φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



ภาษามองโกลเบื้องต้น บทที่ ๔: กระบวนการกลมกลืนเสียงสระและเรื่องของสระกลุ่มหน้ากลางหลัง
เขียนเมื่อ 2022/03/11 13:54
แก้ไขล่าสุด 2022/09/04 11:16
ต่อจากบทที่ ๓

ในบทที่แล้วได้ทำความเข้าใจไวยากรณ์เบื้องต้นแบบง่ายที่สุดไปแล้ว แต่ก่อนที่จะมาต่อไปถึงเรื่องการสร้างประโยคที่ซับซ้อนขึ้นไป มีเรื่องที่จำเป็นต้องพูดถึงก่อน เพราะมความสำคัญต่อไวยากรณ์ นั่นก็คือเรื่องกระบวนการกลมกลืนเสียง ซึ่งเป็นลักษณะเด่นอย่างที่พบได้ในภาษามองโกล และภาษาในแถบเอเชียกลาง



กระบวนการกลมกลืนเสียงสระ

ภาษามองโกลมีกฎเรื่องหลักการความกลมกลืนของเสียงสระอยู่ นั่นหมายความว่าสระในแต่ละพยางค์จะมีความสัมพันธ์ที่แน่นอนอยู่

โดยทั่วไปจะพบลักษณะดังนี้สำหรับคำสองพยางค์

พยางค์
ก่อนหน้า
พยางค์
ที่ตามมา
ตัวอย่างคำ
э э сэтгэлเซ็ทเก็ล = หัวใจ
ү үхэрอุเฮร์ = วัว
и идэшอิเด็ช = ของกิน
ө ө төмөрโทโมร์ = เหล็ก
о о охорออฮอร์ = สั้น
а а газарกาซาร์ = พื้นดิน
у уламโอลัม = ยิ่งกว่า

ซึ่งจากหลังตรงนี้ก็อาจเป็นตัวช่วยให้จำศัพท์ได้ง่ายขึ้นด้วย คือพูดง่ายๆว่าถ้าพยางค์แรกมี ө แล้ว พยางค์ต่อไปก็มักจะเป็นเสียง ө อีกด้วย และถ้าเป็น а หรือ у แล้ว ต่อไปมักจะตามด้วย а เสมอ

คำที่ตามหลักนี้มักจะเป็นคำในภาษามองโกลเองแต่เดิม แต่ถ้าเป็นคำทับศัพท์จากภาษาต่างประเทศก็มักจะไม่เกี่ยว เช่น

радиоราดิออ = วิทยุ
киноคินอ = ภาพยนตร์

การแบ่งกลุ่มสระยังรวมไปถึงสระประสมและสระเสียงยาวด้วย โดยจะถูกแบ่งอยู่กลุ่มไหนนั้นก็จะขึ้นกับสระที่อยู่ด้านหน้า

กลุ่ม สระ ตัวอย่าง
а а, аа, ай, я, яа ялгаатайยัลกาไท = แตกต่าง
э э, ээ, эй, е, еэ мэдээжเมเดจ = แน่นอน
и и, ий тиймээทีเม = ใช่แล้ว
о о, оо, ой, ё, ёо толгойท็อลกอย = หัว
у у, уу, уй, юу буудалโบดัล = สถานี
ү ү, үү, үй, юү хүйтэнฮุยเท็ง = หนาว
ө ө, өө, е, еө өнөөдөрโอโนโดร์ = วันนี้



ผลของกระบวนการกลมกลืนเสียงที่มีต่อไวยากรณ์

หลักความเชื่อมโยงของสระในภาษามองโกลดังที่กล่าวมานี้ยังมีผลต่อไวยากรณ์ด้วย เช่นเมื่อมีการผันคำ เสียงสระที่เติมต่อจะต่างกันไปขึ้นอยู่กับว่าคำนั้นลงท้ายด้วยสระอะไร

เช่นเมื่อต้องการผันคำนามเป็นรูปที่มา (รายละเอียดอ่านบทที่ ๑๙) เพื่อแสดงความหมายว่า "จาก" จะเติมสระเสียงยาวตามด้วย с โดยสระเสียงยาวที่จะเติมต่อไปนั้นก็ขึ้นอยู่กับสระของคำนั้นๆ

สระในคำ สระที่เติมต่อ ตัวอย่าง
э э эндเอ็นด์эндээс เอ็นเดส
= ที่นี่ → จากที่นี่
ү хүнฮุงхүнээс ฮุเนส
= คน → จากคน
и хигฮิกхигээс ฮิเกส
= พืชน้ำ → จากพืชน้ำ
ө ө шөлชลшөлөөс โชโลส
= ซุป → จากซุป
о о японยาพ็องяпоноос ยาพอนอส
= ญี่ปุ่น → จากญี่ปุ่น
а а хятадฮยาทัดхятадаас ฮยาทาดาส
= จีน → จากจีน
у улсอลส์улсаас อลซาส
= ประเทศ → จากประเทศ

ที่จริงมีรายละเอียดปลีกย่อยอีกมากมาย แต่จะไปเขียนถึงโดยละเอียดอีกทีตอนหลังสำหรับตอนนี้แค่ยกตัวอย่างให้เห็นว่าหลักการกลมกลืนของเสียงสระนั้นมีความสำคัญเพราะส่งผลถึงไวยากรณ์ จึงต้องทำความเข้าใจเอาไว้



กลุ่มสระหน้า กลาง หลัง

จากหลักการกลมกลืนของสระแล้ว สระในภาษามองโกลอาจแบ่งออกเป็น ๓ กลุ่ม เรียกว่าสระกลุ่มหน้า กลาง และหลัง ดังนี้

สระหน้า สระกลาง สระหลัง
э
ү
ө
и а
о
у

โดยปกติแล้วในคำศัพท์คำหนึ่งโดยทั่วไปแล้วจะมีสระหน้าและสระหลังอยู่พร้อมกันไม่ได้ แต่สระกลางอาจอยู่กับสระหน้าหรือสระหลังก็ได้

หากพิจารณาทัังสระประสมและสระเสียงยาวแล้วก็จะสรุปการแบ่งกลุ่มได้ดังนี้

สระหน้า สระกลาง สระหลัง
э
ээ
эй
е
еэ
өө
ү
үү
үй
юү
и
ий

а
аа
ай
я
яа
о
оо
ой
ё
ёо
у
уу
уй
юу



คำสระหน้า และคำสระหลัง

จากส่วนประกอบสระที่มีอยู่ในแต่ละพยางค์ของคำ จะทำให้แบ่งคำคำนั้นออกเป็น "คำสระหน้า" และ "คำสระหลัง"

โดยคำที่มีแต่สระหลังจะเรียกว่าเป็นคำสระหลัง นอกนั้นจะเรียกว่าเป็นคำสระหน้า

  มีแต่
สระหน้า
สระหน้า
+
สระกลาง
มีแต่
สระกลาง
สระหลัง
+
สระกลาง
มีแต่
สระหลัง
กลุ่ม คำสระหน้า คำสระหลัง
ตัวอย่าง хөдөөโฮโด
= บ้านนอก
жүжигจุจิก
= การแสดง
бичигบิชิก
= อักษร, เอกสาร
ажилอาจิล
= งาน
оюутанออโยทัง
= นักเรียน

ระวังอย่าสับสน สระแบ่งเป็น ๓ ชนิด หน้า กลาง หลัง แต่การแบ่งชนิดคำนั้นแบ่งเป็น ๒ ชนิด หน้ากับหลังเท่านั้น หากมีแต่สระกลาง คำคำนั้นก็จะถูกจัดอยู่ในกลุ่มคำสระหน้าด้วย

การแบ่งกลุ่มเป็นคำสระหน้ากับคำสระหลังนั้นจะมีผลต่อไวยากรณ์ เช่นเวลาสร้างประโยคคำถาม ดังที่จะเขียนถึงในบทถัดไป

ดังนั้นจึงมีความสำคัญและจากนี้จะไปต้องใช้อยู่เรื่อยๆ จึงต้องทำความเข้าใจให้ดี

บทต่อไปจะเป็นเรื่องประโยคคำถาม ซึ่งเรื่องนี้จะมีความเกี่ยวพันกับเรื่องสระหน้าและสระหลัง



อ่านต่อ บทที่ ๕


-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ภาษาศาสตร์ >> เรียนภาษา
-- ภาษาศาสตร์ >> ภาษามองโกล

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

บทความแต่ละเดือน

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2020年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

ค้นบทความเก่ากว่านั้น

ไทย

日本語

中文