φυβλαςのβλογ
phyblas的博客



สุสานและศาลเจ้าหยวนฉงฮว่าน วีรบุรุษคนสำคัญแห่งราชวงศ์หมิง
เขียนเมื่อ 2016/12/04 18:41
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
#ศุกร์ 12 มิ.ย. 2015

ปักกิ่งเป็นเมืองหลวงของจีนมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์หยวนแล้ว จึงเป็นที่รวมของบุคคลสำคัญต่างๆตั้งแต่สมัยนั้น ไม่ว่าใครก็ต้องมีช่วงหนึ่งที่อาศัยอยู่ปักกิ่ง หรือตายที่ปักกิ่ง

ก่อนหน้านี้มีโอกาสได้ไปเยี่ยมสุสานของบุคคลสำคัญหลายคนแล้ว คราวนี้ก็จะแนะนำให้รู้จักอีกคนหนึ่ง

เมื่อครั้งที่ไปเที่ยวจิ่นโจว (锦州) และซิงเฉิง (兴城) ทำให้ได้มีโอกาสพูดถึงวีรบุรุษสำคัญคนหนึ่งของจีนซึ่งมีชีวิตอยู่ในช่วงปลายยุคราชวงศ์หมิง นั่นคือหยวนฉงฮว่าน (袁崇焕) เล่าไปใน https://phyblas.hinaboshi.com/20150722

นอกจากนี้ยังมีกล่าวถึงศึกครั้งสำคัญของเขาไว้อีกเล็กน้อยตอนที่เที่ยวป้อมประตูเต๋อเซิ่งเหมิน (德胜门) ใน https://phyblas.hinaboshi.com/20150411

ครั้งนี้เรามีโอกาสได้ไปเยี่ยมสุสานของเขาซึ่งอยู่ในปักกิ่ง เรียกว่าสุสานและศาลเจ้าหยวนฉงฮว่าน (袁崇焕祠墓, หยวนฉงฮว่านฉือมู่)

หยวนฉงฮว่านเกิดในปี 1584 เป็นชาวเมืองตงกว่าน (东莞) มณฑลกวางตุ้ง ผลการเรียนดีมาตั้งแต่เด็ก มีความรู้ทางด้านการศึก เริ่มรับราชการที่เมืองเซ่าอู่ (邵武) มณฑลฝูเจี้ยนตั้งแต่ปี 1619 แต่ต่อมาในปี 1622 มีผู้ที่เห็นแววความสามารถเขาจึงได้ตำแหน่งเป็นผู้วางแผนการรบ

ช่วงนั้นพวกชนเผ่าแมนจูกำลังเริ่มตั้งตัวเป็นใหญ่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีน ยึดเอาเมืองสำคัญไปมากและตั้งเมืองหลวงที่เมืองเสิ่นหยาง (沈阳) ในปี 1625

หยวนฉงฮว่านรับหน้าที่มาวางแผนศึกที่เมืองหนิงหย่วน (宁远) ซึ่งเป็นเมืองหน้าด่านที่สำคัญขณะนั้น และในปี 1626 ทัพแมนจูได้บุกมาถึงที่นี่ หยวนฉงฮว่านต่อสู้ป้องกันเมืองไว้ได้ สามารถเอาชนะไล่พวกแมนจูกลับเสิ่นหยางไปได้สำเร็จ

ปัจจุบันเมืองหนิงหย่วนเปลี่ยนชื่อเป็นเมืองซิงเฉิง (兴城) ตัวเมืองและป้อมกำแพงรอบเมืองถูกอนุรักษ์ไว้กลายเป็นสถานที่เที่ยว ที่นั่นมีอนุสรณ์สถานของหยวนฉงฮว่านอยู่ และมีรูปปั้นของเขาตั้งอยู่ที่สถานีรถไฟซิงเฉิง

เรื่องของการท่องเที่ยวในซิงเฉิงได้เล่าไว้ใน https://phyblas.hinaboshi.com/20150811

ต่อมาปี 1629 พวกแมนจูเปิดเส้นทางใหม่บุกอ้อมมาถึงปักกิ่งโดยไม่ผ่านหนิงหย่วน หยวนฉงฮว่านรีบยกทัพจากหนิงหย่วนกลับมาปักกิ่งเพื่อช่วยสู้ศึก

ครั้งนั้นทัพของเขาได้ตั้งค่ายอยู่ที่ด้านนอกประตูเมืองฝั่งตะวันออก กว่างฉวีเหมิน (广渠门) โดยไม่สามารถเข้าเมืองได้เนื่องจากจักรพรรดิไม่อนุญาต ทหารของเขาจึงไม่มีโอกาสได้เข้าไปพักเหนื่อย

ถึงอย่างนั้นเมื่อต้องปะทะกับกองทัพแมนจู หยวนฉงฮว่านก็สามารถสู้เอาชนะได้ พวกแมนจูล่าถอยกลับไปอีกครั้ง

แต่หลังศึกครั้งนั้นเขาได้ถูกใส่ร้ายว่าเขาให้ความร่วมมือกับพวกแมนจูจนปล่อยให้เข้ามาถึงปักกิ่งได้ ทำให้หยวนฉงฮว่านถูกจับ หลังจากนั้นในปีถัดมา ปี 1630 เขาก็ได้ถูกสั่งประหารด้วยวิธีการที่ทารุน

ศพของเขาได้ถูกฝังเอาไว้ที่ด้านในประตูเมืองกว่างฉวีเหมินซึ่งเขาได้สู้รับศึกกับทัพแมนจูอยู่นั่นเอง

ต่อมาในปี 1912 ศาลเจ้าได้ถูกสร้างขึ้นมาไว้ข้างๆสุสาน

ปี 1952 มีแผนปรับปรุงผังเมืองโดยการย้ายสุสานทั้งหมดออกจากบริเวณตัวเมือง สุสานแห่งนี้จริงๆก็ถือว่าอยู่ในบริเวณที่ต้องถูกย้าย แต่เนื่องจากเห็นว่าหยวนฉงฮว่านคือผู้ที่เคยต่อสู้ปกป้องเมืองปักกิ่งเอาไว้จึงเห็นควรได้รับการยกเว้นให้เหลือสุสานไว้ในเมือง

ปัจจุบันสุสานและศาลเจ้าหยวนฉงฮว่านเป็นสถานที่เที่ยวที่เปิดให้เข้าชมได้ โดยบริเวณรอบๆถูกทำเป็นสวนสาธารณะ ค่าเข้าชมด้านในเพียงแค่ ๒ หยวน แต่สำหรับนักเรียนนักศึกษาลดครึ่งราคาเหลือ ๑ หยวนเท่านั้น



สถานีรถไฟฟ้าที่อยู่ใกล้ที่สุดคือสถานีกว่างฉวีเหมินเน่ย์ (广渠门内站) สาย 7 อยู่ใกล้สถานีจึงมาได้ง่ายมาก



บันทึกนี้เป็นเรื่องราวต่อจากที่ไปเที่ยวพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาปักกิ่ง (北京自然博物馆) https://phyblas.hinaboshi.com/20161203

จากตรงนั้นแวะมาที่นี่ได้ง่ายเพราะอยู่ใกล้กัน รถไฟฟ้าสายเดียวกัน ห่างกันไป ๓ สถานี

ถึงแล้วก็ออกประตูทางเหนือแล้วเดินเข้าถนนตงฮวาซื่อตง (东花市东街)




แล้วเลี้ยวขวาเข้าถนนตงฮวาซื่อหนานหลี่ (东花市南里路)




แล้วก็มาถึงสวนสาธารณะที่เป็นเป้าหมาย



ภายในดูเหมือนสวนสาธารณะธรรมดาทั่วๆไป




แต่เดินเข้าไปตามทางนี้แล้วก็จะเจอทางเข้าศาลเจ้าหยวนฉงฮว่าน



ประตูทางเข้าในบริเวณ



ป้ายบอกวันเวลาเปิดปิดในแต่ละวันและราคาตั๋วเข้าชม



เมื่อเข้ามาถึงจะเจออาคารจัดแสดงอยู่ตรงหน้า แต่ต้องเดินไปทางซ้ายเพื่อซื้อตั๋วสำหรับเข้าชมก่อน



อาคารที่ขายตั๋ว



ตั๋วเข้าชม



ได้ตั๋วเสร้จจากนั้นเข้าชมห้องจัดแสดงหลักตรงกลาง



ภายในค่อนข้างเล็ก และไม่มีอะไรมากมายนัก โล่งกว่าที่คาดหวังเอาไว้มาก



มีแค่ป้ายจำนวนหนึ่งที่อธิบายชีวประวัติของหยวนฉงฮว่านพร้อมภาพประกอบ แต่ก็ไม่ได้ละเอียดมากนัก



เดินทะลุผ่านเข้ามาด้านในจะเจอกับป้ายหลุมศพ



ตอนที่ไปถึงดูเหมือนจะมีการซ่อมแซมอะไรอยู่ทำให้มีราวเหล็กตั้งบังและมีของบางอย่างวางทิ้งไว้ใกล้ๆ





ลองมองดูรอบๆบริเวณก็เห็นมีอยู่เพียงเท่านี้



จากนั้นถัดมายังมีห้องจัดแสดงทางซ้ายเล็กๆอีกห้อง



ภายในจัดแสดงพวกภาชนะเครื่องเคลือบพื้นเมืองของเมืองตงกว่านบ้านเกิดของหยวนฉงฮว่าน







จบการชมเพียงเท่านี้ ดูแล้วไม่ค่อยมีอะไรมากจนออกจะชวนให้ผิดหวังอยู่

สถานที่ที่คล้ายๆกันในปักกิ่งยังมีศาลเจ้าเหวินเทียนเสียง (文天祥祠) วีรบุรุษแห่งยุคซ่งใต้ ซึ่งดูจะใหญ่กว่าและมีอะไรให้ชมมากกว่าพอสมควร เล่าไปใน https://phyblas.hinaboshi.com/20150620

อย่างไรก็ตาม สำหรับคนที่อ่านประวัติศาสตร์และอยากตามรอยก็อาจเป็นที่หนึ่งที่อาจน่าลองแวะมาสักหน่อย อย่างน้อยสถานที่ก็มาได้ง่าย แต่หากมีเวลาอยากแนะนำให้แวะไปเที่ยวเมืองซิงเฉิงมากกว่า จะมีอะไรให้ชมมากกว่านี้มาก



-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ประเทศจีน >> จีนแผ่นดินใหญ่ >> ปักกิ่ง
-- ท่องเที่ยว >> สุสาน

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

目录

从日本来的名言
模块
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
机器学习
-- 神经网络
javascript
蒙古语
语言学
maya
概率论
与日本相关的日记
与中国相关的日记
-- 与北京相关的日记
-- 与香港相关的日记
-- 与澳门相关的日记
与台湾相关的日记
与北欧相关的日记
与其他国家相关的日记
qiita
其他日志

按类别分日志



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  查看日志

  推荐日志

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ