φυβλαςのβλογ
phyblasのブログ



ส่องกล้องโทรทรรศน์ดูดาวตอนกลางวันที่หอดูดาวเมืองเซนไดในย่านนิชิกิงาโอกะทางตะวันตกของเซนได
เขียนเมื่อ 2024/01/20 22:06
แก้ไขล่าสุด 2024/01/27 21:22
# เสาร์ 20 ม.ค. 2023

วันนี้ได้ไปเที่ยวหอดูดาวเมืองเซนได (仙台市天文台せんだいしてんもんだい) ซึ่งเป็นหอดูดาวแห่งหนึ่งที่ตั้งอยู่ในย่านนิชิกิงาโอกะ (錦ケ丘にしきがおか) ซึ่งเป็นชานเมืองทางตะวันตกของเมืองเซนได

หอดูดาวแห่งนี้มีกล้องโทรทรรศน์ฮิโตมิ (ひとみ望遠鏡ぼうえんきょう) ซึ่งมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางกล้อง ๑.๓ เมตร มีขนาดใหญ่ที่สุดในภูมิภาคโทวโฮกุ ตอนกลางวันเปิดให้เข้าชมตัวกล้องได้ และมีให้ลองส่องเห็นดาวตอนกลางวันได้ด้วย

หอดูดาวแห่งนี้เดิมทีตั้งอยู่ใกล้ย่านใจกลางเมืองเซนได เปิดเมื่อปี 1955 แต่ถูกย้ายไปยังที่ปัจจุบันในปี 2008

ที่นี่เปิดให้เข้าชมช่วงกลางวัน เวลา 9:00-17:00 ค่าเข้าชมส่วนจัดแสดง ๖๐๐ เยน และภายในยังมีท้องฟ้าจำลอง ค่าเข้าชม ๖๐๐ เยน แต่ถ้าซื้อตั๋วเข้าชมส่วนจัดแสดงพร้อมกับท้องฟ้าจำลองก็จะราคา ๑๐๐๐ เยน

การเดินทางไปยังหอดูดาวนี้มีหลายวิธี แต่ที่สะดวกที่สุดคือนั่งรถเมล์สายที่วิ่งจากสถานีเซนไดไปยังเมืองคาวาซากิ (川崎町かわさきまち) ซึ่งเราก็เคยนั่งสายนี้มาแล้วตอนไปเที่ยวสวนมิจิโนกุ (みちのく公園こうえん) เล่าไว้ใน https://phyblas.hinaboshi.com/20231030

หอดูดาวตั้งอยู่ระหว่างทางไปเมืองคาวาซากิ และเป็นป้ายแรกที่รถเมล์สายนี้จอด ใช้เวลา ๒๐ นาทีในการเดินทางไปถึง

ครั้งนี้เรามารอขึ้นรถเมล์รอบเวลา 9:30 ซึ่งเป็นรอบแรกของวัน (ที่จริงสายนี้มีรอบ 8:30 อยู่ด้วย แต่รอบนั้นไม่จอดที่หอดูดาวด้วย)



แล้วก็เดินทางมาถึงหอดูดาว



ทางเข้าเดินไปทางนี้




เมื่อเข้ามาถึงด้านในก็พบเครื่องฉายดาวของท้องฟ้าจำลองอันเก่าวางแสดงอยู่เด่นหน้าประตู



จากนั้นก็เข้ามาซื้อตั๋วชุดสำหรับเข้าชมส่วนจัดแสดงและส่วนท้องฟ้าจำลองราคา ๑๐๐๐ เยน ซึ่งตอนที่ไปถึงก็เป็นเวลาที่ท้องฟ้าจำลองกำลังเริ่ม คือเวลา 10:00 จึงเข้าไปชมก่อนที่จะไปชมส่วนอื่น



ทั้งหมดความยาว ๔๐ กว่านาที ระหว่างที่ฉายอยู่แค่นั่งชมไป ห้ามถ่ายรูปจึงไม่ได้เก็บภาพอะไรมา

ภายในห้องฉายดาวหลังจากฉายเสร็จ



จากนั้นเวลา 11:00 มีการเปิดให้ชมกล้องโทรทรรศน์ฮิโตมิ พอเสร็จจากการฉายดาวก็รีบขึ้นไปชมต่อ ตัวกล้องอยู่ที่ชั้น ๓



เดินขึ้นไปถึงก่อนเวลา ต้องรอเล็กน้อยจนกว่าห้องจะเปิด มีคนมาเข้าชมไม่น้อย



พอได้เวลาก็เข้าไปได้



ที่อยู่ตรงกลางห้องนี้คือกล้องโทรทรรศน์ฮิโตมิ ผู้เข้าชมยืนชมอยู่รอบๆ โดยมีผู้บรรยายอยู่ตรงกลาง



เมื่อผู้ชมเข้ามายืนกันพร้อมก็เริ่มการบรรยายเกี่ยวกับตัวกล้องนี้ และมีการสาธิตการควบคุมกล้องให้ดูด้วย การควบคุมกล้องทำโดยผ่านจอสัมผัสที่อยู่ใต้ตัวกล้องนี้



แล้วเขาก็ควบคุมหันกล้องให้ก้มลงมาให้เห็นด้านหน้า แต่ในภาพนี้ลำกล้องยังปิดอยู่ มองไม่เห็นภายใน



แล้วเขาก็ทำการเปิดลำกล้องให้มองเห็นส่วนกระจกด้านใน



ระหว่างที่กล้องกำลังหมุนก็แหงนมองเห็นตัวกระจกปฐมภูมิของกล้องโทรทรรศน์ได้



จากนั้นเขาก็เริ่มทำการเปิดโดม



โดมด้านบนเปิดออก เริ่มมองเห็นท้องฟ้า



เท่านี้กล้องก็พร้อม เริ่มทำการสังเกตการณ์ได้



จากนั้นเขาก็เปิดให้ผู้ชมเข้ามาส่องกล้องโทรทรรศน์เพื่อดูดาวทีละคน เวลานี้เป็นตอนกลางวันเห็นดาวยาก แต่ถ้าใช้กล้องนี้ก็สามารถเห็นดาวสว่างได้ ครั้งนี้เขาเล็งกล้องไปทางดาวเวกาในกลุ่มดาวพิณ ซึ่งเป็นดาวสว่างที่ปกติเห็นได้ในท้องฟ้าฤดูร้อน แต่ว่าในฤดูหนาวแบบนี้จะอยู่บนฟ้าในช่วงกลางวัน





นี่เป็นครั้งแรกเลยที่มีโอกาสได้ส่องกล้องโทรทรรศน์ดูดาวเวลากลางวัน ปกติไม่เคยเจอแบบนี้เหมือนกันเพราะกล้องโทรทรรศน์มักจะส่องตอนกลางคืนกัน ถือเป็นประสบการณ์แปลกใหม่

หลังจากส่องดาวเวกาเสร็จ การชมกล้องก็จบลงเท่านี้ เดินกลับลงมาชั้นล่าง



ตรงนี้มีร้านขายของกินเล่น



แล้วก็ร้านขายของที่ระลึก



ได้เวลาเข้าชมส่วนจัดแสดง



ตรงส่วนนี้จัดแสดงเกี่ยวกับโลกและระบบสุริยะ



ตรงส่วนนี้อธิบายเรื่องการเกิดฤดูกาลโดยให้หมุนดูโลกที่โคจรรอบดวงอาทิตย์และความเปลี่ยนแปลงของการรับแสง



อธิบายเกี่ยวกับดาวเคราะห์น้อย ดาวหาง ฯลฯ



อุกกาบาตแบบต่างๆ



แบบสามมิติแสดงตำแหน่งของดาวต่างๆในดาราจักรทางช้างเผือก แต่ว่าดูยากไปหน่อย



ตรงส่วนนี้แสดงให้ดูระยะทางจริงๆของดาวแต่ละดวงในกลุ่มดาว ให้เห็นว่าถ้ามองจากมุมอื่นกลุ่มดาวก็จะไม่เป็นกลุ่มดาวดังที่เห็นจากโลก



ฐานข้อมูลดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ



ส่วนนี้อธิบายเกี่ยวกับปรากฏการณ์เลนส์ความโน้มถ่วง



บริเวณนี้เป็นส่วนจัดแสดงเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ดาราศาสตร์



ตรงส่วนนี้อธิบายเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของท้องฟ้าจำลอง และพูดถึงของที่เซนได




อุปกรณ์ดาราศาสตร์สมัยก่อน




อันนี้มีให้สแกน QRcode เพื่อคุยกับนักดาราศาสตร์



เราลองเอาโทรศัพท์มือถือขึ้นมาสแกนดูก็โผล่มาเป็นเว็บที่มีรูปกาลิเลโอหน้าดุๆ ปากขยับและมีข้อความขึ้นมาอธิบายเรื่องดาราศาสตร์



ตรงนี้แสดงประวัติศาสตร์ดาราศาสตร์ไล่ตามเวลา





มีแบบจำลองกล้องโทรทรรศน์ต่างๆด้วย อันนี้เป็นกล้องโทรทรรศน์เก่าที่วิลเลียม เฮอร์เชลใช้สังเกตการณ์



กล้องโทรทรรศน์สึบารุ (すばる望遠鏡ぼうえんきょう) ขนาด ๘.๒ เมตร ของญี่ปุ่น



การชมภายในหอดูดาวแห่งนี้ก็จบลงแต่เพียงเท่านี้ จากนั้นก็เดินออกมา



การเที่ยวครั้งนี้ยังไม่ได้จบลงเท่านี้ เพราะในย่านแถวนี้ยังมีสถานที่เที่ยวอื่นอยู่ด้วย ตอนต่อไปจะแวะไปชมพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำที่อยู่ใกล้ๆกันนีต่อไป https://phyblas.hinaboshi.com/20240121



-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ประเทศญี่ปุ่น >> มิยางิ
-- ดาราศาสตร์
-- ท่องเที่ยว >> ท้องฟ้าจำลอง
-- ท่องเที่ยว >> พิพิธภัณฑ์ >> พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

目次

日本による名言集
モジュール
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
機械学習
-- ニューラル
     ネットワーク
javascript
モンゴル語
言語学
maya
確率論
日本での日記
中国での日記
-- 北京での日記
-- 香港での日記
-- 澳門での日記
台灣での日記
北欧での日記
他の国での日記
qiita
その他の記事

記事の類別



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  記事を検索

  おすすめの記事

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

ไทย

日本語

中文