φυβλαςのβλογ
phyblasのブログ



ภาษามองโกลเบื้องต้น บทที่ ๖: การผันและใช้กริยารูปปัจจุบันอนาคต
เขียนเมื่อ 2022/03/12 10:40
แก้ไขล่าสุด 2022/09/04 12:11
ต่อจาก บทที่ ๕

ในภาษามองโกลนั้นคำกริยาจะมีการผันไปเป็นรูปต่างๆมากมายตามจุดมุ่งหมายหรือเวลาที่ต้องการพูดถึง ดังนั้นจึงต้องมาจำการผันแบบต่างๆ ซึ่งก็เป็นเรื่องที่ยุ่งยากไม่ใช่น้อย เช่นเดียวกับในภาษาเกาหลีหรือภาษาญี่ปุ่น

อย่างไรก็ตามรูปแบบการผันไม่ขึ้นกับประธานเหมือนอย่างภาษาในกลุ่มยุโรปหรืออินเดีย ดังนั้นจึงง่ายกว่า เพราะไม่ต้องจำรูปแบบแยกกันหลายแบบ

จากตรงนี้ไปจะค่อยๆแนะนำรูปแบบการผันของกริยาไปทีละชนิด โดยเริ่มจากคำกริยาในรูปพจนานุกรม



คำกริยารูปพจนานุกรม

หากเปิดพจนานุกรมภาษามองโกล จะเห็นว่าคำกริยาทั้งหมดนั้นถูกเขียนอยู่ในรูปที่ลงท้ายด้วย х ทั้งหมด นี่เป็นรูปพื้นฐาน เช่น

суухโซฮ์ = นั่ง идэхอิเดฮ์ = กิน авахอาวาฮ์ = ซื้อ, เอา
үзэхอุเซฮ์ = ดู уухโอฮ์ = ดื่ม ирэхอิเรฮ์ = มา

เป็นต้น

รูปพจนานุกรมนี้มีการใช้งานอยู่หลายแบบ ในที่นี้จะแนะนำที่พื้นฐานที่สุดก็คือ ใช้ในประโยคคำถามรูปอนาคต

ตัวอย่างเช่น

идэх үү อีเด ฮู ? = จะกินไหม?
уух ууโอ โฮ? = จะดื่มไหม?

แค่นี้ก็กลายเป็นประโยคคำถามได้แล้ว วิธีนี้อาจใช้ถามถึงสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้น หรือความต้องการ

หากมีประธานก็เติมลงไปข้างหน้าได้ เช่น

та авах ууทา อาวา โฮ ? = คุณจะซื้อไหม?
ах ирэх үүอา ฮีเร ฮู ? = พี่ชายจะมาไหม?

สำหรับคำบอกเวลานั้นอาจเติมใส่ไปข้างหน้าได้เลย

маргааш бороо орох ууมาร์กาช ดอรอ ออรอ โฮ?
= พรุ่งนี้ฝนจะตกไหม?
маргаашมาร์กาช = พรุ่งนี้ бороо орохดอรอ ออรอฮ์ = ฝนตก

ว่าแต่ว่าทำไมจึงเริ่มพูดถึงจากประโยคคำถามก่อนทั้งๆที่ยังไม่ได้พูดถึงประโยคบอกเล่าทั่วไปเลย?

ที่จริงแล้วก็เพราะรูปคำถามอนาคตนั้นใช้กริยาในรูปพจนานุกรมได้โดยตรงเลย แต่หากเป็นรูปบอกเล่า จะใช้อีกรูปหนึ่ง ซึ่งจะกล่าวถึงต่อไป



คำกริยารูปปัจจุบันและอนาคต

คำกริยาในรูปปัจจุบันและอนาคตเป็นรูปที่น่าจะใช้บ่อยที่สุด เพราะเป็นรูปที่ใช้พูดถึงการกระทำในขณะนั้น หรือในอนาคตข้างหน้าก็ได้

ตัวอย่างเช่นคำว่า байхไบฮ์ = เป็น, อยู่, มี ถ้าผันเป็นรูปปัจจุบันอนาคตก็จะเป็น байнаไบน์

เรื่องวิธีการผันจะเขียนถึงต่อไป ก่อนอื่นมาดูตัวอย่างการใช้งานก่อน

โดยทั่วไปแล้วใช้ในรูปบอกเล่าว่าการกระทำนั้นเกิดขึ้นตอนนี้ หรือจะเกิดขึ้นในอนาคต เช่น

би энд байна บี เอ็นด์ ไบน์ .
= ฉัน (จะ) อยู่ที่นี่

ในที่นี้อาจหมายถึงว่าฉันอยู่ที่นี่ในตอนนี้ หรือกำลังจะอยู่ในอนาคตก็ได้

ถ้าจะให้ชัดเจนก็ใส่เวลาบอกไปได้

би одоо энд байна บี ออดอ เอ็นด์ ไบน์ .
= ตอนนี้ฉันอยู่ที่นี่
би маргааш тэнд байна บี มาร์กาช เท็นด์ ไบน์ .
= พรุ่งนี้ฉันจะอยู่ที่นั่น

รูปนี้ยังใช้ในประโยคคำถามด้วย แต่จะใช้เฉพาะเรื่องในปัจจุบัน ไม่ใช้ถามเรื่องในอนาคต

та одоо тэнд байна ууทา ออดอ เท็นด์ ไบ โน?
= ตอนนี้คุณอยู่ที่นั่นไหม?
энд цэцэрлэг байна ууเอ็นด์ เชเชร์เล็ก ไบ โน ?
= ที่นี่มีโรงเรียนอนุบาลไหม?
цэцэрлэгเชเชร์เล็ก = โรงเรียนอนุบาล

แต่ถ้าถามเรื่องในอนาคตจะใช้กริยารูปพจนานุกรมได้เลย ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว

та маргааш тэнд байх ууทา มาร์กาช เท็นด์ ไบ โฮ ? = พรุ่งนี้คุณจะอยู่ที่นั่นไหม?

อาจจะดูยุ่งยากสักหน่อย แต่สามารถสรุปการใช้งานได้ดังนี้

  ปัจจุบัน อนาคต
บอกเล่า รูปปัจจุบันอนาคต
байнаไบน์
รูปปัจจุบันอนาคต
байнаไบน์
คำถาม รูปปัจจุบันอนาคต
байна ууไบ โน?
รูปพจนานุกรม
байх ууไบ โฮ?



คำกริยาแบ่งเป็นส่วนรากและส่วนหาง

ก่อนจะพูดถึงหลักการผันแล้วต้องอธิบายเพิ่มเติมสักหน่อยว่าคำกริยานั้นจะประกอบไปด้วย ๒ ส่วนคือส่วนรากและส่วนหาง เช่นลองพิจารณาแยกส่วนประกอบของกริยารูปพจนานุกรมแล้วจะได้ดังนี้

ความหมาย กริยาในรูปพจนานุกรม ส่วนราก ส่วนหางของรูปพจนานุกรม
ดื่ม уухโอฮ์ уу-
นั่ง суухโซฮ์ суу-
เป็น, อยู่, มี байхไบฮ์ бай-
กิน идэхอิเดฮ์ ид- -эх
อ่าน уншихโอชิฮ์ унш- -их
คุย ярихยาริฮ์ яр- -их
เข้า орохออรอฮ์ ор- -ох
เจ็บ өвдөхโอวโดฮ์ өвд- -өх

ส่วนหางอาจมีแต่ตัว х หรืออาจจะรวมถึงสระที่นำหน้ามันอยู่ด้วย

โดยทั่วไปแล้วก็คือถ้าหากด้านหน้า х นั้นเป็นสระเสียงยาวหรือสระประสมแล้ว ส่วนที่เป็นหางจะเป็นแค่ х แต่หากหน้า х เป็นสระเสียงสั้น สระตัวนั้นก็ถือเป็นส่วนหนึ่งของหางด้วย

นอกจากนี้สำหรับคำที่ลงท้ายด้วย их ยังมีกรณีที่จริงๆแล้วส่วนรากมี ь ซ่อนอยู่ด้วย

ความหมาย กริยาในรูปพจนานุกรม ส่วนราก ส่วนหางของรูปพจนานุกรม
วาง тавихทาวิฮ์ тавь -их
สั่ง захихซาฮิฮ์ захь -их



ส่วนรากคือส่วนที่จะไม่เปลี่ยนแปลง (หรืออาจเปลี่ยนเพียงเล็กน้อย) เมื่อมีการผันกริยาเป็นรูปต่างๆ ส่วนส่วนหางคือส่วนที่จะเปลี่ยนไปเมื่อผันไปเป็นรูปต่างๆ

ส่วนหางที่ลงท้ายด้วย х นี้คือหางของรูปพจนานุกรม หากต้องการผันเป็นรูปอื่น х จะหายไปแล้วกลายเป็นอย่างอื่นแทน



หลักการผันรูปปัจจุบันอนาคต

หลักโดยทั่วไปแล้วก็คือเอาส่วนรากของคำกริยามาเติม на, но, нэ, нө โดยจะเติมตัวไหนก็ขึ้นอยู่กับสระที่อยู่ก่อนหน้า ซึ่งจะเป็นไปตามหลักการกลืมกลืนเสียงสระ ดังที่ได้เขียนถึงไปในบทที่ ๕

ตรงนี้สรุปสั้นๆก็คือจะได้ว่า

กลุ่ม а, у ⇨ เติม на
กลุ่ม э, ү, и ⇨ เติม нэ
กลุ่ม о ⇨ เติม но
กลุ่ม ө ⇨ เติม нө

ถ้าส่วนหางในรูปพจนานุกรมมีสระติดมาด้วย ก็ให้ยึดตามสระนั้น
ตัวอย่าง

  รูปพจนานุกรม รูปปัจจุบันอนาคต
ไป, ออกไป явах ยาวาฮ์ явна เยาน์
กิน идэх อิเดฮ์ иднэ อิดน์
มา ирэх อิเรฮ์ ирнэ อิร์น
คุย ярих ยาริฮ์ ярнэ ยาร์น
เข้า орох ออรอฮ์ орно ออร์น
เติบโต өсөхโอโซฮ์ өснөอสน์

แต่หากส่วนหางมีแต่ х ไม่มีสระติดมาด้วยก็ให้ยึดตามสระในส่วนราก

ตัวอย่าง

  รูปพจนานุกรม รูปปัจจุบันอนาคต
นั่ง суух โซฮ์ сууна โซน
เป็น, อยู่, มี байх ไบฮ์ байна ไบน์

แต่ว่าบางส่วนที่จริงๆแล้วรากมี ь ซ่อนอยู่ก็ใช้รากที่มี ь เติมมานั้น ส่วนสระที่ต่อจาก н ก็ให้ยึดตามสระในส่วนราก (ตัว ь ไม่ถือเป็นสระ)

  รูปพจนานุกรม ส่วนราก รูปปัจจุบันอนาคต
วาง тавих ทาวิฮ์ тавь เทา тавьна เทาน์
สั่ง захих ซาฮิฮ์ захь ซาฮ์ захьна ซาฮ์น

นอกจากนี้ หากส่วนปลายของรากคำนั้นเป็นพยัญชนะ ๒ ตัวซ้อนให้เก็บสระไว้ด้วย

  รูปพจนานุกรม รูปปัจจุบันอนาคต
อ่าน унших อนชิฮ์ уншина อนชิน
เจ็บ өвдөх โอวโดฮ์ өвдөнө โอวดน
ฟัง сонсох ซ็อนซอฮ์ сонсоно ซ็อนซ็อน

อนึ่ง ไม่ว่าจะผันแบบไหนก็ตาม แต่เนื่องจากลงท้ายด้วยสระเสียงสั้น ดังนั้น а/э/о/ө จึงไม่ได้ออกเสียง กลายเป็นเสียงตัวสะกดแม่กนไปอยู่ดี



ตัวอย่างประโยค

бид дараа сар явнаบิด ดารา ซาร์ เยาน์.
= พวกเราจะออกไปเดือนหน้า
би нөгөөдөр уншинаบี โนโกโดร์ อนชิน.
= ฉันจะอ่านมะรืนนี้
нөгөөдөрโนโกโดร์ = มะรืนนี้ дараа сарดารา ซาร์ = เดือนหน้า



อ่านต่อ บทที่ ๗


-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ภาษาศาสตร์ >> เรียนภาษา
-- ภาษาศาสตร์ >> ภาษามองโกล

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

目次

日本による名言集
モジュール
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
機械学習
-- ニューラル
     ネットワーク
javascript
モンゴル語
言語学
maya
確率論
日本での日記
中国での日記
-- 北京での日記
-- 香港での日記
-- 澳門での日記
台灣での日記
北欧での日記
他の国での日記
qiita
その他の記事

記事の類別



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  記事を検索

  おすすめの記事

รวมร้านราเมงในเมืองฟุกุโอกะ
ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

月別記事

2025年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

もっと前の記事

ไทย

日本語

中文