φυβλαςのβλογ
phyblasのブログ



โครงข่ายประสาทเทียมเบื้องต้น บทที่ ๑๓: การกำหนดค่าพารามิเตอร์ตั้งต้น
เขียนเมื่อ 2018/08/26 23:32
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
>> ต่อจาก บทที่ ๑๒



ทำไมจึงไม่กำหนดค่าน้ำหนักเป็น 0

ตั้งแต่บทที่ ๘ นั้นเราได้เริ่มกำหนดค่าพารามิเตอร์น้ำหนัก w ตั้งต้นให้แจกแจงแบบเกาส์

สาเหตุที่ไม่กำหนดให้เป็น 0 ทั้งหมดเหมือนตอนที่ทำเพอร์เซปตรอนชั้นเดียวก็คือ เนื่องจากเราต้องการให้เซลล์ประสาทแต่ละตัวมีการทำหน้าที่ต่างกันไป ดังนั้นมันจะต้องมีความแตกต่างกัน ยิ่งมากยิ่งดี

แต่หากกำหนดน้ำหนักเริ่มต้นทุกตัวเป็น 0 หมดเท่ากับว่าทุกเซลล์จะมีการคำนวณที่เหมือนกันหมดตั้งแต่แรก พอเวลาปรับค่าน้ำหนักก็จะถูกปรับไปในทิศทางเดียวกันหมด เมื่อทุกตัวเหมือนกัน การมีเซลล์ประสาทหลายตัวก็ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อะไร

นี่คือเหตุผลที่จะให้ค่าน้ำหนักเริ่มต้นเป็น 0 ไม่ได้

ส่วนค่าไบแอส b ให้เป็น 0 ไปก็ไม่มีปัญหาอะไร โดยทั่วไปจึงถูกกำหนดเป็น 0 อยู่แล้ว

โดยทั่วไป w จะถูกกำหนดให้สุ่มโดยแจกแจงแบบเกาส์ แต่จะให้ความกว้าง σ เป็นเท่าไหร่นั้นไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัว แต่ก็มีคนวิจัยคิดหาค่าที่เหมาะสมไว้อยู่



ค่าเริ่มต้นของซาวีเย โกลโร และ เหอ ไข่หมิง

ปี 2010 ได้มีการตีพิมพ์งานวิจัยเกี่ยวกับค่าตั้งต้นที่เหมาะสม โดย ซาวีเย โกลโร (Xavier Glorot) ระบุว่าเมื่อใช้ซอฟต์แม็กซ์เป็นฟังก์ชันกระตุ้นแล้ว ค่า σ ที่เหมาะสมที่สุดคือ
..(13.1)

โดย m คือจำนวนมิติขาเข้าของข้อมูล

การตั้งค่าเริ่มต้นแบบนี้จึงถูกเรียกว่าค่าตั้งต้นแบบซาวีเย (Xavier Initialization)

หลังจากนั้นในปี 2015 ได้มีการตีพิมพ์โดยเหอ ไข่หมิง (何恺明, Hé Kǎimíng) บอกว่าเมื่อใช้ ReLU เป็นฟังก์ชันกระตุ้น ค่า σ ที่เหมาะสมที่สุดคือ
..(13.2)

ค่าตั้งต้นแบบนี้จึงได้ถูกเรียกว่าค่าตั้งต้นแบบเหอ (Hé Initialization)

หลักเกณฑ์นี้จึงเป็นที่นิยมใช้โดยทั่วไป



ผลของค่าตั้งต้นที่ต่างกัน

ต่อไปจะทำการทดสอบเพื่อแสดงให้เห็นว่าค่าตั้งต้นที่ต่างกันนั้นทำให้ได้ผลต่างกันเป็นยังไง

ลองทำการสร้างข้อมูลจำนวนหนึ่งที่มีตัวแปรสักร้อยตัวขึ้นมาแบบสุ่ม แล้วให้ผ่านการด็อตกับน้ำหนักแล้วตามด้วยชั้นซิกมอยด์ รวมทั้งหมด ๕ ชั้น แล้วสร้างฮิสโทแกรมแสดงการกระจายของค่าเทียบดูว่าค่าตั้งต้น ๔ แบบต่างกัน คือ 1, 0.01, Xavier, Hé จะให้ผลต่างกันยังไง
import numpy as np
import matplotlib.pyplot as plt

def sigmoid(x):
    return 1/(1+np.exp(-x))

def relu(x):
    return np.maximum(0,x)
    
m = 100 # จำนวนตัวแปรในแต่ละชั้น
n = 10000 # จำนวนข้อมูล
n_chan = 5 # จำนวนชั้น
x = np.random.normal(0,1,[n,m]) # สุ่มตัวแปรต้น
sigma = [1,0.01,1./np.sqrt(m),np.sqrt(2./m)]
for j in range(4):
    h = x
    plt.figure().suptitle(['1','0.01','Xavier','Hé'][j])
    for i in range(n_chan):
        w = np.random.normal(0,sigma[j],[m,m])
        a = np.dot(h,w) # +0
        h = sigmoid(a)
        #h = relu(a) # รอบหน้าลองเปลี่ยนมาใช้ ReLU
        plt.subplot(1,n_chan,i+1)
        plt.title('%d'%(i+1))
        if(i>0):
            plt.yticks([],[])
        plt.hist(h.flatten(),20,(0,1),ec='k',color='C%d'%(j+1))
plt.show()






ผลที่ได้จะเห็นว่าค่าตั้งต้นแบบซาวีเยและแบบเหอ ไข่หมิงให้ผลออกมาดูค่อนข้างจะดี มีการกระจายสม่ำเสมอ ในขณะที่ถ้าใช้ sigma=1 ค่าจะไปกองอยู่ที่ 0 และ 1
ส่วนถ้าใช้ sigma=0.01 ค่าจะไปกองอยู่ตรงกลาง

การที่ค่าตัวแปรต่างๆกระจายสม่ำเสมอนั้นเป็นเรื่องดี เพราะแสดงว่าแต่ละตัวกำลังพิจารณาและอธิบายสิ่งที่ต่างกัน ถ้าไปกองอยู่ที่ค่าไหนมากๆแบบนั้นความหลากหลายก็จะลด ความหมายในการมีหลายๆเซลล์ก็จะหดหายไป

ต่อมาลองเปลี่ยนจากซิกมอยด์เป็น ReLU แล้วทำแบบเดิม ผลที่ได้จะเป็นแบบนี้







จะเห็นว่าสำหรับ ReLU นั้นค่าจะไปกองอยู่ที่ใกล้ 0 ซะมาก นั่นเป็นธรรมดาเพราะค่าที่ขาเข้าต่ำกว่า 0 จะกลายเป็น 0 หมด

แต่ถึงอย่างนั้นก็จะเห็นว่าหากใช้ค่าตั้งต้นแบบเหอ ไข่หมิงแล้ว สัดส่วนของค่าที่ห่างจาก 0 จะมีไม่น้อยเกินไป และกระจายค่อนข้างสม่ำเสมอ



โดยสรุปแล้วจะเห็นได้ว่าการเลือกค่าตั้งต้นให้เหมาะสมก็มีความสำคัญ บทต่อจากนี้ไปจะใช้หลักเกณฑ์นี้ในการเลือกค่าตั้งต้น



>> อ่านต่อ บทที่ ๑๔


-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- คอมพิวเตอร์ >> ปัญญาประดิษฐ์ >> โครงข่ายประสาทเทียม
-- คอมพิวเตอร์ >> เขียนโปรแกรม >> python >> numpy

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

目次

日本による名言集
モジュール
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
機械学習
-- ニューラル
     ネットワーク
javascript
モンゴル語
言語学
maya
確率論
日本での日記
中国での日記
-- 北京での日記
-- 香港での日記
-- 澳門での日記
台灣での日記
北欧での日記
他の国での日記
qiita
その他の記事

記事の類別



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  記事を検索

  おすすめの記事

รวมร้านราเมงในเมืองฟุกุโอกะ
ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

月別記事

2025年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

もっと前の記事

ไทย

日本語

中文