φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas
ทวีต
ป้อมประตูเมืองเก่า หย่งติ้งเหมิน
เขียนเมื่อ 2011/11/20 00:41
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
#จันทร์ 14 พ.ย. 2011
ช่วงนี้ดูเหมือนว่าจะเป็นช่วงโค้งสุดท้ายของฤดูใบไม้ร่วงที่เราจะพอไปเที่ยวไหนมาไหนได้อย่างเพลิดเพลินสบายใจแล้ว ก็เลยไปเที่ยวมาหลายที่รอบปักกิ่ง หลังจากที่เมื่อศุกร์ที่แล้วนั้นไปเที่ยวแท่นบูชาศตวรรษกับสวนสาธารณะยวี่ยวนถานแล้ว
จันทร์ต่อมาก็ได้ไปเที่ยว
สวนสาธารณะเถาหราน
ถิง
(陶然亭公园)
https://phyblas.hinaboshi.com/20111213
แล้วก็เลยเดินต่อไปเที่ยว
หย่งติ้งเหมิน (永定门)
ซึ่งอยู่ใกล้กันต่อ
สำหรับครั้งนี้จะขอเล่าถึงหย่งติ้งเหมินก่อน หลังจากนั้นมีเวลาจะกลับมาเล่าถึงสวนสาธารณะเถาหรานถิงต่อ
หย่งติ้งเหมิน (永定门)
เป็นหนึ่งในป้อมประตูเมืองเก่าของปักกิ่งที่สร้างมานานตั้งแต่สมัยราชวงศ์หมิงแล้ว เมื่อก่อนปักกิ่งมีกำแพงล้อมเมืองและประตูเหล่านี้ก็เป็นทางเข้าออก ซึ่งมีอยู่เต็มไปหมดรอบตัวเมือง ปัจจุบันกำแพงเมืองถูกทำลายหมดแล้ว ป้อมประตูเองก็ถูกทำลายจนเกือบหมด จะเห็นให้เหลืออยู่บ้าง บางป้อมก็เหลือแค่ส่วนของหอธนูหรือส่วนประกอบที่แสดงถึงร่องรอยว่าเคยมีป้อมประตูอยู่เท่านั้นเอง
ภาพนี้เป็นตำแหน่งของป้อมประตูต่างๆรอบปักกิ่ง จะเห็นหย่งติ้งเหมินอยู่ใต้สุดตรงกลาง และจุดเขียวขนาดใหญ่ใกล้ๆทางขวาก็คือ
แท่นบูชาสวรรค์เทียนถาน (天坛)
สถานที่ท่องเที่ยวชื่อดังที่คนมาปักกิ่งจะต้องแวะมา
(ภาพจาก wikipedia)
หย่งติ้งเหมินตั้งอยู่ทางทิศใต้สุดตรงกลางของ
ช่วงใต้ของ
ถนนวงแหวนที่สอง
(二环路)
ของปักกิ่ง ไม่มีสายรถไฟฟ้าผ่านใกล้แถวนี้ดังนั้นการเดินทางมาอาจลำบากสักหน่อย แต่ถ้าใครมาเที่ยวเทียนถานอาจแวะมาได้เพราะอยู่ใกล้กัน
สำหรับของหย่งติ้งเหมินนี้ที่จริงก็เคยถูกรื้อทิ้งไปแล้วตั้งแต่ปี 1957 แต่อันที่เห็นนี้คือสร้างขึ้นใหม่เมื่อปี 2005 นี้เอง ถูกสร้างให้เหมือนของเดิม จะต่างกันก็ตรงที่สภาพมันดูใหม่มาก
ด้านเหนือของประตู หรือก็คือที่เรียกว่าด้านใน เพราะประตูนี้ถือเป็นประตูใต้ เมื่อก้าวเข้ามาฝั่งเหนือก็คือเข้ามาด้านในตัวเมือง เป็นถนนคนเดินโล่งยาวที่มีสวนล้อมรอบ
ตอนที่มาเราผ่านที่นี่โดยมาจากทางเถาหรานถิงซึ่งอยู่ทางตะวันตกของที่นี่ ผ่าน
ถนนหย่งติ้งเหมินซี (永定门西街)
ชื่อถนนนี้ตั้งตามชื่อหย่งติ้นเหมินนั่นเอง ส่วนคำว่า ซี (西) แปลว่าตะวันตก จึงมีความหมายว่า "ถนนที่อยู่ทางตะวันตกของหย่งติ้งเหมิน"
รูปนี้จะเห็นหย่งติ้งเหมินมาแต่ไกล
เมื่อมาถึงจุดนี้เราจึงได้รู้ว่าการเข้าถึงตัวหย่งติ้งเหมินนั้นไม่ง่ายเลย มีถนนล้อมรอบ และยังต้องมุดทางใต้ดินไปด้วย
ทางใต้ดินนี้ต้องลอดเพื่อเดินผ่านหย่งติ้งเหมินในแนวตะวันตกตะวันออก
ข้างในมีแยกทางเดินชัดเจนระหว่างรถยนต์ รถจักรยาน และคนเดิน
แล้วเราก็ข้ามไปถึงฝั่งตะวันออกของหย่งติ้งเหมินอย่างไม่รู้ตัว ที่จริงตั้งใจจะโผล่ตรงกลางกำแพง แต่เดินเลยไปเฉย
กว่าจะหาทางขึ้นมาสู่บริเวณลานกว้างหน้าประตูได้ ทางใต้ดินมันซับซ้อนเล็กน้อย
ฝั่งหน้าประตูก็เป็นลานกว้าง แต่ไม่ได้ใหญ่อะไรมาก นี่เป็นรูปด้านหน้าประตู หรือฝั่งนอกกำแพงเมือง
จากนั้นก็อ้อมไปดูด้านหลังอีกด้าน ด้านนี้เป็นฝั่งในกำแพงเมือง
จากตรงนี้ไปก็เป็นทางเดินยาวแล้ว เราเดินไปเรื่อยๆแล้วหันกลับมาก็จะเห็นหย่งติ้งเหมินอยู่ในมุมสวยทีเดียว
ทางเดินที่ทอดยาวไปเรื่อยๆเมื่อผ่านประตูหย่งติ้งเหมือนเข้ามา (พูดให้ถูกคือไม่ได้ผ่าน แต่อ้อมเข้ามาต่างหาก เพราะประตูมันไม่ได้เปิด)
สวนข้างทาง สวยดีนะ ช่วงนี้ปลายฤดูใบไม้ร่วง ใบไม้เปลี่ยนสีเหลืองสวยงามได้ที่
ทางเดินถูกแบ่งครึ่งด้วยประตูนี้
เมื่อผ่านไปก็เป็นทางเดินต่ออีก แต่ไม่ได้สวยเท่าส่วนที่ใกล้กับประตู
จากส่วนนี้มองกลับไปก็ยังเห็นหย่งติ้งเหมินซึ่งชักจะไกลลับไปทุกที
ทางเดินก็มาสิ้นสุดที่ตรงนี้
ฝั่งซ้ายมี
ห้างเทียนเฉียว (天桥百货商场, เทียนเฉียวไป่ฮั่วซางฉ่าง)
ก็ไม่มีอะไร เป็นแค่ห้างเล็กๆ
ภายในห้างก็มีศูนย์อาหาร ราคาไม่แพง มานั่งกินมื้อเย็นพักเหนื่อยก่อนเดินทางกลับ
ปลายทางของถนนคนเดินนี้อยู่ใกล้กับประตูทิศตะวันตกของ
แท่นบูขาสวรรค์เทียนถาน (天坛)
ซึ่งเคยไปเที่ยวมาแล้วตั้งแต่ตอนมาถึงปักกิ่งใหม่ๆ ครั้งนี้จึงไม่ได้กะจะแวะเข้าไป
หลังจากเที่ยวเสร็จฟ้าก็เริ่มคล้อยใกล้มืดแล้ว แม้จะเพิ่งแค่ ๕ โมง เนื่องจากช่วงนี้เข้าใกล้ฤดูหนาว กลางคืนจะยาวนาน โชคดีจากตรงนี้ขากลับมีรถเมล์สาย 626 ที่วิ่งต่อเดียวไปถึงหอพักที่เราอยู่ได้เลย แต่ต้องนั่งชั่วโมงกว่ากว่าจะถึง เมื่อกลับไปถึงฟ้าก็มืดสนิทและความหนาวเหน็บก็มาเยือน
{{s.chue}}
〇
✖
ทวีต
-----------------------------------------
囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧
ดูสถิติของหน้านี้
หมวดหมู่
--
ประเทศจีน
>>
จีนแผ่นดินใหญ่
>>
ปักกิ่ง
--
ประวัติศาสตร์
>>
ประวัติศาสตร์จีน
ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ
三
~ เกี่ยวกับเรา ~
สารบัญ
รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
ภาษา python
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib
-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ
บทความแบ่งตามหมวด
==เลือกหมวด==
ดาราศาสตร์
คณิตศาสตร์
-ความน่าจะเป็น
คอมพิวเตอร์
-เขียนโปรแกรม
--python
---numpy
---scipy
---matplotlib
---pandas
---manim
---pyqt
---sklearn
---pytorch
---mayapython
--ruby
--javascript
--dart
--MATLAB
--SQL
--regex
--opencv
-shell
-3D
--maya
--MMD
-microsoft_office
-pdf
-ปัญญาประดิษฐ์
--โครงข่ายประสาทเทียม
--สเตเบิลดิฟฟิวชัน
---comfyui
-การสุ่ม
ภาษาศาสตร์
-ตัวอักษร
-เรียนภาษา
-หลักเกณฑ์การทับศัพท์
-ภาษาจีน
--ภาษาจีนกลาง
-ภาษาญี่ปุ่น
-ภาษามองโกล
-ภาษาลาว
-ภาษาเขมร
ประวัติศาสตร์
-ประวัติศาสตร์จีน
-ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น
ปรัชญา
ประเทศจีน
-จีนแผ่นดินใหญ่
--ปักกิ่ง
--เทียนจิน
--เหลียวหนิง
--เหอเป่ย์
--เหอหนาน
--ซานตง
--ซานซี
--อานฮุย
--เจ้อเจียง
--หูเป่ย์
--หูหนาน
--ฝูเจี้ยน
--กวางตุ้ง
---แต้จิ๋ว
--ยูนนาน
--ซินเจียง
-ฮ่องกง
-มาเก๊า
-ไต้หวัน
--ไทเป
--จีหลง
--เถาหยวน
--ซินจู๋
--เหมียวลี่
--ไถจง
--จางฮว่า
--หยวินหลิน
--เจียอี้
--ไถหนาน
--เกาสยง
--ผิงตง
--อี๋หลาน
ประเทศญี่ปุ่น
-ฮกไกโด
-อาโอโมริ
-อิวาเตะ
-มิยางิ
-อากิตะ
-ยามางาตะ
-ฟุกุชิมะ
-อิบารากิ
-โทจิงิ
-กุมมะ
-ไซตามะ
-จิบะ
-โตเกียว
-คานางาวะ
-นีงาตะ
-โทยามะ
-อิชิกาวะ
-ฟุกุอิ
-ยามานาชิ
-นางาโนะ
-กิฟุ
-ชิซึโอกะ
-ไอจิ
-มิเอะ
-ชิงะ
-เกียวโต
-โอซากะ
-เฮียวโงะ
-นาระ
-วากายามะ
-โอกายามะ
-ฮิโรชิมะ
-ยามางุจิ
-ฟุกุโอกะ
-ซางะ
-นางาซากิ
-คุมาโมโตะ
-โออิตะ
ต่างแดน
-อุษาคเนย์
--กัมพูชา
--พม่า
--สิงคโปร์
-ยุโรป
--สวีเดน
--เดนมาร์ก
--ฟินแลนด์
-ออสเตรเลีย
ท่องเที่ยว
-มหาวิทยาลัย
-พิพิธภัณฑ์
--พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์
--หอศิลป์
-สวนสัตว์
--พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ
-ท้องฟ้าจำลอง
-ตึกระฟ้า
-ปราสาท☑
--ปราสาทญี่ปุ่น
--ปราสาทขอม
--ปราสาทยุโรป
-ศาสนสถาน
--วัด
--ศาลเจ้า
--โบสถ์
--มัสยิด
-สุสาน
-มรดกโลก
-ทะเล
-ทะเลสาบ
-ภูเขา
-ภูเขาไฟ
-หิมะ
-ดอกซากุระ
-แมว
-รถไฟ
-เรือ
-ตลาดกลางคืน
-งานเทศกาล
-ที่ระลึกภัยพิบัติ
-ตามรอย
บันเทิง
-เกม
--อาเตอลีเย
--โปเกมอน
--caligula
--vn
-อนิเมะ
-มังงะ
-นิยาย
-เพลง
--เพลงอนิเมะ
--เพลงเกม
เรื่องแต่ง
บันทึก
ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ
ค้นหาบทความ
บทความล่าสุด
เดินย่านบ้านซามุไรและแหล่งน้ำพุในเมืองชิมาบาระ แวะกินอาหารพื้นบ้าน
ปราสาทชิมาบาระ ปราสาทสวยใหญ่ล้อมด้วยคูบัวในเมืองที่อยู่ระหว่างภูเขากับทะเล
นั่งเรือข้ามทะเลอาริอาเกะจากคุมาโมโตะไปยังเมืองชิมาบาระจังหวัดนางาซากิ
ซากุระโนะบาบะ โจวไซเอง ย่านร้านค้าชิโมโตริ ซากุระมาจิคุมาโมโตะ
ชมปราสาทคุมาโมโตะที่ยังเต็มไปด้วยรอยแผลจากแผ่นดินไหวครั้งใหญ่
บทความแนะนำ
ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ
บทความแต่ละเดือน
2024年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2023年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2022年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2021年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2020年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
ค้นบทความเก่ากว่านั้น
ไทย
日本語
中文