φυβλαςのβλογ
phyblasのブログ



ภาษามองโกลเบื้องต้น บทที่ ๘: คำสรรพนามแทนผู้พูดผู้ฟังและสรรพนามชี้เฉพาะ
เขียนเมื่อ 2022/03/12 14:44
แก้ไขล่าสุด 2022/09/02 05:51
ต่อจาก บทที่ ๗

คำว่า "ฉัน คุณ เขา" เหล่านี้เรียกว่าเป็น "บุรุษสรรพนาม" ปกติแล้วไม่ว่าจะเรียนภาษาไหนก็คงจะเจออยู่บ่อยๆ โดยเฉพาะภาษาทางยุโรปและอินเดียนั้นมักจะเน้นเรื่องนี้เป็นพิเศษ เพราะมักเป็นส่วนสำคัญในไวยากรณ์

อย่างไรก็ตาม สำหรับในภาษามองโกลนั้นคำสรรพนามก็ไม่ต่างจากคำนามทั่วไป และที่จริงแล้วก็คือภาษามองโกลไม่มีสรรพนามบุรุษที่ ๓ ที่เอาไว้ใช้เรียกคนโดยเฉพาะด้วยซ้ำ แต่จะใช้ эиэเอ็น (นี่) тэрเทร์ (นั่น) แทน ดังที่ได้อธิบายไปในบทที่ ๓ แล้ว

ในบทนี้จะมาสรุปเรื่องคำบุรุษสรรพนามที่ใช้ทั่วไป รวมถึงคำสรรพนามชี้เฉพาะด้วย



สรุปเรื่องคำบุรุษสรรพนาม

โดยทั่วไปแล้วคำบุรุษสรรพนามจะแบ่งเป็น ๖ กลุ่มโดยมีบุรุษที่ ๑, ๒, และแบ่งเป็นคนเดียว (เอกพจน์) กับหลายคน (พหูพจน์)

สำหรับภาษามองโกลถ้าหากจะลองสรุปคำที่ใช้เป็นคำบุรุษสรรพนามทั้ง ๖ กลุ่มที่มีก็จะได้ดังนี้

บุรุษที่ คนเดียว หลายคน
биบี = ฉัน бидบิด = พวกเรา
таทา = คุณ
чиชี = เธอ
та нарทา นาร์ = พวกคุณ
эиэเอ็น = นี่, เขาคนนี้
тэрเทร์ = นั่น, เขาคนนั้น
эдเอ็ด = พวกนี้, พวกเขาเหล่านี้
тэдเท็ด = พวกนั้น, พวกเขาเหล่านั้น



การแยกใช้คำสรรพนามบุรุษที่ ๒

สำหรับสรรพนามบุรุษที่ ๒ แบบคนเดียวนั้นมีอยู่ ๒ แบบ คือ таทา กับ чи ชี ซึ่งถ้าให้แปลก็อาจเทียบได้กับ "คุณ" และ "เธอ"

та จะเอาไว้ใช้ทั่วไปกับคนที่ไม่รู้จัก หรือคนที่อายุมากกว่า ค่อนข้างจะสุภาพกว่า

ส่วน чи เอาไว้เรียกคนที่สนิทหรืออายุน้อยกว่าแบบเป็นกันเอง

ส่วนสรรพนามบุรุษที่ ๒ แบบหลายคนนั้น ที่จริงก็คือแค่เติมคำว่า нар ซึ่งแปลว่า "พวก" เอาไว้ตามหลังคำนามเพื่อแสดงว่ามีมากกว่า ๑ โดยทั่วไปแล้วใช้กับคำนามที่เป็นคน

เพียงแต่ปกติจะใช้แต่ та нарทา นาร์ ไม่มีการใช้ чи нарชี นาร์ ต่อให้ต้องการเรียกแบบสนิทสนมก็ตาม ก็ให้ใช้ та нар



คำสรรพนามบุรุษที่ ๓

ส่วนสรรพนามบุรุษที่ ๓ นั้นไม่มีอยู่จริงๆในภาษามองโกล แต่ถ้าจะหาคำที่พอจะแทนที่ได้ก็คือคำว่า эиэ, тэр, эд, тэд ซึ่งจริงๆคำพวกนี้แปลว่า "นี่ นั่น พวกนี้ พวกนั้น" ซึ่งเรียกคำพวกนี้ว่าเป็นคำสรรพนามชี้เฉพาะ นอกจากนี้ก็ยังอาจใช้ эдгээр กับ тэдгээр ได้ด้วย

อนึ่ง ที่จริงคำว่า эд กับ тэд นั้นปกติก็ใช้แทนจำนวนมากกว่า ๑ อยู่แล้ว แต่ก็อาจเติม нар ลงไปเป็น эд нар หรือ тэд нар ได้ ความหมายก็เหมือนเดิม เพียงแต่ปกติ нар แต่จะใช้เฉพาะกับคนเท่านั้น จึงเป็นการบอกชัดว่าไปด้วยว่ากำลังพูดถึงคน

  เอกพจน์ พหูพจน์
ใกล้ эиэเอ็น = นี่ эдเอ็ด, эд нарเอ็ด นาร์, эдгээрเอ็ดเกร์ = เหล่านี้
ไกล тэрเทร์ = นั่น тэдเท็ด, тэд нарเท็ด นาร์, тэдгээрเท็ดเกร์ = เหล่านั้น

สำหรับ эиэ, тэр, эдгээр, тэдгээр นั้นนอกจากจะใช้เป็นสรรพนามชี้เฉพาะแล้ว ก็ยังใช้เป็นคำขยายคำนามได้อีกด้วย

  เอกพจน์ พหูพจน์
ใกล้ эиэ хүнเอ็น ฮุง = คนนี้ эдгээр хүнเอ็ดเกร์ ฮุง = คนเหล่านี้
ไกล тэр хүнเทร์ ฮุง = คนนั้น тэдгээр хүнเท็ดเกร์ ฮุง = คนเหล่านั้น

ตัวอย่าง

энэ хүүхэдเอ็น ฮูเฮ็ด = เด็กคนนี้
тэр номเทร์ น็อม = หนังสือเล่มนี้
эдгээр үхэрเอ็ดเก รุเฮร์ = วัวเหล่านั้น
тэдгээр хоньเท็ดเกร์ ฮ็อน = แกะเหล่านั้น
үхэрอุเฮร์ = วัว хоньฮ็อน = แกะ



อ่านต่อ บทที่ ๙


-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ภาษาศาสตร์ >> เรียนภาษา
-- ภาษาศาสตร์ >> ภาษามองโกล

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

目次

日本による名言集
モジュール
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
機械学習
-- ニューラル
     ネットワーク
javascript
モンゴル語
言語学
maya
確率論
日本での日記
中国での日記
-- 北京での日記
-- 香港での日記
-- 澳門での日記
台灣での日記
北欧での日記
他の国での日記
qiita
その他の記事

記事の類別



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  記事を検索

  おすすめの記事

รวมร้านราเมงในเมืองฟุกุโอกะ
ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

月別記事

2025年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

もっと前の記事

ไทย

日本語

中文