φυβλαςのβλογ
phyblasのブログ



หอวัฒนธรรมฮากกาไต้หวันในเหมียวลี่
เขียนเมื่อ 2018/10/22 19:50
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
# เสาร์ 20 ต.ค. 2018

หลังจากที่ไปเที่ยวปีนเขาหั่วหยานมา https://phyblas.hinaboshi.com/20181021

เนื่องจากยังเหลือเวลาเลยแวะเที่ยวสถานที่เที่ยวที่น่าสนใจที่อยู่ไม่ไกลจากที่นั่น อยู่ในจังหวัดเหมียวลี่ (苗栗) เหมือนกัน นั่นคือ หอวัฒนธรรมฮากกาไต้หวัน (台灣客家文化館, ไถวานเค่อเจียเหวินฮว่ากว่าน)

ชาวจีนฮากกา หรือที่คนไทยนิยมเรียกว่า "จีนแคะ" ในจีนกลางเรียกว่า "เค่อเจีย" (客家)

ในไต้หวันมีประชากรราวๆ 10% เป็นคนจีนฮากกา จังหวัดเหมียวลี่เป็นบริเวณที่มีคนฮากกาอาศัยอยู่มากที่สุดจึงถือเป็นศูนย์กลางของชาวฮากกา

ส่วนเมืองซินจู๋ที่มหาวิทยาลัยของเราอยู่ก็ถือว่ามีคนฮากกาอยู่เยอะเหมือนกัน ดังนั้นการรู้เกี่ยวกับจีนฮากกาไว้ก็อาจมีประโยชน์อยู่บ้าง

หอวัฒนธรรมฮากกาแห่งนี้เปิดให้คนเข้าชมตั้งแต่ปี 2012 ตั้งอยู่ที่ตำบลถงหลัว (銅鑼) จังหวัดเหมียวลี่ มีพื้นที่ 0.112 ตร.กม.



เรานั่งรถมาจากทางซานอี้ย้อนขึ้นเหนือมาหน่อย แล้วก็มาถึงที่ มาจอดรถตรงที่จอดรถ ค่าจอด ๕๐



ทางเข้าอยู่ทางโน้น




ภายใน



ห้องแรกที่เจอเป็นห้องที่แสดงภาพประวัติศาสตร์ต่างๆที่เกี่ยวข้อง




แต่ห้องเล็กและคนเยอะมาก



เดินเข้ามาต่อก็เจอห้องจัดแสดงหลักซึ่งจัดแสดงให้ความรู้เกี่ยวกับคนจีนฮากกา




สิ่งก่อสร้างต่างๆของคนฮากกา



ตรงนี้มีภาษาฮากกาให้ฟัง โดยมีกลอนต่างๆแล้วให้ฟังดูว่าอ่านออกเสียงเป็นจีนฮากกาแล้วจะอ่านยังไง



โดยจีนฮากกาเองก็แบ่งเป็นหลายสำเนียง แต่ละสำเนียงก็มีความแตกต่างกันไม่น้อย ในนี้แบ่งเป็น ๖ สำเนียงได้แก่
- ซื่อเซี่ยน (四縣)
- ไห่ลู่ (海陸)
- หนานซื่อ (南四)
- ต้าผู่ (大埔)
- เหราผิง (饒平)
- เจ้าอาน (詔安)

แผนที่แสดงการกระจายตัวของคนฮากกา จะเห็นว่าส่วนมากอยู่ที่เหมียวลี่ แต่ก็มีกระจายอยู่ทั่วไปอีกหลายแห่งบนเกาะไต้หวัน



แล้วก็มีอะไรอีกหลายๆอย่างที่เกี่ยวกับฮากกาแสดงอยู่ภายในนี้
















เดินชมห้องหลักจบออกมาแล้วเดินต่อก็เจอห้องจัดแสดงชั่วคราว ส่วนนี้ไว้จัดแสดงหัวข้อต่างๆที่เปลี่ยนไปตามเวลาและอาจไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับฮากกา



ตรงนี้ที่จัดแสดงอยู่เป็นเรื่องของภูมิประเทศและการจัดการน้ำ




มีตัวต่อเลโก้ที่ทำขึ้นมาแสดงแสดงกลไกการเกิดฝน



ตรงนี้เป็นอุปกรณ์สำหรับให้ทดลองปรับภูมิประเทศโดยปรับความสูงของทรายที่กอง แล้วสีคอนทัวร์แสดงความสูงบนจอก็จะเปลี่ยนไป ถ้ามีจุดไหนต่ำก็จะเห็นน้ำไปกองขังอยู่เป็นทะเลสาบด้วย



ถัดมาออกมาเจอร้านที่ขายของที่ระลึก




มีชาให้ลองดื่มฟรีด้วย



แล้วก็เจอร้านอะไรต่างๆอีกหลายอย่างในนั้น







ตรงนี้เป็นเครื่องเล่น VR ให้เข้าไปลองเล่นได้



ส่วนตรงนี้จำลองห้องที่ทำเป็นบรรยากาศย้อนยุค



https://phyblas.hinaboshi.com/rup/taiwan/2018/10/115.jpg


โทรศัพท์แบบโบราณที่ต้องหมุน



ฟิล์มถ่ายรูป ใช้ในสมัยที่ยังไม่มีกล้องดิจิทัล



ถัดมาเจอห้องที่จัดแสดงเครื่องปั้นดินเผา





ข้างๆเป็นห้องที่จัดแสดงเกี่ยวกับดีบุก




อุปกรณ์ทำจากดีบุก



การสกัดดีบุก



จากนั้นก็ยังมีทางลงไปชั้นล่างอีก




ซึ่งตรงนี้นอกจากโรงหนังสามมิติแล้ว ที่เหลือส่วนใหญ่ไม่มีอะไรเปิด





สำหรับการชมที่นี่ก็หมดเท่านี้ จากนั้นเราก็เดินทางกลับซินจู๋ แวะห้างไอ้ไหม่ (愛買) ในซินจู๋กินอาหารมื้อเย็นเป็นอาหารญี่ปุ่นจากนั้นก็แยกย้ายกลับไปพักผ่อน




-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ประเทศจีน >> ไต้หวัน >> เหมียวลี่
-- ท่องเที่ยว >> พิพิธภัณฑ์

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

目次

日本による名言集
モジュール
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
機械学習
-- ニューラル
     ネットワーク
javascript
モンゴル語
言語学
maya
確率論
日本での日記
中国での日記
-- 北京での日記
-- 香港での日記
-- 澳門での日記
台灣での日記
北欧での日記
他の国での日記
qiita
その他の記事

記事の類別



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  記事を検索

  おすすめの記事

รวมร้านราเมงในเมืองฟุกุโอกะ
ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

月別記事

2025年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

もっと前の記事

ไทย

日本語

中文