φυβλαςのβλογ
phyblasのブログ



ภาษามองโกลเบื้องต้น บทที่ ๓: ประโยคที่สร้างจากการแค่เอาคำนามมาวางต่อกัน
เขียนเมื่อ 2022/03/10 14:32
แก้ไขล่าสุด 2022/09/04 11:13
ต่อจากบทที่ ๒

ในบทนี้จะมาเริ่มไวยากรณ์ภาษามองโกลกันเลย โดยเริ่มจากที่พื้นฐานที่สุดกันก่อน นั่นคือประโยคที่สร้างขึ้นจากคำนามล้วนๆ



การบอกว่า {ก} คือ {ข}

ภาษามองโกลนั้นมีไวยากรณ์ค่อนข้างต่างจากภาษาไทยมาก โดยเฉพาะเมื่อมีกริยามาเกี่ยวข้อง เพราะลำดับการวางจะต่างกัน และยังต้องมีการผันกริยาด้วย

แต่ประโยคพื้นฐานที่สุดในภาษามองโกลนั้นอาจถือได้ว่าสร้างขึ้นได้ง่ายยิ่งกว่าภาษาไทยเสียอีก เช่นเมื่อต้องการบอกว่า "{ก} คือ {ข}" โดยที่ {ก} กับ {ข} ในที่นี้เป็นคำนามอะไรก็ได้ แบบนี้ก็เขียนคำนาม ๒ ตัวต่อกันแบบนี้ได้เลย

{ก} {ข}.
= {ก} เป็น {ข}

ตัวอย่างเช่น

би хүүхэдบี ฮูเฮ็ด. = ฉันเป็นเด็ก
биบี = ฉัน хүүхэдฮูเฮ็ด = เด็ก
бид оюутанบิ ดอโยทัง. = พวกเราเป็นนักเรียน
бидบิด = พวกเรา оюутанออโยทัง = นักเรียน

จะเห็นว่าแค่เอาคำนาม "ฉัน" กับ "เด็ก" มาวางต่อกันก็เป็นการบอกว่า "ฉันเป็นเด็ก" ได้แล้ว หรือประโยคว่า "พวกเราเป็นนักเรียน" ก็เช่นกัน ทั้งหมดแค่เอาคำนามมาวาง และคำนามพวกนี้ก็อยู่ในรูปธรรมดาไม่ได้ถูกผันอะไรเลยด้วย ใช้ทั้งๆอย่างนั้นเลย

ถ้างั้นแล้วคำว่า "เป็น" หรือ "คือ" หายไปไหน? ทำไมเขียนแค่นี้ก็รู้ได้ว่าหมายถึง "เป็น"

ที่จริงแล้วรูปประโยคนี้แค่คำกริยาที่แปลว่า "เป็น" หรือ "คือ" นั้นถูกละไว้เท่านั้นเอง ถ้าหากต้องการพูดให้ชัดเจนยิ่งขึ้นละก็สามารถเติมคำอื่นเพิ่มเติมได้ แต่ในที่นี้แค่จะแสดงตัวอย่างให้เห็นว่ารูปประโยคง่ายที่สุดของภาษามองโกลนั้น สามารถสร้างได้โดยแค่เอาคำนาม ๒ ตัวมาวางต่อกัน แค่นี้ก็เป็นประโยคง่ายๆที่ใช้พูดสั้นๆในชีวิตประจำวันได้แล้ว

เพียงแต่ว่าแค่เอาคำนามมาวางต่อกัน ๒ ตัวแบบนี้ก็อาจไม่ได้หมายถึง "{ก} คือ {ข}" เสมอไป แต่อาจเป็นแค่การขยายเท่านั้นก็ได้ ดังที่จะกล่าวถึงต่อไป



คำนามขยายคำนาม

ในภาษามองโกลคำที่ทำหน้าที่ขยายจะถูกวางไว้หน้า ซึ่งตรงกันข้ามกับภาษาไทย

ดังนั้นถ้าหากเอาคำนาม ๒ ตัวมาวางต่อกัน เท่านี้ก็กลายเป็นว่าคำนามตัวหน้าขยายตัวหลังแล้ว เช่น

украин хүнโอไครง์ ฮุง = คนยูเครน
украинโอไครง์ = ยูเครน хүнฮุง = คน
орос хэлออร็อส เฮ็ล. = ภาษารัสเซีย
орос ออร็อส = รัสเซีย хэлเฮ็ล = ภาษา

จะเห็นว่าเหมือนกับประโยค {ก} เป็น {ข} เลย แต่คราวนี้เป็นแค่การขยายคำนาม

ที่จริงแล้วการนำคำนามมาวางต่อกันแบบนี้ก็สามารถตีความได้ ๒ แบบอย่างที่เห็นนี้จริงๆ แต่โดยทั่วไปถ้าดูบริบทถ้าไม่คลุมเครือก็ใช้แบบนี้ได้

อย่างพวกคำนามที่เป็นชื่อประเทศสามารถใช้ขยายคำนามเพื่อหมายถึงคนหรือภาษาได้ทันที ฉะนั้นการวางชื่อประเทศตามด้วยคำนามต่อแบบนี้จึงมักเข้าใจได้ทันทีว่าเป็นการขยายอยู่แล้ว

ดังนั้นสามารถสร้างคำได้ดังนี้

  монголม็องก็อล = มองโกล хятадฮยาทัด = จีน японยาพ็อง = ญี่ปุ่น
хэлเฮ็ล = ภาษา монгол хэлม็องก็อล เฮ็ล
= ภาษามองโกล
хятад хэлฮยาทัด เฮ็ล
= ภาษาจีน
япон хэлยาพ็อง เฮ็ล
= ภาษาญี่ปุ่น
хүнฮุง = คน монгол хүнม็องก็อล ฮุง
= คนมองโกล
хятад хүнฮยาทัด ฮุง
= คนจีน
япон хүнยาพ็อง ฮุง
= คนญี่ปุ่น
улсอลส์ = ประเทศ монгол улсม็องกอ ลลส์
= ประเทศมองโกเลีย
хятад улсฮยาทา ดลส์
= ประเทศจีน
япон улсยาพอ นลส์
= ประเทศญี่ปุ่น
үсэгอุเซ็ก = อักษร монгол үсэгม็องกอ ลุเซ็ก
= อักษรมองโกล
хятад үсэгฮยาทา ดุเซ็ก
= อักษรจีน
 

อนึ่ง คำว่า "มองโกเลีย" ที่เรามักใช้เวลาเรียกชื่อประเทศนั้นไม่มีในภาษามองโกล เพราะในภาษามองโกลเองเรียกทุกอย่างว่า монголม็องก็อล ไม่มีการผันหรือเติมอะไรทั้งนั้น ส่วนที่เรียกกันว่า "มองโกเลีย" นี้เป็นชื่อเรียกในภาษาอังกฤษ

ในที่นี้จะแปลเป็น "มองโกเลีย" เฉพาะเมื่อเรียกชื่อประเทศ ตามความนิยม นอกนั้นจะเรียกว่า "มองโกล" ตามเดิม เช่น "ภาษามองโกล" "คนมองโกล" "อักษรมองโกล"

จะเห็นว่าถ้าเป็นชื่อประเทศสามารถใช้ขยายคำนามได้ทันที แต่ก็ไม่ใช่ว่าคำนามไหนก็จะใช้แบบนั้นได้

เช่นคำว่า "биบี = ฉัน" ปกติแล้วจะไม่สามารถเอาไปใช้ขยายนามได้ทันทีทั้งๆอย่างนั้น ดังนั้นถ้าเห็น биบี นำหน้าคำนามก็มักจะเข้าใจได้ว่าเป็นประโยค "ฉันเป็น..." ไม่ใช่เป็นคำขยาย

และคำที่ได้จากการขยายก็นำมาใช้เป็นภาคแสดง ซึ่งก็จะสร้างประโยคที่ประกอบขึ้นจากแค่คำนาม ๓ ตัวได้ เช่น

би монгол хүн บี ม็องก็อล ฮุง .
= ฉันเป็นคนมองโกล
бид хятад оюутан บิด ฮยาทา ดอโยทัง
= พวกเราเป็นนักเรียนจีน



энэ (นี่) และ тэр (นั่น)

คำว่า энэ เอ็น = นี่ และ тэрเทร์ = นั่น เป็นคำสรรพนามที่พบได้บ่อยในภาษามองโกล สามารถใช้เป็นประธานได้ และใช้ได้กับทั้งคนและสิ่งของเช่น

энэ хятад үсэгเอ็น ฮยาทา ดุเซ็ก.
= นี่คืออักษรจีน
тэр япон хүнเทร์ ยาพ็อง ฮุง.
= นั่น (เขาคนนั้น) เป็นคนญี่ปุ่น

ภาษามองโกลไม่มีคำสรรพนามบุรุษที่สาม (เขา, พวกเขา) ปกติแล้ว  энэ เอ็นและ тэрเทร์ จึงถูกใช้แทน จะชี้คนหรือสัตว์หรือสิ่งของก็ใช้เหมือนกัน ดูที่บริบท

นอกจากนี้แล้ว энэ เอ็น และ тэрเทร์ ยังใช้เป็นคำขยายคำนามได้ด้วย ซึ่งจะหมายถึง "นี้" หรือ "นั้น" เช่น

тэр хүүхэдเทร์ ฮูเฮ็ด = เด็กคนนั้น
энэ шугамเอ็น โชกัม = ไม้บรรทัดแท่งนี้
тэр харандааเทร์ ฮารันดา = ดินสอแท่งนั้น
шугамโชกัม = ไม้บรรทัด харандааฮารันดา = ดินสอ

การที่คำว่า "นี่" "นั่น" ในภาษามองโกลสามารถใช้ได้ทั้งเป็นประธานโดยตรงหรือเป็นคำขยาย แบบนี้จึงต้องระวังให้ดี จะแปลแบบไหนขึ้นอยู่กับบริบท

เมื่อพอจะเข้าใจแล้วก็สามารถสร้างประโยคที่ยาวขึ้นได้โดยมีแต่คำนามอีก เช่น

энэ багш монгол хүнเอ็น บักช์ ม็องก็อล ฮุง .
= ครูคนนี้เป็นคนมองโกล
тэр оюутан солонгос хүнเท รอโยทัง ซอล็องก็อส ฮุง.
= นักเรียนคนนั้นเป็นคนเกาหลี
багшบักช์ = ครู солонгосซอล็องก็อส = เกาหลี



ก็ขอจบเรื่องประโยคพื้นฐานคร่าวๆแต่เพียงเท่านี้ก่อน ที่แนะนำไปนี้ทั้งหมดเป็นคำนามทั้งสิ้น ยังไม่ได้เริ่มไวยากรณ์จริงๆ แต่จะเห็นว่าคำนามอย่างเดียวสามารถสร้างประโยคได้

ส่วนการใช้คำชนิดอื่นเช่นคำกริยา คำคุณศัพท์ หรือการทำเป็นประโยคคำถามหรือปฏิเสธนั้นก็จะเขียนถึงต่อไปในบทต่อๆไป

อ่านต่อ บทที่ ๔


-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ภาษาศาสตร์ >> เรียนภาษา
-- ภาษาศาสตร์ >> ภาษามองโกล

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

目次

日本による名言集
モジュール
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
機械学習
-- ニューラル
     ネットワーク
javascript
モンゴル語
言語学
maya
確率論
日本での日記
中国での日記
-- 北京での日記
-- 香港での日記
-- 澳門での日記
台灣での日記
北欧での日記
他の国での日記
qiita
その他の記事

記事の類別



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  記事を検索

  おすすめの記事

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

ไทย

日本語

中文