φυβλαςのβλογ
phyblasのブログ



ซากหอดูดาวนิชชิงกัง หอดูดาวแห่งไอซึฮังสมัยปลายยุคเอโดะที่ยังเหลือร่องรอยอยู่
เขียนเมื่อ 2019/06/03 20:02
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
# เสาร์ 25 พ.ค. 2019

จากตอนที่แล้วซึ่งเล่าว่าได้เดินทางมาถึงเมืองไอซึวากามัตสึ และได้คนรู้จักของรองผู้อำนวยการหอดูดาวแห่งชาติมาเป็นคนช่วยพาเที่ยว https://phyblas.hinaboshi.com/20190602

ตอนนี้จะเป็นการเริ่มไปเที่ยวสถานที่แรก นั่นคือซากหอดูดาวนิชชิงกัง (日新館天文台跡にっしんかんてんもんだいあと)

นิชชิงกัง (日新館にっしんかん) คือโรงเรียนในสังกัดของฮัง ("ฮัง" (はん) คือเขตการปกครองเทียบเท่าจังหวัดในสมัยเอโดะ)

โรงเรียนลักษณะแบบนี้เรียกว่า ฮังโกว (藩校はんこう) ในแต่ละฮังก็จะมีฮังโกวอยู่ แต่อาจจะมีลักษณะต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับการปกครองในฮังนั้น

นิชชิงกังเป็นฮังโกวของไอซึฮัง (会津藩あいづはん) ถูกสร้างขึ้นในปี 1803 ในบริเวณทางตะวันตกของปราสาทวากามัตสึ (若松城わかまつじょう) ใกล้ใจกลางเมือง

ลักษณะเด่นอย่างหนึ่งของที่นี่คือมีหอดูดาวอยู่ ซึ่งฮังโกวที่มีหอดูดาวอยู่แบบนี้มีแค่ ๓ แห่งเท่านั้น อีก ๒ แห่งคือโควโดวกัง (弘道館こうどうかん) ของมิโตะฮัง (水戸藩みとはん, จังหวัดอิบารากิในปัจจุบัน) และโซวชิกัง (造士館ぞうしかん) ของซัตสึมะฮัง (薩摩藩さつまはん, จังหวัดคาโงชิมะในปัจจุบัน)

แต่ว่าหอดูดาวในอีก ๒ แห่งนั้นได้ถูกทำลายไปไม่เหลือร่องรอยแล้ว ที่เหลือหอดูดาวอยู่จึงมีแต่ของนิชชิงกังนี้เท่านั้น

หอดูดาวนี้ถูกใช้งานต่างๆในทางดาราศาสตร์เช่นสร้างปฏิทินขึ้นสำหรับใช้ในท้องที่ เรียกว่า ไอซึโงโยมิ (会津暦あいづごよみ)

อย่างไรก็ตาม นิชชิงกังได้ถูกไฟไหม้ในสงครามไอซึปี 1868 ทำให้ตัวโรงเรียนถูกทำลายสิ้น แต่ส่วนของหอดูดาวไม่ได้ถูกทำลายทั้งหมด เพียงแต่ว่าหลงเหลืออยู่จนถึงตอนนี้เพียงแค่ราวๆครึ่งเดียว

แต่ในปี 1987 ได้มีการสร้างนิชชิงกังจำลองขึ้นมาโดยเลียนแบบจากแบบของนิชชิงกังที่หลงเหลืออยู่ สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นพิพิธภัณฑ์แนะนำให้รู้จักนิชชิงกัง และยังใช้เป็นฉากถ่ายทำหนังด้วย หอดูดาวเองก็ถูกจำลองขึ้นมาใหม่ด้วย

นิชชิงกังจำลองที่สร้างขึ้นใหม่นี้ถูกเรียกในชื่อว่า ไอซึฮังโกวนิชชิงกัง (會津藩校日新館あいづはんこうにっしんかん) ตั้งอยู่บนเขาทางเหนือของเมือง ห่างไปจากใจกลางเมืองพอสมควร



ในการเที่ยวครั้งนี้เขาพาเราไปแค่ซากหอดูดาวนิชชิงกังซึ่งอยู่ในย่านใจกลางเมือง ส่วนของจำลองนั้นเขาไม่ได้พาไป แต่ว่าเราไปเองในวันถัดไป

สำหรับในหน้านี้จะเล่าถึงแค่ส่วนของซากหอดูดาวที่เหลืออยู่ก่อน แต่จะมีการยกภาพและรายละเอียดบางส่วนที่ได้จากการไปเที่ยวนิชชิงกังจำลองในวันถัดมาลงในนี้เพื่อเปรียบเทียบและอธิบายให้เข้าใจมากขึ้น

รายละเอียดอื่นๆเกี่ยวกับนิชชิงกังจะแยกเขียนไว้ในบันทึกตอนที่ไปนิชชิงกังจำลอง หน้านี้ https://phyblas.hinaboshi.com/20190619



จากโรงแรมที่เราพักอยู่ไปยังซากหอดูดาวนิชชิงกังนั้นไม่ไกลมาก ต่างก็อยู่แถวย่านใจกลางเมือง จะเดินไปก็ไม่ยาก แต่ครั้งนี้เขาขับรถพาไป จึงถึงในทันที

แล้วก็มาถึงซากหอดูดาวนิชชิงกัง



เห็นหน้าตาแบบนี้อาจชวนให้สงสัยว่าดูแล้วเป็นหอดูดาวตรงไหน ดูแล้วเป็นเหมือนแท่นศาลพระภูมิมากกว่า



ความจริงแล้วที่เป็นเหมือนเป็นศาลเจ้านั้นไม่ได้เกี่ยวอะไรกับหอดูดาว แต่ถูกสร้างแต่งเติมขึ้นมาทีหลังในสมัยโชววะ เดิมทีข้างบนนั้นควรจะไม่มีอะไรอยู่ ฐานที่ก่อด้วยหินนี้ก็ถูกแต่งเติมในสมัยโชววะเช่นกัน ตัวหอดูดาวจริงๆคือส่วนที่เป็นเนินเท่านั้น

รอบๆเป็นบ้านคน มีหญ้าขึ้นรก ดูแล้วเป็นสถานที่ที่ยังไม่ได้รับการบำรุงอย่างดีเท่าไหร่




ตรงนี้มีทางปีนขึ้นไป ซึ่งจริงๆแล้วเขากั้นไว้อยู่ ไม่ให้ขึ้นไปเพราะทางเดินไม่ดี เดินไม่ระวังอาจตกได้ แต่ว่าคนที่พามาด้วยเขาเป็นคนที่ดูแลการท่องเที่ยวที่นี่อยู่แล้ว เขาบอกว่าไม่เป็นไร อนุญาตให้เป็นพิเศษ จึงขึ้นไปดูด้านบนได้ ในอนาคตเขาก็มีแผนจะปรับปรุง ถึงตอนนั้นน่าจะดูดีกว่านี้และปล่อยให้ขึ้นไปได้ตามปกติ



เดินขึ้นมาด้านบน บนเนินเต็มไปด้วยหญ้า ส่วนเนินที่เป็นพื้นหญ้าที่เหยียบอยู่ตรงนี้เท่านั้นที่เป็นหอดูดาวเดิมที่เหลืออยู่ ส่วนฐานหินที่เห็นอยู่ตรงหน้านี้คือส่วนที่ถูกสร้างเพิ่มในสมัยโชววะ




เนินที่เห็นเหลืออยู่นี้มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า เพราะเสียหายไปครึ่งนึง เหลือแค่ครึ่งนึง เดิมทีความเป็นสี่เหลี่ยมจตุรัส

ซากหอดูดาวที่เหลืออยู่ก็มีอยู่แค่นี้จริงๆ ไม่ได้มีอะไรให้ดูมากไปกว่านี้ ดังนั้นสำหรับคนทั่วไปแล้วนี่อาจจะไม่ใช่สถานที่ที่น่าดึงดูดนัก แต่ถ้ามองในแง่ที่ว่าเป็นซากของสถานที่ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ก็มีคุณค่าที่จะแวะมาชม



ต่อมาลองมาดูแบบจำลองหอดูดาวที่อยู่ในนิชชิงกังจำลอง ซึ่งถูกสร้างให้เหมือนของจริงในอดีต



จะเห็นว่ามีลักษณะเป็นแค่เนินเรียบๆ ด้านบนไม่มีอะไรอยู่ เพราะเป็นแค่แท่นที่เอาไว้สังเกตการณ์เฉยๆ อุปกรณ์ต่างๆที่ใช้ในการสังเกตการณ์ไม่ได้วางไว้ประจำตรงนี้ แต่จะเก็บไว้ที่อื่นแล้วขนขึ้นมาเมื่อทำการสังเกตการณ์

ปีนขึ้นมาดูด้านบนได้



มองทิวทัศน์ตัวนิชชิงกังจากบนนี้ได้



ส่วนนี่คือภาพวาดของนิชชิงกังในอดีต ซึ่งนิชชิงกังจำลองที่สร้างขึ้นใหม่ก็ถูกสร้างขึ้นตามนี้



หอดูดาวอยู่ตรงมุมขวาบนของภาพ คือมุมตะวันตกเฉียงเหนือ จะเห็นว่ามีการนำกล้องโทรทรรศน์ขนาดเล็กขึ้นไปส่องด้านบน ส่วนข้างๆหอดูดาวก็เป็นสนามฝึกยิงปืน



จากภาพวาดจะเห็นว่าของจริงสมัยนั้นน่าจะไม่มีรั้วกั้น แต่ที่แท่นหอดูดาวที่ทำจำลองขึ้นมานี้มีที่กั้นน่าจะเพื่อป้องกันอันตราย ไม่ให้นักท่องเที่ยวพลัดตกลงไป

ส่วนนี่เป็นภาพแผนที่ในแผ่นพับที่แจกในนิชชิงกังจำลอง จะเห็นว่ามีการใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า เทงกิวงิ (天球儀てんきゅうぎ) หรือก็คือลูกทรงกลมท้องฟ้า เป็นอุปกรณ์อย่างหนึ่งที่ใช้ในดาราศาสตร์มาตั้งแต่สมัยโบราณ คาดว่ามีการใช้ลูกทรงกลมท้องฟ้าที่หอดูดาวนิชชิงกังนี้ด้วยเช่นกัน



เพียงแต่ว่าหลักฐานหลายอย่างถูกเผาไหม้เสียหายไปกับไฟสงคราม ทำให้สถานการณ์การใช้หอดูดาวแห่งนี้ไม่ถึงกับรู้ชัดแน่นอนจริงๆนัก

ภายในนิชชิงกังจำลองยังมีจัดแสดงแบบจำลองลูกทรงกลมท้องฟ้าด้วย




นอกจากนี้ยังพบมังงะที่เล่าประวัติของนิชชิงกัง



ลองเปิดดูก็เจอภาพส่วนที่มีหอดูดาวอยู่



สุดท้าย นี่คือแบบจำลองกล้องโทรทรรศน์และเข็มทิศที่เชื่อกันว่าถูกใช้ในหอดูดาวนิชชิงกัง ถูกจัดแสดงอยู่ในหอที่ระลึกชินเซงงุมิแห่งไอซึ (会津新選組記念館あいづしんせんぐみきねんかん) ซึ่งเป็นสถานที่ที่เราไปเยี่ยมชมในวันเดียวกับที่ไปนิชชิงกังจำลอง รายละเอียดจะเขียนถึงทีหลังเช่นกัน




ที่จริงแล้วในนิชชิงกังจำลองก็มีจัดแสดงกล้องโทรทรรศน์คล้ายๆกันนี้อยู่ แต่ว่าถูกจัดวางอยู่ในส่วนที่ห้ามถ่ายรูป จึงไม่ได้เก็บภาพมาลง ยังโชคดีที่เจอของแบบเดียวกันในหอที่ระลึกชินเซงงุมิเลยมีภาพมาให้ลงได้



เรื่องของหอดูดาวนิชชิงกังก็มีอยู่เท่านี้ ต่อจากนี้เขาก็พาเราไปเที่ยวสถานที่อื่นต่อ เป้าหมายต่อไปคือปราสาทวากามัตสึ ซึ่งอยู่ใกล้ๆกันนี้ https://phyblas.hinaboshi.com/20190604



-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ประเทศญี่ปุ่น >> ฟุกุชิมะ
-- ดาราศาสตร์
-- ประวัติศาสตร์ >> ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

目次

日本による名言集
モジュール
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
機械学習
-- ニューラル
     ネットワーク
javascript
モンゴル語
言語学
maya
確率論
日本での日記
中国での日記
-- 北京での日記
-- 香港での日記
-- 澳門での日記
台灣での日記
北欧での日記
他の国での日記
qiita
その他の記事

記事の類別



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  記事を検索

  おすすめの記事

รวมร้านราเมงในเมืองฟุกุโอกะ
ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

月別記事

2025年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

もっと前の記事

ไทย

日本語

中文