φυβλαςのβλογ
phyblas的博客



หมู่บ้านชนเผ่ายูนนาน ศูนย์รวมความหลากหลายทางวัฒนธรรมของยูนนาน
เขียนเมื่อ 2018/06/27 22:35
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
# พฤหัส 19 เม.ษ. 2018

เข้าสู่วันสุดท้ายในการเที่ยวยูนนาน (ตอนล่าสุด https://phyblas.hinaboshi.com/20180625)

เป้าหมายการเที่ยวสำคัญของวันนี้คือหมู่บ้านชนเผ่ายูนนาน (云南民族村) เป็นสถานที่จัดแสดงวัฒนธรรมของชนเผ่าต่างๆที่อยู่ในมณฑลยูนนาน รวมทั้งหมด ๒๖ เผ่า

ยูนนานเป็นมณฑลที่มีความหลากหลายทางเชื้อชาติสูงมาก มีชนเผ่าต่างๆมากมาย จึงเป็นจุดเด่นสำคัญของมณฑล

สถานที่ตั้งอยู่ริมทะเลสาบเตียนฉือ (滇池) ห่างจากใจกลางเมืองคุนหมิงไป ๘ กม. พื้นที่ประมาณ ๑๓ ตร.กม.

ช่วงที่ไปนั้นพอดีเป็นช่วงสงกรานต์ จึงมีจัดกิจกรรมสาดน้ำด้วย เพราะเป็นเทศกาลสำคัญของชนเผ่าไท ที่จริงวันนั้นวันที่ 19 ดังนั้นสงกรานต์จริงๆเลยมาแล้ว แต่ตัวกิจกรรมจัดต่อเนื่องตั้งแต่วันที่ 13 ถึง 22 เมษายน

เมื่อก่อนเคยไปสวนชนเผ่าแห่งจีน(中华民族园) ที่ปักกิ่งมาแล้ว https://phyblas.hinaboshi.com/20150604

ที่นั่นจัดแสดงวัฒนธรรมชนเผ่าทั้งหมด ๕๖ กลุ่มที่มีอยู่ในจีนครบครัน

สำหรับของที่คุนหมิงนี้ก็จะคล้ายกัน แต่จะเน้นเฉพาะ ๒๖ เผ่าพันธ์ที่อยู่ในมณฑลยูนนานเท่านั้น ระดับจึงเล็กกว่า

รายละเอียดของแต่ละชนเผ่าได้เขียนถึงไปในนั้นแล้ว จึงจะขอละไว้ ไม่เขียนมากในนี้อีก



วันนี้ตื่นมาแต่เช้าเพื่อเตรียมตัวไปเที่ยวเช้าๆ แต่สุดท้ายกว่าจะออกจริงๆก็แปดโมงครึ่ง

จากโรงแรมไปยังสวนชนเผ่าสามารถนั่งรถสาย a1 ไปได้โดยตรง




แต่ว่าไปได้สักครึ่งทางเกิดปวดอยากเข้าห้องน้ำขึ้นมาจึงแวะลงกลางทาง ตรงนั้นคือย่านศูนย์การค้าสไตล์เอเชียใต้ (南亚风情第壹MALL) ซึ่งมีคาร์ฟูร์ ตัวร้านหลายส่วนยังไม่เปิดเนื่องจากเช้าไปแต่ตัวคาร์ฟูร์เปิดแล้วจึงเข้าไปแวะเข้าห้องน้ำได้





หลังแวะเสร็จก็กลับมานั่งรถเมล์ต่อ คราวนี้ขึ้นสาย ๗๓ ต่อไปจนถึงหมู่บ้านชนเผ่า



ทางเข้าในบริเวณ



เมื่อถึงแล้วก็เดินเข้าไปเป็นย่านที่ทำให้เป็นลักษณะเมืองเก่า





เจอร้านหนึ่งที่เห็นแล้วอาจขัดใจคนไทยสักหน่อยก็คือร้าน ไท่หมังเหลอะ (泰忙了) แปลไทยเป็น "ฉันยุ่งมาก" แต่มีการเขียนผิดเป็น "ฉัมยุ่งนาก" ด้วย ชื่อร้านจริงๆเป็นการเล่นคำ โดยคำว่ายุ่งมากคือ "太忙了" แต่อักษร 太 กับ 泰 ออกเสียงเหมือนกัน แต่ 泰 แปลว่าไทย ดังนั้นร้านนี้เลยมีภาษาไทยกำกับด้วย



การเที่ยวที่นี่ก็ค่อนข้างสบายสำหรับคนไทยด้วยตรงที่ว่ามีภาษาไทยกำกับตลอด เพียงแต่ว่าบางส่วนก็แปลไม่ค่อยดีนัก แต่ก็ไม่ถึงขั้นว่าใช้โปรแกรมแปล ดูแล้วมองออกว่าใช้คนแปลจริงๆ แต่น่าจะไม่ใช่คนไทยเลยมีที่แปลกๆบ้าง เช่นคำว่า "ศูนย์กลางขายตั๋ว" ดูยังไงก็แปลกๆในภาษาไทย เพราะไม่มีใครพูดกัน มีแต่บอกว่าเป็น "ที่ขายตั๋ว" มากกว่า



ระหว่างทางเดินเข้าไปเป็นดงร้านขายของ





ตรงนี้เป็นศูนย์บริการท่องเที่ยว



มีแผนที่ซึ่งบอกตำแหน่งที่มีจัดกิจกรรมสาดน้ำด้วย



ด้านในเป็นที่ขายตั๋ว ซื้อตั๋วเข้าชมราคา ๙๐ หยวน



แล้วก็เข้าที่ทางเข้าตรงนี้




เข้าไปถึงก็เป็นย่านที่มีกิจกรรมสาดน้ำเลย ก็พยายามเดินไปหลบไป



ฝ่าเข้ามาได้ก็เจอส่วนของเผ่าเต๋ออ๋าง (德昂)




ชนเผ่านี้เป็นชนกลุ่มน้อยในพม่าด้วย ที่พม่าเรียกว่า "ปะหล่อง" ภาษาของพวกเขาใช้อักษรพม่าเขียน




ในบริเวณนี้ยังมีส่วนที่สาดน้ำด้วย




ส่วนของชาวเต๋ออ๋างนั้นค่อนข้างกว้างมีอะไรพอสมควร



ในอาคารสามารถเข้าไปดูได้



เรือนวัดพุทธแบบชาวเต๋ออ๋าง



ถัดมาเป็นส่วนของชาวจิ่งพัว (景颇) เป็นชนกลุ่มน้อยที่อยู่ในพม่าด้วยเช่นกัน ที่พม่าเรียกว่าชาว "กะฉิ่น"




ภายในอาคารของชาวจิ่วพัว



ถัดมาเป็นส่วนของชาวทิเบต (西藏) ซึ่งพอดีว่าเราได้ไปเยือนถิ่นของชาวทิเบตอย่างที่เซียงเก๋อหลี่ลามาแล้วดังนั้นตรงนี้เลยเดินผ่านๆอย่างไว




ตรงส่วนนี้อยู่ริมน้ำและมีรูปสลักหินจามรี



ติดกับส่วนของทิเบต ตามแผนที่บอกว่าจะมีของชาวอาชาง (阿昌) แต่เรากลับหาไม่เจอ เจอแต่ห้องน้ำ



ต่อไปเป็นส่วนของชาวฮาหนี (哈尼)






จตุรัสดวงเดือนดวงอาทิตย์ (日月广场) จำลองแบบจากสถานที่ศักดิ์ของชาวฮาหนี



เดินถัดต่อมาเจอลานกว้างที่มีน้ำขังอยู่ตรงกลาง บริเวณนี้อีกสักพักจะเป็นส่วนกิจกรรมสาดนำ้อย่างเต็มรูปแบบ แต่ตอนนี้ยังไม่ถึงเวลา



แล้วเดินถัดต่อมา



ทางขวาเป็นเวทีจัดการแสดง เป็นพวกการแสดงชนเผ่า แต่ต้องเสียตังค์เข้าชม เราไม่ได้เข้าชม



ทางซ้ายเป็นภัตตาคาร



เจอกลุ่มเด็กที่มาทัศนศึกษา



เดินข้ามสะพานไปต่อ



ก็เจอส่วนของชาวอี๋ (彝)



ตรงนี้เรียกว่าจตุรัสปฏิทินสุริยคติ (太阳历广场) ชาวอี๋ดั้งเดิมแบ่งฤดูกาลออกเป็น ๕ ฤดู ฤดูละ ๒ เดือน โดย ๑ เดือนมี ๓๖ ​วัน ถือว่ามีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง




ถัดมาเป็นสวน



แล้วก็จำลองหมู่บ้าน




อันนี้เป็นร้านอาหาร ขายแกงเนื้อแพะ



ต่อมาเป็นส่วนของชาวหมัวซัว (摩梭) ซึ่งจริงๆแล้วเป็นกลุ่มย่อยของชาวน่าซี





ในบ้านของชาวหมัวซัว






ต่อมาก็เป็นส่วนของชาวน่าซี (纳西) ซึ่งก็คือชนเผ่าที่ลี่เจียงที่เพิ่งไปมา ดังนั้นเราก็ดูผ่านๆเพราะได้ไปเห็นของแท้มาแล้ว









ในนี้จัดแสดงอักษรตงปาอันเป็นเอกลักษณ์ของชาวน่าซี





จากนั้นข้ามสะพานลมฝน (风雨桥, เฟิงหยวี่เฉียว)




ก็จะเป็นส่วนของชาวจว้าง (壮) ซึ่งมีอยู่แค่นี้เล็กนิดเดียว แม้ว่าจริงๆชาวจว้างจะเป็นชนกลุ่มน้อยที่มีจำนวนมากที่สุดในจีนก็ตาม แต่ส่วนใหญ่อยู่ในกว่างซี ในยูนนานมีแค่เล็กน้อย





จากนั้นเป็นส่วนของชาวมองโกล (蒙古) แต่จังหวะนั้นชนกับกลุ่มเด็กขนาดใหญ่ที่มาทัศนศึกษา ทำให้แออัดพอดู



ตัวกระโจมของมองโกลเองก็ปิดอยู่ด้วย



ร้านชานมมองโกล (蒙古奶茶)



ในนี้มีท่าเฮลิคอปเตอร์ด้วย



ต่อไปเป็นส่วนของชาวไป๋ (白) ซึ่งเป็นเผ่าของเมืองต้าหลี่ซึ่งก็เพิ่งได้ไปเห็นถึงถิ่นมา ส่วนตรงนี้เป็นแค่จำลอง ทำเอาไว้กว้างพอสมควร




นี่เป็นบ้านที่ทำออกมาคล้ายบ้านตระกูลหยานที่สี่โจวที่ไปมา https://phyblas.hinaboshi.com/20180524




ตรงนี้เป็นลานกว้างที่จัดแสดง แล้วมีขายของกินเล็กๆน้อยๆ ก็หาอะไรรองท้องเป็นมื้อเที่ยงระหว่างชมการแสดง




เป็นการแสดงของชนเผ่าไป๋




นอกจากนี้ยังมีจำลองสามหอคอยวัดฉงเซิ่ง (崇圣寺) ด้วย



ต่อมาต้องข้ามสะพานนี้ไป แต่จังหวะนั้นกลุ่มเด็ก



ที่น่ากลัวคือมันเป็นสะพานไม้แขวนโยกเยก ถ้าข้ามไปพร้อมกันหมดก็คงจะอันตราย



พอข้ามมาก็จะเป็นหมู่บ้านชาวเหยา (瑶) หรือที่ในไทยเรียกว่าชาวเมี่ยน




แล้วก็ส่วนของชาวลาฮู่ (拉祜) กับ ชาวจีนั่ว (基诺)




จากนั้นก็เป็นชาวหุย (回) ซึ่งเป็นกลุ่มเดียวที่เป็นอิสลาม จึงเป็นมัสยิด




แต่จังหวะที่ผ่านตรงนี้ฝนก็กระหน่ำลงมา กลุ่มเด็กๆก็เลยมาหลบฝนกันตรงนี้



ต่อมาเป็นส่วนของชาวแมนจู (满)



จากนั้นเดินย้อนมาตรงลานกว้าง



ขณะนั้นที่นั่นเริ่มจัดกิจกรรมเล่นสาดน้ำ เด็กๆก็มาสาดเล่นกันอย่างสนุกสนาน สายฝนเองก็โปรยปราย ต่อให้ไม่สาดก็เปียกกันอยู่แล้ว




ก็มาต่อที่ส่วนของชาวลี่ซู่ (傈僳) หรือลีซอ



แล้วก็ส่วนของชาวนู่ (怒) ชาวตู๋หลง (独龙) และ ชาวผูหมี่ (普米)







ต่อมาเป็นส่วนของชาวเหมียว (苗) หรือที่ในไทยเรียกว่าม้งหรือแม้วนั่นเอง




โบสถ์ของชาวม้งที่นับถือคริสต์



ที่ประตูโบสถ์เขียนภาษาม้ง ชาวม้งมีอักษรเป็นของตัวเอง เรียกว่าอักษรพอลลาร์ด (Pollard) คิดโดยหมอสอนศาสนาชาวอังกฤษ เดิมใช้เพื่อเขียนคัมภีร์แปล มีพื้นฐานเป็นอักษรโรมัน แต่ก็ไม่เหมือน



ต่อไปเป็นชาวหว่า (佤)







แล้วก็ชาวปู้หล่าง (布朗) และ ชาวปู้อี (布依)





ชาวสุ่ย (水)



แล้วก็เป็นสะพานข้ามเกาะอีก



ซึ่งข้ามไปจะเป็นส่วนของชาวไท (傣) ซึ่งเป็นเผ่าที่เราเลือกเดินมาดูเป็นลำดับสุดท้าย





บริเวณนี้เป็นอีกจุดที่มีกิจกรรมสาดน้ำ




มีร้านขายของไทยอยู่ด้วย




ส่วนของเผ่าไทก็ถือว่าใหญ่พอสมควร คือใช้พื้นที่ทั้งเกาะ เป็นเผ่าที่กินพื้นที่มากที่สุดภายในนี้




ดูเสร็จก็กลับออกมาทางเดิม ระหว่างทางแวะพิพิธภัณฑ์ชนเผ่ายูนนาน (云南民族博物馆) ซึ่งอยู่ตรงศูนย์บริการนักท่องเที่ยว



แต่ข้างในค่อนข้างเล็ก ไม่มีอะไรมาก




การเที่ยวที่นี่ก็จบลงเท่านี้ ต่อจากนั้นก็นั่งรถเมล์กลับ



จากนั้นก็ไปเดินซื้อหนังสือต่อ https://phyblas.hinaboshi.com/20180629



-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ประเทศจีน >> จีนแผ่นดินใหญ่ >> ยูนนาน

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

目录

从日本来的名言
模块
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
机器学习
-- 神经网络
javascript
蒙古语
语言学
maya
概率论
与日本相关的日记
与中国相关的日记
-- 与北京相关的日记
-- 与香港相关的日记
-- 与澳门相关的日记
与台湾相关的日记
与北欧相关的日记
与其他国家相关的日记
qiita
其他日志

按类别分日志



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  查看日志

  推荐日志

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ