φυβλαςのβλογ
phyblas的博客



สวนสาธารณะเมืองกำแพงเกาลูน ซากแห่งอดีตอันมืดมนของฮ่องกง
เขียนเมื่อ 2014/01/05 10:01
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
# พุธ 25 ธ.ค. 2013

หลังจากที่เดินผ่านย่านคนไทยมาแล้ว https://phyblas.hinaboshi.com/20140103

คราวนี้เราเดินมาถึงสถานที่ที่ตั้งใจมาแต่แรกก็คือสวนสาธารณะเมืองกำแพงเกาลูน (九龍寨城公園)

ที่นี่เป็นสถานที่ประวัติศาสตร์ที่สำคัญแห่งหนึ่งของฮ่องกง เรื่องราวของที่นี่ต้องเล่าย้อนไปถึงสมัยปี 1898 เมื่ออังกฤษได้เข้าครอบครองฮ่องกงโดยมีสัญญาจะคืนในอีก ๙๙ ปี

เมื่อก่อนนั้นบริเวณที่เป็นเมืองกำแพงเกาลูนนี้เป็นที่ตั้งของที่ทำการรัฐที่เรียกว่าหยาเหมิน (衙門) ในภาษาจีนกลาง เมื่ออังกฤษครอบครองฮ่องกง บริเวณนี้ได้ถูกยกเว้นไว้ให้เป็นพื้นที่เล็กๆที่ยังอยู่ภายใต้การปกครองของจีน เหมือนเป็นเกาะเล็กๆของจีนภายในเขตปกครองของอังกฤษอีกที

ช่วงสงครามโลกครั้งที่สองบริเวณนี้ได้ถูกทำลายโดยกองทัพญี่ปุ่น แต่หลังสงครามโลกครั้งที่สองจบลงผู้คนก็ได้กลับเข้ามาอาศัยอยู่บริเวณนี้และเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว

เนื่องจากบริเวณนี้เป็นส่วนที่รัฐบาลของอังกฤษไม่สามารถเข้ามายุ่งได้ และทางรัฐบาลจีนก็ไม่ได้มาให้ความสนใจอะไร จึงกลายเป็นบริเวณที่อยู่นอกกฎหมาย กลายเป็นแหล่งรวมของอะไรผิดกฎหมายมากมาย รวมทั้งสาธารณสุขและความปลอดภัยก็แย่มากด้วยเนื่องจากคนอยู่กันอย่างหนาแน่นและต่อเติมบ้านกันเอาเอง

เมื่อนับวันสภาพของที่นี่จะยิ่งเกินเยียวยามากขึ้นทุกที ในที่สุดทั้งทางรัฐบาลจีนก็มีความเห็นว่าจะปล่อยให้มันอยู่ต่อไปไม่ได้แล้ว จึงมีแผนจะทำลายเมืองกำแพงเกาลูนลงในที่สุด โดยเริ่มประกาศแผนการในปี 1987 และเริ่มไล่ที่คนที่อยู่ภายในออกในปี 1991-1992 จากนั้นจึงเริ่มทำการรื้อเมืองกำแพงออกในช่วงปี 1993-1994

และในปี 1995 สวนสาธารณะแห่งใหม่ก็ได้ถูกสร้างขึ้นแทนที่เมืองกำแพงที่ถูกทำลายไป โดยภายในยังหลงเหลือซากบางส่วนจากในอดีตให้ได้เห็น เช่นซากประตูใต้ และอาคารที่ทำการหยาเหมิน นอกจากนั้นก็มีการสร้างสวนจีนขึ้นมาแทนที่กลายเป็นสวนสวยงาม



ถนนตรงนี้คือถนนคาร์เพ็นเตอร์ (賈炳達道) ทางทิศใต้ของสวนสาธารณะ



ทางเข้าสวนสาธารณะทางฝั่งทิศใต้




ตรงนี้ยังไม่ใช่ข้างในสวนสาธารณะเมืองกำแพงเกาลูน แต่เป็นสวนด้านนอกที่เรียกว่าสวนสาธารณะถนนคาร์เพ็นเตอร์ (賈炳達道公園) เป็นสวนสวยๆธรรมดา





ต้องผ่านกำแพงนี้เข้าไปจึงจะเป็นสวนสาธารณะเมืองกำแพงเกาลูนจริงๆ



ข้างในเป็นสวนจีนสวยงาม


'







ระเบียงทางเดินยาวที่มีเขียนอธิบายเกี่ยวกับที่นี่ตามทาง



ตรงนี้ดูเหมือนจะเป็นศาลาที่ใช้สำหรับจัดกิจกรรมต่างๆได้



นี่คือแบบจำลองของเมืองกำแพงเกาลูนสมัยที่มันยังอยู่ จะเห็นว่ามันถูกสร้างขึ้นสูงและแออัดมากโดยมีช่องโหว่ตรงกลางคือบริเวณหยาเหมิน




ภาพตรงนี้วาดภายในตึกของเมืองกำแพงเกาลูนให้ดูว่ามีการใช้สอยยังไงบ้าง น่าเสียดายว่ามันปิดกระจกอยู่ จึงไม่สามารถถ่ายให้เห็นชัดได้เลย



ถัดไปทางนี้จะเห็นหลุมที่ด้านใต้มีซากของประตูเมืองสมัยโบราณอยู่



มองลงไปดูซากประตูใต้ที่อนุรักษ์เอาไว้



ประตูใต้นี้เป็นประตูหลักของเมืองกำแพงนี้ ตั้งแต่ปี 1920 มันได้เน่าเปื่อยผุพังลง แล้วตอนที่ญี่ปุ่นยึดที่นี่กำแพงเมืองตรงนี้ได้ถูกรื้อออกเพื่อเอาวัตถุดิบไปสร้างสนามบินไขตั๊ก (啟德機場) ซึ่งเป็นสนามบินนานาชาติแห่งเก่าของฮ่องกง

หลังจากที่เมืองกำแพงถูกรื้อออกไปแล้ว ซากประตูใด้ถูกค้นพบ ดังนั้นจึงถูกอนุรักษ์เอาไว้ให้เห็นจนถึงปัจจุบันที่กลายเป็นสวนสาธารณะแล้วเพื่อเป็นที่ระลึกถึงประวัติศาสตร์ของที่นี่

นี่คือหยาเหมิน ที่ทำการสมัยก่อน



เข้ามาดูภายในได้





ก็เป็นสวนสวยเหมือนกัน





นี่เป็นประตูเหนือของสวนสาธารณะ ถ้าออกไปตรงนี้จะไปยังสถานีรถไฟฟ้าที่ใกล้ที่สุดคือสถานีหล็อกฟู (樂富) ได้



แต่เรายังไม่ได้ออกตรงนี้เพราะทางซีกตะวันออกของสวนสาธารณะยังไม่ได้เดิน ซึ่งที่จริงทางฝั่งนี้ก็ไม่มีอะไรมากแล้ว เป็นสวนธรรมดา




เราเดินจนมาออกประตูตะวันออกแทน เราต้องออกไปทางประตูนี้เพื่อไปยังเป้าหมายต่อไปซึ่งอยู่ไม่ไกลกันนักคือวัดหว่องต่ายซิ้น (黃大仙祠) ซึ่งสามารถเดินจากตรงนี้ไปได้ แม้ว่าจะไกลนิดหน่อย

แต่ตอนแรกลืมนึกไปว่ามันอยู่ใกล้พอที่จะเดินไปได้ แล้วก็สับสนทิศทางนิดหน่อยจึงถามยามที่เฝ้าอยู่หน้าประตูนั้นโดยลองถามเป็นภาษากวางตุ้งล้วนๆดูว่า "เฉ็งหมั่น เต่ย์ถิดไหปิ๊นโต่ว" (請問,地鐵喺邊度) แปลว่า ขอถามหน่อยรถไฟฟ้าไปทางไหนดี เขาก็แนะนำให้ไปสถานีหล็อกฟูแล้วก็ออกมาชี้ทางให้ดูเลย

เราเลยพยายามจะถามเขาต่อว่าถ้าจะไปสถานีนั้นแล้วค่อยนั่งรถไฟฟ้าไปหว่องต่ายซิ้นดีกว่าหรือว่าจะเดินจากตรงนี้ไปหว่องต่ายซิ้นเลยดีกว่า แต่เนื่องจากพูดเป็นกวางตุ้งอยู่เลยนึกคำไม่ออกว่าจะถามยังไงดี เลยได้แต่พูดไปว่า "หล็อกฟูจ่ามถ่งหว่องต่ายซิ้นจ่ามปิ๊นกอเป๋ย์กาวกั่น" (樂富站同黃大仙站邊個比較近) แปลว่า "สถานีหล็อกฟูกับสถานีหว่องต่ายซิ้นอันไหนใกล้กว่า"

เขาก็ยังตอบมาว่าหล็อกฟูยังไงก็ใกล้กว่า แต่เราก็ตอบกลับเขาไปว่าจะไปหว่องต่ายซิ้นอยู่ดี เขาคงจะงงว่าถ้าอย่างนั้นแล้วจะถามทำไม เราก็งงตัวเองเหมือนกัน สรุปแล้วเราก็ขอบคุณเขาแล้วเดินออกจากประตูไปเพื่อจะไปวัดหว่องต่ายซิ้นเป็นเป้าหมายต่อไป

ครั้งนี้รู้สึกว่าโชคดีที่ได้เจอคนที่คุยดี ขนาดคุยแปลกๆเขายังไม่ได้มีทีท่าจะรำคาญ แถมยังช่วยชี้บอกทางให้อย่างดี ต่างจากบางคนที่ดูไม่เป็นมิตรอย่างแรง บ้านเมืองไหนก็มีทั้งคนดีและไม่ดีปนกันไปแล้วแต่โชคจริงๆ https://phyblas.hinaboshi.com/20140107



-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ประเทศจีน >> ฮ่องกง
-- ประวัติศาสตร์ >> ประวัติศาสตร์จีน

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

目录

从日本来的名言
模块
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
机器学习
-- 神经网络
javascript
蒙古语
语言学
maya
概率论
与日本相关的日记
与中国相关的日记
-- 与北京相关的日记
-- 与香港相关的日记
-- 与澳门相关的日记
与台湾相关的日记
与北欧相关的日记
与其他国家相关的日记
qiita
其他日志

按类别分日志



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  查看日志

  推荐日志

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ