ต่อจาก
บทที่ ๕ในภาษามองโกลนั้นคำกริยาจะมีการผันไปเป็นรูปต่างๆมากมายตามจุดมุ่งหมายหรือเวลาที่ต้องการพูดถึง ดังนั้นจึงต้องมาจำการผันแบบต่างๆ ซึ่งก็เป็นเรื่องที่ยุ่งยากไม่ใช่น้อย เช่นเดียวกับในภาษาเกาหลีหรือภาษาญี่ปุ่น
อย่างไรก็ตามรูปแบบการผันไม่ขึ้นกับประธานเหมือนอย่างภาษาในกลุ่มยุโรปหรืออินเดีย ดังนั้นจึงง่ายกว่า เพราะไม่ต้องจำรูปแบบแยกกันหลายแบบ
จากตรงนี้ไปจะค่อยๆแนะนำรูปแบบการผันของกริยาไปทีละชนิด โดยเริ่มจากคำกริยาในรูปพจนานุกรม
คำกริยารูปพจนานุกรมหากเปิดพจนานุกรมภาษามองโกล จะเห็นว่าคำกริยาทั้งหมดนั้นถูกเขียนอยู่ในรูปที่ลงท้ายด้วย х ทั้งหมด นี่เป็นรูปพื้นฐาน เช่น
ꡐ суух = นั่ง |
ꡐ идэх = กิน |
ꡐ авах = ซื้อ, เอา |
ꡐ үзэх = ดู |
ꡐ уух = ดื่ม |
ꡐ ирэх = มา |
เป็นต้น
รูปพจนานุกรมนี้มีการใช้งานอยู่หลายแบบ ในที่นี้จะแนะนำที่พื้นฐานที่สุดก็คือ ใช้ในประโยคคำถามรูปอนาคต
ตัวอย่างเช่น
идэх үү ? = จะกินไหม? |
уух уу? = จะดื่มไหม? |
แค่นี้ก็กลายเป็นประโยคคำถามได้แล้ว วิธีนี้อาจใช้ถามถึงสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้น หรือความต้องการ
หากมีประธานก็เติมลงไปข้างหน้าได้ เช่น
та авах уу? = คุณจะซื้อไหม? |
ах ирэх үү? = พี่ชายจะมาไหม? |
สำหรับคำบอกเวลานั้นอาจเติมใส่ไปข้างหน้าได้เลย
маргааш бороо орох уу? = พรุ่งนี้ฝนจะตกไหม? |
ꡐ маргааш = พรุ่งนี้ |
ꡐ бороо орох = ฝนตก |
ว่าแต่ว่าทำไมจึงเริ่มพูดถึงจากประโยคคำถามก่อนทั้งๆที่ยังไม่ได้พูดถึงประโยคบอกเล่าทั่วไปเลย?
ที่จริงแล้วก็เพราะรูปคำถามอนาคตนั้นใช้กริยาในรูปพจนานุกรมได้โดยตรงเลย แต่หากเป็นรูปบอกเล่า จะใช้อีกรูปหนึ่ง ซึ่งจะกล่าวถึงต่อไป
คำกริยารูปปัจจุบันและอนาคตคำกริยาในรูปปัจจุบันและอนาคตเป็นรูปที่น่าจะใช้บ่อยที่สุด เพราะเป็นรูปที่ใช้พูดถึงการกระทำในขณะนั้น หรือในอนาคตข้างหน้าก็ได้
ตัวอย่างเช่นคำว่า
байх = เป็น, อยู่, มี ถ้าผันเป็นรูปปัจจุบันอนาคตก็จะเป็น
байна เรื่องวิธีการผันจะเขียนถึงต่อไป ก่อนอื่นมาดูตัวอย่างการใช้งานก่อน
โดยทั่วไปแล้วใช้ในรูปบอกเล่าว่าการกระทำนั้นเกิดขึ้นตอนนี้ หรือจะเกิดขึ้นในอนาคต เช่น
би энд байна . = ฉัน (จะ) อยู่ที่นี่ |
ในที่นี้อาจหมายถึงว่าฉันอยู่ที่นี่ในตอนนี้ หรือกำลังจะอยู่ในอนาคตก็ได้
ถ้าจะให้ชัดเจนก็ใส่เวลาบอกไปได้
би одоо энд байна . = ตอนนี้ฉันอยู่ที่นี่ |
би маргааш тэнд байна . = พรุ่งนี้ฉันจะอยู่ที่นั่น |
รูปนี้ยังใช้ในประโยคคำถามด้วย แต่จะใช้เฉพาะเรื่องในปัจจุบัน ไม่ใช้ถามเรื่องในอนาคต
та одоо тэнд байна уу? = ตอนนี้คุณอยู่ที่นั่นไหม? |
энд цэцэрлэг байна уу ? = ที่นี่มีโรงเรียนอนุบาลไหม? |
ꡐ цэцэрлэг = โรงเรียนอนุบาล |
แต่ถ้าถามเรื่องในอนาคตจะใช้กริยารูปพจนานุกรมได้เลย ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว
та маргааш тэнд байх уу ? = พรุ่งนี้คุณ
จะอยู่ที่นั่นไหม?
อาจจะดูยุ่งยากสักหน่อย แต่สามารถสรุปการใช้งานได้ดังนี้
|
ปัจจุบัน |
อนาคต |
บอกเล่า |
รูปปัจจุบันอนาคต байна |
รูปปัจจุบันอนาคต байна |
คำถาม |
รูปปัจจุบันอนาคต байна уу? |
รูปพจนานุกรม байх уу? |
คำกริยาแบ่งเป็นส่วนรากและส่วนหางก่อนจะพูดถึงหลักการผันแล้วต้องอธิบายเพิ่มเติมสักหน่อยว่าคำกริยานั้นจะประกอบไปด้วย ๒ ส่วนคือ
ส่วนรากและ
ส่วนหาง เช่นลองพิจารณาแยกส่วนประกอบของกริยารูปพจนานุกรมแล้วจะได้ดังนี้
ความหมาย |
กริยาในรูปพจนานุกรม |
ส่วนราก |
ส่วนหางของรูปพจนานุกรม |
ดื่ม |
уух |
уу- |
-х |
นั่ง |
суух |
суу- |
-х |
เป็น, อยู่, มี |
байх |
бай- |
-х |
กิน |
идэх |
ид- |
-эх |
อ่าน |
унших |
унш- |
-их |
คุย |
ярих |
яр- |
-их |
เข้า |
орох |
ор- |
-ох |
เจ็บ |
өвдөх |
өвд- |
-өх |
ส่วนหางอาจมีแต่ตัว х หรืออาจจะรวมถึงสระที่นำหน้ามันอยู่ด้วย
โดยทั่วไปแล้วก็คือถ้าหากด้านหน้า х นั้นเป็นสระเสียงยาวหรือสระประสมแล้ว ส่วนที่เป็นหางจะเป็นแค่ х แต่หากหน้า х เป็นสระเสียงสั้น สระตัวนั้นก็ถือเป็นส่วนหนึ่งของหางด้วย
นอกจากนี้สำหรับคำที่ลงท้ายด้วย их ยังมีกรณีที่จริงๆแล้วส่วนรากมี ь ซ่อนอยู่ด้วย
ความหมาย |
กริยาในรูปพจนานุกรม |
ส่วนราก |
ส่วนหางของรูปพจนานุกรม |
วาง |
тавих |
тавь |
-их |
สั่ง |
захих |
захь |
-их |
ส่วนรากคือส่วนที่จะไม่เปลี่ยนแปลง (หรืออาจเปลี่ยนเพียงเล็กน้อย) เมื่อมีการผันกริยาเป็นรูปต่างๆ ส่วนส่วนหางคือส่วนที่จะเปลี่ยนไปเมื่อผันไปเป็นรูปต่างๆ
ส่วนหางที่ลงท้ายด้วย х นี้คือหางของรูปพจนานุกรม หากต้องการผันเป็นรูปอื่น х จะหายไปแล้วกลายเป็นอย่างอื่นแทน
หลักการผันรูปปัจจุบันอนาคตหลักโดยทั่วไปแล้วก็คือเอาส่วนรากของคำกริยามาเติม на, но, нэ, нө โดยจะเติมตัวไหนก็ขึ้นอยู่กับสระที่อยู่ก่อนหน้า ซึ่งจะเป็นไปตามหลักการกลืมกลืนเสียงสระ ดังที่ได้เขียนถึงไปในบทที่ ๕
ตรงนี้สรุปสั้นๆก็คือจะได้ว่า
กลุ่ม а, у ⇨ เติม на กลุ่ม э, ү, и ⇨ เติม нэ กลุ่ม о ⇨ เติม но กลุ่ม ө ⇨ เติม нө |
ถ้าส่วนหางในรูปพจนานุกรมมีสระติดมาด้วย ก็ให้ยึดตามสระนั้น
ตัวอย่าง
|
รูปพจนานุกรม |
รูปปัจจุบันอนาคต |
ไป, ออกไป |
явах |
явна |
กิน |
идэх |
иднэ |
มา |
ирэх |
ирнэ |
คุย |
ярих |
ярнэ |
เข้า |
орох |
орно |
เติบโต |
өсөх |
өснө |
แต่หากส่วนหางมีแต่ х ไม่มีสระติดมาด้วยก็ให้ยึดตามสระในส่วนราก
ตัวอย่าง
|
รูปพจนานุกรม |
รูปปัจจุบันอนาคต |
นั่ง |
суух |
сууна |
เป็น, อยู่, มี |
байх |
байна |
แต่ว่าบางส่วนที่จริงๆแล้วรากมี ь ซ่อนอยู่ก็ใช้รากที่มี ь เติมมานั้น ส่วนสระที่ต่อจาก н ก็ให้ยึดตามสระในส่วนราก (ตัว ь ไม่ถือเป็นสระ)
|
รูปพจนานุกรม |
ส่วนราก |
รูปปัจจุบันอนาคต |
วาง |
тавих |
тавь |
тавьна |
สั่ง |
захих |
захь |
захьна |
นอกจากนี้ หากส่วนปลายของรากคำนั้นเป็นพยัญชนะ ๒ ตัวซ้อนให้เก็บสระไว้ด้วย
|
รูปพจนานุกรม |
รูปปัจจุบันอนาคต |
อ่าน |
унших |
уншина |
เจ็บ |
өвдөх |
өвдөнө |
ฟัง |
сонсох |
сонсоно |
อนึ่ง ไม่ว่าจะผันแบบไหนก็ตาม แต่เนื่องจากลงท้ายด้วยสระเสียงสั้น ดังนั้น а/э/о/ө จึงไม่ได้ออกเสียง กลายเป็นเสียงตัวสะกดแม่กนไปอยู่ดี
ตัวอย่างประโยค
бид дараа сар явна. = พวกเราจะออกไปเดือนหน้า |
би нөгөөдөр уншина. = ฉันจะอ่านมะรืนนี้ |
ꡐ нөгөөдөр = มะรืนนี้ |
ꡐ дараа сар = เดือนหน้า |
อ่านต่อ
บทที่ ๗