φυβλαςのβλογ
phyblasのブログ



pyqt เบื้องต้น บทที่ ๗: การใส่รูปภาพ
เขียนเมื่อ 2021/08/09 10:39
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42

ต่อจาก บทที่ ๖

บทนี้จะพูดถึงการเอาภาพมาใส่วางใน GUI รวมถึงการปรับขนาดภาพให้ได้ขนาดที่ต้องการด้วย




การใส่รูป {.setPixmap QPixmap}

การใส่รูปภาพทำได้โดยใช้เมธอด .setPixmap ใน QLabel โดยใส่ออบเจ็กต์ของคลาส QPixmap ลงไป

คลาส QPixmap นั้นเป็นคลาสของออบเจ็กต์ที่ใส่รูปภาพ เรียกใช้ได้จาก PyQt5.QtGui

เช่นลองใช้ภาพนี้เป็นตัวอย่าง

chinousa.jpg (ที่มา https://www.pixiv.net/artworks/62718666)

chinousa.jpg


เขียนโค้ดให้แสดงภาพนี้ขึ้นมา
import sys
from PyQt5.QtWidgets import QApplication,QWidget,QLabel
from PyQt5.QtGui import QPixmap

qAp = QApplication(sys.argv)
natang = QWidget()
natang.setWindowTitle('จิโนะกับกระต่ายน้อย')
natang.resize(291,353)
rup = QLabel(natang)
rup.setPixmap(QPixmap('chinousa.jpg'))
rup.move(10,10)
natang.show()
qAp.exec_()






การดูข้อมูลขนาดของภาพ {.width .height .size}

ข้อมูลขนาดของภาพสามารถดูได้จากเมธอด .width, .height และ .size โดยหากต้องการดูแค่ขนาดแนวนอน (ความกว้าง) ก็ใช้ .width() ถ้าดูแค่แนวตั้ง (ความสูง) ก็ใช้ .height() และหากต้องการทั้งความกว้างและความสูงก็อาจใช้ .size() โดยผลที่ได้มานั้นจะเป็นออบเจ็กต์ชนิด QSize ซึ่งมีข้อมูลทั้งความกว้างและความสูงบรรจุอยู่

ต่อไปขอยกตัวอย่างโดยใช้ภาพนี้

senkomofumofu.jpg (ที่มา https://www.pixiv.net/artworks/74360894)


ลองให้โปรแกรมทำการตรวจดูขนาดของภาพเอาเอง แล้วกำหนดขนาดของหน้าต่างให้พอดีตามนั้นไป
import sys
from PyQt5.QtWidgets import QApplication,QWidget,QLabel
from PyQt5.QtGui import QPixmap

qAp = QApplication(sys.argv)
natang = QWidget()
rup = QLabel(natang)
pix = QPixmap('senkomofumofu.jpg')
rup.setPixmap(pix)
rup.move(15,15) # วางภาพที่ตำแหน่ง 15,15
khanat = pix.size() # ดูขนาด
print(khanat) # ได้ PyQt5.QtCore.QSize(300, 363)
# ตั้งขนาดหน้าต่างให้ใหญ่กว่ารูปภาพสัก 30 พิกเซล
natang.setFixedSize(pix.width()+30,pix.height()+30)
natang.show()
qAp.exec_()

ก็จะได้ภาพแบบนี้ขึ้นมา ซึ่งมีขนาดหน้าต่างถูกตั้งไว้พอเหมาะกับขนาดภาพ






ดูว่าภาพโหลดมาสำเร็จหรือไม่ {.isNull}

เมื่อใช้ QPixmap เพื่อทำการโหลดภาพขึ้นมานั้น ต่อให้ไฟล์ในตำแหน่งของภาพที่ระบุนั้นไม่มีอยู่จริงก็ไม่ทำให้เกิดข้อผิดพลาดใดๆ แค่จะได้เป็นภาพเปล่าๆมาเท่านั้น

เราอาจตรวจสอบว่าภาพโหลดขึ้นมาสำเร็จหรือไม่โดยใช้เมธอด .isNull
from PyQt5.QtGui import QPixmap

pix = QPixmap('xxx.jpg')
print(pix.isNull()) # ได้ True
pix = QPixmap('senkomofumofu.jpg')
print(pix.isNull()) # ได้ False

นอกจากนี้จริงๆแล้ว QPixmap ยังอาจใช้สร้างภาพเปล่าๆขึ้นมาได้ โดยแทนที่จะใส่เป็นชื่อไฟล์ก็ให้ใส่เป็นตัวเลข ๒ ตัวที่แทนความกว้างและความสูงของภาพ
pix = QPixmap(140,160)
print(pix.size())

ซึ่งภาพลักษณะนี้ถ้าใช้ .isNull ก็จะได้ False เช่นกัน

print(QPixmap(110,110).isNull()) # ได้ False




การย่อขยายรูป {.scaled}

ภาพที่สร้างขึ้นใน QPixmap นั้นสามารถทำการย่อขยายได้โดยใช้เมธอด .scaled โดยกำหนดความกว้างและความสูงลงไป

คราวนี้ขอลองใช้ภาพนี้เป็นตัวอย่าง

chinotippi.jpg (ที่มา https://www.pixiv.net/artworks/64927195)


ลองทำการปรับขนาดให้เต็มหน้าต่าง
import sys
from PyQt5.QtWidgets import QApplication,QWidget,QLabel
from PyQt5.QtGui import QPixmap

qAp = QApplication(sys.argv)
# สร้างหน้าต่างขนาด 350×200
natang = QWidget()
natang.resize(350,200)
rup = QLabel(natang)
pix = QPixmap('chinotippi.jpg') # โหลดภาพจากไฟล์
pix = pix.scaled(350,200) # ปรับให้ภาพมีขนาด 350×200
rup.setPixmap(pix)
natang.show()
qAp.exec_()

จะได้ภาพแบบนี้






การทำให้ย่อขยายโดยรักษาสัดส่วนเดิม

จากตัวอย่างที่แล้วจะเห็นว่าได้ขนาดตามที่ระบุไป แต่ว่าสัดส่วนของภาพถูกเปลี่ยนแปลงไป แต่ถ้าหากต้องการให้เมื่อย่อขยายแล้วยังรักษาสัดส่วนเดิมไว้ได้ก็ทำได้โดยใส่อาร์กิวเมนต์ตัวที่ ๓ ลงไป

หากต้องการให้รักษาสัดส่วนภาพเดิมโดยที่ขนาดไม่เกินขอบเขตที่กำหนด ให้ใช้ Qt.KeepAspectRatio
ลองแทนโค้ดในตัวอย่างที่แล้วในบรรทัด pix = pix.scaled(350,200) ด้วย
from PyQt5.QtCore import Qt
pix = pix.scaled(350,200,Qt.KeepAspectRatio)

ก็จะได้แบบนี้



แต่หากต้องการให้รักษาสัดส่วนโดยภาพขยายไปให้เต็มพื้นที่ขนาดที่ระบุก็ใช้ Qt.KeepAspectRatioByExpanding
pix = pix.scaled(350,200,Qt.KeepAspectRatioByExpanding)

ก็จะได้ออกมาแบบนี้






การย่อขยายให้ได้ความกว้างหรือความสูงที่กำหนด {.scaledToHeight .scaledToWidth}

การย่อหรือขยายขนาดภาพอาจทำโดยใช้เมธอด .scaledToHeight หรือ .scaledToWidth โดยที่แค่กำหนดความกว้างหรือความสูงอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วภาพก็จะถูกเปลี่ยนขนาดไปเป็นตามนั้นโดยรักษาสักส่วนเดิม

ลองดูตัวอย่าง คราวนี้ใช้ภาพนี้

yunafina.jpg (ที่มา https://www.pixiv.net/artworks/87438484)


ลองทำปุ่มให้เมื่อกดแล้วขนาดย่อลงเรื่อยๆทีละครึ่ง จนสุดท้ายปิดหน้าต่างไป
import sys
from PyQt5.QtWidgets import QApplication,QWidget,QLabel,QPushButton
from PyQt5.QtGui import QPixmap
from PyQt5.QtCore import Qt

qAp = QApplication(sys.argv)
natang = QWidget()
rup = QLabel(natang)
pix = QPixmap('yunafina.jpg')
natang.resize(pix.width()+60,pix.height())
rup.setPixmap(pix)
rup.setAlignment(Qt.AlignCenter) # ตั้งให้ภาพอยู่ตรงกลาง
rup.move(60,0)

# ฟังก์ชันที่ทำการย่อรูปเมื่อกดปุ่ม
def yolong():
    global pix
    kwang = int(pix.width()/2) # ตั้งความกว้างใหม่เหลือครึ่งจากเดิม
    if(kwang<10): # ถ้าย่อจนเล็กกว่า 10 พิกเซลแล้วก็ปิดไปเลย
        natang.close()
    pix = pix.scaledToWidth(kwang) # ย่อภาพ
    rup.setPixmap(pix) # ตั้งภาพใหม่ที่ย่อแล้ว
# สร้างปุ่ม
pumyo = QPushButton('-',natang)
pumyo.setGeometry(0,120,60,60)
pumyo.clicked.connect(yolong)
natang.show()
qAp.exec_()

ก็จะได้หน้าต่างแบบนี้ออกมา ถ้ากดปุ่มภาพก็จะค่อยๆย่อเล็กลงทีละครึ่ง






สรุปท้ายบท

ที่จริงแล้ว pyqt สามารถใช้เพื่อปรับแต่งภาพได้ด้วย เช่นใช้ QGraphicView แต่เป็นเรื่องที่มีรายละเอียดมาก ซึ่งจะยังไม่เขียนถึงในที่นี้

QPixmap นั้นปกติเอาไว้แค่ใช้เพื่อนำเอาภาพมาวางใส่ใน GUI ที่เราสร้างขึ้นเท่านั้น โดยสามารถปรับย่อขยายภาพให้เป็นขนาดตามที่ต้องการได้



อ่านบทถัดไป >> บทที่ ๘





-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- คอมพิวเตอร์ >> เขียนโปรแกรม >> python >> pyqt

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

目次

日本による名言集
モジュール
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
機械学習
-- ニューラル
     ネットワーク
javascript
モンゴル語
言語学
maya
確率論
日本での日記
中国での日記
-- 北京での日記
-- 香港での日記
-- 澳門での日記
台灣での日記
北欧での日記
他の国での日記
qiita
その他の記事

記事の類別



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  記事を検索

  おすすめの記事

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

ไทย

日本語

中文