ต่อจาก
บทที่ ๘ดังที่ได้พูดถึงไปตั้งแต่ก่อนหน้านี้แล้วว่าคำนามในภาษามองโกลนั้นมีการผันรูปเพื่อแสดงหน้าที่ต่างๆในประโยค
คำนามที่ไม่ได้ผันนั้นปกติจะทำหน้าที่เป็นประธานของประโยค แต่หากจะให้ทำหน้าที่อื่นภายในประโยคก็มักจะต้องเปลี่ยนรูปไป
สำหรับบทนี้จะพูดถึงการใช้คำนามทำหน้าที่เป็นกรรมตรงของประโยค ซึ่งโดยทั่วไปแล้วมักจะต้องทำการผัน
ต่อไปนี้จะเรียกคำนามที่ผันเป็นรูปนี้ว่า "รูปกรรมตรง"
วิธีการผันคำนามรูปกรรมตรงคำนามที่จะใช้เป็นกรรมตรงของประโยคนั้นโดยปกติแล้วจะต้องผันเป็นรูปกรรมตรง
วิธีการผันนั้นต่างกันออกไปแล้วแต่คำ แต่โดยทั่วไปแล้วสามารถสรุปได้ดังนี้
สำหรับคำที่เป็นสระเสียงยาวหรือสระประสม แค่เติม г ลงไปต่อท้ายก็กลายเป็นรูปกรรมตรงแล้ว
|
รูปประธาน |
รูปกรรมตรง |
ดินสอ |
харандаа |
харандааг |
หมา |
нохой |
нохойг |
หากเป็นคำที่ลงท้ายด้วยพยัญชนะให้เติม ийг
|
รูปประธาน |
รูปกรรมตรง |
บ้าน |
гэр |
гэрийг |
เรื่องราว |
тууж |
туужийг |
เพียงแต่ว่าสำหรับคำสระหลังส่วนหนึ่งจะเติม ыг แทน
|
รูปประธาน |
รูปกรรมตรง |
มือ |
гар |
гарыг |
หนังสือ |
ном |
номыг |
แต่ว่าต่อให้เป็นคำสระหลัง แต่ถ้าลงท้ายด้วย ж, ч, ш, г, к, и, ь ก็เติม ийг เหมือนกัน
สรุปหลักการแยกว่าจะใช้ ыг หรือ ийг อาจสรุปได้เป็นดังนี้
|
ลงท้ายด้วย ж, ч, ш, г, к, и, ь |
อื่นๆ |
คำสระหลัง |
ийг |
ыг |
คำสระหน้า |
ийг |
หากเป็นคำที่ลงท้ายด้วยสระเสียงสั้นหรือ ь ให้ตัดมันทิ้งก่อนแล้วค่อยเติม ийг หรือ ыг
|
รูปประธาน |
รูปกรรมตรง |
หมาป่า |
чоно |
чоныг |
ลม |
салхи |
салхийг |
เงิน |
мөнгө |
мөнгийг |
ม้า |
морь |
морийг |
การใช้และไม่ใช้รูปกรรมตรงหลังจากที่เข้าใจวิธีการผันคำนามเป็นรูปตรงแล้ว ต่อไปจะมาดูว่าใช้งานอย่างไร
ที่จริงแล้วยังมีความยุ่งยากอยู่อีกอย่างตรงที่ว่า ต่อให้เป็นกรรมตรงก็อาจไม่ต้องผันเป็นรูปกรรมตรงเสมอไป แต่จะผันเมื่อกรรมตรงนั้นเป็นคำนามแบบจำเพาะเจาะจงเท่านั้น
เช่นลองดูเทียบสองประโยคนี้
би энэ номыг уншина. = ฉันอ่านหนังสือเล่มนี้ |
би ном уншина. = ฉันอ่านหนังสือ |
ทั้ง ๒ ประโยคนี้ต่างมีกรรมเป็น ном เหมือนกัน แต่ว่าในประโยคแรกมีการผันเป็นรูปกรรมตรง ในขณะที่ในประโยคหลังยังกลับไม่ต้องผัน ยังคงเขียนเหมือนรูปประธาน
ข้อแตกต่างคือประโยคแรกนั้นมี энэ นำหน้าอยู่ ซึ่งแสดงถึงความจำเพาะเจาะจงนั่นเอง คือเป็นตัวระบุแน่ชัดว่าเป็น "หนังสือเล่มนี้" ไม่ใช่เล่มใดๆก็ได้ ในกรณีแบบนี้จึงต้องทำการผันคำนามนี้เป็นรูปกรรมตรง
เมื่อมีการผันเป็นรูปกรรมตรงก็จะบอกได้ชัดเจนว่าอันไหนเป็นประธาน อันไหนเป็นกรรม ดังนั้นต่อให้สลับตำแหน่งกันแบบนี้ก็ความหมายเหมือนเดิม เช่น
энэ номыг би уншина. = หนังสือเล่มนี้ฉันอ่าน (ฉันอ่านหนังสือเล่มนี้) |
แบบนี้ยังไงประธานก็คือ "ฉัน" ส่วนกรรมก็คือ "หนังสือเล่มนี้"
ส่วนกรณีที่ไม่จำเพาะเจาะจงแม้จะเป็นกรรมตรงก็ให้เขียนในรูปเดิมเหมือนกับประธาน
เพียงแต่ว่าถ้ารูปเหมือนกันแบบนี้จะบอกได้อย่างไรว่าตัวไหนเป็นประธาน ตัวไหนเป็นกรรม? ที่จริงแล้วกรณีแบบนี้จะดูลำดับคำเอา โดยทั่วไปแล้วประธานจะมาก่อน ส่วนกรรมจะอยู่ติดกับกริยา
เช่น
могой хулгана иднэ. = งูกินหนู |
ꡐ могой = งู |
ꡐ хулгана = หนู |
ในคำนี้ "งู" могой ขึ้นต้นก่อน แล้วจึงตามด้วย "หนู" хулгана แล้วจึงเป็นคำกริยา идэх "กิน" (ผันเป็นรูปปัจจุบันอนาคต) ดังนั้นจึงรู้ว่า "งู" เป็นประธานส่วน "หนู" เป็นกรรม แม้ว่าจะไม่มีการผันคำนาม "หนู" ให้เป็นรูปกรรมตรงก็ตาม กรณีแบบนี้ถ้าสลับตำแหน่งคำนาม ความหมายก็จะเปลี่ยน
แต่ถ้ากรรมอยู่ในรูปจำเพาะเจาะจง ก็จะมีการผันเป็นรูปกรรมตรงให้เห็นชัด แบบนี้จะสลับตำแหน่งก็ได้
могой энэ хулганыг иднэ. |
หรือ энэ хулганыг могой иднэ. = งูกินหนูตัวนี้ |
เพียงแต่ว่ากรณีที่ประโยคยาวแล้วต้องการเขียนให้กรรมตรงอยู่ห่างจากคำกริยาไปมากก็จะมีการผันเป็นรูปกรรมตรงด้วยเหมือนกัน แม้ว่าจะเป็นรูปไม่เจาะจงก็ตาม เช่น
барилгыг нутгийн хүмүүс баринэ. = ตึกสร้างโดยพวกคนท้องที่ |
ꡐ барилга = ตึก |
ꡐ нутгийн = ท้องที่ |
ꡐ хүмүүс = พวกคน |
ꡐ барих = สร้าง |
แต่ประโยคนี้ถ้าย้ายเอา "ตึก" ไปไว้ติดกับคำกริยา "สร้าง" ก็จะไม่ต้องผันรูปกรรมตรง
нутгийн хүмүүс барилга баринэ. = พวกคนท้องที่สร้างตึก |
ถ้าเช่นนั้นแล้วก็ชวนให้สงสัยว่างั้นทำไมถึงไม่ผันรูปกรรมตรงให้ชัดเจนทุกครั้งไปเลยล่ะ การที่ไม่ผันในบางกรณีจำกัดแบบนี้มีความหมายอะไร?
ที่จริงตรงนี้ก็เป็นส่วนที่แปลกสำหรับภาษามองโกลซึ่งทำให้ดูซับซ้อนขึ้นมา เรื่องนี้ดูเหมือนจะเป็นแค่เรื่องของความเคยชินในการใช้ เพราะเขาใช้กันมาแบบนี้เป็นปกติ แม้มันอาจทำให้ดูยุ่งยากขึ้นมาก็ตาม ดังนั้นก็ต้องจำหลักการใช้ตามนี้ไปด้วย
คำนามบางส่วนที่มีการผันแบบพิเศษปกติแล้วถ้าจะผันคำนามเป็นรูปกรรมตรงก็ใช้หลักการดังที่กล่าวข้างต้น แต่ก็มีคำนามจำพวกหนึ่งที่เวลาผันจะไม่เป็นไปตามกฎ หรือเปลี่ยนรูปไปเป็นอย่างอื่นเลย ซึ่งคำพวกนี้ได้แก่พวกคำสรรพนาม ดังนี้
|
รูปประธาน |
รากที่จะใช้ผัน |
รูปกรรมตรง |
ฉัน |
би |
намай |
намайг |
พวกเรา |
бид |
бидэн |
биднийг |
เธอ |
чи |
чамай |
чамайг |
คุณ |
та |
тан |
таныг |
นี่ |
энэ |
ไม่เปลี่ยน |
энийг |
энэн |
энэнийг |
үүн |
үүнийг |
นั่น |
тэр |
ไม่เปลี่ยน |
тэрийг |
тэрэн |
тэрнийг |
түүн |
түүнийг |
เหล่านี้ |
эд |
эдэн |
эднийг |
เหล่านั้น |
тэд |
тэдэн |
тэднийг |
สำหรับ энэ กับ тэр นั้นจะมีอยู่หลายแบบ โดยอาจจะผันจากรูปเดิมเป็น энийг กับ тэрийг เลยก็ได้ หรืออาจจะผันจากรูป энэн, тэрэн กับ үүн, түүн ก็ได้ ไม่ว่าตัวไหนก็ใช้ในความหมายเดียวกัน
อ่านต่อ
บทที่ ๑๐