φυβλαςのβλογ
phyblasのブログ



แวะกินซูชิหูฉลามของขึ้นชื่อของเมืองเคเซนนุมะแล้วเข้าชมพิพิธภัณฑ์ฉลาม
เขียนเมื่อ 2023/09/27 23:50
แก้ไขล่าสุด 2024/02/21 14:36
# เสาร์ 23 ก.ย. 2023

เที่ยวในเมืองเคเซนนุมะต่อจากตอนที่แล้วที่ไปปีนเขาแล้วลงมา https://phyblas.hinaboshi.com/20230926

เป้าหมายต่อไปก็คือการเที่ยวพิพิธภัณฑ์ ๒ แห่ง ได้แก่ พิพิธภัณฑ์ฉลาม (シャークミュージアム) และพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำแช่แข็ง (こおり水族館すいぞくかん) ซึ่งทั้ง ๒ ที่นี้อยู่ในตึกเดียวกันคือที่อุมิโนะอิจิ (うみいち) ซึ่งติดกับตลาดปลาริมชายฝั่ง

ทั้ง ๒ แห่งนี้แบ่งเป็นคนละส่วนกัน ค่าเข้าชมก็คิดแยกกัน ค่าเข้าชมพิพิธภัณฑ์ฉลามคือ ๕๐๐ เยน ส่วนพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำแช่แข็งคือ ๖๐๐ เยน แต่ถ้าซื้อตั๋วรวมสำหรับเข้าทั้ง ๒ ที่ก็จะเป็น ๑๐๐๐ เยน

นอกจากนี้ภายในอาคารเดียวกันนี้ยังมีตลาดขายพวกอาหารทะเลและของที่ระลึก รวมถึงร้านอาหารทะเลด้วย

เคเซนนุมะนั้นมีชื่อเสียงในเรื่องของฉลาม เพราะเป็นแหล่งล่าฉลามใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่น ดังนั้นจึงได้มีการตั้งพิพิธภัณฑ์ฉลามขึ้น และอาหารที่ทำจากฉลามก็เป็นของขึั้นชื่อของเมืองนี้ด้วย โดยเฉพาะหูฉลาม มีการนำหูฉลามมาปรุงเป็นอะไรต่างๆหลายอย่าง แม้แต่เมนูที่อาจไม่พบเจอที่อื่น เช่นซูชิหูฉลาม



หลังจากเดินกลับลงจากเขา เราก็กลับมาถึงย่านริมทะเลกลางเมือง



จากนั้นก็เดินไปทางตะวันออก ระหว่างทางผ่านแผ่นป้ายหินที่จารึกเป็นที่ระลึกถึงสถานที่ริเริ่มกิจการตู้เย็น (冷蔵庫創業れいぞうこそうぎょう) ที่นี่เคยเป็นที่ตั้งของการตู้เย็นคุซึฮาระ (葛原冷蔵くずはられいぞう) ซึ่งเป็นบริษัทแรกในญี่ปุ่นที่ริเริ่มกิจการขายตู้เย็นสำหรับแช่แข็งพวกอาหารเพื่อรักษาความสด โดยเริ่มตั้งแต่ช่วงปี 1920



ป้ายอธิบายเกี่ยวกับความสำคัญของที่นี่ มีแผนที่แสดงให้เห็นว่าเมื่อร้อยปีก่อนชายฝั่งที่นี่ต่างไปจากตอนนี้เนื่องจากมีการถมที่ทำให้แผ่นดินเพิ่ม เมื่อก่อนตรงนี้อยู่ติดทะเลเลย แต่ปัจจุบันอยู่ลึกเข้ามาเป็นสิบเมตร



จากนั้นก็เดินเลียบชายฝั่งไป




ผ่านโรงแรมเคเซนนุมะพลาซา (気仙沼けせんぬまプラザホテル) ตัวอาคารดูโดดเด่น



จากตรงนี้มองไปเห็นส่วนของแหลมชิมเมย์ เห็นตัวศาลาอุกิมิโดวและศาลเจ้าอิสึซึที่เพิ่งแวะไปเที่ยวมาด้วย (https://phyblas.hinaboshi.com/20230924) และด้านหลังคือสวนอธิษฐานฟื้นฟูที่แวะถัดไปหลังจากนั้น



ตรงนี้เห็นอาคารโบสถ์เออร์แบนมาเรียชาเพล



จากนั้นเดินเลียบชายฝั่งต่อมาก็เจอตลาดปลาเคเซนนุมะ (気仙沼市魚市場けせんぬましさかないちば) เป็นอาคารยาวเลียบไปตามริมชายฝั่ง



และข้างๆนั้นก็คืออาคารอุมิโนะอิจิซึ่งเป็นเป้าหมาย



ก่อนอื่นเราขึ้นมาชั้นบน เพราะพิพิธภัณฑ์ฉลามตั้งอยู่ชั้นบน



เมื่อขึ้นมาก็เจอร้านซูชิจานหมุน อิจิบะซูชิ (いちば寿司すし) จึงแวะกินก่อนที่จะไปเข้าชมพิพิธภัณฑ์ เพราะตอนที่ไปถึงเป็นเวลาเที่ยงกว่า และยังพอมีเวลา



บรรยากาศภายในร้าน



ร้านนี้เป็นซูชิจานหมุนก็จริงแต่ไม่ใช่แบบที่ให้หยิบจากสายพานได้ตามใจชอบ แต่ต้องสั่งผ่านหน้าจอ แล้วเขาจึงค่อยวางซูชิบนสายพานหมุนมาถึง

นี่คือหน้าจอสำหรับสั่ง จะเห็นว่ามีเมนูพวกหูฉลามซึ่งเป็นของขึ้นชื่อของเมืองนี้



ซูชิที่ถูกส่งมาจะมาพร้อมกับหมายเลขโต๊ะ เมื่อมาถึงก็หยิบได้



เราลองสั่งซูชิหูฉลาม ซึ่งก็แพงมากถึง ๘๒๕ เยน แต่เห็นว่าเป็นของขึ้นชื่อของที่นี่และไม่เจอที่อื่นจึงได้ลองสักหน่อย



แล้วก็มีซุปหูฉลาม (ふかひれスープ) ราคา ๒๗๕ เยน



และยังได้สั่งซูชิหมึกมงโงะ (紋甲もんごいか) ๑๙๘ เยน



หลังจากนั้นจึงได้สั่งหน้าปลาไหลอานาโงะนึ่ง (煮穴子にあなご) ๑๙๘ เยน, หอยแดง (赤貝あかがい) ๒๗๕ เยน, คานิมิโสะ (かに味噌みそ) ๒๗๕ เยน



หน้าจอแสดงรายการทั้งหมดที่สั่งไป



หลังจากนั้นก็คิดเงิน รวมทั้งหมดจ่ายไป ๒๐๔๖ เยน ถือเป็นมื้อที่แพงมาก ที่จริงราคาส่วนใหญ่ไปหนักที่ซูชิหูฉลาม



หลังจากกินเสร็จก็เข้าไปชมพิพิธภัณฑ์ ซึ่งอยู่ด้านในชั้น ๒ ของอาคารนี้



ในนี้ยังมีศูนย์แนะนำการท่องเที่ยวของเมืองด้วย



ปากทางเข้าชมพิพิธภัณฑ์อยู่ตรงนี้ ด้านหน้าทางเข้ามีเครื่องขายตั๋วอัตโนมัติและที่ตรวจตั๋ว



เมื่อเข้ามาก็พบว่าส่วนแรกนั้นไม่ได้เกี่ยวอะไรกับฉลามเลย แต่เป็นที่จัดแสดงเกี่ยวกับภัยพิบัติคลื่นทสึนามิ 11 มีนาคม 2011 ซึ่งก็ไม่ได้มีอะไรมากนอกจากแผ่นป้ายเรียงรายอยู่



ภาพในเมืองนี้หลังเหตุการณ์



ตรงนี้เป็นห้องฉายบรรยายถึงเหตุการณ์ในครั้งนั้น ฉายเป็นรอบเวลา



เดินถัดเข้ามาก็เป็นห้องที่จัดแสดงแบบจำลองเรือประมง และรอบๆนั้นเป็นแผ่นป้ายอธิบายเกี่ยวกับการประมงของเมืองนี้



ทางนี้มีวิดีโอฉาย



น่เป็นแบบจำลองของเรือประมงขนาดใหญ่ของที่นี่ซึ่งถูกทสึนามิซัดเสียหายไปแล้ว



ถัดมาจึงเป็นส่วนที่จัดแสดงเกี่ยวกับฉลามซึ่งเป็นหัวข้อหลักของพิพิธภัณฑ์นี้จริงๆ




ที่ตั้งเด่นอยู่นี้ก็คือแบบจำลองฉลามขนาดเท่าของจริงซึ่งได้ใช้ฟันฉลามของจริงด้วย



ฉลามวาฬตั้งเด่นอยู่กลางห้อง



ข้างๆเป็นหน้าจออธิบายเกี่ยวกับฉลามวาฬ



ฟันฉลามชนิดต่างๆ



ตรงนี้มีฉลามของจริงตัวเป็นให้ดูด้วย โดยเป็นพวกฉลามขนาดเล็กที่สามารถใส่ในตู้ได้



ที่อยู่ในตู้นี้คือฉลามกบ (イヌザメ, Chiloscyllium punctatum), ฉลามแมว (ネコザメ, Heterodontus japonicus), ฉลามเสือปะการัง (サンゴトラザメ, Atelomycterus marmoratus)



ส่วนตู้นี้อธิบายเกี่ยวกับการค้นสายพันธุ์ใหม่



นอกนั้นก็มีพวกแผ่นป้ายที่อธิบายอะไรต่างๆ เช่นแนะนำถิ่นที่อยู่ของฉลามชนิดต่างๆ



ตรงนี้อธิบายวิธีการป้องกันตัวจากฉลาม



ตรงนี้เป็นห้องฉายวิดีโอเกี่ยวกับฉลาม ปากทางเข้าทำเป็นรูปฟันฉลามดูน่ากลัว



ทั้งหมดก็มีอยู่ประมาณนี้ จากนั้นก็เป็นทางออก โดยหน้าทางออกมีคำกล่าวปิดท้ายโดยนากายะ คาซึฮิโระ (仲谷なかや 一宏かずひろ) ศาสตราจารย์ผู้เชี่ยวชาญเรื่องฉลาม



หลังจากชมที่นี่เสร็จเป้าหมายต่อไปก็คือไปชมพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำแช่แข็งซึ่งอยู่ชั้นล่างต่อไป https://phyblas.hinaboshi.com/20230928



-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ท่องเที่ยว >> พิพิธภัณฑ์
-- ประเทศญี่ปุ่น >> มิยางิ
-- ท่องเที่ยว >> ทะเล
-- ท่องเที่ยว >> ที่ระลึกภัยพิบัติ

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

目次

日本による名言集
モジュール
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
機械学習
-- ニューラル
     ネットワーク
javascript
モンゴル語
言語学
maya
確率論
日本での日記
中国での日記
-- 北京での日記
-- 香港での日記
-- 澳門での日記
台灣での日記
北欧での日記
他の国での日記
qiita
その他の記事

記事の類別



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  記事を検索

  おすすめの記事

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

ไทย

日本語

中文