φυβλαςのβλογ
phyblasのブログ



numpy & matplotlib เบื้องต้น บทที่ ๑๕: การสุ่ม
เขียนเมื่อ 2016/06/11 22:35
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
ภาษาไพธอนมีมอดูลชื่อ random ซึ่งเก็บรวบรวมฟังก์ชันที่เกี่ยวกับการสุ่ม อ่านรายละเอียดได้ใน https://phyblas.hinaboshi.com/20160508

แต่ว่ากรณีที่ต้องการสุ่มข้อมูลทีละจำนวนมากๆใช้ numpy ช่วยอาจจะเร็วกว่ามาก

numpy มีมอดูลย่อยชื่อ random ซึ่งมีฟังก์ชันสำหรับสุ่มข้อมูลจำนวนมากที่มีประสิทธิภาพสูง ใช้คู่กับอาเรย์ได้ดี

ในที่นี้จะขอแนะนำฟังก์ชันส่วนหนึ่งจากมอดูลย่อยนี้ที่ใช้บ่อย



การสุ่มแบบแจกแจงสม่ำเสมอ
ฟังก์ชัน np.random.rand จะสร้างอาเรย์ที่มีขนาดและมิติตามที่เรากำหนด โดยมีค่าสุ่มในช่วง 0 ถึง 1

ตัวอย่าง
import numpy as np
print(np.random.rand(3,4))
# ได้
# [[ 0.13841332  0.05870797  0.09343369  0.66872065]
#  [ 0.61801752  0.60977038  0.25617062  0.64403814]
#  [ 0.83894127  0.99375777  0.06242056  0.34824402]]

ลองวาดฮิสโทแกรมแสดงการแจกแจงดู
import numpy as np
import matplotlib.pyplot as plt

x = np.random.rand(1000,6)
bara = plt.hist(x,bins=10,stacked=1,ec='k')
plt.show()



จะเห็นว่าแต่ละชุดจะมีจำนวนในแต่ละช่วงเท่าๆกันหมด โดยมีค่าเฉลี่ยที่ประมาณ จำนวนข้อมูลแต่ละชุดหารด้วยจำนวนช่องที่แบ่ง = 1000/10 = 100

np.random.rand นั้นทำการแจกแจงได้แค่ในช่วง 0 ถึง 1 เท่านั้นแต่หากต้องการให้การแจกแจงอยู่ในช่วงอื่นใดๆซึ่งเรากำหนดขึ้นเองก็อาจเลือกใช้ np.random.uniform

np.random.uniform ต้องการอาร์กิวเมนต์ ๓ ตัวคือ ค่าต่ำสุด, ค่าสูงสุด และขนาดของอาเรย์ โดยที่ขนาดของอาเรย์ต้องใส่เป็นทูเพิลหรือลิสต์คู่อันดับ จะไม่ใส่ขนาดของอาเรย์ก็ได้ หากไม่ใส่ก็จะได้ผลเป็นค่าเลขตัวเดียวไม่ใช่อาเรย์

ตัวอย่าง
print(np.random.uniform(10,12,[5,5]))
# ได้
# [[ 11.90063992  11.23890703  10.20759811  11.61095323  11.927567  ]
#  [ 10.5614266   11.35633258  11.20055723  11.42188658  10.36799342]
#  [ 10.82890397  10.34821344  10.02067618  11.67635054  10.74097174]
#  [ 10.99379641  10.16120106  11.1839129   11.0085007   10.6263869 ]
#  [ 11.68345769  11.24997368  10.64367458  11.91462817  10.63300529]]



การแจกแจงแบบปกติ
np.random.randn จะทำการสร้างอาเรย์ที่มีขนาดตามที่ระบุโดยมีค่าสุ่มตามการแจกแจงแบบปกติที่ มีค่าศูนย์กลาง (μ) เป็น 0 และความกว้างของการกระจาย (σ) เป็น 1

ตัวอย่าง
print(np.random.randn(3,5))
# ได้
# [[-0.80200003 -0.9494691   0.99710938  3.19348425  0.93456897]
#  [ 0.92803985  0.83077379  1.96311357  0.95209212 -0.832348  ]
#  [ 0.39231038  0.19578248 -0.13636935 -0.47126378  0.37539167]]

ลองสร้างอาเรย์ใหญ่ๆมาแล้ววาดฮิสโทแกรมแสดงการแจกแจงดู
x = np.random.randn(500,5)
plt.hist(x,bins=50,stacked=1,ec='k')
plt.show()



np.random.normal ก็เป็นฟังก์ชันที่สร้างการสุ่มที่มีการแจกแจงแบบปกติเช่นกัน เพียงแต่สามารถกำหนดค่า μ และ σ ได้

โดยอาร์กิวเมนต์ที่ต้องใส่ ตัวแรกคือ μ ตัวที่สองคือ σ และตัวที่สามคือขนาดของอาเรย์ที่ต้องการ ถ้าไม่ใส่ขนาดของอาเรย์จะได้เป็นค่าตัวเลขสุ่มค่าเดียวออกมา

ตัวอย่างการกระจายด้วยฮิสโทแกรม
x = np.random.normal(50,10,(1000,6))
c = ['#%d0%d7%d3'%(i+3,i+4,9-i) for i in range(6)]
bara = plt.hist(x,bins=50,stacked=1,color=c,ec='k')
plt.show()



นอกจากนี้ยังมีการแจกแจงชนิดอื่นๆอีกเช่น np.random.binomical, np.random.poisson, np.random.beta, ฯลฯ



การสุ่มจำนวนเต็ม
ฟังก์ชันที่ใช้สุ่มจำนวนเต็มคือ np.random.randint

randint จะสุ่มตัวเลขจำนวนเต็มที่อยู่ในช่วงตั้งแต่อาร์กิวเมนต์ตัวแรกไปจนถึงอาร์กิวเมนต์ตัวที่สอง เพื่อนำมาสร้างอาเรย์ตามขนาดที่ระบุไว้ในอาร์กิวเมนต์ตัวที่สาม

ตัวอย่าง
print(np.random.randint(2,4,20)) # ได้ [2 2 3 3 2 3 2 3 3 2 3 3 3 3 3 3 3 3 2 3]
print(np.random.randint(3,7,(3,8)))
# ได้
# [[4 4 5 6 5 6 4 3]
#  [3 6 3 6 4 6 4 5]
#  [5 4 6 4 4 3 3 5]]

** ในเวอร์ชันเก่าๆมีฟังก์ชันอีกตัวคือ np.random.random_integers แต่ปัจจุบันเลิกใช้แล้ว



การสุ่มข้อมูลจากอาเรย์
np.random.choice เป็นฟังก์ชันที่ทำการสุ่มหยิบข้อมูลออกมาจากอาเรย์หรือลิสต์เพื่อมาสร้างอาเรย์ที่มีขนาดตามที่กำหนด

อาร์กิวเมนต์ของฟังก์ชันนี้ตัวแรกคืออาเรย์ที่ต้องการให้สุ่มสมาชิก และตัวที่สองคือขนาดของอาเรย์ที่ต้องการสร้าง

ตัวอย่าง
a = np.array([2,2,2,2,3,5])
ar = np.random.choice(a,(2,20))
print(ar)
# ได้
# [[2 2 2 2 2 2 2 2 3 2 2 3 5 3 2 2 2 5 2 5]
#  [2 5 2 2 2 2 2 2 2 3 2 3 2 2 2 2 3 2 2 5]]

เราสามารถกำหนดน้ำหนักความน่าจะเป็นในการสุ่มได้แต่ละค่าได้ด้วยโดยเพิ่มคีย์เวิร์ด p

ค่าของ p นั้นใช้เป็นลิสต์หรืออาเรย์ที่มีจำนวนเท่ากับจำนวนข้อมูลที่ต้องการเลือก โดยค่าทั้งหมดต้องรวมกันแล้วได้เป็น 1

ถ้าลองสุ่มตัวเลขจำนวนเต็มตั้งแต่ 1 ถึง 20 แล้วให้น้ำหนักในการสุ่มเป็นสัดส่วนกันกับค่าของตัวเลขพอเขียนฮิสโทแกรมแล้ว ก็จะได้เป็นแท่งที่สูงขึ้นเรื่อยๆ
a = np.arange(1,21.)
p = a/sum(a) # น้ำหนักเป็นค่าของแต่ละตัวหารด้วยค่าผลรวม
x = np.random.choice(a,10000,p=p)
plt.hist(x,bins=20,ec='k')
plt.show()





การสุ่มสลับข้อมูลในอาเรย์
ในการสลับจัดเรียงข้อมูลในอาเรย์ใหม่นั้นมีฟังก์ชันอยู่ ๒ ตัวคือ np.random.permutation และ np.random.shuffle

ฟังก์ชันทั้ง ๒ ตัวนี้จะทำการสลับอาเรย์ในแกนแรกสุด

ข้อแตกต่างก็คือ np.random.permutation จะแค่คืนค่าของอาเรย์ที่ถูกจัดเรียงแล้วออกมา แต่อาเรย์ตัวเดิมก็ยังอยู่

ส่วน np.random.shuffle จะเป็นการแก้ไขเขียนทับอาเรย์ตัวที่ถูกทำ
a = np.arange(20).reshape(4,5)
print(a)
# ได้
# [[ 0  1  2  3  4]
#  [ 5  6  7  8  9]
#  [10 11 12 13 14]
#  [15 16 17 18 19]]

print(np.random.permutation(a))
# ได้
# [[ 5  6  7  8  9]
#  [10 11 12 13 14]
#  [ 0  1  2  3  4]
#  [15 16 17 18 19]]

print(a)
# ได้
# [[ 0  1  2  3  4]
#  [ 5  6  7  8  9]
#  [10 11 12 13 14]
#  [15 16 17 18 19]]

print(np.random.shuffle(a)) # ได้ None
np.random.shuffle(a)
print(a)
# ได้
# [[10 11 12 13 14]
#  [15 16 17 18 19]
#  [ 0  1  2  3  4]
#  [ 5  6  7  8  9]]



การสร้างเมล็ดในการสุ่ม
เช่นเดียวกับมอดูล random ใน np.random เองก็มีฟังก์ชันสำหรับการสร้างเมล็ดในการสุ่ม ชื่อ np.random.seed

รายละเอียดให้ไปดูในบทความที่เขียนเรื่องมอดูล random (ลิงก์อยู่ด้านบน) จะไม่ขอกล่าวซ้ำ

ตัวอย่าง
for i in range(5):
    np.random.seed(1)
    print(np.random.randn(1,4))

ได้
[[ 1.62434536 -0.61175641 -0.52817175 -1.07296862]]
[[ 1.62434536 -0.61175641 -0.52817175 -1.07296862]]
[[ 1.62434536 -0.61175641 -0.52817175 -1.07296862]]
[[ 1.62434536 -0.61175641 -0.52817175 -1.07296862]]
[[ 1.62434536 -0.61175641 -0.52817175 -1.07296862]]



อ้างอิง


<< บทที่แล้ว     บทถัดไป >>
หน้าสารบัญ


-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- คอมพิวเตอร์ >> เขียนโปรแกรม >> python >> numpy
-- คอมพิวเตอร์ >> การสุ่ม

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

目次

日本による名言集
モジュール
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
機械学習
-- ニューラル
     ネットワーク
javascript
モンゴル語
言語学
maya
確率論
日本での日記
中国での日記
-- 北京での日記
-- 香港での日記
-- 澳門での日記
台灣での日記
北欧での日記
他の国での日記
qiita
その他の記事

記事の類別



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  記事を検索

  おすすめの記事

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

ไทย

日本語

中文