐ หยวน แต่มีวิธีที่จะสามารถเข้าชมได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย โดยให้จองล่วงหน้าผ่านเว็บก่อนอย่างน้อยหนึ่งวัน

เว็บสำหรับจอง http://www.bmnh.org.cn/index.html

พอจองเอาไว้แล้วก็จดหมายเลขที่จองเอาไว้ พอบอกคนขายตั๋วก็จะได้ตั๋วเข้าชมมาโดยไม่ต้องจ่าย



ด้านหน้าทางเข้าพิพิธภัณฑ์ ถ่ายจากนอกประตูรั้ว



ก่อนจะเข้าต้องมารับตั๋วตรงช่องทางด้านขวาของทางเข้าก่อน




หน้าตาของตั๋วเป็นแบบนี้ ในนี้เขียนว่าราคา 0 เพราะจองมาก่อนจึงรับได้ทันทีโดยไม่ต้องจ่าย



ได้ตั๋วแล้วก็เดินเข้า



ด้านหน้าอาคารพิพิธภัณฑ์หลังจากผ่านประตูรั้วเข้ามา



แผนที่ภายในอาคาร



เริ่มจากชั้นแรก ห้องแรกที่เจออยู่ด้านซ้ายของห้องโถงกลางเมื่อเดินเข้ามาก็คือส่วนของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมโบราณ



เมื่อเข้ามาจะเห็นสิ่งที่ตั้งเด่นอยู่กลางห้องคือแบบจำลองโครงกระดูกของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมสมัยโบราณซึ่งสูญพันธุ์ไปแล้ว



สองตัวใหญ่นี้ได้แก่ พาราเคราเทเรียม (巨犀, Paraceratherium) สายพันธุ์ Paracerathrium tianshanensis (天山副巨犀) เป็นแรดโบราณขนาดใหญ่

และสเตโกดอน (剑齿象, Stegodon) สายพันธุ์ Stegodon zdanskyi (师氏剑齿象) เป็นช้างโบราณขนาดใหญ่ ที่จีนมีการขุดพบฟอสซิลแถวแม่น้ำฮวงโห บางครั้งจึงถูกเรียกในภาษาจีนว่า ช้างฮวงโห (黄河象, หวงเหอเซี่ยง)

อ้อมมาด้านหลังยังเจอกับแบบจำลองส่วนหัวของพลาทีเบโลดอน (铲齿象, Platybelodon) ชนิดหนึ่ง พันธุ์ Platybelodon danovi cheni (坦氏铲齿象陈氏亚种)



ที่อยู่ในตู้กระจกข้างๆคือโครงกระดูกเต็มตัวของมัน ถูกค้นพบเมื่อปี 1982 ที่อำเภอถงซิน (同心) ในเขตปกครองตนเองหนิงเซี่ยหุย



แผ่นป้ายอธิบายกำเนิดและวิวัฒนาการของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม



วิวัฒนาการของสัตว์จำพวกจมูกยาว ซึ่งก็คือช้าง และรวมถึงสัตว์โบราณที่สูญพันธุ์ไปแล้ว ตั้งแต่เริ่มแรกเป็นฮีราโคเทเรียม (元祖象, Hyracotherium) ซึ่งมีขนาดแค่เท่าหมูและไม่มีงวง แล้วก็เดย์โนเทเรียม (恐象, Deinotherium) ซึ่งเริ่มปรากฏเห็นงวงเหมือนช้าง




ส่วนตรงนี้เป็นแผ่นป้ายที่เขียนถึงวิวัฒนาการของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอีกหลายจำพวก



มีซากของจริงวางประดับอยู่ประปราย แม้จะไม่ได้เด่นเท่าส่วนด้านหน้า เช่น กวางชนิดหนึ่ง สายพันธุ์ Cervus D. kokubuni (科氏德氏鹿) ขุดพบที่อำเภอหยวีเซ่อ (榆社) มณฑลซานซี



เสือโบราณสายพันธุ์ Dinocrocuta gigantea (巨鬣狗) ขุดพบที่อำเภอเหอเจิ้ง (和政) มณฑลกานซู่



ซากสัตว์โบราณที่นี่ไม่ถึงกับมีมากนัก สำหรับคนที่สนใจเกี่ยวกับสัตว์โบราณมีพิพิธภัณฑ์ที่น่าสนใจอีกแห่งคือพิพิธภัณฑ์สัตว์โบราณจีน (中国古动物馆) ที่นั่นจะมีฟอสซิลให้ดูมากกว่านี้มาก

หรืออย่างอีกที่ซึ่งมีฟอสซิลมากก็คือพิพิธภัณฑ์ธรณีวิทยาจีน (中国地质博物馆) ซึ่งเขียนถึงไว้ใน https://phyblas.hinaboshi.com/20150322



ต่อมาเข้าสู่ส่วนจัดแสดงกำเนิดของชีวิต ส่วนนี้จะให้ความรู้เกี่ยวกับวิวัฒนาการสิ่งมีชีวิต



แผ่นป้ายปิดเสาตรงนี้ไล่เรียงช่วงยุคสมัยทางธรณีโดยไล่จากใหม่ไปเก่า



ช่วงเวลาทางธรณีจะถูกแบ่งบรมยุค (宙) แล้วแบ่งเป็นมหายุค (代) แล้วย่อยเป็นยุค (纪) แล้วยังมีย่อยไปอีกเป็นสมัย (世)

บรมยุคในปัจจุบันเรียกว่า 显生宙 เสี่ยนเซิงโจ้ว = ฟาเนโรโซอิก Phanerozoic

ภายในบรมยุคนี้ประกอบไปด้วย
新生代 ซินเซิงไต้ = Cenozoic = 66 ล้านปีก่อน - ปัจจุบัน
- 第四纪 ตี้ซื่อจี้ = Quaternary = 2.6 ล้านปีก่อน - ปัจจุบัน
- - 全新世 เฉวียนซินซื่อ = Holocene
- - 更新世 เกิงซินซื่อ = Pleistocene
- 新近纪 ซินจิ้นจี้ = Neogene = 23 - 2.6 ล้านปีก่อน
- - 上新世 ซ่างซินซื่อ =  Pliocene
- - 中新世 จงซินซื่อ = Miocene
- 古近纪 กู่จิ้นจี้ = Paleogene = 66 - 23 ล้านปีก่อน
- - 渐新世 เจี้ยนซินซื่อ = Oligocene
- - 始新世 สื่อซินซื่อ = Eocene
- - 古新世 กู่ซินซื่อ = Paleocene
中生代 จงเซิงไต้ = Mesozoic = 252 - 66 ล้านปีก่อน
- 白垩纪 ไป๋เอ้อจี้  = Cretaceous = 145 - 66 ล้านปีก่อน
- 侏罗纪 จูหลัวจี้ = Jurassic = 201 - 145 ล้านปีก่อน
- 三叠纪 ซานฉงจี้ = Triassic = 252 - 201 ล้านปีก่อน
古生代 กู่เซิงไต้ = Paleozoic = 541 - 252 ล้านปีก่อน
- 二叠纪 เอ้อร์ฉงจี้ = Permian = 299 - 252 ล้านปีก่อน
- 石炭纪 สือท่านจี้ = Carboniferous = 359 - 299 ล้านปีก่อน
- 泥盆纪 หนีเผินจี้ = Devonian = 419 - 359 ล้านปีก่อน
- 志留纪 จื้อหลิวจี้ = Silurian = 443 - 419 ล้านปีก่อน
- 奥陶纪 เอ้าเถาจี้ = Ordovician = 485 - 443 ล้านปีก่อน
- 寒武纪 หานอู่จี้ = Cambrian = 541 - 485 ล้านปีก่อน

ส่วนบรมยุคก่อนหน้านี้ คือประมาณก่อน 541 ล้านปีก่อนทั้งหมดจะเรียกรวมๆว่า 前寒武纪 เฉียนหานอู่ชี่ = Precambrian

โลกในยุคต้นๆเท่าที่เข้าใจด้วยทฤษฎีที่มีในตอนนี้ ช่วงแรกๆโลกร้อนมากเต็มไปด้วยหินหลอมเหลวแต่เมื่อเวลาผ่านไปก็เย็นตัวลงและเริ่มมีทะเล และเริ่มเกิดสารประกอบที่ซับซ้อนขึ้น ในที่สุดก็เริ่มมีสารอินทรีย์ และประกอบรวมกันเป็นชีวิตในที่สุด



นี่คือการทดลองของมิลเลอร์และอูเรย์ (米勒-尤里实验) ในปี 1953 ซึ่งมีชื่อเสียงมาก สามารถอธิบายความเป็นไปได้ในการกำเนิดของสิ่งมีชีวิตได้



หน้าจอตรงนี้อธิบายการก่อตัวเป็นฟอสซิลของซากสิ่งมีชีวิต



สัตว์ที่มีโครงสร้างซับซ้อนน้อยที่สุดคือฟองน้ำ (海绵) ไฟลัม Porifera (多孔动物门)



พวกปะการังอยู่ไฟลัม Cnidaria (刺胞动物门)



พวกหนอนตัวแบนอยู่ไฟลัม Platyhelminthes (扁形动物门)



ฟูซูลีนา (fusulina) เป็นสัตว์ชั้นต่ำชนิดหนึ่งที่สูญพันธุ์ไปแล้ว เคยมีอยู่ในช่วงยุคคาร์บอนิเฟอรัสถึงยุคเพร์เมียน ในภาษาจีนใช้คำว่า 䗴 อ่านว่า "ถิง" เป็นอักษรที่ถูกสร้างขึ้นมาใหม่เพื่อตั้งชื่อให้สัตว์ชนิดนี้โดยเฉพาะ มีที่มาจากอักษร 筳 อ่านว่า "ถิง" เหมือนกัน หมายถึงเครื่องมือทอผ้าแบบหนึ่ง



ช่วงปลายยุคคัมเบรียนได้เกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่า "การระเบิดในยุคคัมเบรียน" (寒武纪大爆发) หมายถึงการที่เกิดสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังชนิดใหม่ๆขึ้นมาหลากหลายชนิดอย่างรวดเร็วในช่วงเวลาสั้นๆ



ปรากฏการณ์นี้สั่นคลอนทฤษฎีวิวัฒนาการของชาร์ล ดาร์วินซึ่งเชื่อว่าสิ่งมีชีวิตวิวัฒนาการแบบค่อยเป็นค่อยไป



ภาพทะเลในยุคออร์โดวิเชียน



โครงสร้างของสัตว์ไฟลัม Brachiopoda (腕足动物门)



หอยชนิดต่างๆ



ฟอสซิลทรีโลไบต์ (三叶虫)



ฟอสซิลของสัตว์ในไฟลัม Arthropoda (节肢动物)



การจัดแบ่งสัตว์ไฟลัม Echinodermata (刺皮动物门)



แล้วก็มาถึงกำเนิดและวิวัฒนาการของสัตว์มีกระดูกสันหลัง (脊椎动物)





ห้องถัดมาเป็นส่วนจัดแสดงสัตว์เลื้อยคลาน




ที่กลางห้องมีแบบจำลองโครงกระดูกไดโนเสาร์ตัวใหญ่



ดีเมโทรดอน (异齿龙, Dimetrodon) เป็นสัตว์เลื้อยคลานในยุคเพร์เมียน ก่อนยุคไดโนเสาร์



ห้องนี้ที่จริงใหญ่และมีรายละเอียดมากพอสมควร แต่เนื่องจากเหนื่อยจากการเก็บรายละเอียดที่ห้องก่อนๆมาแล้วส่วนนี้เลยไม่ได้ดูละเอียดนัก




จากห้องนี้มีทางเชื่อมไปยังชั้นใต้ดินในส่วนของสวนไดโนเสาร์



ที่นี่เป็นห้องขนาดใหญ่ที่เต็มไปด้วยแบบจำลองไดโนเสาร์ หลายตัวขยับไปมาได้และส่งเสียงด้วย



ไดโนเสาร์ที่จัดแสดงในนี้เน้นไปที่ไดโนเสาร์ที่พบในจีน ตัวนี้คือหย่งชวานโนเซารุส (永川龙, Yangchuanosaurus) ชื่อมาจากชื่อที่ขุดพบ คือเขตหย่งชวาน (永川) ของเมืองฉงชิ่ง



ถัวเจียงโกเซารุส (沱江龙, Tuojiangosaurus) เป็นไดโนเสารที่มีแผงหลัง ชื่อมาจากชื่อแม่น้ำถัวเจียง (沱江) ทางตะวันออกของมณฑลเสฉวน ซึ่งเป็นที่ขุดพบ



หม่าเหมินซีเซารุส (马门溪龙, Mamenchisaurus) ชื่อมาจากสถานที่ขุดพบคือแม่น้ำหม่าหมิงซี (马鸣溪) ในมณฑลเสฉวน แต่โดนออกเสียงเพี้ยนเนื่องจากปัญหาเรื่องสำเนียง ชื่อก็เลยกลายเป็น "หม่าเหมินซี"



ลู่เฟิงโกเซารุส (禄丰龙, Lufengosaurus) ชื่อมาจากอำเภอลู่เฟิง (禄丰) มณฑลยูนนาน ที่ขุดค้นพบ



ภาพการล่าเหยื่อของไดโนเสาร์ล่าเนื้อ เอเรราเซารุส (艾雷拉龙, Herrerasaurus)



ทางเดินไปห้องถัดไปทำบรรยากาศเหมือนอยู่ในถ้ำ



ห้องนี้มืดกว่าห้องใหญ่แต่ก็จัดแสดงแบบจำลองไดโนเสาร์เหมือนกัน



การฟักไข่และเลี้ยงลูกของไดโนเสาร์วงศ์ Maiasaura ซึ่งมีชื่อในภาษาจีนว่า ฉือหมู่หลง (慈母龙) แปลว่ามังกรที่เป็นแม่ที่รักและเอ็นดู เป็นไดโนเสาร์ปากเป็ดวงศ์หนึ่ง เป็นไดโนเสาร์ที่ดูแลลูกหลังฟักออกจากไข่



ส่วนนี้ว่าด้วยทฤษฎีการสูญพันธุ์ของไดโนเสาร์ ซึ่งปัจจุบันก็เป็นที่ยอมรับกันว่าการพุ่งชนของอุกกาบาตเป็นไปได้มากที่สุด



ถัดจากสวนไดโนเสาร์ก็เป็นส่วนสำหรับพักผ่อนและซื้อของฝาก







จบแล้วกลับมาที่ชั้น ๑ อีกที จากห้องโถงกลางหากไปทางขวาจะเป็นห้องที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสัตว์



ว่าด้วยเรื่องความหลากหลายทางชีววิทยา มีการพูดถึงความสำคัญของสัตว์และความจำเป็นในการอนุรักษ์



ตัวอย่างสัตว์ที่ถูกมนุษย์ล่าจนสูญพันธุ์ เช่นนกโมอาที่นิวซีแลนด์ สูญพันธุ์ไปช่วงก่อนปี 1850



สัตว์คุ้มครองภายในประเทศจีน



ตรงนี้พูดถึงการใช้ประโยคจากสัตว์ของมนุษย์ ตัวอย่างเช่นการส่งสัตว์อย่างหมาหรือลิงขึ้นอวกาศไปทดสอบก่อนที่จะส่งมนุษย์ขึ้นไปจริงๆ



การเลี้ยงไหม เป็นวัฒนธรรมการใช้ประโยชน์จากสัตว์ที่มีมาแต่โบราณ



งานศิลปะ ภาพวาดสัตว์ที่พบได้ตามหินซึ่งวาดโดยคนสมัยโบราณ





ข้างๆห้องนั้นมีทางเข้าสู่ส่วนพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ



พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำตั้งอยู่ชั้นใต้ดิน แต่ก็ยังกินพื้นที่ถึงส่วนทางเดินที่เดินจากชั้น ๑ ด้วย




ภายในจัดแสดงปลาและสัตว์น้ำต่างๆมากมายแม้ว่าจะไม่ได้เยอะเท่าพวกพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำจริงๆก็ตามแต่สามารถชมได้โดยไม่ต้องเสียตังค์ ถ้าเป็นพวกพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำโดยทั่วไปต้องเสียค่าเข้าค่อนข้างแพง เช่นที่
ในสวนสัตว์ปักกิ่ง หรือ หอจัดแสดงโลกใต้น้ำไท่ผิงหยาง (太平洋海底世界展览馆) ซึ่งได้เล่าไปใน https://phyblas.hinaboshi.com/20150614






มีแม้แต่อุโมงค์ใต้น้ำด้วย



บางส่วนก็เป็นสัตว์ที่ตายแล้ว



ซากปลาสเตอร์เจียนจีน (中华鲟, Acipenser sinensis)



มีให้ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับปลา



สัตว์ที่อาศัยอยู่ตามระดับความลึกต่างๆของทะเล





ชั้นใต้ดินอีกส่วนหนึ่งจัดแสดงเกี่ยวกับร่างกายคน






ต่อมาขึ้นไปดูชั้น ๒ มีส่วนที่จัดแสดงสัตว์อาฟริกา







แล้วก็ส่วนที่แสดงพืช



ถ้าขึ้นต่อไปชั้น ๓ จะเป็นมุมค้นหา แล้วก็มีโรงหนัง 4D อยู่ด้วย






ทั้งหมดที่กล่าวมาเป็นส่วนจัดแสดงหลัก แต่นอกจากนั้นแล้วก็ยังมีส่วนที่เป็นส่วนจัดแสดงชั่วคราว เป็นมุมหนึ่งของชั้น ๑



หัวข้อขัดแสดงตอนที่ไปคือปะการัง มีปะการังสวยๆจัดแสดงอยู่มากมาย







ทั้งหมดก็มีอยู่เท่านี้ ส่วนแรกๆอาจเขียนละเอียดเพราะตั้งใจดูมากกว่า แต่พอช่วงหลังๆเริ่มต้องเร่งเลยไม่ได้ดูละเอียด ที่จริงหากจะดูละเอียดทั้งหมดก็อาจต้องใช้เวลาทั้งวันก็เป็นได้ เพราะใหญ่มากและอัดแน่นไปด้วยสาระความรู้มากมาย เป็นพิพิธภัณฑ์ที่มาแล้วได้ความรู้มากมาย เหมาะสำหรับทั้งเด็กและผู้ใหญ่มาชม




-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ประเทศจีน >> จีนแผ่นดินใหญ่ >> ปักกิ่ง
-- ท่องเที่ยว >> พิพิธภัณฑ์ >> พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

目次

日本による名言集
モジュール
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
機械学習
-- ニューラル
     ネットワーク
javascript
モンゴル語
言語学
maya
確率論
日本での日記
中国での日記
-- 北京での日記
-- 香港での日記
-- 澳門での日記
台灣での日記
北欧での日記
他の国での日記
qiita
その他の記事

記事の類別



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  記事を検索

  おすすめの記事

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

ไทย

日本語

中文