φυβλαςのβλογ
phyblasのブログ



หลักการเขียนทับศัพท์ภาษาทิเบต ฉบับใช้งานทั่วไป
เขียนเมื่อ 2022/02/17 19:36
แก้ไขล่าสุด 2023/07/15 22:09
ในบทความนี้จะอธิบายถึงหลักการเขียนทับศัพท์ภาษาทิเบตเป็นภาษาไทย โดยเน้นให้เขียนง่าย เหมาะกับการใช้งานทั่วไป

นอกจากหลักการที่เขียนในหน้านี้แล้วยังมีหน้าหลักการเขียนทับศัพท์ภาษาทิเบต ฉบับใช้งานเชิงลึก

ซึ่งข้อแตกต่างคือ ฉบับใช้งานเชิงลึกนั้นจะอธิบายเรื่องวรรณยุกต์ มีการเขียนแยกเสียงวรรณยุกต์ พร้อมทั้งใช้พยัญชนะต่างๆกันเพื่อแยกเสียงอักษรในภาษาทิเบตออกชัดเจนทั้งหมด เหมาะสำหรับคนที่ต้องการรู้ลึกและไปฝึกใช้พูด หรือต้องการความถูกต้องทางภาษาศาสตร์มากกว่า

อย่างไรก็ตาม ระบบวรรณยุกต์ในภาษาทิเบตมีความซับซ้อนและเทียบเคียงเป็นภาษาไทยได้ยาก อีกทั้งมีเสียงพยัญชนะที่ไม่อาจเขียนแทนด้วยภาษาไทยได้โดยง่าย

ดังนั้นระบบการเขียนทับศัพท์ที่จะแนะนำในที่นี้คือแบบใช้งานทั่วไปนั้นจะตัดเรื่องการแสดงวรรณยุกต์ นอกจากนี้ก็จะเลือกใช้พยัญชนะไทยที่มักใช้ทับศัพท์ทั่วไปโดยไม่ใช้อักษรพิเศษ เหมาะกับการเขียนทับศัพท์ทั่วไปเพื่อใช้ในการเขียนทั่วไป เช่นในบทความหรือหนังสือความรู้ทั่วไปที่ไม่ใช่ทางภาษาศาสตร์



ภาษาทิเบตนั้นเป็นภาษาที่มีอักษรเป็นของตัวเองใช้คืออักษรทิเบต ซึ่งได้ถูกใช้งานอย่างกว้างขวางมาตั้งแต่โบราณและยังเป็นต้นแบบของอักษรอื่นๆอีกหลายชนิดที่ใช้ในแถบประเทศจีนและอินเดียด้วย

ตัวอักษรทิเบตนั้นค่อนข้างซับซ้อน เพราะมีการเอาอักษรมาประกอบซ้อนต่อกัน อีกทั้งปัจจุบันเสียงอ่านภาษาทิเบตได้เปลี่ยนไปจากอดีตมาก

อย่างไรก็ตามการเขียนอักษรทิเบตนั้นยังคงรูปแบบการเขียนเดิมที่ใช้มาแต่โบราณอยู่ ดังนั้นระบบการเขียนอักษรทิเบตนั้นจึงยังแสดงร่องรอยของภาษาทิเบตในยุคก่อนอย่างชัดเจน แม้ในภาษาทิเบตปัจจุบันเสียงจะเปลี่ยนไปมาก หรือบางตัวก็ไม่ได้ออกเสียง

นั่นจึงทำให้การออกเสียงชื่อต่างๆมีกฎเกณฑ์ยุ่งยากและข้อยกเว้นมากมายเมื่อพยายามถอดเสียงอ่านจากอักษรทิเบตโดยตรง อีกทั้งภาษาทิเบตที่ใช้ในแต่ละท้องถิ่นก็มีความแตกต่างกันมากด้วย

ภาษาทิเบตมีหลายสำเนียง แต่ที่เป็นมาตรฐานที่ยึดถือใช้กันทั่วไปมากที่สุดคือสำเนียงเมืองลาซ่า (拉萨) ซึ่งเป็นเมืองเอกของทิเบต ดังนั้นหลักการเขียนทับศัพท์ในที่นี้จะยึดสำเนียงนี้เป็นหลัก

ที่จีนนั้นเวลาเขียนแสดงเสียงอ่านภาษาทิเบตจะนิยมใช้ระบบที่เรียกว่า พินอินทิเบต (藏语拼音zàng yǔ pīn yīn) เป็นระบบถอดเสียงมาตรฐานที่ทางการจีนกำหนดขึ้น โดยยืนพื้นจากพินอินของจีนกลาง การเขียนด้วยระบบนี้เขียนตามเสียงอ่านจริงในสำเนียงลาซ่าโดยไม่สนตัวสะกด จึงใช้อ้างอิงเสียงอ่านที่แท้จริงได้

เพียงแต่ว่านอกจากนี้แล้วยังมีอีกระบบที่ใช้กันมากคือระบบเวย์ลี่ (威利转写wēi lì zhuǎn xiě) ซึ่งจะถอดเป็นอักษรโรมันตามตัวสะกดจริงๆในอักษรทิเบต ใช้ได้ดีกับภาษาทิเบตสำเนียงต่างๆ รวมถึงภาษาภูฏานด้วย

แต่ระบบนี้ไม่ได้แสดงถึงเสียงอ่านที่แท้จริงตามสำเนียงลาซ่า และยังทำให้เข้าใจเสียงอ่านผิดไปไกลเลยได้ เพราะปัจจุบันเสียงอ่านในสำเนียงลาซ่าห่างไกลจากเดิมไปมาก จึงไม่ขอพูดถึงระบบนี้ในที่นี้

บทความนี้จะเน้นการถอดเสียงจากอักษรโรมันพินอินทิเบตเป็นหลัก เหมาะกับการใช้งานจริงเวลาที่แค่ต้องการทับศัพท์ เพราะแสดงเสียงอ่านจริงตายตัวและเข้าใจง่ายกว่าการใช้อักษรทิเบต



ตัวอักษรพยัญชนะ



ภาษาทิเบตมีพยัญชนะทั้งหมด ๓๐ ตัว แบ่งเป็นอักษรสูง ๑๔ ตัว อักษรต่ำ ๑๖ ตัว โดยอักษรสูงและต่ำนั้นมีหลักการคล้ายกับอักษรสูงกลางต่ำในภาษาไทย คือจะต่างกันที่วรรณยุกต์พื้นฐานในตัวอักษรนั้นๆ

แต่ในที่นี้จะละเรื่องเสียงวรรณยุกต์ ดังนั้นขอแค่ให้เข้าใจว่าจะมีอักษรบางตัวที่แทนเสียงซ้ำกัน แต่ต่างกันตรงที่เป็นอักษรสูงกับต่ำเท่านั้น

การแบ่งกลุ่มตัวอักษรทิเบตมีความใกล้เคียงกับการแบ่งเป็นวรรคอย่างในภาษาไทย คือมีแบ่งวรรคหลัก ๕ วรรค และที่เหลือเป็นเศษวรรค

โดยที่แต่ละวรรคจะมีแค่ ๔ ตัว โดย ๒ ตัวแรกเป็นอักษรสูง ๒​ ตัวหลังเป็นอักษรต่ำ เพียงแต่วรรคสุดท้ายมีแค่ ๓ ตัว ทั้งหมดรวมเป็น ๑๙ ตัว เสียงถูกเรียงอย่างเป็นระบบ

ส่วนที่เหลืออีก ๑๑ ตัวเป็นเศษวรรค แทนเสียงที่เหลือ อักษรกลุ่มนี้มีการเรียงที่ไม่เป็นระเบียบนัก ต้องจำเอาเอง โดย ๗ ตัวแรกเป็นอักษรต่ำ ส่วน ๔ ตัวสุดท้ายเป็นอักษรสูง

ตารางแสดงอักษรทั้งหมด จากด้านบนคืออักษรทิเบต IPA ทับศัพท์ไทย และพินอินทิเบต ตามลำดับ ช่องสีชมพูคืออักษรสูง สีม่วงคืออักษรต่ำ

  ตัวที่ ๑ ตัวที่ ๒ ตัวที่ ๓ ตัวที่ ๔
วรรค ga

/ˉka/
กา
ga

/ˉkʰa/
คา
ka

/ˊkʰa/
คา
ka

/ˊŋa/
งา
nga
วรรค ja

/ˉt͡ɕa/
จา
ja

/ˉt͡ɕʰa/
ชา
qa

/ˊt͡ɕʰa/
ชา
qa

/ˊɲa/
ญา
nya
วรรค da

/ˉta/
ตา
da

/ˉtʰa/
ทา
ta

/ˊtʰa/
ทา
ta

/ˊna/
นา
na
วรรค pa

/ˉpa/
ปา
ba

/ˉpʰa/
พา
pa

/ˊpʰa/
พา
pa

/ˊma/
มา
ma
วรรค za
/ˉt͡sa/
จา
za

/ˉt͡sʰa/
ชา
ca

/ˊt͡sa/
ชา
ca
 
เศษวรรค      
/ˊwa/
วา
wa

/ˊɕa/
ซา
xa

/ˊsa/
ซา
sa
 
/ˊa/
อา
a

/ˊja/
ยา
ya

/ˊɹa/
รา
ra

/ˊla/
ลา
la
 

/ˉɕa/
ซา
xa

/ˉsa/
ซา
sa

/ˉha/
ฮา
ha

/ˉa/
อา
a

นอกจากนี้อักษรทิเบตยังอาจรวมอีก ๕ ตัวคือ , , , , ซึ่งจริงๆแล้วคืออักษร (da), (ta), (ta), (na), (sa) ที่นำมากลับซ้ายขวา อักษรพวกนี้ใช้เมื่อเขียนภาษาบาลีสันสกฤต ไม่ได้ใช้ทั่วไปในภาษาทิเบต ในที่นี้ก็จะไม่พูดถึงอีก

อักษรใน ๕ วรรคหลักนั้น ตัวที่ ๑ คือเสียงไม่ปล่อยลม ตัวที่ ๒,๓ คือเสียงปล่อยลม ตัวที่ ๔ คือเสียงออกจมูก ส่วน ๑๑ ตัวในเศษวรรคไม่ได้เรียงเป็นระเบียบแบบนั้น

โดยรวมแล้วมีอักษร ๓๐ ตัว แต่มีเสียงซ้ำกันอยู่ทั้งหมด ๘ คู่ ดังนั้นเสียงพยัญชนะต้นโดยพื้นฐานจาอักษรตัวเดียวจึงมีทั้งหมด ๒๒​ เสียง

เสียง (ja) (qa) (qa) ในที่นี้จะใกล้เคียงกับเสียง จ หรือ ช ในภาษาไทย แต่มักจะมีเสียงควบ ย ติดมาด้วย แต่ในที่นี้จะแสดงด้วย จ และ ช ไปเฉยๆ เหมือนเวลาเขียนทับศัพท์ภาษาจีนกลาง

ตัว (nya) ออกเสียงเหมือน ญ ในภาษาลาวหรืออีสาน ไม่ใช่เสียงแบบ ย ในภาษาไทย ในที่นี้ก็จะใช้อักษร ญ เพื่อแทนเสียงนี้

ตัว (za) (ca) (ca) ออกเสียงเหมือน z หรือ c ในพินอินจีนกลาง ซึ่งไม่มีในภาษาไทย แต่สามารถเทียบเคียงเป็น จ ช ได้

ตัว (xa) และ (xa) ออกเสียงเหมือน x ในพินอินจีนกลาง ไม่มีในภาษาไทย เสียงอ่านจะกึ่งๆระหว่าง ซ กับ ช ในที่นี้ขอเลือกเขียนเป็น ซ เช่นเดียวกับในระบบทับศัพท์ภาษาจีนกลาง

(ra) เป็นเสียงคล้าย r ในภาษาญี่ปุ่นหรือเกาหลี ไม่ใช่ ร เรือ แบบภาษาไทย แต่ก็ใกล้เคียง จึงให้เขียนแทนด้วย ร

ตัวนอกจากที่กล่าวมาข้างต้นนี้โดยพื้นฐานแล้วออกเสียงเหมือนในภาษาไทย จึงทับศัพท์ได้ตรงตัว

(ga) = ก
, (ka) = ค
(nga) = ง
(da) = ต
, (ta) = ท
(na) = น
(ba) = ป
, (pa) = พ
(ma) = ม
(wa) = ว
, (a) = อ
(ya) = ย
(la) = ล
, (sa) = ซ
(ha) = ฮ



ตัวอักษรสระ

เมื่อพยัญชนะอยู่เดี่ยวๆจะอ่านออกเสียงสระอา แต่ถ้ามีสระมาวางอยู่บนหรือล่างก็จะอ่านตามสระนั้น โดยมีอยู่ ๔ สระ

อักษรเติม ชื่อสระ เสียง IPA พินอินทิเบต ตัวอย่าง
-   อา a a ཀ༌ (กา) ཏ༌ (ตา) ལ༌ (ลา)
གི་གུ་
คีคู
อี i i ཀི༌ (กี) ཏི༌ (ตี) ལི༌ (ลี)
ཞབས་ཀྱུ་
ซับจู
อู u u ཀུ༌ (กู) ཏུ༌ (ตู) ལུ༌ (ลู)
འགྲེང་པོ་
เจงโป
เอ e ê ཀེ༌ (เก) ཏེ༌ (เต) ལེ༌ (เล)
ན་རོ་
นาโร
โอ o o ཀོ༌ (โก) ཏོ༌ (โต) ལོ༌ (โล)




ส่วนประกอบของพยางค์

ภาษาทิเบตมีการแบ่งพยางค์ชัดเจน ในแต่ละพยางค์อาจประกอบขึ้นจากอักษรหลายตัวมาประกอบกัน โดยอาจประกอบโดยวางบนล่างหน้าหลังได้หมด และแต่ละพยางค์จะกั้นแยกกันโดยขีดสั้น ་ หรือถ้าสิ้นสุดคำจะกั้นด้วยขีดยาว ། จึงแยกพยางค์ได้ง่าย ไม่สับสนเหมือนอย่างภาษาไทย

ภาพรวมของส่วนประกอบทั้งหมดอาจแสดงได้ดังนี้

  สระอี เอ โอ  
อักษรเติมหน้า
(๕)
อักษรเติมบน
(๓)
อักษรเติมหลัง
(๑๐)
อักษรเติมหลังตัวที่สอง
(๑)
อักษรฐาน
(๓๐)
  อักษรเติมล่าง
(๕)
 
สระอู

แต่ละคำอาจมีแค่อักษรฐาน หรือกรณีที่ซับซ้อนที่สุดอาจมีอักษรเติมจนครบทั้ง ๖ ส่วน พร้อมทั้งรูปสระด้วย

ตัวอย่างเช่น བསྒྲོགས་ ประกอบด้วย
อักษรเติมหน้า: (ปา)
อักษรเติมบน: (ซา)
อักษรฐาน: (คา)
อักษรเติมล่าง: (รา)
อักษรสระ: (สระโอ)
อักษรเติมหลัง: (คา)
อักษรเติมหลังตัวที่สอง: (ซา)

อักษรฐานอาจเป็นอะไรก็ได้ในอักษรทั้ง ๓๐ ตัว แต่ส่วนประกอบอื่นนอกจากนั้นมีแค่อักษรบางตัวเท่านั้นที่เป็นได้ เลขในวงเล็บคือจำนวนอักษรที่ใช้ในส่วนนั้นได้

ตารางแสดงตัวอักษรที่ใช้ในแต่ละส่วนได้

  (สระอี), (สระเอ), (สระโอ)  
(คา), (ทา), (พา), (มา), (อา) (รา), (ลา), (ซา) (คา), (งา), (ทา), (นา), (พา), (มา), (อา), (รา), (ลา), (ซา) (ซา)
อักษรฐาน
๓๐ ตัว
  [ཝ] (วา), [ཡ] (ยา), [འ] (อา), [ར] (รา), [ལ] (ลา)  
(สระอู)

เมื่อเป็นส่วนเติมด้านล่าง อักษร ཝ (วา), ཡ (ยา), ར (รา) จะหน้าตาเปลี่ยนไปจากเดิม ไม่เหมือนตัวอักษรเดิมซึ่งอาจทำให้ต้องจำเพิ่มเติม ในที่นี้อยู่ในวงเล็บ [] คือตัวอักษรเดิม แต่รูปที่ถูกใช้เมื่อเติมด้านล่างจะเป็นตามลักษณะที่เห็นหน้าวงเล็บ []



อักษรเติมด้านล่าง

โดยพื้นฐานแล้วเสียงพยัญชนะต้นในภาษาทิเบตประกอบไปด้วย ๓๐ เสียงพื้นฐานตามอักษรดังที่กล่าวข้างต้น แต่เมื่อมีอักษรเติมด้านล่างจะทำให้เกิดเสียงพยัญชนะต้นเปลี่ยนไป ซึ่งบางส่วนก็ซ้ำกับเสียงพื้นฐานที่มีอยู่ แต่ก็มีที่ไม่เหมือน จึงทำให้เกิดเสียงเพิ่มขึ้นมาอีกหลายเสียง

ที่สำคัญคืออักษร (ยา) จะทำให้เกิดเสียงใหม่ ซึ่งบางตัวก็ไปซ้ำกับเสียงที่อักษรเดิมมีอยู่แล้ว

  ส่วนประกอบ เสียง IPA พินอินทิเบต เสียงซ้ำกับ
ཀྱ ཀ (กา) + ྱ กยา /ˉca/ gya -
ཁྱ ཁ (คา) + ྱ คยา /ˉcʰa/ kya
གྱ ག (คา) + ྱ /ˊcʰa/
པྱ པ (ปา) + ྱ จา /ˉtɕa/ ja
ཕྱ ཕ (พา) + ྱ ชา /ˉtɕʰa/ qa
བྱ བ (พา) + ྱ /ˊtɕʰa/
མྱ མ (มา) + ྱ ญา /ˊɲa/ nya

ཀྱ (กยา), ཁྱ (คยา), གྱ (คยา) ในที่นี้เป็นเสียงคล้ายกับเป็น ก, ข, ค ที่มีเสียง ย มาควบ

ส่วนอักษรที่ (รา) ไว้ด้านล่างจะทำให้เกิดเสียงใหม่ซึ่งได้รับอิทธิพลของ ร ทำให้กลายเป็นเสียงม้วนลิ้น

  ส่วนประกอบ เสียง IPA พินอินทิเบต
ཀྲ ཀ (กา) + ྲ จา /ˉʈ͡ʂa/ zha
པྲ པ (ปา) + ྲ
སྲ ས (ซา) + ྲ จา, ซา /ˉʈ͡ʂa/, /ˉsa/ zha / sa
ཁྲ ཁ (คา) + ྲ ชา /ˉʈ͡ʂʰa/ cha
ཕྲ ཕ (พา) + ྲ
གྲ ག (คา) + ྲ ชา /ˊʈ͡ʂʰa/
དྲ ད (ทา) + ྲ
བྲ བ (พา) + ྲ
ཧྲ ཧ (ฮา) + ྲ ซา /ˉʂa/ sha

ในที่นี้เสียง ཀྲ, པྲ, སྲ คือเสียงคล้าย zh ในจีนกลาง จึงเขียนทับศัพท์เป็นเสียง จ

ส่วนเสียง ཁྲ, ཕྲ, གྲ, དྲ, བྲ จะคล้ายเสียง ch ในจีนกลาง จึงเขียนทับศัพท์ด้วย ช

และเสียง ཧྲ  คือเสียงคล้ายเสียง sh ในจีนกลาง จึงเขียนทับศัพท์ด้วย ซ



ต่อไปแสดงการจับคู่ทั้งหมดที่มีการใช้จริง พร้อมเสียงอ่าน

  ཡ (ya) ར (ra) ལ (la)
ཀ (ga) ཀྱ
/ˉca/
กยา
gya
ཀྲ
/ˉʈ͡ʂa/
จา
zha
ཀླ
/ˉla/
ลา
la
ཁ (ka) ཁྱ
/ˉcʰa/
คยา
kya
ཁྲ
/ˉʈ͡ʂʰa/
ชา
cha
 
ག (ka) གྱ
/ˊcʰa/
คยา
kya
གྲ
/ˊʈ͡ʂʰa/
ชา
cha
གླ
/ˉla/
ลา
ང (nga)   ངྲ
/ˊʈ͡ʂʰa/
ชา
cha
 
པ (ba) པྱ
/ˉt͡ɕa/
จา
ja
པྲ
/ˉʈ͡ʂa/
จา
zha
 
ཕ (pa) ཕྱ
/ˉt͡ɕʰa/
ชา
qa
ཕྲ
/ˉʈ͡ʂʰa/
ชา
cha
 
བ (pa) བྱ
/ˊt͡ɕʰa/
ชา
qa
བྲ
/ˊʈ͡ʂʰa/
ชา
cha
བླ
/ˉla/
ลา
la
མ (ma) མྱ
/ˊɲa/
ญา
nya
མྲ
/ˊma/
มา
ma
 
ཇ (sa)     ཟླ
/ˉta/
ตา
da
ར (ra)     རླ
/ˉla/
ลา
la
ས (sa)   སྲ
/ˉʈ͡ʂa/
จา, ซา
zha, sa
སླ
/ˉla/
ลา
la
ཧ (ha)   ཧྲ
/ˉʂa/
ซา
sha
 

ในที่นี้ ที่ใส่อักษรสีแดงคือส่วนที่เป็นข้อยกเว้น ต้องระวังเป็นพิเศษ ส่วนที่เป็นสีม่วงคือได้เสียงพยัญชนะใหม่ที่ไม่มีในอักษรเดี่ยว



อักษรเติมด้านบน

มีอักษร ๓ ตัวที่อาจมาเติมด้านบนอักษรฐานได้ คือ ར (รา), ལ (ลา), ས (ซา) โดยเมื่อเติมแล้วอาจทำให้เกิดการเปลี่ยนเสียง หรืออาจจะไม่เปลี่ยนก็ได้ แล้วแต่ตัวที่ตามมา และเสียงที่เปลี่ยนไม่ขึ้นกับว่าตัวด้านบนคืออะไร ไม่ว่าตัวไหนก็ให้ผลเหมือนกัน

หากอักษรที่เติมด้านบนเป็น ར (รา) ขีดด้านล่างจะถูกตัดทิ้งไป เช่น རྐ ยกเว้นเมื่อใส่บน ཉ (ญา) จะคงรูปเดิม เป็น རྙ

ตารางแจกแจงรูปแบบการผสมพร้อมที่มีทั้งหมดพร้อมเสียงอ่าน

กลุ่ม ฐาน ར (รา) ལ (ลา) ས (ซา)
ཀ (กา) རྐ
/ˉka/
กา
ga
ལྐ
/ˉka/
กา
ga
སྐ
/ˉka/
กา
ga
ཀྱ (กยา) རྐྱ
/ˉca/
กยา
gya
  སྐྱ
/ˉca/
กยา
gya
ཀྲ (จา)     སྐྲ
/ˉʈ͡ʂa/
จา
zha
ཅ (จา)   ལྕ
/ˉt͡ɕa/
จา
ja
 
ཏ (ตา) རྟ
/ˉta/
ตา
da
ལྟ
/ˉta/
ตา
da
སྟ
/ˉta/
ตา
da
པ (ปา)   ལྤ
/ˉpa/
ปา
ba
སྤ
/ˉpa/
ปา
ba
པྱ (จา)     སྤྱ
/ˉt͡ɕa/
จา
ja
པྲ (จา)     སྤྲ
/ˉʈ͡ʂa/
จา
zha
ཙ (จา) རྩ
/ˉt͡sa/
จา
za
  སྩ
/ˉt͡sa/
จา
za
ཙྭ (จา) རྩྭ
/ˉt͡sa/
จา
za
   
ག (คา) རྒ
/ˊka/
กา
ga
ལྒ
/ˊka/
กา
ga
སྒ
/ˊka/
กา
ga
གྱ (คา)     སྒྱ
/ˊca/
กยา
gya
གྲ (ชา) རྒྲ
/ˊʈ͡ʂa/
จา
zha
  སྒྲ
/ˊʈ͡ʂa/
จา
zha
ཇ (ชา) རྗ
/ˊtɕa/
จา
ja
ལྗ
/ˊtɕa/
จา
ja
 
ད (ทา) རྡ
/ˊta/
ตา
da
ལྡ
/ˊta/
ตา
da
སྡ
/ˊta/
ตา
da
བ (พา) རྤ
/ˊpa/
ปา
ba
ལྤ
/ˊpa/
ปา
ba
སྤ
/ˊpa/
ปา
ba
བྱ (ชา)     སྤྱ
/ˊtɕa/
จา
ja
བྲ (ชา)     སྤྲ
/ˊʈ͡ʂa/
จา
zha
ཛ (ชา) རྫ
/ˊt͡sa/
จา
za
   
ང (งา) རྔ
/ˉŋa/
งา
nga
ལྔ
/ˉŋa/
งา
nga
སྔ
/ˉŋa/
งา
nga
ཉ (ญา) རྙ
/ˉɲa/
ญา
nya
  སྙ
/ˉɲa/
ญา
nya
ན (นา) རྣ
/ˉna/
นา
na
  སྣ
/ˉna/
นา
na
མ (มา) རྨ
/ˉma/
มา
ma
  སྨ
/ˉma/
มา
ma
མྱ (ญา) རྨྱ
/ˉɲa/
ญา
nya
  སྨྱ
/ˉɲa/
ญา
nya
མྲ (มา)     སྨྲ
/ˉma/
มา
ma
อื่นๆ ཧ (ฮา)   ལྷ
/ˉɬa/
ลา
lha
 


เมื่อรวมตัว กับ กลายเป็น ལྷ จะทำให้เกิดเป็นเสียงใหม่อีกเสียง คือ /ɬ/ ซึ่งไม่มีในภาษาไทย แต่ฟังดูคล้ายเสียง ฮ ควบ ล ในที่นี้ก็จะให้ทับศัพท์โดยแทนด้วย ล ไปด้วย



อักษรเติมด้านหน้า

การใส่อักษรเติมด้านหน้าจะให้ผลคล้ายกับอักษรเติมด้านบน แค่ใช้กับอักษรต่างกันเท่านั้น อักษรที่อาจมาเติมด้านหน้าได้แก่ (คา), (ทา), (พา), (มา), (อา)

ผลการใส่อักษรเติมหน้าอาจสรุปได้เป็น ๔ กลุ่มดังนี้

กลุ่ม อักษร ความเปลี่ยนแปลง
ตัวที่ ๑ ของวรรค ཀ (กา), ཅ (จา), ཏ (ตา), པ (ปา), ཙ (จา) ไม่เปลี่ยนแปลง
(+เติมด้านล่าง) ཀྱ (กยา), ཀྲ (จา), པྱ (จา), པྲ (จา)
ตัวที่ ๒ ของวรรค ཁ (คา), ཐ (ชา), ཕ (พา), ཚ (ชา)
(+เติมด้านล่าง) ཁྱ (คยา), ཁྲ (ชา), ཕྱ (ชา), ཕྲ (ชา)
ตัวที่ ๓ ของวรรค ག (คา), ཇ (ชา), ད (ทา), བ (พา), ཛ (ชา) กลายเป็นเสียงไม่ปล่อยลม
(+เติมด้านล่าง) གྱ (คยา), གྲ (ชา), བྱ (ชา), བྲ (ชา)
ตัวที่ ๔ ของวรรค ང (งา), ཉ (ญา), ན (นา), མ (มา) เปลี่ยนเป็นเสียงอักษรสูง
(+เติมด้านล่าง) མྱ (ญา)
ตัวยกเว้น དབ วา
དབྱ ยา
དབྲ รา

อักษรเติมด้านหน้ากับอักษรเติมด้านบนอาจปรากฏพร้อมกันได้ โดยในกรณีนี้ ตัวเติมด้านหน้าต้องเป็น (พา) เท่านั้น เช่น བརྐ (คา), བརྐྱ (คยา), བསྩ (จา) เป็นต้น แต่ว่า ที่เติมเข้าไปนั้นก็ไม่ได้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเสียงใดๆ



อักษรเติมด้านหลัง

เมื่อมีการเติมอักษรด้านหลังอาจทำให้เกิดเสียงตัวสะกด หรือเปลี่ยนเสียงวรรณยุกต์ รวมทั้งอาจทำให้เสียงสระเปลี่ยนด้วย

อักษรที่อาจเติมอยู่ด้านหลังมีทั้งหมด ๑๐ ตัว

อักษร เสียงตัวสะกด IPA พินอินทิเบต เสียงสระ เสียงวรรณยุกต์ ตัวอย่าง
-ག (คา) -ก
(อาจไม่ออกเสียง)
/k/ g   เปลี่ยน ཨག อัก
-ང (งา) -ง /ŋ/ ng     ཨང อัง
-ད (ทา) - - - เปลี่ยน เปลี่ยน ཨད แอ
-ན (นา) -น
(อาจไม่ออกเสียง)
/ɴ/ n เปลี่ยน   ཨན แอ็น
-བ (พา) -บ /p/ b   เปลี่ยน ཨབ อับ
-མ (มา) -ม /m/ m     ཨམ อัม
-འ (อา) ไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ  
-ར (รา) -ร์ /ɹ/ r     ཨར อาร์
-ལ (ลา) - - - เปลี่ยน   ཨལ แอ
-ས (ซา) - - - เปลี่ยน เปลี่ยน ཨས แอ

(อา) แม้จะใส่ไปก็ไม่ได้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใดๆต่อเสียง แต่จะถูกใช้ในกรณีที่มีอักษรเติมหน้าและไม่มีการใส่สระหรืออักษรเติมบนล่าง เช่น དགའ (กา)

บางทีที่ใส่ก็เพื่อให้แยกแยะออกว่าตัวแรกเป็นอักษรเติมหน้าและตัวที่ ๒ คือตัวฐาน ดังนั้นหากส่วนประกอบมีอักษรแค่ ๒ ตัว ตัวแรกย่อมเป็นตัวฐาน และตัวที่ ๒ คืออักษรเติมหลัง เข่น དག (ทัก) แบบนี้ ད คือฐาน ส่วน ག คืออักษรเติมหลัง เป็นตัวสะกด

นอกจากนี้ เติมสระ เป็น འུ ก็ถูกใช้เป็นส่วนเติมท้ายด้วย โดยจะให้เสียง "ว" อาจเติมหลังสระอา กลายเป็นเสียง "อาว" หรือเติมหลังสระอีหรือเอ กลายเป็น "อีว" ส่วน འི อาจถูกเติมเพื่อให้เกิดสระใหม่ได้

อักษร เสียงอ่าน IPA พินอิน
ทิเบต
ཨའུ อาว /au/ au
ཨིའུ อิว /iu/ iu
ཨེའུ
ཨའི แอ /ɛ/ ä
ཨུའི อวี /y/ ü
ཨོའི เออ /ø/ ö


อักษร (ลา), (ทา), (ซา) ในภาษาทิเบตมาตรฐานปัจจุบันไม่ทำให้เกิดเสียงตัวสะกด แต่มีผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสระได้

ตัวสะกด (คา) เดิมทีควรออกเสียงเป็นตัวสะกดแม่กก แต่ในปัจจุบันเสียงตัวสะกดมักหายไป บางคำก็จะออกเสียงตัวสะกดก็ได้หรือไม่ออกก็ได้ ในที่นี้เพื่อความสะดวกจะให้แทนด้วยแม่กกทั้งหมด เพราะในพินอินทิเบตยังเหลือ g เอาไว้ แม้ว่าจริงๆแล้วบางคำไม่ได้ออกเสียงตัวสะกดแล้ว

ส่วน (นา) ไม่ได้ออกเสียงเป็นแม่กนในภาษาไทย แต่ออกเสียง น เบาๆ คล้ายเสียง ん ในภาษาญี่ปุ่น หรืออาจเหลือเป็นแค่เสียออกจมูก หรือบางคำอาจไม่ออกเสียงตัวสะกดเลย ในที่นี้ก็จะเขียนเป็นแม่กนเพื่อความง่าย

เรื่องตัวสะกดยังมีข้อยกเว้นอีกมากมาย เช่นบางคำแม้มีตัวอักษรวางท้ายอยู่และตามหลักแล้วควรมีเสียงตัวสะกดก็กลับไม่ออกเสียง หรือบางคำไม่มีตัวอักษรวางท้ายแต่กลับมีเสียงตัวสะกดก็มี



เสียงสระที่เปลี่ยนไป

เมื่อมีตัว (ทา), (นา), (ลา), (ซา) เป็นตัวเติมด้านหลัง จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสระเมื่อสระเป็นเสียงสระ อา อู โอ แต่จะไม่เกิดผลใดๆกับเสียงสระ อี เอ

อา /a/ --> แอ /ɛ/
อู /u/ --> อวี /y/
โอ /o/ --> เออ /ø/

เสียง /ɛ/ ในภาษาทิเบตนั้นจริงๆแล้วใกล้เคียงสระเอมาก อาจฟังดูเกือบเป็นสระเอ แต่ก็ค่อนมาทางสระแอ จึงให้เขียนแทนด้วยสระแอ เพื่อแยกให้ชัดจากสระ /ɛ/

เสียง /y/ นี้ไม่มีในภาษาไทย จะคล้ายกับเสียง ü ในพินอินจีนกลาง ให้เขียนทับศัพท์เป็น "อวี"

เสียง /ø/ ก็ไม่มีในภาษาไทย จะคล้ายกับเสียง ö ในภาษาเยอรมัน ฟังดูใกล้เคียงกับสระเออ จึงเขียนทับศัพท์เป็นสระเออ

ใน ๔ ตัวนี้ มีแค่ (นา) ที่ทำให้เกิดเสียงตัวสะกดได้จริงๆ (แม้ว่ามักจะไม่ถูกออกเสียง) ที่เหลือในปัจจุบันไม่ออกเสียงเลย แค่อาจทำให้เกิดการเปลี่ยนสระเท่านั้น

ตัวอย่าง

อักษรฐาน อักษรเติมหลัง
-ན (นา) -ལ (ลา)
(กา) ཀན
แก็น
gän
ཀུན
กวิน
ཀོན
เกิน
gön
ཀལ
แก
ཀུལ
กวี
ཀོལ
เกอ
(คา) ཁན
แค็น
kän
ཁུན
ควิน
kün
ཁོན
เคิน
kön
ཁལ
แค
ཁུལ
ควี
ཁོལ
เคอ
(จา) ཅན
แจ็น
jän
ཅུན
จวิน
jün
ཅོན
เจิน
jön
ཅལ
แจ
ཅུལ
จวี
ཅོལ
เจอ
(ชา) ཆན
แช็น
qän
ཆུན
ชวิน
qün
ཆོན
เชิน
qön
ཆལ
แช
ཆུལ
ชวี
ཆོལ
เชอ



อักษรเติมด้านหลังตัวที่สอง

อักษร ས อาจถูกเติมด้านหลังอักษรเติมหลังอีก กลายเป็นอักษรเติมด้านหลังตัวที่สอง

การเติม ས ข้างหลังจะทำให้เกิดเสียงเปลี่ยนเฉพาะเมื่ออักษรเติมด้านหลังตัวแรกเป็น (งา) หรือ (มา) กลายเป็น -ངས หรือ -མས เท่านั้น โดยจะแค่ทำให้เกิดการเปลี่ยนเสียงวรรณยุกต์ แต่ไม่มีผลต่อสระ



สรุปเสียงพยัญชนะ

ตารางสรุปเสียงพยัญชนะทั้งหมด แบ่งตามเสียง ตัวที่เป็นสีเขียวคืออักษรตัวเดียวที่เดิมทีก็เป็นเสียงนั้นโดยไม่ต้องประกอบ

อักษร ทับศัพท์
ไทย
IPA พินอิน
ทิเบต
ตัวอย่าง
, རྐรา กา, ལྐลา กา, སྐซา กา, ཀྭกา วา, དཀทา กา, བཀพา กา, བརྐพา รา กา, བསྐพา ซา กา
กา /ˉka/ ga བཀའ กา /ˉka/ ga
སྐུ กู /ˉku/ gu
རྒรา คา, སྒซา คา, དགทา คา, བགพา คา, བརྒพา รา คา, བསྒพา ซา คา,
ལྒลา คาམགมา คาའགอา คา
/ˊka/ བགོད เกอ /^kø/ gö
མགོ โก /ˊko/ go
, ཁྭคา วา, མཁมา คา, འཁอา คา
คา /ˉkʰa/ ka མཁོ โค /ˉkʰo/ ko
, གྭคา วา
/ˊkʰa/ གངས คัง /^kʰaŋ/ kang
རྔรา งา, ལྔลา งา, སྔซา งา, དངทา งา, བརྔพา รา ฮา, བསྔพา ซา งา, མངมา งา
งา /ˉŋa/ nga དངུལ งวี /ˉŋy/ ngü
/ˊŋa/ ངུ งู /ˊŋu/ ngu
ཀྱกา ยา, རྐྱรา กา ยา, ལྐྱลา กา ยา, སྐྱซา กา ยา, དཀྱทา กา ยา, བཀྱพา กา ยา, བརྐྱพา รา กา ยา, བསྐྱผา ซา กา ยา
กยา /ˉca/ gya རྐྱང กยัง /ˉcaŋ/ gyang
དགྱทา คา ยา, བགྱพา คา ยา, བརྒྱพา รา คา ยา, བསྒྱพา ซา คา ยา,
མགྱมา คา ยา, འགྱอา คา ยา
/ˊca/ བརྒྱད แกย /^cɛ/ gyä
ཁྱคา ยา, མཁྱมา คา ยา, འཁྱอา คา ยา
คยา /ˉcʰa/ kya མཁྱེན แคยน /`cʰɛɴ/ kyän
གྱคา ยา /ˊcʰa/ གྱོན เคยิน /ˊcʰøɴ/ kyön
, ལྕลา จา, ཅྭจา วา, གཅคา จา, བཅพา จา, བྱพา ยา, དབྱทา พา ยา
จา /ˉt͡ɕa/ ja ལྕམ จัม /ˉt͡ɕam/ jam
རྗรา ชา, གཇคา ชา, བརྗพา รา ชา, དབྱทา พา ยา,
ལྗลา ชา, མཇมา ชา, འཇอา ชา, འབྱอา พา ยา
/ˊt͡ɕa/ རྗོད เจอ /^t͡ɕø/ jö
, མཆมา ชา, འཆอา ชา, ཕྱพา ยา, འཕྱอา พา ยา
ชา /ˉt͡ɕʰa/ qa མཆོད เชอ /`t͡ɕʰø/ qö
, བྱพา ยา
/ˊt͡ɕʰa/ བྱང ชัง /ˊt͡ɕʰaŋ/ qang
རྙรา ญา, སྙซา ญา, གཉคา ญา, བརྙพา รา ญา, བསྙพา ซา ญา, མཉมา ญา, ཉྭญา วา
ญา /ˉɲa/ nya རྙིང ญิง /ˉɲiŋ/ nying
, མྱมา ยา
/ˊɲa/ ཉལ แญ /ˊɲɛ/ nyä
, རྟรา ตา, ལྟลา ตา, སྟซา ตา, ཏྭตา วา, གཏคา ตา, བཏพา ตา, བརྟพา รา ตา, བལྟพา ลา ตา, བསྟพา ซา ตา, བལྡพา ลา ตา,
ལྠลา ทา
ตา /ˉta/ da ལྟམ ตัม /ˉtam/ dam
རྡรา ทา, སྡลา ทา, གདคา ทา, བདพา ทา, བརྡพา รา ทา, བསྡพา ซา ทา,
ལྡลา ทา, མདมา ทา, འདอา งา, ཟླซา ลา, བཟླพา ซา ลา
/ˊta/ རྡོ โต /ˊto/ do
བསྡུ ตู /ˊtu/ du
, མཐมา ทา, འཐอา ทา
ทา /ˉtʰa/ ta མཐོང ทง /ˉtʰoŋ/ tong
, དྭทา วา
/ˊtʰa/ དང ทัง /ˊtʰaŋ/ tang
རྣรา นา, སྣซา นา, གནคา นา, བརྣพา รา นา, བསྣพา ซา นา, མནมา นา
นา /ˉna/ na རྣམ นัม /ˉnam/ nam
/ˊna/ ནས แน /^nɛ/ nä
, ལྤลา ปา, སྤซา ปา, དཔทา ปา
ปา /ˉpa/ ba པིར ปีร์ /ˉpiɹ/ bir
རྦรา พา, སྦซา พา, དབทา พา,
ལྦลา พา, འབอา พา
/ˊpa/ འབབ ปับ /^pap/ bab
, འཕอา พา
พา /ˉpʰa/ pa ཕོ โพ /ˉpʰo/ po
/ˊpʰa/ བོད เพอ /^pʰø/ pö
རྨรา มา, སྨซา มา, དམทา มา
มา /ˉma/ ma དམངས มัง /`maŋ/ mang
, མྲมา รา
/ˊma/ མིང་ มิง /ˊmiŋ/ ming
, རྩรา จา, སྩซา จา, ཙྭจา วา, གཙคา จา, བཙพา จา, བརྩพา รา จา, བསྩพา ซา จา
จา /ˉt͡sa/ za རྩེ เจ /ˉt͡se/ zê
རྫรา ชา, གཛคา ชา, བརྫพา รา ชา,
མཛมา ชา, འཛอา ชา
/ˊt͡sa/ རྫོང จง /ˊt͡soŋ/ zong
, ཚྭชา วา, མཚมา ชา, འཚอา ชา
ชา /ˉt͡sʰa/ ca ཚྭ ชา /ˉt͡sʰa/ ca
མཚོ โช /ˉt͡sʰo/ co
/ˊt͡sʰa/ ชา /ˊt͡sʰa/ ca
ཀྲกา รา, ཏྲตา รา, པྲปา รา, དཀྲทา กา รา, དཔྲทา ปา รา, བཀྲพา กา รา, བསྐྲพา ซา กา รา, བསྲพา ซา รา
จา /ˉʈa/ zha ཀྲུམས จุม /`ʈ͡ʂum/ zhum
དགྲทา คา รา, དབྲทา พา รา, བསྒྲพา ซา คา รา, སྦྲซา พา รา,
མགྲมา คา รา, འགྲอา คา รา, འདྲอา คา รา, འབྲอา พา รา
/ˊʈa/ སྦྲུལ จวี /ˊʈ͡ʂy/ zhü
ཁྲคา รา, ཐྲทา รา, ཕྲพา รา, མཁྲมา คา รา, འཁྲอา คา รา, འཕྲอา พา รา
ชา /ˉʈʰa/ cha ཁྲི ชี /ˉʈ͡ʂʰi/ chi
གྲคา รา, དྲทา รา, བྲพา รา, གརྭคา รา วา
/ˊʈʰa/ གྲུ ชู /ˊʈ͡ʂʰu/ chu
, དབทา พา
วา /ˊwa/ wa དབུ วู /ˊwu/ wu
ཧྲฮา รา ซา /ˉʂa/ sha ཧྲང ซัง /ˉʂaŋ/ shang
ซา /ˉɕa/ xa ཤིང ซิง /ˉɕiŋ/ xing
/ˊɕa/ ཞལ แซ /ˊɕɛ/ xê
, སྲซา รา, སྭซา วา, གསคา ซา, བསพา ซา, བསྲพา ซา รา
ซา /ˉsa/ sa སྲིད ซี /`si/ si
, ཟྭซา วา, གཟคา ซา, བཟพา ซา
/ˊsa/ ཟས แซ /^sɛ/ sä
གཟི ซี /ˊsi/ si
อา /ˉʔa/ a ཨེམ་ཆི เอ็มชี /ˉʔemt͡ɕʰi/ êmqi
/ˊʔa/ འི อี /ˊʔi/ i
གཡคา ยา ยา /ˉja/ ya གཡག ยัก /`jak/ yag
/ˊja/ ཡང ยัง /ˊjaŋ/ yang
, རྭรา วา
รา /ˊɹa/ ra རི รี /ˊɹi/ ri
ཀླกา ลา, གླคา ลา, བླพา ลา, རླรา ลา, སླซา ลา, བརླพา รา ลา, བསླพา ซา ลา
ลา /ˉla/ la སློབ ลบ /`lop/ lob
, ལྭลา วา
/ˊla/ ལམ ลัม /ˊlam/ lam
ལྷลา ฮา ลา /ˉɬa/ lha ལྷོ โล /ˉɬo/ lho
, ཧྭฮา วา
ฮา /ˉha/ ha ཧོང་ཀོང ฮงกง /ˉhoŋkoŋ/ honggong



สรุปเสียงสระและตัวสะกด

ตารางสรุปเสียงสระและตัวสะกด

อักษร ทับศัพท์
ไทย
IPA พินอิน
ทิเบต
ตัวอย่าง
อา /ˉa/ a ལྟ་ ตา /ˉta/ da
དགའ་ กา /ˊka/ ga
ཨའུอา อู เอา /ˉau/ au ནའུ་རུ་ เนารู /ˊnauru/ nauru
ཨགอา กา
ཨགསอา กา ซา
อัก /`ak/ ag ཇག་ ชัก /^t͡ɕʰak/ qag
ཨངอา งา อัง /ˉaŋ/ ang ཁང་པ་ คังปา /ˉkʰaŋpa/ kangba
ཨངསอา งา ซา /`aŋ/ ཤངས ซัง /`ɕaŋ/ xang
གྲངས คัง /^kʰaŋ/ kang
ཨབอา พา

ཨབསอา พา ซา
อับ /`ap/ ab བརྒྱབ་ กยับ /`cap/ gyab
ཐབ་ ทับ /`tʰap/ tab
ཨམอา มา อัม /ˉam/ am ཟམ་པ་ ซัมปา /ˊsampa/ samba
ཨམསอา มา ซา /`am/ ཁམས་ คัม /`kʰam/ kam
ཨརอา รา อาร์ /ˉaɹ/ ar པར་ ปาร์ /ˉpaɹ/ bar
ཨལอา ลา
ཨའིอา อี
แอ /ˉɛ/ ä མཇལ แจ /ˊt͡ɕɛ/ jä
ངའི་ แง /ˊŋɛ/ ngä
ཨདอา พา
ཨསอา ซา
/`ɛ/ སྐད แก /`kɛ/ gä
ཨནอา นา แอ็น /ˉɛɴ/, /ˉɛ̃/ än མཁན་ แง็น /ˉɛɴ/ ngän
སྨན་ แม็น /ˉɛɴ/ män
ཨིอี
ཨིལอี ลา
ཨིའིอี อี
อี /ˉi/ i མི་ มี /ˉmi/ mi
ཨིདอี ทา
ཨིསอี ซา
/`i/ ཡིད་ ยี /^ji/ yi
ཨིནอี นา อิน /ˉiɴ/, /ˉĩ/ in ཡིན​་ ยิน /ˉjiɴ/ yin
ཨིའུอี อู
ཨེའུเอ อู
อิว /ˉiu/ iu ཀིའུ​་ กิว /ˉkiu/ giu
ཨིགอี คา
ཨིགསอี คา ซา
อิก /`ik/ ig རིགས་པ་ ริกปา /ˊɹikpa/ rigba
རིགས་ ริก /^ɹik/ rig
ཨིངอี งา อิง /ˉiŋ/ ing མིང་ มิง /ˊmiŋ/ ming
ཨིངསอี งา ซา /`iŋ/ ལིངས་ ลิง /^liŋ/ ling
ཨིབอี พา
ཨིབསอี พา ซา
อิบ /`ip/ ib ཞིབ་ཆ་ ซิบจา /ˊɕipt͡ɕa/ xibja
ཨིམอี มา อิม /ˉim/ im ཞིམ་པོ་ ซิมโป /ˊɕimpo/ ximbo
ཨིམསอี มา ซา /`im/  
ཨིརอี รา อีร์ /ˉiɹ/ ir པིར ปีร์ /ˉpiɹ/ bir
ཨུอู อู /ˉu/ u ཀླུ ลู /ˉlu/ lu
ཨུགอู คา อุก /`uk/ ug ལུག་ཤ་​​ ลุกซา /ˊlukɕa/ lukxa
ཨུངอู งา อุง /ˉuŋ/ ung གཞུང་ ซุง /ˊɕuŋ/ xung
ཨུངསอู งา ซา /`uŋ/  
ཨུབอู พา
ཨུབསอู พา ซา
อุบ /`up/ ub  འགྲུབ་ จุบ /^ʈ͡ʂup̚/ zhub
ཨུམอู มา อุม /ˉum/ um ཟུམ ซุม /ˊsum/ sum
ཨུམསอู มา ซา /`um/ ཀྲུམས จุม /`ʈ͡ʂum/ zhum
ཨུརอู รา อูร์ /ˉuɹ/ ur བསྒྱུར་ กยูร์ /ˊcuɹ/ kyur
ཨུལอู ลา
ཨུའིอู อี
อวี /ˉy/ ü ཕུལ་ พวี /ˊpʰy/ pü
འཛུལ จวี /ˊt͡sy/ zü

ཨུདอู ทา
ཨུསอู ซา
/`y/ ག་དུས་ คาตวี /^kʰty/ kadü
ཞུས་ ซวี่ /`ɕy/ xü
ཨུནอู นา อวิน /ˉyɴ/ /ˉỹ/ ün མདུན་ ตวิน /ˊtyɴ/ dün
ཨེเอ
ཨེལเอ ลา
ཨེའིเอ อี
เอ /ˉe/ ê མེ་ เม /ˉme/ mê
ཨེདเอ ทา
ཨེསเอ ซา
/`e/ རེད་ เร /^ɹe/ rê
ཚེས་ เช /`t͡sʰe/ cê
ཨེནเอ นา เอ็น /ˉeɴ/ /ˉẽ/ ên ཆེན་ เช็น /ˉt͡ɕʰeɴ/ qên
ཨེགเอ คา
ཨེགསเอ คา ซา
เอ็ก /`ek/ êg སྟེགས་ เต็ก /`tek/ dêg
ཨེངเอ งา เอ็ง /ˉeŋ/ êng འགྲེང་པོ་ เจงโป /ˊʈ͡ʂeŋpo/ zhêngpo
ཨེངསเอ งา ซา /`eŋ/  
ཨེབเอ พา
ཨེབསเอ พา ซา
เอ็บ /`ep/ êb དེབ་ เท็บ /^tʰep/ têb
ཨེམเอ มา เอ็ม /ˉem/ êm  
ཨེམསเอ มา ซา /`em/ སེམས་ เซ็ม /`sem/ sêm
ཨེརเอ รา เอร์ /ˉeɹ/ êr གཡེར་མ เยร์มา /ˉjeɹma/ yêrma
ཨོโอ โอ /ˉo/ o སྒོ་ โก /ˉko/ go
ཨོགโอ คา
ཨོགསโอ คา ซา
อก /`ok/ og རྙོག་དྲ་ ญกจา /ˉɲokʈ͡ʂa/ nyokzha
ཨོངโอ งา อง /ˉoŋ/ ong སྒོང་ང་ กงงา /ˊkoŋŋa/ gongnga
ཨོངསโอ งา ซา /`oŋ/ ཡོངས ยง /^joŋ/ yong
ཨོབโอ พา
ཨོབསโอ พา ซา
อบ /`op/ ob སློབ་གྲྭ་ ลบจา /ˉlopʈ͡ʂa/ lobzha
ཨོམโอ มา อม /ˉom/ om དོམ་ ทม /ˊtʰom/ tom
ཨོམསโอ มา ซา /`om/  
ཨོརโอ รา โอร์ /ˉoɹ/ or དོར​་ โทร์ /ˊtʰor/ tor
ཨོལโอ ลา
ཨོའིโอ อี
เออ /ˉø/ ö ཆུ་ཁོལ ชูเคอ /ˉt͡ɕʰukʰø/ qukö
ཨོདโอ ทา
ཨོསโอ ซา
/`ø/ གཡོས เยอ /`jø/ yö
ཡོད เยอ /^jø/ yö
ཉོས เญอ /^ɲø/ nyö
ཨོནโอ นา เอิน /ˉøɴ/, /ˉø̃/ ön ཁ་འདོན คันเติน /ˉkʰaɴtøɴ/ kandön
སོན་ เซิน /ˉsøɴ/ sön



ตัวอย่าง

ต่อไปจะแสดงตัวอย่างการเขียนทับศัพท์คำต่างๆในภาษาทิเบตและพวกชื่อที่อาจมีโอกาสได้ยินอยู่บ่อย

ตัวเลข

เลขฮินดู-
อารบิก
เลข
ทิเบต
สะกด ทับศัพท์ไทย พินอินทิเบต
0 ཀླད་ཀོར་ แลโก lägo
1 གཅིག་ จิก jik
2 གཉིས་ ญี nyi
3 གསུམ་ ซุม sum
4 བཞི་ ซี xi
5 ལྔ་ งา nga
6 དྲུག་ ชุก chuk
7 བདུན་ ตวิน dün
8 བརྒྱད་ แกย gyä
9 དགུ་ กู gu
10 ༡༠ བཅུ་ จู ju
100 ༡༠༠ བརྒྱ་ กยา gya
1,000 ༡༠༠༠ སྟོང་ ตง dong
10,000 ༡༠༠༠༠ ཁྲི་ ชี chi
100,000 ༡༠༠༠༠༠ འབུམ་ ปุม bum
1,000,000 ༡༠༠༠༠༠༠ ས་ཡ་ ซายา saya
10,000,000 ༡༠༠༠༠༠༠༠ བྱེ་བ ชีวา qiwa


ชื่อสถานที่

ชื่อภาษา
ทิเบต
ทับศัพท์
ไทย
พินอิน
ทิเบต
ชื่อจีน ชื่ออื่นๆ
བོད་ เพอ 西藏 ซีจ้าง Xīzàng, Tibet
དབུས་གཙང อวีจัง üzang 卫藏/衛藏 เว่ย์จ้าง Wèizàng, Ü-Tsang
ཁམས คัม kam คาง Kāng, Kham
ཨ༌མདོ อัมโต amdo 安多 อานตัว Ānduō
ལྷ་ས་ ลาซา lhasa 拉萨/拉薩 ลาซ่า Lāsà
ནག་ཆུ་ นักชู nagqu 那曲 น่าชวี Nàqū, Nakchu, Nagchu
ཆབ་མདོ་ ชัมโต qamdo 昌都 ชางตู Chāngdū, Chamdo
གཞིས་ཀ་རྩེ་ ซีกาเจ xigazê 日喀则/日喀則 รื่อคาเจ๋อ Rìkāzé, Shigatse
ལྷོ་ཁ།་ โลคา lhoka 山南 ซานหนาน Shānnán
ཉིང་ཁྲི་ ญิงจี nyingzhi 林芝 หลินจือ Línzhī
མངའ་རིས་ งารี ngari 阿里 อาหลี่ Ālǐ
མཚོ་སྔོན་ โชเงิน congön 青海 ชิงไห่ Qīnghǎi






-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ภาษาศาสตร์ >> ตัวอักษร
-- ภาษาศาสตร์ >> หลักเกณฑ์การทับศัพท์

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

目次

日本による名言集
モジュール
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
機械学習
-- ニューラル
     ネットワーク
javascript
モンゴル語
言語学
maya
確率論
日本での日記
中国での日記
-- 北京での日記
-- 香港での日記
-- 澳門での日記
台灣での日記
北欧での日記
他の国での日記
qiita
その他の記事

記事の類別



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  記事を検索

  おすすめの記事

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

ไทย

日本語

中文