φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



ภาษามองโกลเบื้องต้น บทที่ ๓: ประโยคที่สร้างจากการแค่เอาคำนามมาวางต่อกัน
เขียนเมื่อ 2022/03/10 14:32
แก้ไขล่าสุด 2022/09/04 11:13
ต่อจากบทที่ ๒

ในบทนี้จะมาเริ่มไวยากรณ์ภาษามองโกลกันเลย โดยเริ่มจากที่พื้นฐานที่สุดกันก่อน นั่นคือประโยคที่สร้างขึ้นจากคำนามล้วนๆ



การบอกว่า {ก} คือ {ข}

ภาษามองโกลนั้นมีไวยากรณ์ค่อนข้างต่างจากภาษาไทยมาก โดยเฉพาะเมื่อมีกริยามาเกี่ยวข้อง เพราะลำดับการวางจะต่างกัน และยังต้องมีการผันกริยาด้วย

แต่ประโยคพื้นฐานที่สุดในภาษามองโกลนั้นอาจถือได้ว่าสร้างขึ้นได้ง่ายยิ่งกว่าภาษาไทยเสียอีก เช่นเมื่อต้องการบอกว่า "{ก} คือ {ข}" โดยที่ {ก} กับ {ข} ในที่นี้เป็นคำนามอะไรก็ได้ แบบนี้ก็เขียนคำนาม ๒ ตัวต่อกันแบบนี้ได้เลย

{ก} {ข}.
= {ก} เป็น {ข}

ตัวอย่างเช่น

би хүүхэдบี ฮูเฮ็ด. = ฉันเป็นเด็ก
биบี = ฉัน хүүхэдฮูเฮ็ด = เด็ก
бид оюутанบิ ดอโยทัง. = พวกเราเป็นนักเรียน
бидบิด = พวกเรา оюутанออโยทัง = นักเรียน

จะเห็นว่าแค่เอาคำนาม "ฉัน" กับ "เด็ก" มาวางต่อกันก็เป็นการบอกว่า "ฉันเป็นเด็ก" ได้แล้ว หรือประโยคว่า "พวกเราเป็นนักเรียน" ก็เช่นกัน ทั้งหมดแค่เอาคำนามมาวาง และคำนามพวกนี้ก็อยู่ในรูปธรรมดาไม่ได้ถูกผันอะไรเลยด้วย ใช้ทั้งๆอย่างนั้นเลย

ถ้างั้นแล้วคำว่า "เป็น" หรือ "คือ" หายไปไหน? ทำไมเขียนแค่นี้ก็รู้ได้ว่าหมายถึง "เป็น"

ที่จริงแล้วรูปประโยคนี้แค่คำกริยาที่แปลว่า "เป็น" หรือ "คือ" นั้นถูกละไว้เท่านั้นเอง ถ้าหากต้องการพูดให้ชัดเจนยิ่งขึ้นละก็สามารถเติมคำอื่นเพิ่มเติมได้ แต่ในที่นี้แค่จะแสดงตัวอย่างให้เห็นว่ารูปประโยคง่ายที่สุดของภาษามองโกลนั้น สามารถสร้างได้โดยแค่เอาคำนาม ๒ ตัวมาวางต่อกัน แค่นี้ก็เป็นประโยคง่ายๆที่ใช้พูดสั้นๆในชีวิตประจำวันได้แล้ว

เพียงแต่ว่าแค่เอาคำนามมาวางต่อกัน ๒ ตัวแบบนี้ก็อาจไม่ได้หมายถึง "{ก} คือ {ข}" เสมอไป แต่อาจเป็นแค่การขยายเท่านั้นก็ได้ ดังที่จะกล่าวถึงต่อไป



คำนามขยายคำนาม

ในภาษามองโกลคำที่ทำหน้าที่ขยายจะถูกวางไว้หน้า ซึ่งตรงกันข้ามกับภาษาไทย

ดังนั้นถ้าหากเอาคำนาม ๒ ตัวมาวางต่อกัน เท่านี้ก็กลายเป็นว่าคำนามตัวหน้าขยายตัวหลังแล้ว เช่น

украин хүнโอไครง์ ฮุง = คนยูเครน
украинโอไครง์ = ยูเครน хүнฮุง = คน
орос хэлออร็อส เฮ็ล. = ภาษารัสเซีย
орос ออร็อส = รัสเซีย хэлเฮ็ล = ภาษา

จะเห็นว่าเหมือนกับประโยค {ก} เป็น {ข} เลย แต่คราวนี้เป็นแค่การขยายคำนาม

ที่จริงแล้วการนำคำนามมาวางต่อกันแบบนี้ก็สามารถตีความได้ ๒ แบบอย่างที่เห็นนี้จริงๆ แต่โดยทั่วไปถ้าดูบริบทถ้าไม่คลุมเครือก็ใช้แบบนี้ได้

อย่างพวกคำนามที่เป็นชื่อประเทศสามารถใช้ขยายคำนามเพื่อหมายถึงคนหรือภาษาได้ทันที ฉะนั้นการวางชื่อประเทศตามด้วยคำนามต่อแบบนี้จึงมักเข้าใจได้ทันทีว่าเป็นการขยายอยู่แล้ว

ดังนั้นสามารถสร้างคำได้ดังนี้

  монголม็องก็อล = มองโกล хятадฮยาทัด = จีน японยาพ็อง = ญี่ปุ่น
хэлเฮ็ล = ภาษา монгол хэлม็องก็อล เฮ็ล
= ภาษามองโกล
хятад хэлฮยาทัด เฮ็ล
= ภาษาจีน
япон хэлยาพ็อง เฮ็ล
= ภาษาญี่ปุ่น
хүнฮุง = คน монгол хүнม็องก็อล ฮุง
= คนมองโกล
хятад хүнฮยาทัด ฮุง
= คนจีน
япон хүнยาพ็อง ฮุง
= คนญี่ปุ่น
улсอลส์ = ประเทศ монгол улсม็องกอ ลลส์
= ประเทศมองโกเลีย
хятад улсฮยาทา ดลส์
= ประเทศจีน
япон улсยาพอ นลส์
= ประเทศญี่ปุ่น
үсэгอุเซ็ก = อักษร монгол үсэгม็องกอ ลุเซ็ก
= อักษรมองโกล
хятад үсэгฮยาทา ดุเซ็ก
= อักษรจีน
 

อนึ่ง คำว่า "มองโกเลีย" ที่เรามักใช้เวลาเรียกชื่อประเทศนั้นไม่มีในภาษามองโกล เพราะในภาษามองโกลเองเรียกทุกอย่างว่า монголม็องก็อล ไม่มีการผันหรือเติมอะไรทั้งนั้น ส่วนที่เรียกกันว่า "มองโกเลีย" นี้เป็นชื่อเรียกในภาษาอังกฤษ

ในที่นี้จะแปลเป็น "มองโกเลีย" เฉพาะเมื่อเรียกชื่อประเทศ ตามความนิยม นอกนั้นจะเรียกว่า "มองโกล" ตามเดิม เช่น "ภาษามองโกล" "คนมองโกล" "อักษรมองโกล"

จะเห็นว่าถ้าเป็นชื่อประเทศสามารถใช้ขยายคำนามได้ทันที แต่ก็ไม่ใช่ว่าคำนามไหนก็จะใช้แบบนั้นได้

เช่นคำว่า "биบี = ฉัน" ปกติแล้วจะไม่สามารถเอาไปใช้ขยายนามได้ทันทีทั้งๆอย่างนั้น ดังนั้นถ้าเห็น биบี นำหน้าคำนามก็มักจะเข้าใจได้ว่าเป็นประโยค "ฉันเป็น..." ไม่ใช่เป็นคำขยาย

และคำที่ได้จากการขยายก็นำมาใช้เป็นภาคแสดง ซึ่งก็จะสร้างประโยคที่ประกอบขึ้นจากแค่คำนาม ๓ ตัวได้ เช่น

би монгол хүн บี ม็องก็อล ฮุง .
= ฉันเป็นคนมองโกล
бид хятад оюутан บิด ฮยาทา ดอโยทัง
= พวกเราเป็นนักเรียนจีน



энэ (นี่) และ тэр (นั่น)

คำว่า энэ เอ็น = นี่ และ тэрเทร์ = นั่น เป็นคำสรรพนามที่พบได้บ่อยในภาษามองโกล สามารถใช้เป็นประธานได้ และใช้ได้กับทั้งคนและสิ่งของเช่น

энэ хятад үсэгเอ็น ฮยาทา ดุเซ็ก.
= นี่คืออักษรจีน
тэр япон хүнเทร์ ยาพ็อง ฮุง.
= นั่น (เขาคนนั้น) เป็นคนญี่ปุ่น

ภาษามองโกลไม่มีคำสรรพนามบุรุษที่สาม (เขา, พวกเขา) ปกติแล้ว  энэ เอ็นและ тэрเทร์ จึงถูกใช้แทน จะชี้คนหรือสัตว์หรือสิ่งของก็ใช้เหมือนกัน ดูที่บริบท

นอกจากนี้แล้ว энэ เอ็น และ тэрเทร์ ยังใช้เป็นคำขยายคำนามได้ด้วย ซึ่งจะหมายถึง "นี้" หรือ "นั้น" เช่น

тэр хүүхэдเทร์ ฮูเฮ็ด = เด็กคนนั้น
энэ шугамเอ็น โชกัม = ไม้บรรทัดแท่งนี้
тэр харандааเทร์ ฮารันดา = ดินสอแท่งนั้น
шугамโชกัม = ไม้บรรทัด харандааฮารันดา = ดินสอ

การที่คำว่า "นี่" "นั่น" ในภาษามองโกลสามารถใช้ได้ทั้งเป็นประธานโดยตรงหรือเป็นคำขยาย แบบนี้จึงต้องระวังให้ดี จะแปลแบบไหนขึ้นอยู่กับบริบท

เมื่อพอจะเข้าใจแล้วก็สามารถสร้างประโยคที่ยาวขึ้นได้โดยมีแต่คำนามอีก เช่น

энэ багш монгол хүнเอ็น บักช์ ม็องก็อล ฮุง .
= ครูคนนี้เป็นคนมองโกล
тэр оюутан солонгос хүнเท รอโยทัง ซอล็องก็อส ฮุง.
= นักเรียนคนนั้นเป็นคนเกาหลี
багшบักช์ = ครู солонгосซอล็องก็อส = เกาหลี



ก็ขอจบเรื่องประโยคพื้นฐานคร่าวๆแต่เพียงเท่านี้ก่อน ที่แนะนำไปนี้ทั้งหมดเป็นคำนามทั้งสิ้น ยังไม่ได้เริ่มไวยากรณ์จริงๆ แต่จะเห็นว่าคำนามอย่างเดียวสามารถสร้างประโยคได้

ส่วนการใช้คำชนิดอื่นเช่นคำกริยา คำคุณศัพท์ หรือการทำเป็นประโยคคำถามหรือปฏิเสธนั้นก็จะเขียนถึงต่อไปในบทต่อๆไป

อ่านต่อ บทที่ ๔


-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ภาษาศาสตร์ >> เรียนภาษา
-- ภาษาศาสตร์ >> ภาษามองโกล

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

บทความแต่ละเดือน

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2020年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

ค้นบทความเก่ากว่านั้น

ไทย

日本語

中文