φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



ภาษามองโกลเบื้องต้น บทที่ ๗: การใช้คำคุณศัพท์ขยายคำนาม
เขียนเมื่อ 2022/03/12 14:39
แก้ไขล่าสุด 2022/09/05 05:22
ต่อจาก บทที่ ๖

ในบทนี้จะว่าด้วยเรื่องการใช้คำคุณศัพท์ ซึ่งเป็นพวกคำที่เอาไว้ขยายคำนาม

คำคุณศัพท์ในภาษามองโกลนั้นใช้ง่าย เพราะไม่มีการผันรูปเหมือนอย่างคำกริยาหรือคำนาม ไม่ว่าจะใช้ขยายคำนาม หรือใช้เป็นภาคแสดง หรือใช้เป็นคำวิเศษณ์ก็รูปเดิมตลอด



การใช้คำคุณศัพท์วางหน้าคำนาม

ในภาษามองโกลนั้นคำขยายจะวางไว้หน้าคำที่ถูกขยาย ดังนั้นปกติแล้วคำคุณศัพท์จะวางไว้หน้าคำนามที่ต้องการจะขยายความ เช่น

шинэ номชิน น็อม = หนังสือเล่มใหม่
хатуу багшฮาโท บักช์ = ครูที่โหด
шинэชิน = ใหม่ хатууฮาโท = โหด, เข้มงวด

และคำนามที่ถูกขยายด้วยคำคุณศัพท์นี้ก็อาจนำไปใช้ในประโยคได้เหมือนคำนามทั่วไป

шинэ оюутан солонгос хүнชิ นอโยทัน ซอร็องก็อส ฮุง.
= นักเรียนใหม่เป็นคนเกาหลี
энэ зузаан ном เอ็น โซซาน น็อม .
= นี่คือหนังสือเล่มหนา
тэр хуучин ном ууเทร์ โฮชิน นอ โม?
= นั่นคือหนังสือเล่มเก่าหรือ?
зузаанโซซาง = หนา хуучинโฮชิง = เก่า



การใช้คำคุณศัพท์เป็นภาคแสดง

นอกจากที่จะใช้วางหน้าคำนามเพื่อทำการขยายแล้ว คำคุณศัพท์เดี่ยวๆก็สามารถใช้เป็นภาคแสดงเพื่อบรรยายลักษณะของคำนามได้โดยตรงเลย เช่นเดียวกับคำนาม เช่น

тэр ном шинэ เทร์ น็อม ชิน
= หนังสือเล่มนั้นใหม่
энэ багш хатуу เอ็น บักช์ ฮาโท .
= ครูคนนี้โหด



คำคุณศัพท์ที่ใช้เป็นคำวิเศษณ์ได้

คำคุณศัพท์บางคำอาจใช้ขยายกริยาหรือประโยคได้ ในกรณีนี้ก็จะทำหน้าที่เหมือนเป็นคำวิเศษณ์ เช่น

хурдан морьโฮร์ดัม มอร์
ม้าเร็ว (เป็นคำคุณศัพท์ ใช้ขยายคำนาม)
хурдан гүйхโฮร์ดัง กุยฮ์
วิ่งเร็ว (เป็นคำวิเศษณ์ ใช้ขยายกริยา)
морьมอร์ = ม้า гүйхกุยฮ์ = วิ่ง хурданโฮร์ดัง = เร็ว

จะเห็นว่าคำคุณศัพท์ในภาษามองโกลนั้นแม้จะเอามาใช้เป็นคำวิเศษณ์ก็ไม่ต้องมีการเปลี่ยนรูปใดๆ สามารถใช้ทั้งอย่างนั้นได้เลยง่ายๆ



การทำเป็นประโยคคำถาม

ประโยคที่ใช้คำคุณศัพท์เป็นภาคแสดงก็สามารถทำเป็นคำถามได้ง่ายโดยการเติม юү/юу/үү/уу? เช่นเดียวกับกรณีคำนาม

энэ сандал хуучин ууเอ็น ซันดัล โฮชิ โน ?
= เก้าอี้ตัวนี้เก่าหรือ?
тэр ном нимгэн үүเทร์ น็อม นิมเก นู ?
= หนังสือเล่มนั้นบางหรือ?
энэ оюутан цэцэн үүเอ นอโยทัน เชเช นู ?
= นักเรียนคนนี้ฉลาดหรือ?
сандалซันดัล = เก้าอี้ нимгэнนิมเก็ง = บาง цэцэнเชเช็ง = ฉลาด



การบอกว่ามากหรือเกินไป

ถ้าต้องการขยายคำคุณศัพท์นั้นว่ามาก อาจใช้คำว่า машมัช หรือถ้าระดับเกินไป ใช้คำว่า дэндүүเด็นดู เติมด้านหน้า เช่น

маш сайн номมัช ไซน์ น็อม
= หนังสือดีมาก
өнөөдөр дэндүү халуунโอโนโดร์ เด็นดู ฮาโลง.
= วันนี้ร้อนเกินไปแล้ว
сайнไซง์ = ดี халуунฮาโลง = ร้อน



อ่านต่อ บทที่ ๘


-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ภาษาศาสตร์ >> เรียนภาษา
-- ภาษาศาสตร์ >> ภาษามองโกล

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

บทความแต่ละเดือน

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2020年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

ค้นบทความเก่ากว่านั้น

ไทย

日本語

中文