φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



ภาษามองโกลเบื้องต้น บทที่ ๘: คำสรรพนามแทนผู้พูดผู้ฟังและสรรพนามชี้เฉพาะ
เขียนเมื่อ 2022/03/12 14:44
แก้ไขล่าสุด 2022/09/02 05:51
ต่อจาก บทที่ ๗

คำว่า "ฉัน คุณ เขา" เหล่านี้เรียกว่าเป็น "บุรุษสรรพนาม" ปกติแล้วไม่ว่าจะเรียนภาษาไหนก็คงจะเจออยู่บ่อยๆ โดยเฉพาะภาษาทางยุโรปและอินเดียนั้นมักจะเน้นเรื่องนี้เป็นพิเศษ เพราะมักเป็นส่วนสำคัญในไวยากรณ์

อย่างไรก็ตาม สำหรับในภาษามองโกลนั้นคำสรรพนามก็ไม่ต่างจากคำนามทั่วไป และที่จริงแล้วก็คือภาษามองโกลไม่มีสรรพนามบุรุษที่ ๓ ที่เอาไว้ใช้เรียกคนโดยเฉพาะด้วยซ้ำ แต่จะใช้ эиэเอ็น (นี่) тэрเทร์ (นั่น) แทน ดังที่ได้อธิบายไปในบทที่ ๓ แล้ว

ในบทนี้จะมาสรุปเรื่องคำบุรุษสรรพนามที่ใช้ทั่วไป รวมถึงคำสรรพนามชี้เฉพาะด้วย



สรุปเรื่องคำบุรุษสรรพนาม

โดยทั่วไปแล้วคำบุรุษสรรพนามจะแบ่งเป็น ๖ กลุ่มโดยมีบุรุษที่ ๑, ๒, และแบ่งเป็นคนเดียว (เอกพจน์) กับหลายคน (พหูพจน์)

สำหรับภาษามองโกลถ้าหากจะลองสรุปคำที่ใช้เป็นคำบุรุษสรรพนามทั้ง ๖ กลุ่มที่มีก็จะได้ดังนี้

บุรุษที่ คนเดียว หลายคน
биบี = ฉัน бидบิด = พวกเรา
таทา = คุณ
чиชี = เธอ
та нарทา นาร์ = พวกคุณ
эиэเอ็น = นี่, เขาคนนี้
тэрเทร์ = นั่น, เขาคนนั้น
эдเอ็ด = พวกนี้, พวกเขาเหล่านี้
тэдเท็ด = พวกนั้น, พวกเขาเหล่านั้น



การแยกใช้คำสรรพนามบุรุษที่ ๒

สำหรับสรรพนามบุรุษที่ ๒ แบบคนเดียวนั้นมีอยู่ ๒ แบบ คือ таทา กับ чи ชี ซึ่งถ้าให้แปลก็อาจเทียบได้กับ "คุณ" และ "เธอ"

та จะเอาไว้ใช้ทั่วไปกับคนที่ไม่รู้จัก หรือคนที่อายุมากกว่า ค่อนข้างจะสุภาพกว่า

ส่วน чи เอาไว้เรียกคนที่สนิทหรืออายุน้อยกว่าแบบเป็นกันเอง

ส่วนสรรพนามบุรุษที่ ๒ แบบหลายคนนั้น ที่จริงก็คือแค่เติมคำว่า нар ซึ่งแปลว่า "พวก" เอาไว้ตามหลังคำนามเพื่อแสดงว่ามีมากกว่า ๑ โดยทั่วไปแล้วใช้กับคำนามที่เป็นคน

เพียงแต่ปกติจะใช้แต่ та нарทา นาร์ ไม่มีการใช้ чи нарชี นาร์ ต่อให้ต้องการเรียกแบบสนิทสนมก็ตาม ก็ให้ใช้ та нар



คำสรรพนามบุรุษที่ ๓

ส่วนสรรพนามบุรุษที่ ๓ นั้นไม่มีอยู่จริงๆในภาษามองโกล แต่ถ้าจะหาคำที่พอจะแทนที่ได้ก็คือคำว่า эиэ, тэр, эд, тэд ซึ่งจริงๆคำพวกนี้แปลว่า "นี่ นั่น พวกนี้ พวกนั้น" ซึ่งเรียกคำพวกนี้ว่าเป็นคำสรรพนามชี้เฉพาะ นอกจากนี้ก็ยังอาจใช้ эдгээр กับ тэдгээр ได้ด้วย

อนึ่ง ที่จริงคำว่า эд กับ тэд นั้นปกติก็ใช้แทนจำนวนมากกว่า ๑ อยู่แล้ว แต่ก็อาจเติม нар ลงไปเป็น эд нар หรือ тэд нар ได้ ความหมายก็เหมือนเดิม เพียงแต่ปกติ нар แต่จะใช้เฉพาะกับคนเท่านั้น จึงเป็นการบอกชัดว่าไปด้วยว่ากำลังพูดถึงคน

  เอกพจน์ พหูพจน์
ใกล้ эиэเอ็น = นี่ эдเอ็ด, эд нарเอ็ด นาร์, эдгээрเอ็ดเกร์ = เหล่านี้
ไกล тэрเทร์ = นั่น тэдเท็ด, тэд нарเท็ด นาร์, тэдгээрเท็ดเกร์ = เหล่านั้น

สำหรับ эиэ, тэр, эдгээр, тэдгээр นั้นนอกจากจะใช้เป็นสรรพนามชี้เฉพาะแล้ว ก็ยังใช้เป็นคำขยายคำนามได้อีกด้วย

  เอกพจน์ พหูพจน์
ใกล้ эиэ хүнเอ็น ฮุง = คนนี้ эдгээр хүнเอ็ดเกร์ ฮุง = คนเหล่านี้
ไกล тэр хүнเทร์ ฮุง = คนนั้น тэдгээр хүнเท็ดเกร์ ฮุง = คนเหล่านั้น

ตัวอย่าง

энэ хүүхэдเอ็น ฮูเฮ็ด = เด็กคนนี้
тэр номเทร์ น็อม = หนังสือเล่มนี้
эдгээр үхэрเอ็ดเก รุเฮร์ = วัวเหล่านั้น
тэдгээр хоньเท็ดเกร์ ฮ็อน = แกะเหล่านั้น
үхэрอุเฮร์ = วัว хоньฮ็อน = แกะ



อ่านต่อ บทที่ ๙


-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ภาษาศาสตร์ >> เรียนภาษา
-- ภาษาศาสตร์ >> ภาษามองโกล

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

ไทย

日本語

中文