φυβλαςのβλογ
phyblas的博客
ทวีต
โจวโข่วเตี้ยน สถานที่ขุดพบมนุษย์ปักกิ่ง
เขียนเมื่อ 2015/03/26 07:16
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
#อังคาร 24 มี.ค. 2015
ตั้งแต่มาอยู่ปักกิ่งตั้งนานก็มีสถานที่ที่ตั้งใจไว้นานแล้วว่าวันหนึ่งจะต้องไปให้ได้ แต่ก็ไม่มีโอกาสไปสักที นั่นก็คือ
โจวโข่วเตี้ยน (周口店)
เดิมทีอยากจะหาเพื่อนไปด้วยเพราะว่ามันไกล แต่สุดท้ายก็หาใครไปด้วยไม่ได้จึงไปคนเดียวเลย
โจวโข่วเตี้ยนเป็นสถานที่ที่น่าสนใจมีความสำคัญตรงที่เป็นสถานที่ขุดพบซากของมนุษย์โบราณที่เรียกว่ามนุษย์ปักกิ่ง ดังนั้นจึงเป็นสถานที่ซึ่งถูกตั้งให้เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมเป็นกลุ่มแรกของจีน โดยถูกตั้งเมื่อปี 1987
อนึ่ง ในปี 1987 มีการตั้งสถานที่ในจีนเป็นมรดกโลกทั้งหมด ๖ แห่ง อีก ๕ แห่งที่เหลือคือกำแพงเมืองจีน (万里长城), พระราชวังต้องห้าม (故宫), เขาไท่ซาน (泰山) ในมณฑลซานตง, ถ้ำมั่วเกา (莫高窟) ในเมืองตุนหวงมณฑลกานซู่ และสุสานจิ๋นซีฮ่องเต้ (秦始皇兵马俑) ในเมืองซีอานมณฑลส่านซี
ที่นี่เป็น ๑ ใน ๖ มรดกโลกที่มีอยู่ในปักกิ่ง สถานที่ตั้งอยู่ใน
เขตฝางซาน (房山区)
ของปักกิ่ง การเดินทางไปจากใจกลางเมืองปักกิ่งนั้นต้องใช้เวลาประมาณ ๒ ชั่วโมง
มนุษย์ปักกิ่งเป็นสายพันธ์ย่อยของมนุษย์โบราณ Homo erectus มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Homo erectus pekinensis ถูกขุดพบครั้งแรกในปี 1918
โฮโมเอเร็กทุส (Homo erectus) เป็นมนุษย์โบราณที่มีต้นกำเนิดตั้งแต่ช่วงล้านกว่าปีก่อน กระจายอยู่ทั่วทั้งในแอฟริกาและเอเชีย คำว่าเอเร็กทุส (erectus) หรือที่เรียกเพี้ยนไปเป็นอีเร็กทัสในภาษาอังกฤษ เป็นคำภาษาละติน โดย
erectus
เป็นรูปคุณศัพท์ของคำกริยา ērigere มีความหมายว่าตั้งตรง
ในภาษาจีนมักเรียกมนุษย์ปักกิ่งว่าเป่ย์จิงเหริน (北京人) แต่ว่าพอเรียกแบบนั้นจะไปซ้ำกับคำว่าคนปักกิ่งซึ่งหมายถึงชาวเมืองที่อาศัยอยู่ในปักกิ่ง ดังนั้นเพื่อแยกให้ชัดบางทีก็เรียกว่าเป่ย์จิงหยวนเหริน (北京猿人) โดยคำว่าหยวนเหริน (猿人) แปลว่ามนุษย์ลิง เป็นชื่อที่ใช้เรียกรวมๆมนุษย์สายพันธุ์ Homo erectus แต่ชื่อที่เป็นทางการกว่าคือเป่ย์จิงจื๋อลี่เหริน (北京直立人) โดยคำว่าจื๋อลี่ (直立) แปลว่ายืนหรือตั้งตรง แปลตรงตัวจากคำว่า erectus
บริเวณย่านที่ขุดนี้ส่วนหนึ่งเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าไปชมได้ เรียกว่า
โบราณสถานโจวโข่วเตี้ยน (周口店遗址, โจวโข่วเตี้ยนอี๋จื่อ)
นอกจากนี้ใกล้ๆกันยังมี
พิพิธภัณฑ์โบราณสถานโจวโข่วเตี้ยน (周口店遗址博物馆)
ตั้งอยู่ ซึ่งเป็นสถานที่เก็บซากต่างๆที่ขุดได้และอธิบายให้ข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวข้อง
โจวโข่วเตี้ยนเป็นส่วนหนึ่งของ
สวนสาธารณะธรณีวิทยาโลกฝางซาน (房山世界地质公园)
ซึ่งเป็นชื่อเรียกบริเวณซึ่งมีลักษณะทางธรณีวิทยาที่โดดเด่นซึ่งอยู่ในเขตฝางซานของปักกิ่ง และกินพื้นที่ไปถึง
อำเภอไหลหยวน (涞源县)
ในมณฑลเหอเป่ย์ด้วย
นอกจากโจวโข่วเตี้ยนแล้วก็ยังมีสถานที่เที่ยวอื่นๆอีกอย่างเช่น
ถ้ำสือฮวา (石花洞)
ซึ่งเป็นถ้ำหินปูนที่มีความสวยงามโดดเด่น ก็เป็นอีกที่ที่น่าไป นอกจากนี้ก็มีอีกหลายที่ซึ่งก็ไม่ได้มีชื่อเสียงอะไรมาก
การเดินทางสามารถขึ้นรถไฟฟ้าไปต่อ
สายฝางซาน (房山线)
ไปลงที่สถานีสุดปลายสาย คือ
สถานีซูจวาง (苏庄站)
หรือสถานีก่อนสุดปลายสาย คือ
สถานีเลียงเซียงหนานกวาน (良乡南关站)
จากนั้นนั่งรถเมล์ต่อไปถึงได้
แต่ในการเดินทางเที่ยวนี้นอกจากจะมีเป้าหมายที่โจวโข่วเตี้ยนแล้วยังตั้งใจจะแวะไปสถานที่เที่ยวที่มีชื่อเสียงอีกแห่งคือ
วัดหยวินจวี (云居寺)
ซึ่งอยู่ไกลออกไปอีกหน่อย ไหนๆก็เดินทางไกลมาถึงนี่แล้วจึงตั้งใจว่าต้องแวะทั้ง ๒ ที่ไปพร้อมกัน โจวโข่วเตี้ยนนั้นอยู่ตรงทางผ่านของเส้นทางไปวัดหยวินจวีอยู่แล้วถ้าจะเลยต่อไปเพื่อไปวัดหยวินจวีต่อก็ทำได้ไม่ยาก
เราเดินทางมาลงที่สถานีซูจวางซึ่งเป็นปลายทาง จากที่นี่มีรถเมล์สาย 房31 สามารถเดินทางไปยังวัดหยวินจวีได้ และสายนี้ก็ผ่านโจวโข่วเตี้ยนด้วยสามารถนั่งไปลงได้ แต่ในขณะเดียวกันก็มีรถเมล์อีกหลายสายที่สามารถไปโจวโข่วเตี้ยนได้
แผนที่ตั้งใจไว้ก็คือหากเจอรถสาย 房31 ก่อนก็จะไปให้ถึงวัดหยวินจวีก่อน แต่ถ้าสายอื่นที่ไปโจวโข่วเตี้ยนได้มาก่อนก็จะไปโจวโข่วเตี้ยนก่อน
ระหว่างที่รออยู่นั้นก็ได้ลองคุยกับคนขับรถรับจ้างซึ่งวนเวียนอยู่แถวนั้น เขาก็บอกว่าสาย 房31 นั้นมีน้อยมาก ถ้าจะรอละก็เดี๋ยวเขาไปส่งให้ดีกว่า แน่นอนที่เขามาเตือนก็เพราะอยากให้เราเป็นลูกค้าเขา พวกคนขับรถรับจ้างมักจะมาจอดรถรอตามสถานที่ที่น่าจะมีนักท่องเที่ยว รอว่าถ้าคนรอรถเมล์ไม่ไหวก็จะยอมเสียงตังค์จ้างเขาแทนเพื่อประหยัดเวลา
ซึ่งก็จริงที่ว่าเที่ยวรถมันน้อย เรารออยู่สักพักก็พบว่า 房31 นั้นไม่มาสักที เรื่องที่เที่ยวรถน้อยนั้นเป็นอะไรที่ทำใจไว้อยู่แล้ว แต่ก็ตามแผนที่วางไว้คือถ้ามีสายไหนที่ไปโจวโข่วเตี้ยนได้มาถึงก็จะไปสายนั้น รอไปรอมาก็พบว่าสาย 房37 มาถึง สายนี้มีปลายทางที่โจวโข่วเตี้ยน เราจึงรีบขึ้นทันที สรุปแล้วก็คือเที่ยวนี้ไปโจวโข่วเตี้ยนก่อน ส่วนวัดหยวินจวีซื่อแวะไปทีหลัง
ระหว่างทางก็เห็นบ้านเมืองอยู่ประปรายตามริมถนน อยู่กันอย่างไม่หนาตามาก
รถใช้เวลาประมาณไม่ถึงชั่วโมงเดินทางมาจอดที่
ท่ารถโจวโข่วเตี้ยน (周口店客运站)
บรรยากาศแถวนี้ดูเคว้งๆ เงียบๆ มีบ้านเรือนอยู่บางตา
จากตรงนี้ยังต้องเดินไปอีกสักระยะหนึ่งจึงจะถึงที่หมาย ระหว่างทางรอบๆยิ่งเดินยิ่งดูโล่ง
แล้วก็มาถึงพิพิธภัณฑ์โบราณสถานโจวโข่วเตี้ยน ถ้ามาจากท่ารถก็จะต้องผ่านตรงนี้ก่อนที่จะไปที่ย่านบริเวณที่มีการขุด ซึ่งแบบนี้ก็ดีแล้ว เราเข้าชมพิพิธภัณฑ์เพื่อดูข้อมูลของที่นี่ก่อนค่อยไปยังย่านที่ขุดจริงๆจะได้เข้าใจอะไรมากขึ้นตอนที่เดินตรงนั้น
ค่าบัตรเข้าชมพิพิธภัณฑ์คือ ๓๐ หยวน แต่มีบัตรนักเรียนก็ลดเหลือ ๑๕ หยวน
เข้ามาด้านใน ที่นี่ทางเดินค่อนข้างจะแน่นอนเขาจัดลำดับเอาไว้ให้แล้วเดินเป็นเส้นทางเดียว
นี่เป็นแบบจำลองสถานที่ที่มีการขุดหาซาก
บรรยายเกี่ยวกับการสำรวจที่นี่ การขุดที่นี่ในยุคแรกสุดนำโดยชาวต่างชาติจำนวนมาก ที่เด่นสุดคือคนที่อยู่ในรูปด้านบน นักธรณีวิทยาและนักโบราณคดีชาวสวีเดน ยูฮัน กุนนาร์ อันแดร์ซอน (Johan Gunnar Andersson, 1874 - 1960) เขาเป็นคนสำคัญคนหนึ่งที่วางรากฐานของโบราณคดีในจีน ส่วนรูปด้านล่างคืออ็อตโต ซดานสกี (Otto Zdansky) ชาวออสเตรีย ผู้ช่วยเขา
บุคคลอื่นๆที่มีความสำคัญในการขุดที่นี่
ภาพการขุดค้น
แบบจำลองสถานที่ขุด
อุปกรณ์ที่ใช้ขุดในระยะแรกๆ
สถานที่ขุดถูกแบ่งออกเป็นส่วนต่างๆ บริเวณขุดที่ ๑ เป็นส่วนที่เรียกว่าถ้ำมนุษย์ลิง (猿人洞) เป็นถ้ำที่มนุษย์ปักกิ่งอาศัยอยู่เมื่อประมาณช่วง ๗ ถึง ๓ แสนปีก่อน โดยได้ทิ้งร่องรอยไว้เป็นจำนวนมาก ชิ้นส่วนต่างๆของมนุษย์ปักกิ่งที่ค่อนข้างสมบูรณ์จำนวนไม่น้อยก็ถูกขุดพบที่นี่ตั้งแต่ปี 1921 ในภาพนี้คือแบบจำลองชิ้นส่วนต่างๆที่ขุดพบที่นี่
แบบจำลองกะโหลกมนุษย์ปักกิ่ง
สัตว์ต่างๆที่มีความเกี่ยวข้องกับมนุษย์ปักกิ่งซึ่งขุดพบใกล้ๆกัน
นี่คือโครงกระดูกไฮยีน่าจีน (Pachycrocuta sinensis, 中国鬣狗, จงกั๋วเลี่ยโก่ว)
ภาพอธิบายวิวัฒนาการของถ้ำมนุษย์ลิงที่มนุษย์ปักกิ่งอาศัยอยู่ เริ่มจากประมาณ ๕ ล้านปีก่อน ถ้ำเริ่มก่อตัวขึ้นมาจากน้ำบาดาล จากนั้นประมาณ ๓ ล้านปีก่อนแม่น้ำได้ย้ายตำแหน่งเข้ามาใกล้ถ้ำและเกิดรูให้น้ำไหลเข้าไปถ้ำจึงขยายตัวขึ้น ต่อมาประมาณ ๕.๘ แสนปีก่อนมนุษย์ปักกิ่งก็เข้าไปอยู่ จากนั้นประมาณ ๓ แสนปีก่อนหลังคาถ้ำเริ่มถล่ม และมนุษย์ปักกิ่งก็อพย้ายออกจากที่ไปเมื่อประมาณ ๒.๓ แสนปีก่อน หลังจากนั้นถ้ำก็โดนฝังกลบไป ร่องรอยที่ว่าเคยมีมนุษย์ปักกิ่งอาศัยอยู่จึงถูกเก็บรักษาไว้ภายในนี้
ถ้ำจำลอง ข้างในโพรงมีหน้าจอฉายภาพการใช้ชีวิตในถ้ำให้เหมือนกับจะให้เรามองลงไปแล้วเห็นคนใช้ชีวิตอยู่ในถ้ำจริงๆ
ภาพมนุษย์ปักกิ่งกำลังใช้ไฟ มนุษย์ปักกิ่งตั้งแต่ยุคนั้นก็รู้จักการใช้ไฟแล้ว
หลักฐานว่ามีการใช้ไฟในสมัยนั้นก็คือหินที่มีและกระดูกที่มีร่องรอยการเผาไฟซึ่งขุดพบในบริเวณนั้น
วิธีการจุดไฟ
ไปที่ห้องถัดมาจะเจอส่วนที่แสดงเกี่ยวกับมนุษย์ถ้ำส่วนใกล้ยอดเขา (山顶洞) ถ้ำส่วนนี้อยู่ด้านบนของบริเวณขุดที่ ๑ ถูกขุดตั้งแต่ปี 1930 ถ้ำส่วนนี้พบหลักฐานของการใช้ชีวิตอยู่ของมนุษย์โบราณเช่นกัน แต่เป็นมนุษย์ที่มีวิวัฒนาการสูงขึ้นมามากกว่ามนุษย์ปักกิ่งที่พบด้านล่าง โดยแบ่งเป็นห้องต่างๆ ๔ ห้อง
กะโหลกที่ขุดจากถ้ำส่วนใกล้ยอดเขา และแบบจำลองภาพจินตนาการมนุษย์โบราณในส่วนนั้น
กระดูกเสือในยุคเดียวกัน ขุดเจอที่ถ้ำส่วนใกล้ยอดเขา
ส่วนตรงนี้พูดถึงเกี่ยวกับบริเวณขุดที่ ๒๗ บริเวณนั้นเรียกว่าถ้ำเถียนหยวน (田园洞) อยู่ห่างจากใจกลางโจวโข่วเตี้ยนไป ๖ กม. เพิ่งถูกพบเมื่อปี 2001 จุดสำคัญของที่นี่คือการค้นพบร่องรอยการใช้รองเท้าของมนุษย์บริเวณนั้น นี่เป็นหลักฐานการใช้รองเท้าที่เก่าแก่ที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษย์
รูปจำลองการล่าสัตว์
ล่ากระต่าย
จากนั้นก็มาถึงส่วนท้ายสุด เป็นส่วนสรุป อธิบายถึงความสำคัญของการขุดค้นที่นี่และการอนุรักษ์ซากโบราณ
นี่เป็นส่วนของหนังสือพิมพ์ที่พูดถึงการหายสาบสูญไปของซากมนุษย์ปักกิ่งจำนวนมากในปี 1941 จากภัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ ที่ญี่ปุ่นบุกจีน
ซากที่สูญหายไปนั้นถูกบรรจุแยู่ในกล่องไม้ ๒ กล่อง ในภาพนี้เป็นแบบจำลองกล่องที่ว่า ส่วนป้ายใสๆนี้บอกถึงจำนวนของชิ้นส่วนซากต่างๆที่หายไป
นอกจากนี้ในบริเวณนี้ก็มีซากกระดูกสัตว์ที่ถูกขุดแถวนี้วางปนอยู่ด้วย ภาพนี้คือกวางสายพันธุ์ Sinomegaceros pachyosteus ขุดพบที่บริเวณขุดที่ ๑๓
กะโหลกของแรดสองนอสายพันธ์โจวโข่วเตี้ยน (Stephanorhinus choukoutienensis, 周口店双角犀, โจวโข่วเตี้ยนซวางเจี่ยวซี) ขุดพบที่บริเวณขุดที่ ๒๐
แบบจำลองเต็มตัว
ซากฟอสซิลปลาที่ขุดจากบริเวณขุดที่ ๑๔
ส่วนจัดแสดงของพิพิธภัณฑ์จบแค่นี้ ที่เหลือตรงนี้เป็นร้านขายของที่ระลึก
หลังจากชมพิพิธภัณฑ์เสร็จแล้วก็เดินออกมาไปอีกประมาณ ๕๐๐ เมตรเพื่อไปถึงบริเวณที่มีการขุด ใช้เวลาเดินสักพัก
ระหว่างทางก็ผ่านแม่น้ำ
แล้วก็มาถึงลานกว้างด้านหน้าทางเข้าบริเวณขุด มีป้ายโจวโข่วเตี้ยนตัวใหญ่อยู่ตรงกลาง
ความจริงแล้วตรงนี้มีป้ายรถเมล์อยู่ซึ่งรถเมล์ที่ผ่านมาถึงนี่ก็คือสาย 房38 ถ้านั่งสายนี้มาตั้งแต่แรกก็สามารถมาลงตรงนี้ได้ไม่ต้องเดินไกลให้เหนื่อย แต่ว่าสายนี้ไม่ได้มาจากสถานีซูจวางที่เราลงตอนแรกแต่ก็สามารถไปลงที่สถานีอื่น อันที่จริงตอนแรกวางแผนกะว่าถ้าหากเราแวะวัดหยวินจวีก่อนแล้วก็ปิดท้ายที่โจวโข่วเตี้ยนเราสามารถนั่งรถ 房38 นี้กลับได้เลย แต่พอสลับกันแล้วก็เลยทำแบบนั้นไม่ได้ หลังจากเสร็จตรงนี้ยังต้องไปวัดหยวินจวีต่อ
ลานกว้างหน้าทางเข้าตรงนี้มีแผนที่ของบริเวณที่เรียกว่าสวนสาธารณะธรณีวิทยาโลกฝางซานทั้งหมด แต่ไม่รู้ใครทำกระจกแตกจึงมัวไปหมดมองข้างในไม่ชัด แม้จะดูแล้วสวยดีก็ตาม
แผนที่ของย่านบริเวณขุดโจวโข่วเตี้ยน นี่ก็กระจกแตกละเอียดแทบดูไม่ออกเหมือนกัน
เดินข้ามรางรถไฟไปก็จะถึง
ถึงแล้ว หน้าทางเข้ามีรูปปั้นมนุษย์ปักกิ่งขนาดใหญ่
ทางเข้า ตรงนี้ก็ต้องซื้อตั๋วเพื่อเข้าอีก ราคา ๓๐ หยวน แต่ก็ใช้บัตรนักเรียนลดได้เหลือ ๑๕ หยวนอีกเช่นกัน
สถานที่อยู่ด้านบนเขา ต้องค่อยๆปีนขึ้นไป เหนื่อยอยู่เหมือนกัน แต่ว่าอากาศกำลังเย็นสบายจึงไม่ลำบากมาก แต่เพราะว่าใส่เสื้อขนเป็ดตัวหนาๆอยู่แบบนี้ก็เลยทำให้เหงื่อตกเหมือนกัน
เดินขึ้นมาถึงตรงนี้จะเจออาคารหนึ่งเล็กๆที่เปิดให้เข้าได้
ในนี้ไม่มีอะไรมากมาย แค่เห็นมีแผ่นป้ายบรรยายอยู่นิดหน่อย มีขายของที่ระลึก แล้วก็มีเกมให้เล่นปาบอลใส่หน้าจอที่มีรูปสัตว์กำลังวิ่งอยู่ เห็นคนกำลังเล่นอยู่พอดี
สวนหิน
ตรงนี้คือส่วนที่เรียกว่าสวนที่ระลึกนักวิทยาศาสตร์ (科学家纪念园) เป็นที่ฝังศพของนักวิทยาศาสตร์จำนวนหนึ่งที่มีส่วนในการวิจัยที่นี่
ถัดมาจะเห็นบริเวณขุดที่ ๒ ซึ่งทางขึ้นไปเป็นทางลาดชัน ลองพยายามเดินขึ้นไปแล้วก็รู้สึกว่าเดินไม่ไหวดินมันลื่น ก็เลยไม่ได้ขึ้นไป แต่ถึงแม้จะขึ้นไปก็ไม่มีอะไรมาก
จากนั้นก็เปิดทางเดินริมเขา มีจุดชมทิวทัศน์สวย ช่วงนี้ดอกไม้เริ่มเบ่งบานแล้วจึงดูแล้วสวยงามดี แต่มันก็ทำให้รู้สึกเสียดายว่าน่าจะมาช้ากว่านี้สักหน่อยดอกไม้จะได้บางมากกว่านี้ นี่เพิ่งแค่เริ่มเท่านั้นเอง
ทิวทัศน์ที่มีดอกไม้สีชมพูปะปนไปกับสีน้ำตาลของต้นไม้ที่ใบยังไม่ขึ้น ดูแล้วสวยงามจริงๆ
เดินมาพอสมควร จุดพักเหนื่อย
มองลงไปเห็นบ้านข้างล่าง
เดินถัดมาเจอส่วนที่มีการจำลองการขุด เห็นคนกำลังขุดพื้นให้นักท่องเที่ยวดู
เดินต่อมาเรื่อยๆอ้อมเขาไกลพอสมควร จากนั้นก็มาเจอส่วนถัดไปคือบริเวณขุดถ้ำส่วนใกล้ยอดเขา เป็นถ้ำที่มนุษย์ปักกิ่งเคยอาศัยอยู่
ถ้ำนี้ได้แต่มองแต่ไม่เปิดให้เข้า ลองมองเข้าไปด้านในก็ยังเห็นร่องรอยอารยธรรมบางอย่างด้วย นั่นคืออุปกรณ์ใส่น้ำชนิดหนึ่งที่สร้างขึ้นโดยมนุษย์สายพันธุ์ Homo sapiens เรียกว่า "ขวดพลาสติก"
ข้างๆถ้ำมีแรดขนดก
เดินต่อมาเจอบริเวณขุดที่ ๑๕ ที่นี่ถูกขุดตั้งแต่ปี 1932 มีการขุดเจอฟอสซิลนกและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหลายชนิด และยังมีพวกอุปกรณ์เครื่องใช้ของมนุษย์ปักกิ่ง
บริเวณขุดที่ ๔ ที่นี่ถูกขุดตั้งแต่ปี 1927 มีการขุดพบพวกเครื่องใช้ของมนุษย์ปักกิ่งและฟอสซิลสัตว์อีกหลายชนิด
สิ่งทับถมส่วนยอด
ตรงนี้คือถ้ำที่เรียกว่าหอนกพิราบ (鸽子堂) ที่เรียกแบบนี้ก็เพราะมีนกพิราบมาพักพิงเป็นจำนวนมาก ถ้ำตรงนี้สามารถเข้าไปได้ มันจะทะลุไปยังส่วนถ้ำมนุษย์ลิง หรือก็คือบริเวณขุดที่ ๑
เมื่อทะลุไปก็เจอบริเวณขุดที่ ๑ บริเวณนี้เป็นที่ที่กะโหลกของมนุษย์ปักกิ่งถูกค้นพบเป็นครั้งแรก ตรงนี้ปิดกั้นไม่ให้นักท่องเที่ยวเข้าไป แต่สามารถเดินอ้อมไปออกอีกทางได้
เมื่อเดินดูตรงนี้เสร็จก็หมดแค่นี้ ได้เวลาออกไปเพื่อหารถสำหรับไปยังวัดหยวินจวีต่อ
เราใช้เวลาภายในพิพิธภัณฑ์และในบริเวณย่านขุดอย่างละไม่ถึงชั่วโมง แต่โดยรวมแล้วบวกเวลาเดินอีกก็เป็นเกือบสองชั่วโมง ขณะนั้นเวลาบ่ายโมงครึ่งกว่าไปแล้ว
กลับมาที่ป้ายรถเมล์ที่มีรถเมล์สาย 房38 ผ่าน รอดูอยู่สักพักก็ไม่เห็นมีรถเมล์ผ่านจึงตัดสินใจหารถรับจ้างเพื่อจะไปยังวัดหยวินจวี ไม่อยากจะช้าเกินไปเพราะต้องเผื่อเวลากลับด้วย
แถวนั้นเงียบเหงาดูไม่ค่อยมีใครเลย แค่จะหารถรับจ้างก็ไม่ใช่ง่ายๆ แต่สุดท้ายลองถามชาวบ้านที่มานั่งเล่นแถวนั้นแล้วก็เจอรถรับจ้างคันนึง เขายอมไปส่งในราคา ๘๐ หยวน ซึ่งถือว่าแพงมาก แต่พยายามต่อราคาก็ไม่ยอม เราก็ไม่อยากเสียเวลามากไปกว่านี้แล้วก็เลยช่วยไม่ได้ จะหารถคันอื่นแถวนี้ก็คงไม่ใช่หาง่ายนักด้วย
ดังนั้นจึงตัดสินใจนั่งรถเพื่อไปยังวัดหยวินจวีซื่อต่อไป แต่... พอตกลงกับเขาเสร็จกำลังจะขึ้นไปนั่งก็พบว่ารถเมล์ 房38 ผ่านมาพอดี! ดูเหมือนเราจะพลาดไปแล้ว แต่ที่จริงก็ไม่เป็นไรหรอก เพราะต่อให้นั่ง 房38 ไปก็ไม่สามารถถึงที่ทันทียังต้องไปต่อรถอีกต่อด้วยยังไงก็เสียเวลาอยู่ ยังไงการนั่งรถรับจ้างไปก็เร็วกว่ามาก
ตอนต่อไปจะเล่าถึงวัดหยวินจวี
https://phyblas.hinaboshi.com/20150328
{{s.chue}}
〇
✖
ทวีต
-----------------------------------------
囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧
ดูสถิติของหน้านี้
หมวดหมู่
--
ประเทศจีน
>>
จีนแผ่นดินใหญ่
>>
ปักกิ่ง
--
ประวัติศาสตร์
>>
ประวัติศาสตร์จีน
--
ท่องเที่ยว
>>
มรดกโลก
ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ
三
~ 自我介绍 ~
目录
从日本来的名言
python
模块
-- numpy
-- matplotlib
-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
机器学习
-- 神经网络
javascript
蒙古语
语言学
maya
概率论
与日本相关的日记
与中国相关的日记
-- 与北京相关的日记
-- 与香港相关的日记
-- 与澳门相关的日记
与台湾相关的日记
与北欧相关的日记
与其他国家相关的日记
qiita
其他日志
按类别分日志
==เลือกหมวด==
ดาราศาสตร์
คณิตศาสตร์
-ความน่าจะเป็น
คอมพิวเตอร์
-เขียนโปรแกรม
--python
---numpy
---scipy
---matplotlib
---pandas
---manim
---pyqt
---sklearn
---pytorch
---mayapython
--ruby
--javascript
--dart
--MATLAB
--SQL
--regex
--opencv
-shell
-3D
--maya
--MMD
-microsoft_office
-pdf
-ปัญญาประดิษฐ์
--โครงข่ายประสาทเทียม
--สเตเบิลดิฟฟิวชัน
---comfyui
-การสุ่ม
ภาษาศาสตร์
-ตัวอักษร
-เรียนภาษา
-หลักเกณฑ์การทับศัพท์
-ภาษาจีน
--ภาษาจีนกลาง
-ภาษาญี่ปุ่น
-ภาษามองโกล
-ภาษาลาว
-ภาษาเขมร
ประวัติศาสตร์
-ประวัติศาสตร์จีน
-ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น
ปรัชญา
ประเทศจีน
-จีนแผ่นดินใหญ่
--ปักกิ่ง
--เทียนจิน
--เหลียวหนิง
--เหอเป่ย์
--เหอหนาน
--ซานตง
--ซานซี
--อานฮุย
--เจ้อเจียง
--หูเป่ย์
--หูหนาน
--ฝูเจี้ยน
--กวางตุ้ง
---แต้จิ๋ว
--ยูนนาน
--ซินเจียง
-ฮ่องกง
-มาเก๊า
-ไต้หวัน
--ไทเป
--จีหลง
--เถาหยวน
--ซินจู๋
--เหมียวลี่
--ไถจง
--จางฮว่า
--หยวินหลิน
--เจียอี้
--ไถหนาน
--เกาสยง
--ผิงตง
--อี๋หลาน
ประเทศญี่ปุ่น
-ฮกไกโด
-อาโอโมริ
-อิวาเตะ
-มิยางิ
-อากิตะ
-ยามางาตะ
-ฟุกุชิมะ
-อิบารากิ
-โทจิงิ
-กุมมะ
-ไซตามะ
-จิบะ
-โตเกียว
-คานางาวะ
-นีงาตะ
-โทยามะ
-อิชิกาวะ
-ฟุกุอิ
-ยามานาชิ
-นางาโนะ
-กิฟุ
-ชิซึโอกะ
-ไอจิ
-มิเอะ
-ชิงะ
-เกียวโต
-โอซากะ
-เฮียวโงะ
-นาระ
-วากายามะ
-โอกายามะ
-ฮิโรชิมะ
-ยามางุจิ
-ฟุกุโอกะ
-ซางะ
-นางาซากิ
-คุมาโมโตะ
-โออิตะ
ต่างแดน
-อุษาคเนย์
--กัมพูชา
--พม่า
--สิงคโปร์
-ยุโรป
--สวีเดน
--เดนมาร์ก
--ฟินแลนด์
-ออสเตรเลีย
ท่องเที่ยว
-มหาวิทยาลัย
-พิพิธภัณฑ์
--พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์
--หอศิลป์
-สวนสัตว์
--พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ
-ท้องฟ้าจำลอง
-ตึกระฟ้า
-ปราสาท☑
--ปราสาทญี่ปุ่น
--ปราสาทขอม
--ปราสาทยุโรป
-ศาสนสถาน
--วัด
--ศาลเจ้า
--โบสถ์
--มัสยิด
-สุสาน
-มรดกโลก
-ทะเล
-ทะเลสาบ
-ภูเขา
-ภูเขาไฟ
-หิมะ
-ดอกซากุระ
-แมว
-รถไฟ
-เรือ
-ตลาดกลางคืน
-งานเทศกาล
-ที่ระลึกภัยพิบัติ
-ตามรอย
บันเทิง
-เกม
--อาเตอลีเย
--โปเกมอน
--caligula
--vn
-อนิเมะ
-มังงะ
-นิยาย
-เพลง
--เพลงอนิเมะ
--เพลงเกม
เรื่องแต่ง
บันทึก
ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ
查看日志
最近
นั่งเรือข้ามทะเลอาริอาเกะจากคุมาโมโตะไปยังเมืองชิมาบาระจังหวัดนางาซากิ
ซากุระโนะบาบะ โจวไซเอง ย่านร้านค้าชิโมโตริ ซากุระมาจิคุมาโมโตะ
ชมปราสาทคุมาโมโตะที่ยังเต็มไปด้วยรอยแผลจากแผ่นดินไหวครั้งใหญ่
นั่งรถไฟไปตามสายหลักโฮวฮิจากอาโสะมุ่งสู่เมืองคุมาโมโตะ ระหว่างทางแวะที่สถานีฮิโงะโอซึ กินคุมาโมโตะราเมง
ชมปากปล่องภูเขาไฟอาโสะที่คุกรุ่น แต่อยู่ได้ไม่นานเพราะไม่ดีต่อสุขภาพ
推荐日志
ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ
各月日志
2024年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2023年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2022年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2021年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2020年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
找更早以前的日志
ไทย
日本語
中文