ต่อจาก
บทที่ ๓ในบทที่แล้วได้ทำความเข้าใจไวยากรณ์เบื้องต้นแบบง่ายที่สุดไปแล้ว แต่ก่อนที่จะมาต่อไปถึงเรื่องการสร้างประโยคที่ซับซ้อนขึ้นไป มีเรื่องที่จำเป็นต้องพูดถึงก่อน เพราะมความสำคัญต่อไวยากรณ์ นั่นก็คือเรื่องกระบวนการกลมกลืนเสียง ซึ่งเป็นลักษณะเด่นอย่างที่พบได้ในภาษามองโกล และภาษาในแถบเอเชียกลาง
กระบวนการกลมกลืนเสียงสระภาษามองโกลมีกฎเรื่องหลักการความกลมกลืนของเสียงสระอยู่ นั่นหมายความว่าสระในแต่ละพยางค์จะมีความสัมพันธ์ที่แน่นอนอยู่
โดยทั่วไปจะพบลักษณะดังนี้สำหรับคำสองพยางค์
พยางค์ ก่อนหน้า |
พยางค์ ที่ตามมา |
ตัวอย่างคำ |
э |
э |
ꡐ сэтгэл = หัวใจ |
ү |
ꡐ үхэр = วัว |
и |
ꡐ идэш = ของกิน |
ө |
ө |
ꡐ төмөр = เหล็ก |
о |
о |
ꡐ охор = สั้น |
а |
а |
ꡐ газар = พื้นดิน |
у |
ꡐ улам = ยิ่งกว่า |
ซึ่งจากหลังตรงนี้ก็อาจเป็นตัวช่วยให้จำศัพท์ได้ง่ายขึ้นด้วย คือพูดง่ายๆว่าถ้าพยางค์แรกมี ө แล้ว พยางค์ต่อไปก็มักจะเป็นเสียง ө อีกด้วย และถ้าเป็น а หรือ у แล้ว ต่อไปมักจะตามด้วย а เสมอ
คำที่ตามหลักนี้มักจะเป็นคำในภาษามองโกลเองแต่เดิม แต่ถ้าเป็นคำทับศัพท์จากภาษาต่างประเทศก็มักจะไม่เกี่ยว เช่น
радио = วิทยุ |
кино = ภาพยนตร์ |
การแบ่งกลุ่มสระยังรวมไปถึงสระประสมและสระเสียงยาวด้วย โดยจะถูกแบ่งอยู่กลุ่มไหนนั้นก็จะขึ้นกับสระที่อยู่ด้านหน้า
กลุ่ม |
สระ |
ตัวอย่าง |
а |
а, аа, ай, я, яа |
ꡐ ялгаатай = แตกต่าง |
э |
э, ээ, эй, е, еэ |
ꡐ мэдээж = แน่นอน |
и |
и, ий |
ꡐ тиймээ = ใช่แล้ว |
о |
о, оо, ой, ё, ёо |
ꡐ толгой = หัว |
у |
у, уу, уй, юу |
ꡐ буудал = สถานี |
ү |
ү, үү, үй, юү |
ꡐ хүйтэн = หนาว |
ө |
ө, өө, е, еө |
ꡐ өнөөдөр = วันนี้ |
ผลของกระบวนการกลมกลืนเสียงที่มีต่อไวยากรณ์หลักความเชื่อมโยงของสระในภาษามองโกลดังที่กล่าวมานี้ยังมีผลต่อไวยากรณ์ด้วย เช่นเมื่อมีการผันคำ เสียงสระที่เติมต่อจะต่างกันไปขึ้นอยู่กับว่าคำนั้นลงท้ายด้วยสระอะไร
เช่นเมื่อต้องการผันคำนามเป็นรูปที่มา (รายละเอียดอ่าน
บทที่ ๑๙) เพื่อแสดงความหมายว่า "จาก" จะเติมสระเสียงยาวตามด้วย с โดยสระเสียงยาวที่จะเติมต่อไปนั้นก็ขึ้นอยู่กับสระของคำนั้นๆ
สระในคำ |
สระที่เติมต่อ |
ตัวอย่าง |
э |
э |
энд → эндээс = ที่นี่ → จากที่นี่ |
ү |
хүн → хүнээс = คน → จากคน |
и |
хиг → хигээс = พืชน้ำ → จากพืชน้ำ |
ө |
ө |
шөл → шөлөөс = ซุป → จากซุป |
о |
о |
япон → японоос = ญี่ปุ่น → จากญี่ปุ่น |
а |
а |
хятад → хятадаас = จีน → จากจีน |
у |
улс → улсаас = ประเทศ → จากประเทศ |
ที่จริงมีรายละเอียดปลีกย่อยอีกมากมาย แต่จะไปเขียนถึงโดยละเอียดอีกทีตอนหลังสำหรับตอนนี้แค่ยกตัวอย่างให้เห็นว่าหลักการกลมกลืนของเสียงสระนั้นมีความสำคัญเพราะส่งผลถึงไวยากรณ์ จึงต้องทำความเข้าใจเอาไว้
กลุ่มสระหน้า กลาง หลังจากหลักการกลมกลืนของสระแล้ว สระในภาษามองโกลอาจแบ่งออกเป็น ๓ กลุ่ม เรียกว่าสระกลุ่มหน้า กลาง และหลัง ดังนี้
สระหน้า |
สระกลาง |
สระหลัง |
э ү ө |
и |
а о у |
โดยปกติแล้วในคำศัพท์คำหนึ่งโดยทั่วไปแล้วจะมีสระหน้าและสระหลังอยู่พร้อมกันไม่ได้ แต่สระกลางอาจอยู่กับสระหน้าหรือสระหลังก็ได้
หากพิจารณาทัังสระประสมและสระเสียงยาวแล้วก็จะสรุปการแบ่งกลุ่มได้ดังนี้
สระหน้า |
สระกลาง |
สระหลัง |
э ээ эй е еэ өө ү үү үй юү |
и ий
|
а аа ай я яа о оо ой ё ёо у уу уй юу |
คำสระหน้า และคำสระหลังจากส่วนประกอบสระที่มีอยู่ในแต่ละพยางค์ของคำ จะทำให้แบ่งคำคำนั้นออกเป็น "คำสระหน้า" และ "คำสระหลัง"
โดยคำที่มีแต่สระหลังจะเรียกว่าเป็นคำสระหลัง นอกนั้นจะเรียกว่าเป็นคำสระหน้า
|
มีแต่ สระหน้า |
สระหน้า + สระกลาง |
มีแต่ สระกลาง |
สระหลัง + สระกลาง |
มีแต่ สระหลัง |
กลุ่ม |
คำสระหน้า |
คำสระหลัง |
ตัวอย่าง |
хөдөө = บ้านนอก |
жүжиг = การแสดง |
бичиг = อักษร, เอกสาร |
ажил = งาน |
оюутан = นักเรียน |
ระวังอย่าสับสน สระแบ่งเป็น ๓ ชนิด หน้า กลาง หลัง แต่การแบ่งชนิดคำนั้นแบ่งเป็น ๒ ชนิด หน้ากับหลังเท่านั้น หากมีแต่สระกลาง คำคำนั้นก็จะถูกจัดอยู่ในกลุ่มคำสระหน้าด้วย
การแบ่งกลุ่มเป็นคำสระหน้ากับคำสระหลังนั้นจะมีผลต่อไวยากรณ์ เช่นเวลาสร้างประโยคคำถาม ดังที่จะเขียนถึงในบทถัดไป
ดังนั้นจึงมีความสำคัญและจากนี้จะไปต้องใช้อยู่เรื่อยๆ จึงต้องทำความเข้าใจให้ดี
บทต่อไปจะเป็นเรื่องประโยคคำถาม ซึ่งเรื่องนี้จะมีความเกี่ยวพันกับเรื่องสระหน้าและสระหลัง
อ่านต่อ
บทที่ ๕