φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



วัดหยวินจวี วัดเก่าแก่ทางตอนใต้ของปักกิ่ง
เขียนเมื่อ 2015/03/28 10:05
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
#อังคาร 24 มี.ค. 2015

หลังจากเที่ยวโจวโข่วเตี้ยน (周口店) เสร็จไป https://phyblas.hinaboshi.com/20150326

เราก็นั่งรถมาเพื่อไปเที่ยววัดหยวินจวี (云居寺) ต่อ

วัดหยวินจวี เป็นวัดที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งซึ่งตั้งอยู่เกือบสุดขอบทางตอนใต้ของปักกิ่ง การเดินทางจากใจกลางเมืองต้องใช้เวลามากกว่า ๒ ชั่วโมง

วัดนี้มีความเป็นมายานนานเก่าแก่ ถูกสร้างตั้งแต่ช่วงปี 605 - 618 ซึ่งเป็นช่วงปลายราชวงศ์สุย (隋朝, ปี 581 - 619) แต่ในปี 1942 ถูกทำลายย่อยยับในสงครามโลกครั้งที่สอง เหลือร่องรอยเพียงบางส่วน ดังนั้นตัววัดที่เห็นอยู่ที่นี่ตอนนี้ส่วนใหญ่จึงเป็นของที่ถูกสร้างขึ้นใหม่

ส่วนปีกข้างของวัดมีหอคอยสองหลังซึ่งหน้าตาไม่เหมือนกันตั้งอยู่ เป็นลักณะเด่นอย่างหนึ่งของวัดนี้ หอคอยที่อยู่ฝั่งใต้เรียกว่าหอใต้ (南塔, หนานถ่า) สร้างขึ้นในยุคราชวงศ์เหลียว (辽朝, 916 - 1125) มี ๑๓ ชั้น แต่หอที่เห็นอยู่นี้เป็นของที่ถูกสร้างใหม่ ของเก่าจริงๆถูกทำลายไปในปี 1942 ส่วนหอคอยทางเหนือเรียกว่าหอเหนือ (北塔, เป๋ย์ถ่า) ก็ถูกสร้างในยุคไล่เลี่ยกัน



ระหว่างทางผ่านพิพิธภัณฑ์สวนสาธารณะธรณีวิทยาโลกฝางซาน (房山世界地质公园博物馆) เป็นพิพิธภัณฑ์ที่รวบรวมเกี่ยวกับสถานที่เที่ยวทางธรณีภายในบริเวณแถวนี้ ตัวอาคารดูสวยดีแต่น่าเสียดายว่าอยู่คนละฝั่งกับที่นั่งก็เลยไม่ได้ถ่ายภาพมา

ทิวทัศน์ระหว่างทาง



ใช้เวลาประมาณครึ่งชั่วโมงก็มาถึงวัดหยวินจวี คนขับชี้บอกป้ายรถเมล์ที่เราจะสามารถมาขึ้นตอนขากลับได้ ก่อนจะส่งเราลงตรงหน้าทางเข้าวัดก็จ้ำจี้จ้ำไชบอกข้อมูลมากมายเพราะกลัวเราจะหลง เท่าที่เราสังเกตที่ผ่านมาก็คือพวกบรรดาคนขับรถรับจ้างในจีนนั้นแม้จะชอบโก่งราคาเกินจริงแต่พอรับงานมาแล้วก็มักจะอัธยาศรัยดี ทำงานเอาใจใส่ บางทีก็ชวนคุยบอกข้อมูลอะไรหลายอย่างแม้ว่าบางทีเราจะไม่ได้ถาม นี่ก็คงเป็นส่วนหนึ่งของนิสัยคนจีนในเรื่องความตั้งใจในการทำงาน เมื่อได้เงินจากใครมาเขาก็คงจะรู้สึกขอบคุณอยากจะบริการให้เต็มที่



เมื่อลงรถมาวัดก็อยู่ตรงหน้า



ข้ามแม่น้ำไป ทิวทัศน์ที่มองจากสะพานข้ามแม่น้ำสวยมาก




ทางเข้าวัด จากตรงนี้ไปต้องจ่ายค่าเข้า ตั๋วราคา ๔๐ หยวน แต่ใช้บัตรนักเรียนก็มีส่วนลดครึ่งราคาเหลือ ๒๐ หยวน



เมื่อเข้ามาด้านในอาคารที่อยู่ด้านหน้าตรงกลางเห็นก่อนเลยคืออาคารผีหลู(卢毗殿) คำว่าพีหลูย่อมาจากผีหลูเจอน่า (毗卢遮那) ซึ่งหมายถึงพระไวโรจนพุทธะ ข้างในมีพระไวโรจนพุทธะอยู่



ด้านในอาคาร



ข้างซ้ายมีหอกลอง



ข้างขวาเป็นหอระฆัง



เมื่อเป็นหอระฆังแน่นอนว่าข้างในมีระฆังอยู่ (จะบอกทำไมเนี่ย) ระฆังนี้สูง ๑.๗๕ เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางที่ฐาน ๑.๔๒ เมตร หนัก ๓๕๐ กก. หล่อเมื่อปี 1701 ซึ่งเป็นสมัยจักรพรรดิคังซี (康熙, ปี 1662 - 1722) แห่งราชวงศ์ชิง



ทางเดินไปต่อต้องอ้อมมาด้านหลังอาคารผีหลู แล้วเดินขึ้นบันไดสูงขึ้นไป



แล้วก็จะเจอกับอาคารเล็กๆที่ข้างในมีแบบจำลองขนาดย่อของวัดนี้อยู่ จะเห็นว่าวัดถูกออกแบบอย่างดี ยิ่งเดินลึกเข้าไปก็ยิ่งสูงขึ้นเรื่อยๆ และส่วนบริเวณตรงกลางมีทางแยะซ้ายขวาเพื่อไปยังหอคอยทั้ง ๒ แห่งที่อยู่ในส่วนปีกข้างของวัด



ผ่านตรงนี้เข้ามาอาคารทางซ้ายเป็นที่จัดแสดงพระพุทธรูปยุคราชวงศ์ซ่ง (宋朝, 960 - 1279)



เข้ามา เห็นพระพุทธรูปจัดแสดงอยู่ในตู้กระจกเป็นจำนวนมาก



ส่วนห้องข้างๆกันนั้นจัดแสดงแผ่นจารึกพระสูตร



ย้ายมาดูอาคารทางฝั่งซ้าย ตรงนี้เป็นส่วนที่เก็บสมบัติทางว้ฒนธรรม มีพวกเครื่องปั้นและรูปแกะสลักต่างๆ



และห้องข้างๆกันเป็นส่วนจัดแสดงวัฒนธรรมพุทธศาสนา



จากนั้นถัดมาดูอาคารตรงกลาง ที่นี่เรียกว่าอาคารซื่อเจีย (释迦殿) คำว่าซื่อเจียนี้ย่อมาจากซื่อเจียโหมวหนี (释迦牟尼佛) หมายถึงศากยมุนี



ข้างใน



ถัดจากนั้นก็เดินต่อเข้าไปด้านใน ปีนบันไดสูงขึ้นไป



อาคารด้านขวาจัดแสดงแผ่นบันทึกข้อมูลทางประวัติศาสตร์ แผ่นพวกนี้มีบันทึกถึงประวัติศาสตร์นับพันปี ส่วนอาคารฝั่งซ้ายก็เหมือนกัน



ส่วนอาคารที่อยู่ตรงกลางเรียกว่าอาคารเย่าซือ (药师殿) เย่าซือแปลว่าเภสัชกร ในที่นี้หมายถึงพระไภษัชยคุรุ บรมครูแห่งยารักษาโรค



จากบริเวณนี้ถ้าเลี้ยวไปด้านซ้ายหรือขวาก็จะไปเป็นทางไปสู่หอคอยเหนือกับใต้ของที่นี่ แต่ว่าถ้าเดินตรงไปขึ้นไปต่อก็จะเจออาคารส่วนต่อไป

ขึ้นมาต่อ ในชั้นนี้อาคารฝั่งซ้ายจัดแสดงแผ่นจารีกที่เป็นไม้



ส่วนฝั่งขวาเก็บบันทึกที่เป็นกระดาษ



รูปจำลองพระที่กำลังเขียน



ดูเสร็จขึ้นไปต่อก็ถึงชั้นบนสุดด้านในสุด



อาคารตรงส่วนนี้ฝั่งซ้ายขวาเป็นส่วนที่เก็บจารึกบนอะลูมิเนียม



และอาคารตรงกลางด้านในสุดมีชื่อว่าต้าเปย์เตี้ยน (大悲殿) ซึ่งต้าเปย์ (
悲殿) หมายถึงความโศกเศร้าเหลือคณา




ภายในมีพระอวโลกิเตศวรซึ่งเป็นเทพแห่งความเมตตา





ด้านในส่วนลึกของวัดก็สุดทางแค่นี้ แต่ยังไม่จบเพราะยังมีส่วนด้านข้าง หากมองจากตรงนี้ไปก็สามารถเห็นหอคอยทั้งเหนือใต้ได้ นี่คือหอเหนือ เราเริ่มจากไปดูหอเหนือก่อน



ทางเดินไปสู่หอเหนือ



หอเหนือ



เจดีสามอันนี้เรียกว่าซานกงถ่า (三公塔) ก่อจากอิฐ เป็นทรงแบบทิเบต



เห็นนกสวยดี ดูแล้วน่าจะเป็นนกกางเขน เจออยู่ตรงนั้น แป๊บเดียวก็บินหนีไป





ต่อมาข้ามไปยังหอใต้ หอนี้ดูจะหรูกว่าหอเหนือ ความสูง ๓๐ เมตร



ข้างๆกันนั้นมีเจดีย์หินที่เรียกว่าไคซานหว่านกงถ่า (开山琬公塔) เป็นเจดีย์ที่สร้างให้เป็นที่ฝังศพของจิ้งวาน (静琬) ซึ่งเป็นผู้เขียนศิลาจารีกพระสูตรคนหนึ่ง สร้างขึ้นเมื่อปี 1093



จากหน้าเจดีย์นี้มองกลับลงไปที่หอใต้อีกทีมุมนี้ก็สวย



มองลงไปข้างล่างด้านหน้าวัด



ข้างๆกันนั้นยังมีสถานที่เก็บจารึกพระสูตรซึ่งอยู่ใต้ดิน



ข้างในมีแผ่นหินที่จารึกพระสูตรอยู่เต็มไปหมด แต่เข้าไปดูใกล้ไม่ได้ ได้แต่ดูผ่านกระจก





สถานที่เที่ยวในนี้ก็หมดเท่านี้ เสร็จแล้วก็ได้เวลาเดินออกจากวัดและไปยังป้ายรถเมล์ ระหว่างทางกลับแผ่นหินฝั่งนี้เขียนว่า ขอให้ท่านกลับมาอีก (欢迎您回来) แต่เราคงจะไม่ได้กลับมาอีกแล้วถ้าไม่ใช่ว่าพาใครมาเที่ยว เพราะเดินทางเหนื่อยไม่น้อยกว่าจะมาถึง



ที่ป้ายรถเมล์มีอยู่ ๓ สายที่ผ่าน แต่ละสายก็ไปลงที่ต่างกัน ถ้าขึ้นสาย 房31 ก็จะกลับไปยังสถานีซูจวางที่เรามาทีแรกได้ ถ้าขึ้นสาย 房12 ก็จะไปลงที่สถานีอื่นได้ ส่วนสาย 房19 นั้นไม่ได้ผ่านสถานีรถไฟฟ้าไหนเลย แต่มันก็ย้อนเข้าสู่ย่านใจกลางเขตฝางซานซึ่งจากตรงนั้นหารถต่อไปขึ้นรถไฟฟ้าไม่ยาก ดังนั้นสรุปแล้วไม่ว่าสายไหนจะมาก็สามารถขึ้นได้ทั้งหมด ต่อให้แต่ละสายมีน้อยแต่ถ้ามีอยู่ถึง ๓ สายก็ไม่มีอะไรน่าเป็นห่วง



ใช้เวลารอรถอยู่นานประมาณ ๑๕ นาที ในที่สุดสาย 房31 ก็มา ขึ้นสายนี้ยังไงก็ดีที่สุด ทำให้ได้กลับเส้นทางที่คุ้นเคยไม่ต้องไปแก่วที่อื่น






ระหว่างทางผ่านสวนรูปแกะสลักจีนต้าสือวอ (大石窝中华石雕艺术园) เป็นสวนสาธารณะที่จัดวางรูปแกะสลักที่ใช้หินฮั่นไป๋ยวี่ (汉白玉) ซึ่งเป็นหินอ่อนสีขาวซึ่งนิยมใช้สร้างรั้วกั้นสีขายภายในสิ่งก่อสร้างโบราณของจีน สามารถแกะสลักเป็นรูปต่างๆได้ง่าย



เท่าที่เห็นผ่านๆและหาข้อมูลมาคิดว่าไม่มีอะไรน่าสนใจมากขนาดจะต้องแวะ แค่ถ่ายจากบนรถแบบนี้ก็เพียงพอ ที่นี่มีขนาดค่อนข้างเล็ก หากอยากชมรูปแกะสลักละก็ไปที่สวนสาธารณะรูปปั้นรูปแกะสลักนานาชาติปักกิ่ง (北京国际雕塑公园) น่าจะยังดีกว่า อยู่ในตัวเมืองแล้วก็ใหญ่กว่าด้วย https://phyblas.hinaboshi.com/20120409



ระหว่างทางยังผ่านโจวโข่วเตี้ยนด้วย



สุดท้ายก็กลับมาถึงสถานีรถไฟฟ้าซูจวาง จากนั้นก็ขึ้นรถไฟฟ้ากลับ

การเที่ยวในวันนี้ก็จบลงแต่เพียงเท่านี้ ได้เที่ยวสถานที่นอกเมืองทีเดียวถึงสองที่ เหนื่อยจริงๆ หมดไปทั้งวันเหมือนกัน แต่ก็สนุกดี คุ้มค่ามาก ทั้งโจวโข่วเตี้ยนและวัดหยวินจวีเป็นสถานที่ที่น่าไป หากใครมีโอกาสเที่ยวก็อยากจะแนะนำ แม้ว่าการเดินทางจะลำบากสักหน่อยก็ตาม



-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ท่องเที่ยว >> ศาสนสถาน >> วัด
-- ประเทศจีน >> จีนแผ่นดินใหญ่ >> ปักกิ่ง

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

บทความแต่ละเดือน

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2020年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

ค้นบทความเก่ากว่านั้น

ไทย

日本語

中文