φυβλαςのβλογ
phyblasのブログ



พิพิธภัณฑ์อวกาศโอวชู ส่วนจัดแสดงดาราศาสตร์ภายในหอสังเกตการณ์ VLBI มิซึซาวะ
เขียนเมื่อ 2023/10/25 10:48
แก้ไขล่าสุด 2023/12/11 09:22
# อาทิตย์ 22 ต.ค. 2023

ต่อจากตอนที่แล้วที่ได้มาเข้าชมหอสังเกตการณ์ VLBI มิซึซาวะ https://phyblas.hinaboshi.com/20231024

ตอนนี้จะเล่าถึงพิพิธภัณฑ์อวกาศโอวชู (奥州宇宙遊学館おうしゅううちゅうゆうがくかん) ซึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์ที่จัดแสดงเกี่ยวกับดาราศาสตร์ ตั้งอยู่ภายในบริเวณหอสังเกตการณ์นี้

อาคารที่เป็นพิพิธภัณฑ์ในปัจจุบันนี้ เดิมทีเป็นอาคารหลักของหอสังเกตการณ์ละติจูดมิซึซาวะ ถูกใช้ในช่วงปี 1921-1967 หลังจากนั้นในปี 2005 เดิมทีมีแผนที่จะรื้ออาคารนี้ แต่ก็มีเสียงค้าน เพราะที่นี่เป็นสถานที่มีประวัติศาสตร์ที่สำคัญ มิยาซาวะ เคนจิ เองก็เคยแวะเวียนมาที่นี่และเชื่อว่าเป็นแรงบันดาลใจให้สร้างผลงานที่สำคัญของเขาด้วย ดังนั้นจึงเปลี่ยนเป็นบูรณะอาคารขึ้นแทน แล้วในที่สุดก็ได้เปิดเป็นพิพิธภัณฑ์อวกาศขึ้นมาในปี 2008

ในปี 2017 อาคารนี้ได้ถูกขึ้นทะเบียนเป็นสมบัติที่สำคัญของชาติ ในชื่อว่าอาคารหลักหอสังเกตการณ์ละติจูดเก่า (旧緯度観測所本館きゅういどかんそくじょほんかん)



เมื่อเข้ามาภายในอาคาร ห้องแรกตรงกลางเป็นห้องจัดแสดงและมีร้านขายของเล็กๆน้อยๆที่เกี่ยวข้อง




ก่อนอื่นมาที่เคาน์เตอร์ทีอยู่ตรงนี้เพื่อซื้อตั๋วเข้าชมราคา ๓๐๐ เยน



ภายในห้องนี้มีจัดแสดงแบบจำลองย่อส่วนของอาคารหลักเก่าที่ปัจจุบันเป็นหอที่ระลึกคิมุระ ฮิซาชิ



แล้วก็แบบจำลองของอาคารนี้ ตั้งอยู่ข้างๆกัน



ทางด้านขวาเป็นทางไปยังห้องน้ำ



ส่วนทางซ้ายมีห้องฉายหนัง 4D แต่จังหวะที่เรามานั้นหนังได้เริ่มฉายไปแล้ว เลยไม่ได้เข้าไปชมด้วย



และเดินถัดเข้าไปเป็นห้องจัดแสดงอีกห้อง




แบบจำลองยานคางุยะ (かぐや) หรือ SELENE ที่ใช้สำรวจดวงจันทร์



หน้าจอนี้อธิบายเกี่ยวกับประวัติของพจน์ z ที่ค้นพบโดยคิมุระ โดยเปรียบเทียบสาเหตุของพจน์ z ว่าเกิดจากการที่โลกเหมือนเป็นไข่อนเซง ซึ่งมีส่วนหลอมเหลวอยู่



ตรงนี้อธิบายว่าพจน์ z ได้กลายมาเป็นที่มาของชื่อเล่นของสถานที่ต่างๆภายในเมืองมิซึซาวะนี้



ชั้นล่างก็มีอะไรอยู่แค่นี้ จากนั้นขึ้นไปชมส่วนชั้น ๒



ห้องจัดแสดงบนชั้น ๒



เริ่มจากห้องนี้ ซึ่งจัดแสดงประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับดาราศาสตร์ของที่นี่



ตรงนี้ว่าด้วยเรื่องการวิจัยเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของละติจูดและการค้นพบพจน์ z



อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง



แผ่นป้ายอธิบายประวัติศาสตร์ของดาราศาสตร์ของที่นี่ โดยมีการพูดถึงบุคคลสำคัญต่างๆที่เกี่ยวข้อง




จากนั้นห้องถัดไปแสดงเกี่ยวกับความเกี่ยวพันระหว่างที่นี่กับมิยาซาวะ เคนจิ ห้องนี้เคยถูกใช้เป็นห้องพักของแขกที่มาเยือนหอสังเกตการณ์แห่งนี้ แต่ก็ไม่มีหลักฐานที่บอกว่ามิยาซาวะเคยเข้ามาห้องนี้หรือไม่



ทางซ้ายของหน้าต่างนี้เป็นรูปปั้นมาตาซาบุโรว (又三郎またさぶろう) จากผลงานของมิยาซาวะ ซึ่งได้กลายมาเป็นมาสคอตของพิพิธภัณฑ์แห่งนี้



ปรอทวัดความกดอากาศแบบฟอร์แต็ง



แผนที่แสดงสถานที่ซึ่งเกี่ยวพันกับมิยาซาวะภายในเมืองโอวชูและบริเวณรอบๆ



ในห้องนี้ยังจัดแสดงพวกหอยและสัตว์อื่นๆด้วย



จากนั้นห้องถัดไป



ห้องนี้จัดแสดงให้ความรู้พื้นฐานด้านดาราศาสตร์



ตรงนี้อธิบายว่าน้ำหนักที่รู้สึกได้จะเปลี่ยนไปโดยขึ้นอยู่กับว่าอยู่นดาวดวงไหน มีให้ลองยกน้ำหนักเปรียบเทียบดูด้วย



ตรงนี้แสดงปรากฏการณ์ทางทัศนศาสตร์



กระจกหลอกตาที่ทำให้มองแล้วดูเหมือนว่ามีอะไรลอยอยู่บนนี้ แต่จริงๆแล้วมันอยู่ข้างใจ



อันนี้เป็นกล้องมองภาพสามมิติ สำหรับให้ลองมองผ่านดูด้วย ๒ ตาส่องทิวทัศน์นอกหน้าต่าง พอมองแล้วจะเห็นเหมือนกับว่าเราเป็นยักษ์ เห็นอะไรๆเหมือนมีขนาดเล็ก ราวกับว่าของข้างนอกเป็นแบบจำลองย่อส่วน ที่เป็นแบบนั้นก็เพราะว่ากล้องนี้หลอกตาให้เหมือนกับว่า ๒ ตาของเราอยู่ห่างกัน ๓๙ เซนติเมตร จากที่คนทั่วไประยะห่างตาเฉลี่ยอยู่ที่ ๖ เซนติเมตร นั่นคือขยายขึ้น ๖.๕ เท่า เท่ากับเหมือนว่าเราเป็นยักษ์สูง ๑๐ เมตร ระยะห่างระหว่าง ๒ ตานั้นมีผลต่อความเป็นมิติของภาพ โดยยิ่งห่างจะยิ่งรู้สึกถึงความใกล้ไกลของสิ่งต่างๆได้



ตรงนี้มีที่นั่ง และหิ้งตรงนี้มีพวกอุปกรณ์ต่างๆเก็บไว้อยู่



พื้นที่เด็กเล่น มีของให้เล่นนิดหน่อย



ภาพแสดงกลุ่มดาวต่างๆ และพื้นที่ให้ลองวาดกลุ่มดาวดู



จากนั้นเดินถัดเข้ามา



ระหว่างทางเดินเจออะไรหลายอย่างแปะอยู่ตามผนัง อย่างอันนี้คือแบบจำลองดาราจักรทางช้างเผือก ทำออกมาเป็นสามมิติสวยดี



ส่วนถัดมาห้องนี้เป็นห้องจัดสัมมนา




แต่ด้านหลังก็มีส่วนจัดแสดงอยู่นิดหน่อย โดยที่เห็นอยู่ด้านหน้านี้คือเครื่องตรวจเมฆ (測雲器そくうんき) ส่วนด้านหลังโน้นคือส่วนอธิบายเกี่ยวกับพจน์ z




ป้ายระหว่างทางเดินตรงนี้อธิบายเกี่ยวกับคลื่นไหวสะเทือนที่ตรวจจับได้จากที่นี่เมื่อตอนที่เกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ 11 มีนาคม 2011




ข้างหน้าต่างมีภาพข่าวเก่าๆที่มีพูดถึงที่นี่



ส่วนจัดแสดงในนี้ก็มีอยู่แค่นี้ การชมในนี้ก็จบลงแค่นี้




ภาพถ่ายตอนที่ออกมาจากที่นี่ ขณะนั้นเป็นเวลาเที่ยงพอดี โดยรวมแล้วเราใช้เวลาชมภายในอาคารนี้ทั้งหมดชั่วโมงครึ่ง แต่ถ้ารวมตอนที่เข้าชมภายในบริเวณซึ่งรวมถึงกล้องโทรทรรศน์วิทยุและหอที่ระลึกคิมุระ ฮิซาชิด้วยแล้วก็เป็น ๒ ชั่วโมง



จากนั้นก็เดินออกจากที่นี่เพื่อไปเที่ยวภายในเมืองมิซึซาวะต่อไป https://phyblas.hinaboshi.com/20231026




-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ประเทศญี่ปุ่น >> อิวาเตะ
-- ดาราศาสตร์
-- ท่องเที่ยว >> พิพิธภัณฑ์ >> พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

目次

日本による名言集
モジュール
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
機械学習
-- ニューラル
     ネットワーク
javascript
モンゴル語
言語学
maya
確率論
日本での日記
中国での日記
-- 北京での日記
-- 香港での日記
-- 澳門での日記
台灣での日記
北欧での日記
他の国での日記
qiita
その他の記事

記事の類別



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  記事を検索

  おすすめの記事

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

ไทย

日本語

中文