φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas
ทวีต
เซียนหนงถาน แท่นบูชาเทพแห่งการเกษตร
เขียนเมื่อ 2015/10/24 20:50
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
#เสาร์ 18 เม.ย. 2015
ในปักกิ่งมีแท่นบูชาสำคัญที่ถูกสร้างขึ้นในสมัยราชวงศ์หมิงอยู่ ๕ แห่ง
เทียนถาน (天坛)
แท่นบูชาสวรรค์,
ตี้ถาน (地坛)
แท่นบูชาปฐพี,
รื่อถาน (日坛)
แท่นบูชาสุริยะ,
เยวี่ยถาน (月坛)
แท่นบูชาจันทรา และ
เซียนหนงถาน (先农坛)
แท่นบูชาเทพแห่งการเกษตร
หลังจากที่ได้ไปชมแท่นบูชาแห่งอื่นมาหมดแล้วดังที่เคยได้เล่าไป แห่งสุดท้ายที่เหลืออยู่ซึ่งจะไปเยี่ยมชมคราวนี้คือเซียนหนงถาน
เซียนหนงถานตั้งอยู่ติดกับเทียนถาน หากใครมาเที่ยวเทียนถานก็สามารถแวะมาได้ไม่ยาก อย่างไรก็ตามไม่ค่อยมีใครรู้จักที่นี่มากนัก เพราะไม่ได้มีชื่อเสียงหรือความสำคัญมากเท่า แท่นบูชาแห่งอื่นอย่างตี้ถาน รื่อถาน เยวี่ยถานเองก็ไม่ใช่ที่ที่คนทั่วไปจะสนใจไปเช่นกัน คนส่วนใหญ่ก็คงไปกันแต่เทียนถาน
บางทีเซียนหนงถานนี้เองก็ไม่ได้ต่างจากแท่นบูชาอีก ๓ แห่ง ไม่ได้โดดเด่นเท่าเทียนถาน นั่นก็คงใช่ ถ้าหากพูดถึงตัวสถานที่มันเองแล้ว
แต่ว่าปัจจุบันนี้อาคารส่วนหนึ่งของเซียนหนงถานได้กลายมาเป็น
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง (北京古代建筑博物馆)
ซึ่งทำให้มันกลายเป็นสถานที่ที่น่าสนใจ น่ามาเที่ยวเป็นอย่างมาก เป็นพิพิธภัณฑ์แห่งหนึ่งที่ค่อนข้างอยากแนะนำให้มาเที่ยวกันดูเพราะทำออกมาได้ดีมาก
โดยส่วนใหญ่แล้วพวกสิ่งก่อสร้างโบราณต่างๆที่ถูกอนุรักษ์ไว้มักจะกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวในรูปแบบพิพิธภัณฑ์ให้คนมาชมประวัติศาสตร์เกี่ยวกับสถานที่นั้น สำหรับเซียนหนงถานเองก็ได้ใช้อาคารส่วนหนึ่งจัดแสดงเกี่ยวกับเรื่องราวของเซียนหนงถานเองเช่นกัน แต่ในขณะเดียวกันอาคารส่วนหนึ่งกลับถูกใช้เป็นพิพิธภัณฑ์ในหัวข้อที่ไม่เกี่ยวข้องกัน แต่กลับเป็นหัวข้อที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก
มีสถานที่โบราณอีกหลายแห่งที่ถูกใช้เป็นพิพิธภัณฑ์ในหัวข้อที่ไม่เกี่ยวข้อง เช่นป้อมประตูเก่า
เต๋อเซิ่งเหมิน (德胜门)
ซึ่งได้กลายมาเป็นพิพิธภัณฑ์เหรียญโบราณ ซึ่งไม่ได้มีความเกี่ยวข้องอะไรกับสถานที่เลย
https://phyblas.hinaboshi.com/20150411
เช่นเดียวกัน ที่นี่เองก็ใช้ระบบที่ว่าซื้อตั๋วอันเดียวเพื่อเข้าชม ๒ ส่วนด้วยกัน คือส่วนของเซียนหนงถาน และส่วนของพิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณ
ขอแบ่งเล่าเป็น ๒ ส่วน สำหรับในหน้านี้จะพูดถึงส่วนของเซียนหนงถาน แล้วตอนต่อไปค่อยพูดถึงส่วนของพิพิธภัณฑ์
เซียนหนงถานถูกสร้างขึ้นพร้อมกับเทียนถานเมื่อปี 1420 สมัยจักรพรรดิหย่งเล่อ (永乐, ปี 1403 - 1424) แห่งราชวงศ์หมิง เพื่อใช้บูชาเทพ
เสินหนง (神农)
เทพแห่งการเกษตรในตำนานของจีน
เซียนหนงถานนั้นเป็นชื่อเรียกรวมๆของบริเวณนี้ แต่ที่จริงแล้วนอกจากส่วนของแท่นบูชาเทพแห่งการเกษตรและอาคารที่เกี่ยวข้องแล้ว ในบริเวณยังประกอบไปด้วยส่วนที่ใช้ทำพิธีอื่นๆ ได้แก่อาคาร
ไท่ซุ่ยเตี้ยน (太岁殿)
ซึ่งใช้บูชา
เทพไท่ซุ่ย (太岁神)
ซึ่งเป็นเทพแห่งดาวในจินตนาการดวงหนึ่งที่สมมุติว่าอยู่ในตำแหน่งตรงกันข้ามกับดาวพฤหัสบนท้องฟ้า มีความสำคัญในการกำหนดปีในสมัยก่อน ถูกสร้างขึ้นมาตั้งแต่ปี 1420 พร้อมกับแท่นบูชาเทพแห่งการเกษตร เป็นหมู่อาคารที่มีทั้งหมด ๔ หลัง
เซียนหนงถานตอนที่เริ่มถูกสร้างขึ้นนั้นมีชื่อว่าซานชวานถาน (山川坛) ซึ่งแปลว่าแท่นบูชาแห่งภูเขาและแม่น้ำ แต่ว่าต่อมาในปี 1530 แท่นบูชาเทพแห่งท้องฟ้า เทียนเสินถาน (天神坛) และแท่นบูชาเทพแห่งผืนดิน ตี้ฉีถาน (地祇坛) ได้ถูกสร้างขึ้นในส่วนใต้ของบริเวณนี้ ที่นี่จึงเปลี่ยนชื่อเป็นเสินฉีถาน (神祇坛)
ต่อมาในปี 1576 จึงได้เปลี่ยนชื่อมาเป็นเซียนหนงถาน หลังจากนั้นในช่วงปี 1753 - 1754 สมัยของจักรพรรดิเฉียนหลง (乾隆, 1736 - 1795) แห่งราชวงศ์ชิงได้มีการปรับปรุงเพิ่มเติมอาคารอีกจำนวนหนึ่งทำให้ที่นี่กลายเป็นหมู่อาคารขนาดใหญ่ แต่พอหมดยุคราชวงศ์ชิง เข้าสู่ยุคสาธารณรัฐจีน (ปี 1911 - 1949) ที่นี่ก็หมดความสำคัญไป สิ่งก่อสร้างหลายอย่างในนี้ถูกรื้อทิ้ง ปี 1916 ที่นี่ถูกทำเป็นสวนสาธารณะ ปี 1936 มีการสร้างสนามกีฬาขึ้นทับในส่วนตะวันออกเฉียงใต้ เรียกว่า
สนามกีฬาเซียนหนงถาน (先农坛体育场)
จนถึงปัจจุบันแม้ว่าจะมีอาคารหลายส่วนถูกรื้อออกไปแล้ว แต่ก็ยังเหลืออยู่อีกจำนวนมาก ในปี 2001 เซียนหนงถานได้ขึ้นทะเบียนปกป้องโดยหน่วยงานอนุรักษณ์สมบัติทางวัฒนธรรมที่สำคัญของจีน
สำหรับอาคารไท่ซุ่ยเตี้ยนนั้นได้รับการอนุรักษ์ไว้อย่างดี และตั้งแต่ปี 1991 ได้กลายมาเป็นพิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
การเดินทางมาที่นี่เนื่องจากว่าปัจจุบันยังไม่มีรถไฟฟ้ามาถึงจึงต้องนั่งรถเมล์มาเท่านั้น โดยลงที่ป้ายหนานเหว่ย์ลู่ (南纬路) จะใกล้ที่สุดหรือถ้าใครเที่ยวเทียนถานแล้วจะเดินเลยมาเที่ยวที่นี่ต่อก็ได้ ปกติแล้วคนมาเที่ยวเทียนถานจะนั่งรถไฟฟ้าไปลงที่ประตูตะวันออก ถ้าเดินเที่ยวเสร็จก็ออกทางประตูตะวันตกแล้วเดินเลยมาเที่ยวเซียนหนงถานได้
หน้าประตูทางเข้าทิศเหนือ เมื่อเดินผ่านประตูไปแล้วจะเห็นที่ขายตั๋วอยู่ให้ซื้อก่อนค่อยเดินต่อไป ราคาตั๋วคือ ๑๕ หยวน แต่เราเป็นนักศึกษาก็ลดเหลือ ๘ หยวน ยังไงก็ถือว่าถูกและคุ้มดีมาก
ซื้อตั๋วเสร็จก็เดินเข้ามาอีกหน่อยจึงจะเห็นประตูทางเข้าส่วนบริเวณด้านในของเซียนหนงถาน ยื่นบัตรที่ซื้อมาเพื่อผ่านประตูตรงนี้ แต่ถ้าใครไม่ได้ซื้อบัตรมาจากประตูทางเข้าด้านนอกแต่แรกก็ต้องเดินย้อนกลับไปซื้อ
เมื่อเดินเข้ามาแล้วก็จะเจออาคารไท่ซุ่ยเตี้ยนซึ่งเป็นส่วนที่ทำเป็นพิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมจีน แต่ว่าตอนนี้เรายังไม่เข้าไปแต่จะดูส่วนอื่นก่อนให้ครบค่อยกลับมาดู
ด้านหน้าไท่ซุ่ยเตี้ยนมีเตาที่ใช้สำหรับเผาผ้าที่เป็นของไหว้บูชาเทพ เตานี้ถูกสร้างในปี 1420 พร้อมกับส่วนของแท่นบูชา
เดินถัดเข้าไปอีกก็จึงเจอแท่นบูชาเทพเจ้าแห่งการเกษตร แท่นบูชาอันนี้เองที่เป็นศูนย์กลางสำคัญของสถานที่แห่งนี้ แม้ว่ารูปร่างภายนอกจะเห็นว่าเป็นแค่พื้นยกระดับเล็กๆที่มีอยู่ถมถื่นไป
ใกล้กับแท่นบูชาเป็นทางเข้าสู่หมู่อาคารครัวและคลังศักดิ์สิทธิ์ (神厨神库院) เป็นหมู่อาคารที่เอาไว้ใช้สำหรับเก็บจัดเตรียมของสำหรับทำพิธี สร้างขึ้นตั้งแต่ปี 1420 เช่นกัน ปัจจุบันถูกใช้เป็นสถานที่จัดแสดงเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของเซียนหนงถานและเรื่องราวที่เกี่ยวข้อง
อาคารจัดแสดงมีทั้งหมด ๓ หลังด้วยกัน เริ่มจากหลังแรกอาคารฝั่งตะวันตกนี้จัดแสดงเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของที่นี่ บอกเล่าประวัติศาสตร์ในช่วงต่างๆ ข้อมูลที่เล่าไปในช่วงต้นส่วนใหญ่อ่านมาจากที่นี่
นี่คือแผนที่ของที่นี่สมัยที่มันยังสมบูรณ์แบบอยู่ ส่วนที่เหลือในปัจจุบันโดยหลักเหลือแค่ส่วนทางตะวันตกเฉียงเหนือ (ซ้ายบนของภาพ) เท่านั้น แท่นบูชา ๒ อันที่เป็นอยู่ทางใต้ (มุมล่าง) คือแท่นบูชาเทพแห่งท้องฟ้าและผืนดินซึ่งปัจจุบันไม่เหลืออยู่แล้ว
อันนี้เป็นแบบจำลอง ๓ มิติ
ส่วนอันนี้เป็นแบบจำลองที่แสดงถึงตำแหน่งของเซียนหนงถานภายในตัวเมืองปักกิ่งสมัยก่อน จากตรงนี้คือมองจากทิศใต้ขึ้นไปยังทิศเหนือ ทางซ้ายเขียวๆนี้คือเซียนหนงถาน ส่วนทางขวาคือเทียนถาน (มองเห็นแค่ครึ่งเดียวเพราะมันใหญ่เกินจุไม่หมด) และมองไปไกลเบื้องหน้าก็คือพระราชวังต้องห้าม
กู้กง (故宫)
และก็มีจัดแสดงของโบราณจำนวนหนึ่ง
จากนั้นมาดูต่อที่อาคารฝั่งเหนือ ที่นี่จัดแสดงอธิบายเกี่ยวกับการทำพิธีที่นี่
ตรงนี้เป็นรายชื่อจักรพรรดิราชวงศ์หมิงและชิง เขียนบอกว่าแต่ละองค์ครองราชย์กี่ปีและมาทำพิธีบูชาที่นี่กี่ครั้ง
พิธีบูชาที่จัดขึ้นที่นี่นั้นมีขั้นตอนหนึ่งที่เรียกว่าชินเกิง (亲耕) คือจักรพรรดิมาลงมือพรวนดินด้วยตัวเองพอเป็นพิธี ซึ่งแปลงผักสำหรับทำพิธีก็อยู่ข้างๆแท่นบูชาเทพแห่งการเกษตรนี้เอง คือพื้นที่ในรูป พอจักรพรรดิพรวนดินเสร็จแล้ว พวกเจ้านายและขุนนางส่วนหนึ่งก็จะมาทำต่อ
หลังพิธีพรวนดินด้วยตัวเองเสร็จก็จะมาชงชาดื่มพักผ่อนกันอย่างในรูปนี้
สุดท้ายมาดูที่อาคารฝั่งตะวันออก ที่นี่จัดแสดงเกี่ยวกับวัฒนธรรมการเกษตรของที่ต่างๆทั้งในจีนและต่างประเทศ
แผนที่แสดงวัฒนธรรมการเกษตรสมัยโบราณที่พบเจอตามที่ต่างๆ
แหล่งอารยธรรมการเกษตรที่พบเจอในส่วนต่างๆในแผ่นดินจีน
โบราณสถานเหอหมู่ตู้ (河姆渡遗址)
มณฑลเจ้อเจียง เป็นบริเวณที่ขุดพบแหล่งอารยธรรมเก่าแต่ประมาณ ๗๐๐๐ ปี ซึ่งเป็นช่วงยุคหินใหม่ ที่นี่พบร่องรอยว่ามีการปลูกข้าวตั้งแต่สมัยนั้นแล้ว
ภาพตรงนี้แสดงการเพาะปลูกในฤดูต่างๆแบ่งตามช่วงของปี
การแบ่งช่วงปีของจีนนั้นจะแบ่งออกเป็น ๒๔ ตามสภาพอากาศในฤดูและตำแหน่งของโลก
ภาพแกะสลักที่มณฑลฝูเจี้ยน
เทพของอียิปต์โบราณ เทพโอซีริส เทพรา และเสาหินโอเบลิสก์
และเทพในตำนานของวัฒนธรรมต่างๆ อินเดีย กรีก และ และชนพื้นเมืองอเมริกา
หลังเดินส่วนในอาคารที่จัดแสดงเสร็จก็ออกมาแล้วเดินไปทางใต้จะเจอแท่งหิน ๙ อันที่จัดเรียงอยู่อย่างเป็นระเบียบ นี่เป็นหินที่แทนเทพต่างๆ ซึ่งเมื่อก่อนเคยจัดเรียงอยู่ข้างๆแท่นบูชาเทพแห่งผืนดิน แต่ว่าตอนนี้แท่นบูชานั้นไม่อยู่แล้ว เหลือแต่แท่งหินเหล่านี้ก็เลยเอามาจัดวางไว้ในลักษณะใกล้เคียงเดิมในตำแหน่งปัจจุบัน
ข้างๆถัดมาเป็นแท่นที่เรียกว่ากวานเกิงไถ (观耕台) ไม่ใช่แท่นบูชาอะไรแต่เป็นแท่นที่เอาไว้สำหรับจักรพรรดิยืนอยู่เพื่อดูพวกเจ้านายและขุนนายขณะกำลังพรวนดินหลังจากที่ตัวเองพรวนดินตามพิธีเสร็จแล้ว
และข้างๆกันเป็นอาคารจวี้ฝูเตี้ยน (具服殿) ซึ่งเอาไว้สำหรับเปลี่ยนชุดเพื่อเข้าทำพิธี
ปัจจุบันนี้ภายในเอาไว้ใช้จัดแสดงเกี่ยวกับการวาดลวดลายต่างๆบนสิ่งก่อสร้าง
มีตัวอย่างการลงสี สีสันสดใสสวยงาม
นี่เป็นสีต่างๆที่ใช้
หลังจากดูตรงส่วนนี้จบแล้ว ส่วนที่เหลืออยู่ก็มีแค่กลุ่มอาคารไท่ซุ่ยเตี้ยนซึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณ เนื่องจากเนื้อหาไม่เกี่ยวกันและค่อนข้างจะยาวจึงจะขอเล่าถึงต่อในตอนหน้า
https://phyblas.hinaboshi.com/20151028
{{s.chue}}
〇
✖
ทวีต
-----------------------------------------
囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧
ดูสถิติของหน้านี้
หมวดหมู่
--
ประเทศจีน
>>
จีนแผ่นดินใหญ่
>>
ปักกิ่ง
ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ
三
~ เกี่ยวกับเรา ~
สารบัญ
รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
ภาษา python
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib
-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ
บทความแบ่งตามหมวด
==เลือกหมวด==
ดาราศาสตร์
คณิตศาสตร์
-ความน่าจะเป็น
คอมพิวเตอร์
-เขียนโปรแกรม
--python
---numpy
---scipy
---matplotlib
---pandas
---manim
---pyqt
---sklearn
---pytorch
---mayapython
--ruby
--javascript
--dart
--MATLAB
--SQL
--regex
--opencv
-shell
-3D
--maya
--MMD
-microsoft_office
-pdf
-ปัญญาประดิษฐ์
--โครงข่ายประสาทเทียม
--สเตเบิลดิฟฟิวชัน
---comfyui
-การสุ่ม
ภาษาศาสตร์
-ตัวอักษร
-เรียนภาษา
-หลักเกณฑ์การทับศัพท์
-ภาษาจีน
--ภาษาจีนกลาง
-ภาษาญี่ปุ่น
-ภาษามองโกล
-ภาษาลาว
-ภาษาเขมร
ประวัติศาสตร์
-ประวัติศาสตร์จีน
-ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น
ปรัชญา
ประเทศจีน
-จีนแผ่นดินใหญ่
--ปักกิ่ง
--เทียนจิน
--เหลียวหนิง
--เหอเป่ย์
--เหอหนาน
--ซานตง
--ซานซี
--อานฮุย
--เจ้อเจียง
--หูเป่ย์
--หูหนาน
--ฝูเจี้ยน
--กวางตุ้ง
---แต้จิ๋ว
--ยูนนาน
--ซินเจียง
-ฮ่องกง
-มาเก๊า
-ไต้หวัน
--ไทเป
--จีหลง
--เถาหยวน
--ซินจู๋
--เหมียวลี่
--ไถจง
--จางฮว่า
--หยวินหลิน
--เจียอี้
--ไถหนาน
--เกาสยง
--ผิงตง
--อี๋หลาน
ประเทศญี่ปุ่น
-ฮกไกโด
-อาโอโมริ
-อิวาเตะ
-มิยางิ
-อากิตะ
-ยามางาตะ
-ฟุกุชิมะ
-อิบารากิ
-โทจิงิ
-กุมมะ
-ไซตามะ
-จิบะ
-โตเกียว
-คานางาวะ
-นีงาตะ
-โทยามะ
-อิชิกาวะ
-ฟุกุอิ
-ยามานาชิ
-นางาโนะ
-กิฟุ
-ชิซึโอกะ
-ไอจิ
-มิเอะ
-ชิงะ
-เกียวโต
-โอซากะ
-เฮียวโงะ
-นาระ
-วากายามะ
-โอกายามะ
-ฮิโรชิมะ
-ยามางุจิ
-ฟุกุโอกะ
-ซางะ
-นางาซากิ
-คุมาโมโตะ
-โออิตะ
ต่างแดน
-อุษาคเนย์
--กัมพูชา
--พม่า
--สิงคโปร์
-ยุโรป
--สวีเดน
--เดนมาร์ก
--ฟินแลนด์
-ออสเตรเลีย
ท่องเที่ยว
-มหาวิทยาลัย
-พิพิธภัณฑ์
--พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์
--หอศิลป์
-สวนสัตว์
--พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ
-ท้องฟ้าจำลอง
-ตึกระฟ้า
-ปราสาท☑
--ปราสาทญี่ปุ่น
--ปราสาทขอม
--ปราสาทยุโรป
-ศาสนสถาน
--วัด
--ศาลเจ้า
--โบสถ์
--มัสยิด
-สุสาน
-มรดกโลก
-ทะเล
-ทะเลสาบ
-ภูเขา
-ภูเขาไฟ
-หิมะ
-ดอกซากุระ
-แมว
-รถไฟ
-เรือ
-ตลาดกลางคืน
-งานเทศกาล
-ที่ระลึกภัยพิบัติ
-ตามรอย
บันเทิง
-เกม
--อาเตอลีเย
--โปเกมอน
--caligula
--vn
-อนิเมะ
-มังงะ
-นิยาย
-เพลง
--เพลงอนิเมะ
--เพลงเกม
เรื่องแต่ง
บันทึก
ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ
ค้นหาบทความ
บทความล่าสุด
เดินชมริมฝั่งทะเลโมจิโกวสุดปลายเหนือเกาะคิวชู มองสะพานพาดผ่านช่องแคบคัมมงจากศาลเจ้าเมการิ
เดินเที่ยวในเมืองทาเกโอะ ชมสวนมิฟุเนะยามะรากุเองใบไม้เริ่มเปลี่ยนสีทั้งตอนกลางวันและค่ำคืน
นั่งรถไฟจากชิมาบาระไปตามชายฝั่งทะเล เปลี่ยนชิงกันเซงที่อิซาฮายะ ไปลงที่สถานีทาเกโอะอนเซงจังหวัดซางะ
เดินย่านบ้านซามุไรและแหล่งน้ำพุในเมืองชิมาบาระ แวะกินอาหารพื้นบ้าน
ปราสาทชิมาบาระ ปราสาทสวยใหญ่ล้อมด้วยคูบัวในเมืองที่อยู่ระหว่างภูเขากับทะเล
บทความแนะนำ
ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ
บทความแต่ละเดือน
2024年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2023年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2022年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2021年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2020年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
ค้นบทความเก่ากว่านั้น
ไทย
日本語
中文