φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



ภาษามองโกลเบื้องต้น บทที่ ๒: สรุปตัวอักษรซีริลลิกและว่าด้วยเรื่องอักษรมองโกล
เขียนเมื่อ 2022/03/09 11:42
แก้ไขล่าสุด 2022/09/06 20:00
ต่อจากบทที่ ๑

ในบทนี้จะสรุปเรื่องตัวอักษรซิริลลิกที่ได้กล่าวถึงไปในบทที่แล้ว จากนั้นจะแถมเรื่องอักษรมองโกลด้วยเล็กน้อยให้พอเห็นภาพ



สรุปอักษรซีริลลิกที่ใช้ในภาษามองโกล

อย่างที่รู้กันว่าภาษามองโกลนั้นในปัจจุบันใช้อักษรซิริลิกเขียนเป็นหลัก ดังนั้นในการเรียนภาษามองโกลปัจจุบันจึงควรจะต้องอ่านอักษรซีริลลิกได้

ต่อไปนี้จะแสดงอักษรซีริลลิกที่ใช้ในภาษามองโกล โดยเรียงตามลำดับอักษร

อักษรซีริลลิกนั้นมีความยุ่งยากตรงที่ว่ามีการแบ่งเป็นตัวพิมพ์เล็กพิมพ์ใหญ่ เช่นเดียวกับอักษรโรมัน แต่ที่ยิ่งไปกว่านั้นก็คือ เวลาเขียนเป็นตัวเอียง บางตัวก็จะมีหน้าตาต่างออกไปเลย เช่น т เมื่อเขียนเป็นตัวเอียงจะกลายเป็น т ไปซึ่งจะชวนให้เข้าใจผิดว่าเป็นตัว m (เอ็ม) แต่จริงๆคือตัว t (ที) จึงต้องระวังให้ดี

ดังนั้นในที่นี้จะแสดงอักษรทั้ง ๔ แบบให้เห็นในตาราง อย่างไรก็ตามทั้งในบทที่ผ่านมาหรือบทต่อๆไปจะใช้อักษรตัวเล็กแบบตั้งตรงท้ั้งหมด เพื่อไม่ให้สับสน จะไม่ใช้ตัวใหญ่หรือตัวเอียงเลยแม้แต่นิดเดียว

และจะไม่พูดถึงว่ากรณีไหนต้องเขียนเป็นตัวเอียงหรือตัวใหญ่ ซึ่งเป็นประเด็นเล็กๆน้อยๆ และส่วนใหญ่เป็นเรื่องอิทธิพลจากรัสเซีย ไม่ได้เกี่ยวพันถึงไวยากรณ์ ไม่ใช่แก่นแท้ของภาษามองโกล

ตัวเล็ก ตัวใหญ่ ชื่อ เสียงอ่าน (IPA) ทับศัพท์ เทียบเป็นอักษรโรมัน
а а
А А อา [a] อะ, อา a
б б
Б Б เบ [b]~[p] b
в в В В เว [w] w
г г Г Г เก [g]~[k] g
д д Д Д เด [d]~[t] d
е е Е Е เย [je], [jɵ], [ju] เย, โย, ยู
ё ё Ё Ё ยอ [jɔ] ยอ yo
ж ж Ж Ж เจ [ʤ]~[ʧ] j
з з З З เซ [ʣ]~[ʦ] z
и и И И อี [i] อี i
й й Й Й ฮากัสอี [j] i, y
к к К К คา [kʰ] k
л л Л Л เอล [ɮ] l
м м М М เอ็ม [m] m
н н Н Н เอ็น [n] n
о о О О ออ [ɔ] ออ o
ө ө Ө Ө โอ [ɵ] โอ ö
п п П П เพ [pʰ] p
р р Р Р เอร์ [r] r
с с С С เอส [s] s
т т Т Т เท [tʰ] t
у у У У โอ [o] โอ u
ү ү Ү Ү อู [u] อู ü
ф ф Ф Ф เฟ [f] f
х х Х Х เฮ [x] h
ц ц Ц Ц เช [ʦʰ] ts
ч ч Ч Ч เช [ʧʰ] ch
ш ш Ш Ш อิช [ʃ] sh
щ щ Щ Щ อิชเช [ʃʧ] ชช shch
ъ ъ ไม่มี เครื่องหมายเสียงแข็ง    
ы ы อี [iː] อี ii
ь ь เครื่องหมายเสียงอ่อน    
э э Э Э เอ [e] เอ e
ю ю Ю Ю ยู [ju], [jo] ยู, โย
я я Я Я ยา [ja] ยา ya

โดยรวมๆแล้วทั้งลำดับและหน้าตาดูจะมีความคล้ายกับอักษรโรมันที่เราคุ้นเคยกันดี แต่หลายตัวก็ต่างไปพอสมควร จึงต้องระวังเป็นพิเศษ เพราะจะสับสนได้ง่าย

และอักษรซีริลลิกนั้นนอกจากพยัญชนะและสระแล้วก็ยังมีเครื่องหมายเสียงแข็ง ъ กับเรื่องหมายเสียงอ่อน ь แทรกเข้ามาด้วย ซึ่งในภาษามองโกลก็มีการใช้อยู่บ้างแต่เพียงเล็กน้อย

สำหรับอักษร щ นั้นไม่ได้แนะนำถึงในบทที่แล้ว เพราะแทบจะไม่ได้ใช้ในภาษามองโกล ปกติจะเจอเพียงเฉพาะในคำยืมจากภาษารัสเซียเท่านั้น ซึ่งก็มีน้อย จึงอาจไม่จำเป็นต้องจำเป็นพิเศษ

อักษรซีริลลิกสำหรับภาษามองโกลจะมีอักษร ө กับ ү เพิ่มเข้ามา ซึ่งไม่มีอยู่ในภาษารัสเซียหรือภาษาอื่นที่ใช้อักษรซีริลลิก แต่ใส่เข้ามาในภาษามองโกลเพื่อแทนหน่วยสระเพิ่มเติม เพราะภาษามองโกลมีสระพื้นฐาน ๗ ตัว

คีย์บอร์ดภาษามองโกลที่ใช้ในประเทศมองโกเลีย



อักษรมองโกล

ต่อไปจะขอแนะนำอักษรมองโกลสักหน่อย เพราะมีความสำคัญเช่นกัน แม้ปัจจุบันเราจะใช้อักษรซีริลลิกเป็นหลักก็ตาม

อักษรมองโกลนั้นนอกจากความยุ่งยากที่จะต้องเขียนแนวตั้งแล้ว ยังมีความยุ่งยากอีกตรงที่อักษรแต่ละตัวจะมีการเขียนแตกต่างกันเมื่อเวลาอยู่เดี่ยวๆ หรืออยู่ต้นคำหรือกลางคำหรือหลังคำ ทำให้ต้องจำแยก

ดังนั้นในที่นี้ก็จะแสดงอักษรแยกทั้ง ๔ แบบให้เห็นความต่าง พร้อมกับเทียบให้เห็นว่าตรงกับอักษรซีริลลิกตัวไหน พร้อมอักษรโรมันประกอบด้วย อย่างไรก็ตาม การเทียบเคียงระหว่างอักษรซีริลลิกหรือโรมันกับอักษรมองโกลนั้นไม่ได้เป็นแบบหนึ่งต่อหนึ่ง มีข้อยกเว้นมากมาย ที่เขียนตรงนี้จึงถือว่าเป็นแค่โดยคร่าวๆ

อักษรมองโกล เสียง ทับศัพท์ ซีริลลิก โรมัน
เดี่ยว ต้น กลาง ท้าย
[a] อา а a
[e] เอ э e
[i] อี и i
[ɔ] ออ о o
[o] โอ у u
[ɵ] โอ* ө ö
[u] อู ү ü
[e] เอ э, e ē
[n] н n
[ŋ] н n
[b]~[p] б b
[pʰ] п p
[x] х h
[g]~[k] г g
[m] м m
[ɬ] л l
[s] с s
[ʃ] ช* ш sh
[tʰ] т t
[d]~[t] д d
[ʦʰ] ช* ц ts
[tʃʰ] ч ch
[ʤ]~[tʃ] ж j
[ʣ]~[ʦ] ซ* з z
[j] й y
[r] р r
[w] в w
[f] ф f
[k] к k

ขอยกตัวอย่างโดยมาลองดูคำว่า монголม็องก็อล (มองโกล) กันสักหน่อย ว่าประกอบขึ้นมายังไง

‎ᠮᠣᠩᠭᠣᠯ м
‎ᠣ‎ о ออ
н
г
‎ᠣ о ออ
‎ᠯ л

จะเห็นว่าแยกส่วนประกอบออกได้เป็น ๖ ตัว โดยรูปที่เห็นเวลาถูกแยกออกมาจะต่างไปจากรูปตอนที่ถูกเขียนรวมกัน ลองไปเทียบดูที่ตารางด้านบนได้



จากตารางแสดงอักษรจะเห็นได้ว่าอักษรมองโกลมีหลายตัวที่หน้าตาซ้ำกัน บางตัวก็ต่างกันเฉพาะกรณีที่อยู่หน้าคำ แต่เมื่ออยู่กลางหรือท้ายกลับหน้าตาเหมือนกัน เช่นอักษรที่แทน а (อา) э (เอ) н (น) นั้นถ้าอยู่ท้ายคำจะหน้าตาเหมือนกันหมดเป็น แยกไม่ออกเลย หรือบางทีก็กลับกัน เช่น т (ท) กับ д (ด) นั้นจะต่างกันเฉพาะเมื่ออยู่ท้ายคำ นอกนั้นจะเขียนเหมือนกัน

ความยุ่งยากในลักษณะนี้ยังพบได้ในอักษรอาหรับหรืออักษรในกลุ่มเดียวกันนั้น ที่จริงอักษรมองโกลเองก็พัฒนามาจากอักษรอุยกูร์ ซึ่งมีรากเดียวกับอักษรอาหรับ จึงมีลักษณะที่คล้ายกัน แต่อักษรอาหรับจะเขียนจากขวามาซ้าย ในขณะที่อักษรมองโกลจะเขียนจากบนลงล่าง

นอกจากนี้อักษร ж/з กับ ц/ч จะใช้อักษรมองโกลตัวเดียวกัน เพราะเดิมทีภาษามองโกลไม่ได้แยกเสียง ж/з กับ ц/ч แต่ตอนที่สร้างระบบเขียนด้วยอักษรซีริลลิกขึ้นนั้นได้ใช้อักษรแยกตามเสียงที่อ่านในปัจจุบัน

เช่นลองเทียบคำว่า үзэхอุเซฮ์ = ดู

ᠦᠵᠡᠬᠦ ү อู
‎ᠵ‎ з ซ*
э เอ
х
‎ᠦ ү อู

และ ажиллах อาจิลลาฮ์= ทำงาน

ᠠᠵᠢᠯᠯᠠᠬᠤ а อา
‎ᠵ‎ ж
и อี
л
‎ᠯ л
‎ᠠ а อา
х
у โอ

จะเห็นว่าอักษรซีริลลิก з กับ ж ต่างแทนด้วยอักษรมองโกลᠵ‎เหมือนกัน แม้จริงๆแล้วเสียงจะอ่านต่างกันในภาษามองโกลปัจจุบัน และถูกแทนด้วยอักษรต่างกันเมื่อเขียนด้วยอักษรซีริลลิก

อีกทั้งจะเห็นได้ว่าเมื่อเขียนด้วยอักษรมองโกลมักจะมีตัวสระที่ไม่ออกเสียงโผล่ขึ้นมาที่ท้ายพยางค์ด้วย ซึ่งลักษณะเช่นนี้ที่จริงก็พบเมื่อเขียนด้วยอักษรซีริลลิกเช่นกัน แต่เจอน้อยกว่า เพราะส่วนใหญ่รูปสระที่ไม่ออกเสียงนี้จะถูกละไป ไม่เช่นนั้นก็คงต้องเขียนเป็น үзэхү กับ ажиллаху แต่ที่เขียนจริงๆคือ үзэх กับ ажиллах ตามเสียงที่ออกจริงๆ

ดังนั้นโดยรวมแล้วการเขียนด้วยอักษรมองโกลจึงมีความยากกว่าการใช้อักษรซีริลลิกในหลายๆแง่ ทั้งเรื่องการใช้เพื่อแทนเสียงที่อาจแยกแยะได้ไม่ชัดเจนเท่า และการที่อักษรต้องเขียนติดกันแถมยังต้องวางในแนวตั้งอีกด้วย



จากบทนี้คงจะเห็นแล้วว่าอักษรที่ใช้เขียนภาษามองโกลนั้นมีความหลากหลายดังที่ได้กล่าวมา อย่างไรก็ตามในบทต่อๆไปก็จะแสดงการเขียนทั้งหมดเป็นอักษรซีริลลิกตัวเล็กตั้งตรงตลอดในทุกกรณี เพื่อความเข้าใจง่าย

เรื่องตัวอักษรและการออกเสียงก็จบเท่านี้ จากนี้บทต่อไปจะเริ่มเข้าสู่เรื่องของไวยากรณ์ โดยเริ่มจากสร้างประโยคง่ายๆและค่อยไล่ไปยังประโยคที่ซับซ้อนขึ้นเรื่อยๆ



อ่านต่อ บทที่ ๓


-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ภาษาศาสตร์ >> เรียนภาษา
-- ภาษาศาสตร์ >> ภาษามองโกล
-- ภาษาศาสตร์ >> ตัวอักษร

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

บทความแต่ละเดือน

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2020年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

ค้นบทความเก่ากว่านั้น

ไทย

日本語

中文