φυβλαςのβλογ
phyblasのブログ



พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ธรรมชาติแห่งชาติ ตอนที่ ๒: สีและตัวเลข
เขียนเมื่อ 2017/08/05 13:30
แก้ไขล่าสุด 2023/07/01 20:15
# อาทิตย์ 9 ก.ค. 2017

ต่อจากตอนที่แล้วที่เข้าชมศูนย์วิทยาศาสตร์เสร็จไป https://phyblas.hinaboshi.com/20170803

ต่อมาพวกเราก็กลับเข้ามายังส่วนอาคารหลักอีกครั้ง



ตอนที่เดินกลับเข้ามาก็เห็นตรงนี้ก็มีร้านขายของที่ระลึกอีกแห่ง ใหญ่กว่าตรงศูนย์วิทยาศาสตร์หน่อย





จากนั้นลงมาที่ชั้นใต้ดินในส่วนทางฝั่งของโถงวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ตรงนี้เป็นส่วนที่จัดแสดงเกี่ยวกับสี



แสงคือพลังงานรังสีที่ถูกแผ่ออกมา



ตรงนี้อธิบายปรากฏการณ์ว่าทำไมเราถึงเห็นท้องฟ้าเป็นสีต่างๆในเวลาต่างกัน เนื่องจากการที่รังสีดวงอาทิตย์ทำมุมไม่เท่ากันนั่นเอง



เรื่องของสีและการอยู่รอด



สัตว์ใช้สีเพื่อทำหน้าที่อะไรหลายๆอย่าง



การรับรู้ทางแสงของสัตว์ต่างๆซึ่งไม่เหมือนกัน



ปรากฏการณ์ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับสี




ตรงนี้เป็นแผ่นที่ให้ลองหมุนดูว่าถ้ากรองแสงด้วยแผ่นสีต่างกันจะเห็นภาพด้านหลังเป็นยังไง แสงไหนถูกกรองก็จะมองไม่เห็น



ตรงนี้จำลองภาพวาดฝาผนังโดยมนุษย์ยุคหิน





ดูจบในส่วนจัดแสดงเกี่ยวกับสี ยังมีอีกส่วนหนึ่งตรงชั้นใต้ดินนี้ที่ยังไม่ได้เข้าชม คือส่วนจัดแสดงเรื่องของตัวเลข แต่ว่าในจังหวะนั้นดูเวลาแล้วใกล้จะถึงรอบฉายหนังซึ่งตั้งใจว่าจะไปดู



โรงหนังนี้เป็นหนังที่ถ่ายทำในรูปแบบที่ฉายลงบนพื้นแล้วให้คนชมมองจากด้านบน การเข้าชมจะมีรอบชมทุกชั่วโมง ความยาวประมาณ ๑๐ นาที

เราตัดสินใจจะพักการชมส่วนจัดแสดงตรงนี้เพื่อไปดูหนังอันนี้ ดูเสร็จค่อยกลับมาชมต่อ

ภายในห้องฉายเป็นแบบนี้ ทุกคนยืนล้อมวงเวียนตรงกลางแล้วมองลงไปข้างล่างจากตรงนั้น



หนังที่ฉายคือทิวทัศน์เมืองไถจง ระหว่างฉายหนังห้ามถ่ายภาพ ดังนั้นจึงไม่ได้เอาภาพมาลงให้ชม



ดูหนังเสร็จก็กลับมาที่ชั้นใต้ดิน เพื่อชมส่วนจัดแสดงต่อไป หัวข้อเกี่ยวกับเรื่องความสำคัญของตัวเลข



ตรงนี้เล่าถึงการพัฒนาคณิตศาสตร์ในยุคสมัยต่างๆ เริ่มตั้งแต่อียิปต์โบราณ



กรีกโบราณ อาร์คีเมเดส



ปโตเลมี



บางยุคชาวอาหรับก็มีส่วนในการพัฒนาคณิตศาสตร์



แนวคิดเรื่องศูนย์กลางจักรวาลซึ่งเปลี่ยนแปลงไปในยุคต่างๆ



หนึ่งในอุปกรณ์ทางดาราศาสตร์ที่มีมาแต่โบราณคือลูกทรงกลมท้องฟ้าซึ่งก็เป็นอุปกรณ์ที่ต้องอาศัยความเข้าใจทางเรขาคณิตเป็นอย่างดี



อธิบายวิธีการคิดในแบบคณิตศาสตร์ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญมากในการเข้าใจธรรมชาติ



ตรงนี้อธิบายเรื่องหลักความน่าจะเป็นในธรรมชาติ



ตรงนี้อธิบายเรื่องกาลอวกาศที่โค้งงอตามทฤษฎีสัมพัทธภาพ



มุมนี้เป็นอุปกรณ์เกมทางคณิตศาสตร์



เช่นลูกกลมๆนี้จำลองโครงสร้างผลึก ให้ลองดูว่าทำยังไงจึงจะยัดทั้งหมดลงกล่องได้ ต้องวางให้เหลือช่องว่างน้อยที่สุด



ตรงนี้แสดงรูปทรงต่างๆที่น่าสนใจที่พบในสิ่งมีชีวิตตามธรรมชาติ อันนี้คือทรงเกลียว (螺旋形) ของหอย



ทรงหกเหลี่ยม (六角形) ของรังผึ้ง



ทรงสมมาตร (對稱形, 对称形)



สมมาตรแนวรัศมี (輻射對稱, 辐射对称)



ว่าด้วยเรื่องตรรกะของรูปทรง



รูปทรงผลึกต่างๆ



โครงสร้างเส้นโค้งในสิ่งมีชีวิต



เกลียวของหอยชนิดต่างๆ



สิ่งมีชีวิตต่างๆมักมีโครงสร้างสมมาตร



หน้าที่การใข้งานเป็นตัวกำหนดรูปร่างของอวัยวะต่างๆ





ใช้เวลาไปพอสมควรในการดูส่วนนี้ เมื่อเสร็จแล้วเราก็กลับขึ้นมาชั้นหนึ่งเพื่อเข้าชมส่วนจัดแสดงพิเศษต่อ https://phyblas.hinaboshi.com/20170807



-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ประเทศจีน >> ไต้หวัน >> ไถจง
-- ท่องเที่ยว >> พิพิธภัณฑ์ >> พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

目次

日本による名言集
モジュール
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
機械学習
-- ニューラル
     ネットワーク
javascript
モンゴル語
言語学
maya
確率論
日本での日記
中国での日記
-- 北京での日記
-- 香港での日記
-- 澳門での日記
台灣での日記
北欧での日記
他の国での日記
qiita
その他の記事

記事の類別



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  記事を検索

  おすすめの記事

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

ไทย

日本語

中文