φυβλαςのβλογ
phyblasのブログ



ภาษามองโกลเบื้องต้น บทที่ ๙: การผันและใช้คำนามรูปกรรมตรง
เขียนเมื่อ 2022/03/12 14:53
แก้ไขล่าสุด 2022/09/04 11:56
ต่อจาก บทที่ ๘

ดังที่ได้พูดถึงไปตั้งแต่ก่อนหน้านี้แล้วว่าคำนามในภาษามองโกลนั้นมีการผันรูปเพื่อแสดงหน้าที่ต่างๆในประโยค

คำนามที่ไม่ได้ผันนั้นปกติจะทำหน้าที่เป็นประธานของประโยค แต่หากจะให้ทำหน้าที่อื่นภายในประโยคก็มักจะต้องเปลี่ยนรูปไป

สำหรับบทนี้จะพูดถึงการใช้คำนามทำหน้าที่เป็นกรรมตรงของประโยค ซึ่งโดยทั่วไปแล้วมักจะต้องทำการผัน

ต่อไปนี้จะเรียกคำนามที่ผันเป็นรูปนี้ว่า "รูปกรรมตรง"



วิธีการผันคำนามรูปกรรมตรง

คำนามที่จะใช้เป็นกรรมตรงของประโยคนั้นโดยปกติแล้วจะต้องผันเป็นรูปกรรมตรง

วิธีการผันนั้นต่างกันออกไปแล้วแต่คำ แต่โดยทั่วไปแล้วสามารถสรุปได้ดังนี้

สำหรับคำที่เป็นสระเสียงยาวหรือสระประสม แค่เติม г ลงไปต่อท้ายก็กลายเป็นรูปกรรมตรงแล้ว

  รูปประธาน รูปกรรมตรง
ดินสอ харандааฮารันดา харандааг
หมา нохойนอฮอย нохойг

หากเป็นคำที่ลงท้ายด้วยพยัญชนะให้เติม ийг

  รูปประธาน รูปกรรมตรง
บ้าน гэрเกร์ гэрийг
เรื่องราว туужโทจ туужийг

เพียงแต่ว่าสำหรับคำสระหลังส่วนหนึ่งจะเติม ыг แทน

  รูปประธาน รูปกรรมตรง
มือ гарการ์ гарыг
หนังสือ номน็อม номыг

แต่ว่าต่อให้เป็นคำสระหลัง แต่ถ้าลงท้ายด้วย ж, ч, ш, г, к, и, ь ก็เติม ийг เหมือนกัน

สรุปหลักการแยกว่าจะใช้ ыг หรือ ийг อาจสรุปได้เป็นดังนี้

  ลงท้ายด้วย ж, ч, ш, г, к, и, ь อื่นๆ
คำสระหลัง ийг ыг
คำสระหน้า ийг

หากเป็นคำที่ลงท้ายด้วยสระเสียงสั้นหรือ ь ให้ตัดมันทิ้งก่อนแล้วค่อยเติม ийг หรือ ыг

  รูปประธาน รูปกรรมตรง
หมาป่า чоно ช็อน чоныг
ลม салхи ซัลฮ์ салхийг
เงิน мөнгө มงก์ мөнгийг
ม้า морь มอร์ морийг



การใช้และไม่ใช้รูปกรรมตรง

หลังจากที่เข้าใจวิธีการผันคำนามเป็นรูปตรงแล้ว ต่อไปจะมาดูว่าใช้งานอย่างไร

ที่จริงแล้วยังมีความยุ่งยากอยู่อีกอย่างตรงที่ว่า ต่อให้เป็นกรรมตรงก็อาจไม่ต้องผันเป็นรูปกรรมตรงเสมอไป แต่จะผันเมื่อกรรมตรงนั้นเป็นคำนามแบบจำเพาะเจาะจงเท่านั้น

เช่นลองดูเทียบสองประโยคนี้

биบี энэ номыгเอ็น นอมี уншинаกนชิน.
= ฉันอ่านหนังสือเล่มนี้
би ном уншинаบี นอ มนชิน .
= ฉันอ่านหนังสือ

ทั้ง ๒ ประโยคนี้ต่างมีกรรมเป็น ном เหมือนกัน แต่ว่าในประโยคแรกมีการผันเป็นรูปกรรมตรง ในขณะที่ในประโยคหลังยังกลับไม่ต้องผัน ยังคงเขียนเหมือนรูปประธาน

ข้อแตกต่างคือประโยคแรกนั้นมี энэ นำหน้าอยู่ ซึ่งแสดงถึงความจำเพาะเจาะจงนั่นเอง คือเป็นตัวระบุแน่ชัดว่าเป็น "หนังสือเล่มนี้" ไม่ใช่เล่มใดๆก็ได้ ในกรณีแบบนี้จึงต้องทำการผันคำนามนี้เป็นรูปกรรมตรง

เมื่อมีการผันเป็นรูปกรรมตรงก็จะบอกได้ชัดเจนว่าอันไหนเป็นประธาน อันไหนเป็นกรรม ดังนั้นต่อให้สลับตำแหน่งกันแบบนี้ก็ความหมายเหมือนเดิม เช่น

энэ номыг би уншинаเอ็น นอมีก บี อนชิน.
= หนังสือเล่มนี้ฉันอ่าน (ฉันอ่านหนังสือเล่มนี้)

แบบนี้ยังไงประธานก็คือ "ฉัน" ส่วนกรรมก็คือ "หนังสือเล่มนี้"

ส่วนกรณีที่ไม่จำเพาะเจาะจงแม้จะเป็นกรรมตรงก็ให้เขียนในรูปเดิมเหมือนกับประธาน

เพียงแต่ว่าถ้ารูปเหมือนกันแบบนี้จะบอกได้อย่างไรว่าตัวไหนเป็นประธาน ตัวไหนเป็นกรรม? ที่จริงแล้วกรณีแบบนี้จะดูลำดับคำเอา โดยทั่วไปแล้วประธานจะมาก่อน ส่วนกรรมจะอยู่ติดกับกริยา

เช่น

могой хулгана иднэมอกอย ฮลกา นิดน์.
= งูกินหนู
могойมอกอย = งู хулганаฮลกัน = หนู

ในคำนี้ "งู" могой ขึ้นต้นก่อน แล้วจึงตามด้วย "หนู" хулгана แล้วจึงเป็นคำกริยา идэх "กิน" (ผันเป็นรูปปัจจุบันอนาคต) ดังนั้นจึงรู้ว่า "งู" เป็นประธานส่วน "หนู" เป็นกรรม แม้ว่าจะไม่มีการผันคำนาม "หนู" ให้เป็นรูปกรรมตรงก็ตาม กรณีแบบนี้ถ้าสลับตำแหน่งคำนาม ความหมายก็จะเปลี่ยน

แต่ถ้ากรรมอยู่ในรูปจำเพาะเจาะจง ก็จะมีการผันเป็นรูปกรรมตรงให้เห็นชัด แบบนี้จะสลับตำแหน่งก็ได้

могой энэ хулганыг иднэมอกอย เอ็น ฮลกานี กิดน์.
หรือ
энэ хулганыг могой иднэเอ็น ฮลกานีก มอกอย อิดน์ .
= งูกินหนูตัวนี้


เพียงแต่ว่ากรณีที่ประโยคยาวแล้วต้องการเขียนให้กรรมตรงอยู่ห่างจากคำกริยาไปมากก็จะมีการผันเป็นรูปกรรมตรงด้วยเหมือนกัน แม้ว่าจะเป็นรูปไม่เจาะจงก็ตาม เช่น

барилгыг нутгийн хүмүүс баринэบาริลกีก นทกีง ฮุมูส บาริน.
= ตึกสร้างโดยพวกคนท้องที่
барилгаบาริลก์ = ตึก нутгийнนทกีง = ท้องที่
хүмүүсฮุมูส = พวกคน барихบาริฮ์ = สร้าง

แต่ประโยคนี้ถ้าย้ายเอา "ตึก" ไปไว้ติดกับคำกริยา "สร้าง" ก็จะไม่ต้องผันรูปกรรมตรง

нутгийн хүмүүс барилга баринэนทกีง ฮุมูส บาริลก์ บาริน.
= พวกคนท้องที่สร้างตึก



ถ้าเช่นนั้นแล้วก็ชวนให้สงสัยว่างั้นทำไมถึงไม่ผันรูปกรรมตรงให้ชัดเจนทุกครั้งไปเลยล่ะ การที่ไม่ผันในบางกรณีจำกัดแบบนี้มีความหมายอะไร?

ที่จริงตรงนี้ก็เป็นส่วนที่แปลกสำหรับภาษามองโกลซึ่งทำให้ดูซับซ้อนขึ้นมา เรื่องนี้ดูเหมือนจะเป็นแค่เรื่องของความเคยชินในการใช้ เพราะเขาใช้กันมาแบบนี้เป็นปกติ แม้มันอาจทำให้ดูยุ่งยากขึ้นมาก็ตาม ดังนั้นก็ต้องจำหลักการใช้ตามนี้ไปด้วย



คำนามบางส่วนที่มีการผันแบบพิเศษ

ปกติแล้วถ้าจะผันคำนามเป็นรูปกรรมตรงก็ใช้หลักการดังที่กล่าวข้างต้น แต่ก็มีคำนามจำพวกหนึ่งที่เวลาผันจะไม่เป็นไปตามกฎ หรือเปลี่ยนรูปไปเป็นอย่างอื่นเลย ซึ่งคำพวกนี้ได้แก่พวกคำสรรพนาม ดังนี้

  รูปประธาน รากที่จะใช้ผัน รูปกรรมตรง
ฉัน биบี намай намайг นาไมก์
พวกเรา бидบิด бидэн биднийг บิดนีก
เธอ чиชี чамай чамайг ชาไมก์
คุณ таทา тан таныг ทานีก
นี่ энэเอ็น ไม่เปลี่ยน энийг เอนีก
энэн энэнийг เอ็นนีก
үүн үүнийг อูนีก
นั่น тэрเทร์ ไม่เปลี่ยน тэрийг เทรีก
тэрэн тэрнийг เทร์นึก
түүн түүнийг ทูนีก
เหล่านี้ эдเอ็ด эдэн эднийг เอ็ดนีก
เหล่านั้น тэдเท็ด тэдэн тэднийг เท็ดนีก

สำหรับ энэ กับ тэр นั้นจะมีอยู่หลายแบบ โดยอาจจะผันจากรูปเดิมเป็น энийг กับ тэрийг เลยก็ได้ หรืออาจจะผันจากรูป энэн, тэрэн กับ үүн, түүн ก็ได้ ไม่ว่าตัวไหนก็ใช้ในความหมายเดียวกัน



อ่านต่อ บทที่ ๑๐


-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ภาษาศาสตร์ >> เรียนภาษา
-- ภาษาศาสตร์ >> ภาษามองโกล

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

目次

日本による名言集
モジュール
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
機械学習
-- ニューラル
     ネットワーク
javascript
モンゴル語
言語学
maya
確率論
日本での日記
中国での日記
-- 北京での日記
-- 香港での日記
-- 澳門での日記
台灣での日記
北欧での日記
他の国での日記
qiita
その他の記事

記事の類別



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  記事を検索

  おすすめの記事

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

ไทย

日本語

中文