φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas
ทวีต
การตรวจสุขภาพและทำวีซ่าเพื่อไปเรียนต่อไต้หวัน
เขียนเมื่อ 2017/03/02 21:43
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
เนื่องจากตอนนี้มาเรียนต่อที่ไต้หวัน และก่อนจะมาได้ผ่านขั้นตอนการทำวีซ่าซึ่งพบว่ามีความยุ่งยากอยู่ไม่น้อยก็เลยขอเอาประสบการณ์มาเล่า เผื่อจะเป็นประโยชน์ต่อคนอื่นที่อยากไปเรียนต่อในอนาคต
เริ่มแรก รายละเอียดการทำวีซ่าไต้หวันสามารถอ่านเว็บนี้ได้
http://www.roc-taiwan.org/th_en/post/151.html
สถานที่ทำคือสำนักงานเศรษฐกิจและวัฒนธรรมไทเปประจำประเทศไทย (駐泰國台北經濟文化辦事處) หรือที่มักเรียกกันว่า "กงสุลไต้หวัน" อยู่ที่สถานีรถไฟฟ้าช่องนนทรี
เนื่องจากไต้หวันไม่ใช่ประเทศที่ได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการจากสหประชาชาติ ดังนั้นจึงไม่มีสถานทูตหรือกงสุลจริงๆ มีแค่สถานที่ที่ทำหน้าที่เสมือนเท่านั้น
เอกสารสำหรับขอวีซ่าก็เป็นไปตามนั้น แต่มีรายละเอียดที่ต้องเพิ่มเติมเล็กน้อย
เช่น หลักฐานการศึกษาสูงสุดและผลการเรียน ในเว็บเขียนว่าต้องเตรียมตัวจริงไปด้วย แต่จริงๆแล้วไม่จำเป็น ใช้แค่สำเนาก็ได้
เพราะปกติเอกสารตัวจริงทางมหาวิทยาลัยจะต้องขอไปดูด้วยอยู่แล้ว จึงยากที่จะเตรียมมาพร้อมในวันขอวีซ่า แต่ยังไงก็ตามก่อนจะส่งให้ทางมหาวิทยาลัยก็ต้องไม่ลืมถ่ายสำเนาไว้
สิ่งที่ยุ่งยากที่สุดในบรรดาเอกสารที่ต้องเตรียมก็คือใบตรวจโรค ซึ่งในนี้ไม่ได้อธิบายรายละเอียดไว้ว่าต้องทำยังไงบ้าง ในที่นี้จึงจะขอขยายความขั้นตอนวิธีการ
เริ่มจากต้องไปตรวจที่โรงพยาบาลสักแห่งใน ๖ แห่งที่เขากำหนดไว้ จะตรวจที่อื่นไม่ได้ ซึ่ง ๔ ที่อยู่ในกรุงเทพฯ และ ๒ แห่งอยู่ในภาคเหนือ
สำหรับการตรวจที่โรงพยาบาลจุฬาฯดูได้ที่เว็บนี้
http://www.chulalongkornhospital.go.th/index.php/2015-11-05-06-19-39/2015-11-05-06-22-11
เอกสารที่ต้องใช้เป็นไปตามที่บอกในนั้น หากไม่ได้่ถายสำเนาพาสปอร์ตไปทางนั้นก็ช่วยถ่ายให้ได้ ส่วนแบบฟอร์มตรวจของไต้หวันนั้นทางโรงพยาบาลเตรียมไว้ให้ไม่ต้องพกไปเอง
ขั้นตอนเป็นดังนี้
1. สถานที่และเวลา
สถานที่ตรวจสุขภาพอยู่ที่ตึก ภปร. ซึ่งอยู่ทางมุมตะวันตกเฉียงใต้สุดของเขตโรงพยาบาล ใกล้กับสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินสีลม
เวลาทำการคือช่วงเช้าตั้งแต่ 7:30 จันทร์ถึงศุกร์ ควรมาเช้าๆไว้
2. ลงทะเบียนผู้ป่วยใหม่ (หากยังไม่เคยมารักษาที่มาก่อน)
ที่ชั้นล่างสุดของตึก ภปร. เข้าไปลงทะเบียนผู้ป่วยใหม่ ซึ่งต้องเขาแถวคิวนานพอสมควรเพราะคนเยอะเป็นปกติ ดังนั้นหากยังไม่เคยลงทะเบียนยิ่งต้องไปเช้ามาก
3. เริ่มติดต่อและจ่ายค่าตรวจ
ขึ้นไปติดต่อแผนกเวชศาสตร์ป้องกันและสังคมที่ชั้น ๒ จากนั้นทำตามขั้นตอนที่เขาบอก เราจะได้ใบรายละเอียดอะไรต่างๆมา แล้วเขาจะให้ไปจ่ายตังค์ค่ารักษา ต้องต่อแถวคิวนานพอสมควร
4. วัดความดัน ตรวจเลือดและอุจจาระ
เมื่อจ่ายตังค์เสร็จก็เริ่มจากวัดความดัน เสร็จแล้วก็เข้าไปเจาะเลือดตรวจ
ระหว่างนั้นหากปวดเข้าห้องน้ำขึ้นมาเมื่อไหร่ก็ให้รีบไปเข้าแล้วเก็บอุจจาระมาด้วย แต่ถ้ายังไม่ปวดในตอนนั้นก็ตรวจขั้นตอนอื่นไปก่อนให้เสร็จ จากนั้นถ่ายเมื่อไหร่ก็ค่อยนำกลับมาให้ที่นี่
5. เอ็กซเรย์ปอด
พอเจาะเลือดตรวจเสร็จก็ไปชั้น ๔ เพื่อเอ็กซเรย์ปอด ต้องรอคิวนานพอสมควร
6. นัดหมายวันรับผล
พอทำเสร็จก็กลับลงมาที่ห้องตรวจด้านใน เขาจะให้ไปพบกับหมอเพื่อคุยอะไรเล็กน้อย เท่านี้ก็เป็นอันเสร็จ จากนั้นเขาจะนัดวันที่จะมารับผล โดยทั่วไปคือ ๒ วันต่อจากนั้น
7. ฉีดวัคซีนเพิ่มเติม (กรณีที่ขาดภูมิคุ้มกัน)
พอถึงวันที่นัดหมายไว้ก็ให้กลับมาที่เดิม แต่สำหรับบางคนที่ตรวจพบว่าขาดภูมิคุ้มกันโรคบางอย่างเขาก็จะให้มาฉีดก่อนจึงจะให้ผ่าน ซึ่งก็จะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมอีก
ในการฉีดวัคซีนเพิ่มเติมเขาจะบอกว่าให้เราลงไปซื้อยาเอาเอง โดยต้องลงไปที่ชั้น ๑ แล้วต่อแถวคิวนานพอสมควรเพื่อจ่ายค่ายา จากนั้นก็รับยาแล้วนำกลับขึ้นมาให้ข้างบน
พอนำขึ้นมาแล้วเขาก็จะให้ไปที่ห้องฉีดยา แล้วก็จะมีพยาบาลนำยาที่เรานำขึ้นมานี้ไปฉีด พอฉีดเสร็จแล้วเขาจึงจะให้ไปเอาใบผลการตรวจโรค
8. ประทับตรายืนยันเอกสาร
พอได้รับใบตรวจโรคแล้วก็ยังไม่จบแค่นั้น เอกสารที่ออกตรงนี้ต้องเอาไปที่อาคารอำนวยการเพื่อลงประทับตราของโรงพยาบาลเพื่อยืนยันเอกสาร
โดยเราต้องเดินไปเอง ห้องที่ประทับตราอยู่ชั้น ๑ พอเข้าไปก็บอกเขาว่าจะทำอะไรก็จะมีคนประทับตราให้ เป็นอันเสร็จขั้นตอนที่ต้องทำในโรงพยาบาล
9. ไปรับรองที่กรมการกงสุล
ใบตรวจโรคที่ได้มาตรงนี้ต้องนำไปที่กรมการกงสุลกระทรวงต่างประเทศ ซึ่งอยู่ที่แจ้งวัฒนะ เพื่อทำการยืนยันอีกที
เอกสารที่ต้องเตรียมไป นอกจากใบตรวจโรคที่ได้จากโรงพยาบาลแล้วก็มีแค่สำเนาบัตรประชาชน
ค่าใช้จ่ายในการทำคือ ๒๐๐ บาท ใช้เวลา ๒ วันในการทำ สามารถให้เขาส่งเอกสารไปให้ทางไปรษณีย์ได้ (แต่ต้องจ่ายเพิ่มอีก ๖๐ บาท) ดังนั้นไปแค่ครั้งเดียวก็พอ จากนั้นก็รอเอกสาร
10. ไปรับรองที่กงสุลไต้หวัน
พอได้รับเอกสารที่ยืนยันจากกระทรวงต่างประเทศแล้วก็ยังต้องนำไปรับรองต่ออีกทีที่กงสุลไต้หวัน ซึ่งเป็นที่เดียวกับที่ทำวีซ่า
ไปถึงก็บอกเขาว่าขอยืนยันใบตรวจโรคเพื่อใช้ทำวีซ่าสำหรับเรียนต่อ เอกสารที่ต้องเตรียมคือ
- ใบตรวจโรค
- สำเนาพาสปอร์ต
- ใบตอบรับจากมหาวิทยาลัย พร้อมสำเนา
ค่าใช้จ่าย ๕๑๐ บาท ใช้เวลา ๒ วันในการทำ ต้องมาทำตอนเช้า แต่วันรับจะรับตอนบ่าย
หลังจากได้ใบตรวจโรคที่ได้รับการยืนยันมาแล้วก็กลับมาที่สถานกงสุลไต้หวันอีกทีเพื่อทำวีซ่า
ขั้นตอนทั้งหมดรวมแล้วจะต้องมาที่กงสุลไต้หวัน ๔ ครั้งด้วยกัน คือ
- ยื่นเรื่องรับรองใบตรวจโรค (เช้า)
- รับใบตรวจโรคที่ได้รับการรับรองแล้ว (บ่าย)
- ยื่นเรื่องทำวีซ่า (เช้า)
- รับวีซ่า (บ่าย)
วันที่มารับใบตรวจโรคจะยังไม่สามารถทำวีซ่าได้ทันทีเนื่องจากรับตอนช่วงบ่าย แต่การยื่นเรื่องทำวีซ่าต้องทำตอนเช้า ดังนั้นต่อให้เตรียมเอกสารอื่นมาพร้อมหมดแล้วก็ต้องมายื่นเรื่องทำวีซ่าอีกทีในวันถัดไปอยู่ดี
กระบวนการทั้งหมดใช้เวลาอย่างน้อย ๒ สัปดาห์ ดังนั้นต้องเผื่อเวลาเอาไว้ อย่าคิดว่าใกล้จะไปแล้วค่อยไปทำ แบบนั้นไม่ทันการแน่นอน
สำหรับวันเวลาในขั้นตอนที่ไปทำมาเป็นดังนี้
อังคาร 17 ม.ค. ไปตรวจโรคที่โรงพยาบาล
พฤหัส 19 ม.ค. รับใบตรวจโรคจากโรงพยาบาล เอาไปยื่นเรื่องทำการรับรองที่กรมการกงสุล
จันทร์ 23 ม.ค. ได้ใบตรวจโรคที่รับรองจากกรมการกงสุล
อังคาร 24 ม.ค. ไปยื่นเรื่องรับรองใบตรวจโรคที่กงสุลไต้หวัน
พฤหัส 26 ม.ค. รับใบตรวจโครที่รับรองจากกงสุลไต้หวัน
ศุกร์ 27 ม.ค. ยื่นเรื่องทำวีซ่า
อังคาร 31 ม.ค. ไปรับวีซ่า
อย่างไรก็ตาม หลังจากนี้ไปพอไปถึงไต้หวันแล้วยังจะต้องไปทำบัตรประจำตัวสำหรับพำนักอยู่ ซึ่งก็มีขั้นตอนยุ่งยากต่ออีกหน่อย แต่พอไปถึงมหาวิทยาลัยแล้วเขาก็จะช่วยให้คำแนะนำอะไรต่างๆได้จึงไม่ยาก
สำหรับผลการตรวจโรคนั้นฉบับจริงต้องเก็บไว้แล้วนำเอาไปไต้หวันด้วย อย่างไรก็ตามพอไปถึงแล้วทางมหาวิทยาลัยก็จะยังให้ไปตรวจโรคอีกอยู่ดี เพราะรายการโรคที่ต้องตรวจมักจะไม่เหมือนกัน ซึ่งอันนี้ขึ้นอยู่กับทางมหาวิทยาลัยที่ไปอยู่
ทวีต
-----------------------------------------
囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧
ดูสถิติของหน้านี้
หมวดหมู่
--
ประเทศจีน
>>
ไต้หวัน
ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ
三
~ เกี่ยวกับเรา ~
สารบัญ
รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
ภาษา python
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib
-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ
บทความแบ่งตามหมวด
==เลือกหมวด==
ดาราศาสตร์
คณิตศาสตร์
-ความน่าจะเป็น
คอมพิวเตอร์
-เขียนโปรแกรม
--python
---numpy
---scipy
---matplotlib
---pandas
---manim
---pyqt
---sklearn
---pytorch
---mayapython
--ruby
--javascript
--dart
--MATLAB
--SQL
--regex
--opencv
-shell
-3D
--maya
--MMD
-microsoft_office
-pdf
-ปัญญาประดิษฐ์
--โครงข่ายประสาทเทียม
--สเตเบิลดิฟฟิวชัน
---comfyui
-การสุ่ม
ภาษาศาสตร์
-ตัวอักษร
-เรียนภาษา
-หลักเกณฑ์การทับศัพท์
-ภาษาจีน
--ภาษาจีนกลาง
-ภาษาญี่ปุ่น
-ภาษามองโกล
-ภาษาลาว
-ภาษาเขมร
ประวัติศาสตร์
-ประวัติศาสตร์จีน
-ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น
ปรัชญา
ประเทศจีน
-จีนแผ่นดินใหญ่
--ปักกิ่ง
--เทียนจิน
--เหลียวหนิง
--เหอเป่ย์
--เหอหนาน
--ซานตง
--ซานซี
--อานฮุย
--เจ้อเจียง
--หูเป่ย์
--หูหนาน
--ฝูเจี้ยน
--กวางตุ้ง
---แต้จิ๋ว
--ยูนนาน
--ซินเจียง
-ฮ่องกง
-มาเก๊า
-ไต้หวัน
--ไทเป
--จีหลง
--เถาหยวน
--ซินจู๋
--เหมียวลี่
--ไถจง
--จางฮว่า
--หยวินหลิน
--เจียอี้
--ไถหนาน
--เกาสยง
--ผิงตง
--อี๋หลาน
ประเทศญี่ปุ่น
-ฮกไกโด
-อาโอโมริ
-อิวาเตะ
-มิยางิ
-อากิตะ
-ยามางาตะ
-ฟุกุชิมะ
-อิบารากิ
-โทจิงิ
-กุมมะ
-ไซตามะ
-จิบะ
-โตเกียว
-คานางาวะ
-นีงาตะ
-โทยามะ
-อิชิกาวะ
-ฟุกุอิ
-ยามานาชิ
-นางาโนะ
-กิฟุ
-ชิซึโอกะ
-ไอจิ
-มิเอะ
-ชิงะ
-เกียวโต
-โอซากะ
-เฮียวโงะ
-นาระ
-วากายามะ
-โอกายามะ
-ฮิโรชิมะ
-ยามางุจิ
-ฟุกุโอกะ
-ซางะ
-นางาซากิ
-คุมาโมโตะ
-โออิตะ
ต่างแดน
-อุษาคเนย์
--กัมพูชา
--พม่า
--สิงคโปร์
-ยุโรป
--สวีเดน
--เดนมาร์ก
--ฟินแลนด์
-ออสเตรเลีย
ท่องเที่ยว
-มหาวิทยาลัย
-พิพิธภัณฑ์
--พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์
--หอศิลป์
-สวนสัตว์
--พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ
-ท้องฟ้าจำลอง
-ตึกระฟ้า
-ปราสาท☑
--ปราสาทญี่ปุ่น
--ปราสาทขอม
--ปราสาทยุโรป
-ศาสนสถาน
--วัด
--ศาลเจ้า
--โบสถ์
--มัสยิด
-สุสาน
-มรดกโลก
-ทะเล
-ทะเลสาบ
-ภูเขา
-ภูเขาไฟ
-หิมะ
-ดอกซากุระ
-แมว
-รถไฟ
-เรือ
-ตลาดกลางคืน
-งานเทศกาล
-ที่ระลึกภัยพิบัติ
-ตามรอย
-ราเมง
บันเทิง
-เกม
--อาเตอลีเย
--โปเกมอน
--caligula
--vn
-อนิเมะ
-มังงะ
-นิยาย
-เพลง
--เพลงอนิเมะ
--เพลงเกม
เรื่องแต่ง
บันทึก
ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ
ค้นหาบทความ
บทความล่าสุด
เดินเล่นแถวย่านจายามะและทาจิมะในเขตโจวนังใจกลางเมืองฟุกุโอกะในวันบรรลุนิติภาวะ
วันที่หิมะแรกตกในฟุกุโอกะ 10 มกราคม 2025
รอต่อแถวยาว ๒ วันเพื่อกินราเมงร้านดัง เมนยะคาเนโตระ ในย่านเทนจิงใจกลางเมืองฟุกุโอกะ
เดินหาร้านไปทั่วย่านเมย์โนฮามะและอุจิฮามะที่เงียบเหงาในวันปีใหม่ เจอแต่ความว่างเปล่า
วันปีใหม่ไปฮัตสึโมวเดะที่ศาลเจ้าวาชิโอะอาตาโงะในเขตนิชิของเมืองฟุกุโอกะ
บทความแนะนำ
รวมร้านราเมงในเมืองฟุกุโอกะ
ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ
บทความแต่ละเดือน
2025年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2024年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2023年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2022年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2021年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
ค้นบทความเก่ากว่านั้น
ไทย
日本語
中文