φυβλαςのβλογ
phyblasのブログ



บัตรประจำตัวผู้พำนักอยู่ไต้หวันหมดอายุเป็นปัญหาใหญ่
เขียนเมื่อ 2018/03/19 00:21
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
วันที่ 25 ม.ค. เราเดินทางกลับไทยช่วงปิดเทอมฤดูหนาว พอถึงวันที่ 21 ก.พ. ก็เดินทางกลับ ตอนไปถึงสนามบินสายการบินก็พบว่าใบอนุญาตพำนักอยู่ไต้หวันได้หมดอายุลงไปแล้ว ถ้ากลับเข้าไปตอนนี้จะเจอปัญหา

ปกติแล้วคนที่มาเรียนต่อหรือทำงานที่ไต้หวันเป็นระยะยาวจำเป็นต้องทำบัตรประจำตัวผู้พำนักอยู่ ซึ่งเรียกเป็นภาษาจีนว่า จวีหลิวเจิ้ง (居留證) หรือนิยมเรียกเป็นตัวย่อว่า ARC

การจะทำบัตรนั้นก่อนอื่นต้องทำวีซ่าสำหรับนักเรียนมาจากประเทศตัวเองก่อน แล้วพอเดินมาถึงไต้หวันก็ได้

ปีที่แล้วตอนมาไต้หวันครั้งแรกเพื่อเรียนต่อก็ทำวีซ่านักเรียนไป เล่าไว้ใน https://phyblas.hinaboshi.com/20170302

เพราะปีที่แล้วไปถึงไต้หวันตอนวันที่ 9 ก.พ. จากนั้นก็มาทำบัตรแล้วเขาก็ออกให้สำหรับ ๑ ปี ปกติแล้วจะต้องมาต่ออายุในช่วงก่อนบัตรหมด ๑ เดือน

แต่เนื่องจากกลับไทยตั้งแต่ วันที่ 25 ม.ค. ช่วงที่หมดอายุก็อยู่ที่ไทย แล้วก็ลืมปัญหาเรื่องนี้ไปเลย

พอจู่ๆเจอปัญหาแบบนี้ก็ตกใจและลนลานพอสมควร ทางสายการบินบอกว่าถ้าจะไปขึ้นเครื่องจำเป็นจะต้องเข้าไปแบบไม่ใช้วีซ่า โดยจะต้องมีตั๋วขากลับด้วย ทำให้เราต้องรีบตัดสินใจซื้อตั๋วเครื่องบินเฉพาะขาไปตอนนั้นเลย

จากนั้นในที่สุดก็ได้ขึ้นเครื่อง พอไปถึงตรวจคนเข้าเมืองก็ผ่านด่านตรวจเข้าไปแบบธรรมดา ไม่ยื่นบัตรประจำตัวไป

จากนั้นวันต่อมาคือ 22 ม.ค. ก็รีบเดินทางไปสำนักงานต่างด้าว (移民署) ทันทีเพื่อจะไปทำใบอนุญาตใหม่

สถานที่อยู่ใกล้กับวิทยาเขตหนานต้า (南大校區) ของมหาวิทยาลัยชิงหัว การเดินทางหากออกจากวิทยาเขตหลัก (วิทยาเขตกวางฟู่) ก็มีรถเมล์บริการฟรี ออกประมาณทุกชั่วโมง



พอรถลงที่หนานต้าเสร็จแล้วก็ไปทางตะวันตกเฉียงเหนือต่อ ข้ามสะพานข้ามทางรถไฟไป



ก็สามารถมาถึงสำนักงานต่างด้าว



แต่ปรากฏว่าพอไปถึงจึงพบความจริงว่าถ้าบัตรไปหมดอายุที่ไทยจำเป็นต้องทำวีซ่าใหม่ที่ไทย ตอนแรกเราพยายามถามว่าไม่มีทางเลือกอื่นเลยเหรอ เขาก็บอกให้โทรไปยังสำนักงานที่ไทเป พอโทรไปเขาก็ยืนยันว่ายังไงก็ต้องกลับไปทำ

ตอนแรกเราก็คิดว่าการกลับไปทำวีซ่าจะเป็นเรื่องยุ่งยาก เพราะตอนครั้งแรกที่ทำนั่นคือต้องตรวจสุขภาพ ซึ่งถ้าเป็นแบบนั้นต้องเสียเวลากลับไปนานถึงอย่างน้อยครึ่งเดือน

แต่พอสอบถามข้อมูลโดยโทรไปที่สำนักงานที่ไทยแล้วก็ได้ความว่าการทำใหม่แบบนี้ไม่ต้องตรวจสุขภาพแล้ว สิ่งที่ต้องพกไปมีแค่พาสปอร์ตกับบัตรประจำตัวผู้พำนักอยู่ที่ไต้หวันเท่านั้น และใช้เวลาแค่ ๓ วันทำการ

พอรู้ว่าต้องกลับแน่ๆก็เลยรีบจองตั๋วเครื่องบิน ที่จริงเรื่องราวไม่ได้จำเป็นต้องรีบมาก เพราะการที่เข้าไปโดยไม่ใช้วีซ่าสามารถอยู่ได้ถึง ๓๐ วันอยู่แล้ว แต่ตอนนั้นรู้สึกว่ายิ่งจัดการเร็วยิ่งดี ในที่สุดก็ตัดสินใจเลือกกลับวันอาทิตย์ที่ 25 ก.พ.

จากนั้นวันที่ 26 เป็นวันจันทร์ ก็รีบไปทำวีซ่าทันที แล้วพอวันที่ 28 ก็ไปรับได้ ค่าทำ ๒๒๐๐ บาท โดยรวมแล้วทุกอย่างง่ายดาย แค่ลำบากตรงที่ต้องอุตส่าห์เดินทางกลับมาแล้วก็กลับไปอีก



จากนั้นวันอาทิตย์ที่ 4 มี.ค. ก็รีบบินกลับไต้หวัน เท่ากับว่าครั้งนี้เป็นการกลับไทยแค่ ๘ วันเท่านั้น มาเพื่อแค่ทำวีซ่าเท่านั้นเลยจริงๆ

พอกลับไปถึง วันจันทร์ที่ 5 มี.ค. ก็รีบกลับไปที่สำนักงานต่างด้าวอีกครั้งทันที ครั้งนี้ก็สามารถทำบัตรได้สำเร็จ ไม่มีปัญหา เรื่องก็จบลงด้วยดี ค่าทำ ๑๐๐๐ หยวนไต้หวัน รอ ๒ สัปดาห์ มารับวันจันทร์ที่ 19 มี.ค.

แต่ที่จริงยังหลงเหลือปัญหาอีกอย่าง นั่นคือพาสปอร์ตใกล้หมดอายุ โดยจะหมดในวันที่ 15 ต.ค. ดังนั้นในบัตรก็จะถูกเขียนว่ามีอายุถึงแค่วันนั้นเหมือนกัน

เพียงแต่ว่าหากหลังจากนั้นไปทำพาสปอร์ตใหม่มาเสร็จก็จะสามารถกลับไปทำบัตรใหม่ได้ทันทีไม่ต้องเสียเงินเพิ่ม



ที่เล่ามานี้ เป็นกรณีตัวอย่างของปัญหาที่เกิดขึ้นเมื่อบัตรประจำตัวผู้พำนักอยู่ไปหมดอายุเอาตอนที่กลับไทย (หรืออยู่นอกไต้หวัน)

แต่ถ้าหมดตอนช่วงที่อยู่ไต้หวันจะเกิดอะไรขึ้น? อันนี้เรื่องใหญ่กว่า เพราะเท่ากับเป็นการอยู่เกินเวลา ถือเป็นการอยู่แบบผิดกฎหมาย แบบนี้จะต้องเสียค่าปรับ แล้วยังทำให้มีประวัติไม่ดีติดไปด้วย

ข้อมูลจากเว็บนี้ได้บอกบทลงโทษเอาไว้ http://oic.nccu.edu.tw/files/11-1000-227-1.php

หากเกิน ๑-๑๐ วัน ปรับ ๒๐๐๐
หากเกิน ๑๑-๓๐ วัน ปรับ ๔๐๐๐
กรณีที่เกินไม่ถึง ๓๐ วันแบบนี้ จ่ายค่าปรับแล้วก็ยังอยู่ไต้หวันต่อได้ ไม่ต้องกลับประเทศไปทำวีซ่าใหม่
แต่หากเกิน ๓๑-๖๐ วัน ปรับ ๖๐๐๐ และยังต้องกลับไทยไปทำวีซ่าใหม่ด้วย
ส่วนถ้าเกิน ๖๑-๙๐ ค่าปรับจะเป็น ๘๐๐๐ และถ้า ๙๑ วันขึ้นไปจะเป็น ๑๐๐๐๐ ยิ่งนานยิ่งแพง

ดังนั้นต้องระวังเรื่องนี้ให้ดี ไม่ใช่แค่ไต้หวัน ไม่ว่าอยู่ประเทศอะไรก็ตามต้องดูเงื่อนไขการพำนักอยู่ของประเทศนั้นๆให้ดี พลาดขึ้นมาอาจจะมีปัญหาตามมามากมายแล้วต้องมาตามแก้



-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ประเทศจีน >> ไต้หวัน

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

目次

日本による名言集
モジュール
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
機械学習
-- ニューラル
     ネットワーク
javascript
モンゴル語
言語学
maya
確率論
日本での日記
中国での日記
-- 北京での日記
-- 香港での日記
-- 澳門での日記
台灣での日記
北欧での日記
他の国での日記
qiita
その他の記事

記事の類別



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  記事を検索

  おすすめの記事

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

ไทย

日本語

中文