φυβλαςのβλογ
phyblasのブログ



ทำความเข้าใจสีเคลือบ (coat) ของ standardSurface ใน arnold ใน maya
เขียนเมื่อ 2021/09/21 00:37
แก้ไขล่าสุด 2021/10/23 19:11

หลังจากที่ก่อนหน้านี้ได้เขียนถึงเรื่องสีพื้นฐาน, สีสเป็กคิวลาร์, แสงส่องผ่าน และ แสงสะท้อนใต้ผิว ไปแล้ว

ตัวปรับแต่งในส่วนต่อมาที่จะมาทดองในที่นี้นั่นคือ coat (コート) ซึ่งใช้จำลองวัสดุที่มีพื้นผิวมันๆบางๆมาห่อหุ้มหรือเคลือบอยู่ อาจเหมาะที่จะใช้กับพวกสีทารถ



สำหรับตัวอย่างในคราวนี้จะขอใช้โมเดลจิโยดะ (千代田ちよだ) (ที่มา https://3d.nicovideo.jp/works/td22439)




ความเปลี่ยนแปลงไปตามค่าน้ำหนักสีห่อหุ้ม

coat คือสารที่มาเคลือบคลุมอยู่ที่ผิวของวัตถุ มีความมันวาวสะท้อนแสงได้เหมือนกับสีสเป็กคิวลาร์ของตัววัตถุนั้นเอง

ผิวเคลือบสามารถใช้ร่วมกับสีสเป็กคิวลาร์ได้ มีลักษณะคล้ายกันอยู่ แต่ว่าแยกเป็นคนละส่วนกัน การปรับแต่งค่า specular นั้นจะเป็นการปรับการสะท้อนที่ตัววัตถุเอง ส่วนการปรับแต่งค่า coat นั้นจะเป็นการปรับการสะท้อนแสงของสารที่มาเคลือบอีกที ซึ่งคิดแยกกัน

ลองทดสอบการใช้ผิวเคลือบดูโดยใช้ค่าตั้งต้น เริ่มปรับค่าน้ำหนักตั้งแต่ 0 ไปจนถึง 1 นั่นเพิ่มผลของผิวเคลือบขึ้นเรื่อยๆ


จะเห็นว่าเมื่อผิวเคลือบทำให้วัตถุดูแวววาวระยิบระยับขึ้นมา




เมื่อกำหนดให้ผิวเคลือบมีสี

โดยค่าตั้งต้นแล้วผิวเคลือบเป็นสีขาว แต่ก็สามารถใส่สีได้ ซึ่งจะทำให้เห็นเป็นสีนั้นเคลือบอยู่

ลองให้สีผิวเคลือบเป็นสีแดง แล้วไล่ค่าน้ำหนักตั้งแต่ 0 ไปจนถึง 1 เช่นเดียวกับตัวอย่างที่แล้ว


คราวนี้ผิวเคลือบทำให้วัตถุกลายเป็นสีแดงขึ้นมา




ความเปลี่ยนแปลงไปตามความหยาบของผิวเคลือบ

ค่า coatRoughness คือความหยาบของผิวเคลือบ คล้ายกับค่า specularRoughness ที่เป็นความหยาบของสีสเป็กคิวลาร์ตัววัตถุเอง

ลองดูให้ผิวเคลือบเป็นสีฟ้า (=เขียว+น้ำเงิน) แล้วปรับค่าความหยาบตั้งแต่ 0 ไปจนถึง 1





ความเปลี่ยนแปลงไปตามดัชนีหักเหแสงของผิวเคลือบ

coatIOR คือดัชนีหักเหแสงของผิวเคลือบ เช่นเดียวกับ specularIOR ซึ่งเป็นของสีสเป็กคิวลาร์ตัววัตถุ แต่ว่าเป็นดัชนีหักเหของผิวส่วนที่มาเคลือบห่อหุ้มอยู่

คราวนี้ลองใช้ผิวเคลือบเป็นสีม่วง (=แดง+น้ำเงิน) ให้ค่า specularRoughness คงที่ที่ 0.1 แล้วปรับค่าดัชนีหักเหแสงไปเรื่อยๆ ดูความเปลี่ยนแปลง


เช่นเดียวกับกรณีของสีสเป็กคิวลาร์ หากดัชนีหักเหน้อยกว่า 1 ก็จะเกิดการสะท้อนกลับหมดขึ้นมา




เมื่อใช้สีผิวเคลือบเป็นสีเดียวกับสีพื้นฐาน

สีเคลือบก็สามารถใช้เท็กซ์เจอร์ได้เช่นเดียวกับสีพื้นฐาน คราวนี้ลองใช้สีเคลือบเป็นสีเดียวกับสีพื้นฐานดู

ลองปรับเทียบค่าความหยาบ coatRoughness ค่าต่างๆโดยให้ดัชนีหักเหแสง coatIOR อยู่ที่ 1.5


ลองให้ coatRoughness=0.2 แล้วเทียบผลของดัชนีหักเหแสง coatIOR







-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- คอมพิวเตอร์ >> 3D >> maya

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

目次

日本による名言集
モジュール
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
機械学習
-- ニューラル
     ネットワーク
javascript
モンゴル語
言語学
maya
確率論
日本での日記
中国での日記
-- 北京での日記
-- 香港での日記
-- 澳門での日記
台灣での日記
北欧での日記
他の国での日記
qiita
その他の記事

記事の類別



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  記事を検索

  おすすめの記事

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

ไทย

日本語

中文