φυβλαςのβλογ
phyblas的博客



หอระฆังและหอกลองปักกิ่ง สัญญาณบอกเวลาในอดีต
เขียนเมื่อ 2015/06/18 21:26
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
#จันทร์ 8 มิ.ย. 2015

ใจกลางเมืองสมัยก่อนในจีนมักจะประกอบไปด้วยหอระฆัง (钟楼) และหอกลอง (鼓楼) ซึ่งมีหน้าที่เอาไว้ใช้บอกเวลา โดยในตอนเช้าจะมีการตีระฆัง และตอนเย็นจะมีการตีกลอง ดังนั้นจึงมีคำพูดที่ว่าเฉินจงมู่กู่ (晨钟暮鼓) หมายถึงรุ่งสางระฆังพลบค่ำกลอง

นอกจากนี้ตามวัดหรือวังก็มักมีหอระฆังและหอกลองขนาดเล็กอยู่ด้วยซึ่งนอกจากจะใช้บอกเวลาแล้วก็ยังใช้ในการประกอบพิธิต่างๆด้วย ดังที่พบได้ในหลายๆวัดที่เคยไปเยือนมาแล้ว

หอกลองและหอระฆังในปักกิ่งเริ่มแรกสร้างขึ้นเมื่อปี 1272 ต้นยุคราชวงศ์หยวน (元朝, ปี 1271 - 1368) เป็นศูนย์กลางในการบอกเวลามาโดยตลอดตั้งแต่ยุคราชวงศ์หยวนมาจนถึงราชวงศ์ชิง

อย่างไรก็ตามหลังจากที่สร้างเสร็จตอนแรกสุดก็มีการพังเสียหายจนต้องสร้างใหม่หลายครั้ง หอกลองที่เห็นในปัจจุบันถูกสร้างขึ้นในปี 1539 ยุคราชวงศ์หมิง (明朝, ปี 1368 - 1644) ส่วนหอระฆังสร้างในปี 1745 ยุคราชวงศ์ชิง (清朝, ปี 1644 - 1912)

หอกลองสูง ๔๖.๗ เมตร หอระฆังสูง ๔๗.๙ เมตร ภายในหอกลองมีกลอง ภายในหอระฆังแขวนระฆัง หอระฆังตั้งอยู่ทางเหนือ หอกลองตั้งอยู่ทางใต้

การจัดวางแบบนี้ไม่ได้เป็นเรื่องปกตินักเพราะในเมืองส่านใหญ่แล้วจะวางหอกลองไว้ทางตะวันตก หอระฆังไว้ตะวันออก นอกจากนี้แล้วก็ยังมีหอกลองและหอระฆังของบางเมืองตั้งอยู่ร่วมกันในอาคารเดียวกัน เช่นที่เทียนจิน https://phyblas.hinaboshi.com/20111214

หากดูแผนที่จะเห็นว่าหอกลองปักกิ่งไม่ได้ตั้งอยู่ใจกลางเมืองแต่ค่อนไปทางเหนือหน่อย นั่นเป็นเพราะผังเมืองสมัยราชวงศ์หยวนนั้นใจกลางเมืองค่อนไปทางเหนือของปัจจุบันซึ่งมีใจกลางอยู่ที่หอระฆังและหอกลอง แต่ในยุคราชวงศ์หมิงจึงมีการย้ายใจกลางเมืองลงมาทางใต้ โดยหอระฆังและหอกลองยังอยู่ที่เดิม

เนื่องจากตั้งอยู่ใกล้ใจกลางเมืองและใกล้ย่านโบราณชื่อดังอย่างสือช่าไห่ (什刹海) ทำให้เป็นสถานที่เที่ยวหนึ่งที่ผู้คนนิยมแวะเวียนมาเที่ยว



หอกลองและหอระฆังตั้งอยู่ใกล้รถไฟฟ้าสถานีสือช่าไห่ (什刹海站) ถ้านั่งรถไฟฟ้ามาพอเดินออกมาก็จะเห็นหอกลองตั้งเด่นอยู่แต่ไกล เราเคยมาที่นี่หลายครั้งเพื่อเดินเล่นในสือช่าไห่แต่ก็ไม่ได้แวะเข้าไปในหอกลองสักที ครั้งนี้มาเพื่อชมหอกลองและหอระฆังโดยเฉพาะ ไม่ได้แวะสือช่าไห่

ภาพหอกลองจากฝั่งตรงข้ามถนน




ตอนที่มาในครั้งนี้พบว่าระหว่างทางเข้าไปยังหอกลองกำลังก่อสร้างอยู่ทำให้เดินลำบาก ตอนแรกก็แอบกลัวว่าหอกลองปิดหรือเปล่าแต่ก็ไม่ปิด แค่มีการซ่อมทางเฉยๆ อย่างไรก็ตามตอนที่ซื้อตั๋วคนขายเขาก็บอกว่าหอระฆังกำลังซ่อมแซมอยู่อาจทำให้เกิดความไม่สะดวกในการชม



เริ่มจากชมหอกลองก่อน ตรงนี้คือด้านหน้าหอกลอง ช่องขายตั๋วอยู่ตรงนี้ ตั๋วเข้าชมหอกลองและหอระฆังราคา ๒๐ หยวนทั้งคู่ แต่ถ้าซื้อพร้อมกันรวมเป็นใบเดียวเพื่อชมทั้งสองที่ก็จะราคา ๓๐



แผ่นป้ายแนะนำหอกลอง



ทางเข้าไปยังลานหน้าหอกลอง การเดินเข้าไปต้องผ่านจุดตรวจกระเป๋า



บริเวณด้านหน้าหอกลอง




ช่องตรวจตั๋วเพื่อขึ้น



บันไดทางขึ้นนี้ตรงขึ้นไปยังด้านบนโดยตรง



เมื่อขึ้นมาถึงขึ้นบนมีกลองเต็มไปหมด



ตอนที่มานั้นมีคนกำลังตีกลองอยู่ด้วย เห็นว่าเป็นการซ้อมโดยไม่มีกำหนดเวลาแน่นอน ถ้ามาตรงจังหวะก็จะได้เห็น ถ้าเป็นเมื่อก่อนจะมีการจัดแสดงซ้อมตีกลองให้คนได้เห็นทุกชั่วโมง แต่เดี๋ยวนี้เปลี่ยนเป็นไม่มีกำหนดแน่นอน



นอกจากนี้ก็จัดแสดงพวกอุปกรณ์ต่างๆที่ใช้ในการระบุเวลาในสมัยก่อน คนที่นี่จำเป็นจะต้องรู้เวลาที่แน่ชัดเพื่อจะตีกลองให้ตรงเวลา




นาฬิกาน้ำโบราณของจีนที่เรียกว่าเค่อโล่ว (刻漏) ทำงานโดยใส่น้ำลงในถังที่มีเจาะรูให้น้ำไหลออกได้ น้ำจะไหลออกจากรูไปเรื่อยๆตามเวลา สามารถดูระดับน้ำเพื่อบอกว่าเวลาผ่านไปนานแค่ไหนได้



สามารถเดินออกมาที่ระเบียงได้ ระเบียงทางนี้หันไปทางทิศใต้



มองออกไปเห็นใจกลางเมืองทางทิศใต้



ตรงนั้นเป็นสวนสาธารณะจิ่งซาน (景山公园) ตั้งเด่นอยู่ใจกลาง https://phyblas.hinaboshi.com/20120527



เจดีย์ขาวของสวนสาธารณะเป๋ย์ไห่ (北海公园) https://phyblas.hinaboshi.com/20111203



มองไปทางขวาเป็นทิศตะวันตก เห็นตัวเมืองและภูเขาเบื้องหลัง



สามารถมองเห็นหอคอยโทรทัศน์กลาง (中央电视塔) ที่เพิ่งไปมาวันก่อนได้ https://phyblas.hinaboshi.com/20150612



ตึกแถวซีจื๋อเหมิน (西直门) และสถานีเหนือปักกิ่ง (北京北站)



มองไปทางซ้ายเป็นทิศตะวันออก



หมดแค่นี้ ได้เวลาเดินลงไปจากหอกลอง



มองไปยังหอระฆังซึ่งอยู่ทางทิศเหนือ



เดินผ่านเข้าไป




ที่ตรวจตั๋ว



บันไดทางตรงขึ้นไป



เมื่อขึ้นมาถึงก็พบว่าบริเวณระฆังกำลังซ่อมอยู่ แต่ก็สามารถเห็นระฆังได้ตามปกติแม้ว่าอาจจะยังดูไม่ค่อยเรียบร้อยนัก ระฆังที่เห็นนี้คือระฆังโบราณที่ใหญ่ที่สุดในจีน สูง ๗.๐๒ เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางที่ฐาน ๓.๔ เมตร ถูกเรียกว่าราชาแห่งระฆังโบราณ (古钟之王, กู่จงจือหวาง) ถูกสร้างในช่วงรัชสมัยของจักรพรรดิหย่งเล่อ (永乐, ปี 1403 - 1424)



มองออกไปนอกระเบียงทางทิศใต้ เห็นหอกลองที่เพิ่งเดินขึ้นไปชมมาเมื่อครู่





ภายในหอระฆังก็มีอยู่แค่นี้ ไม่ได้มีส่วนจัดแสดงอะไรเหมือนอย่างหอกลอง แค่ขึ้นมาเพื่อดูระฆังขนาดใหญ่เท่านั้น

ทั้งหอกลองและหอระฆังเดินทั้งหมดรวมแล้วใช้เวลาแค่ครึ่งชั่วโมงเท่านั้น ไม่ได้กินเวลาสักเท่าไหร่นักในการชม หากใครมาเที่ยวสือช่าไห่ก็อาจจะแวะมาเที่ยวที่นี่ด้วยได้

นอกจากนี้แล้วไม่ไกลจากที่นี่มากนักยังมีสถานที่น่าสนใจอีกแห่งที่หากใครสนใจประวัติศาสตร์ก็อาจลองแวะไปได้ อยู่ห่างจากที่นี่ไปทางตะวันออกเฉียงใต้อีกหน่อย นั่นคือศาลเจ้าเหวินเทียนเสียง (文天祥祠) ซึ่งเป็นสถานที่ระลึกถึงเหวินเทียนเสียง วีรบุรุษแห่งราชวงศ์ซ่งใต้ เราเดินต่อเพื่อไปชมที่นั่นต่อ https://phyblas.hinaboshi.com/20150620



-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ประเทศจีน >> จีนแผ่นดินใหญ่ >> ปักกิ่ง
-- ประวัติศาสตร์ >> ประวัติศาสตร์จีน

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

目录

从日本来的名言
模块
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
机器学习
-- 神经网络
javascript
蒙古语
语言学
maya
概率论
与日本相关的日记
与中国相关的日记
-- 与北京相关的日记
-- 与香港相关的日记
-- 与澳门相关的日记
与台湾相关的日记
与北欧相关的日记
与其他国家相关的日记
qiita
其他日志

按类别分日志



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  查看日志

  推荐日志

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ