φυβλαςのβλογ
phyblasのブログ
ทวีต
หยวนหมิงหยวน พระราชวังฤดูร้อนเก่าที่รกร้าง
เขียนเมื่อ 2011/12/21 01:53
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
#จันทร์ 21 พ.ย. 2011
หยวนหมิงหยวน (圆明园)
หรือพระราชวังฤดูร้อนเก่า เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงมากแห่งหนึ่งของปักกิ่ง
ปัจจุบันพูดถึงพระราชวังฤดูร้อนก็จะหมายถึง
อี๋เหอหยวน (颐和园)
แต่สมัยก่อนพระราชวังฤดูร้อนตั้งอยู่ที่หยวนหมิงหยวนมาก่อน แต่หลังจากถูกเผาทำลาย พระราชวังฤดูร้อนจึงถูกสร้างใหม่ที่อี๋เหอหยวน
พระราชวังฤดูร้อนที่หยวนหมิงหยวนถูกสร้างขึ้นในปี 1707 สมัย
จักรพรรดิคางซี (康熙帝)
และถูกเผาทำลายลงในปี 1860 จากการบุกของกองทัพอังกฤษในช่วงสงครามฝิ่นครั้งที่สอง
ปัจจุบันหยวนหมิงหยวนเหลือเพียงซากปรักหักพังที่เป็นร่องรอยของพระราชวังเก่า โดยซากที่เหลือนั้นมีแต่พระราชวังส่วนที่สร้างเป็นแบบยุโรปซึ่งใช้หินสร้างเท่านั้น ส่วนอาคารแบบจีนดั้งเดิมซึ่งใช้ไม้สร้างนั้นไม่เหลือซากเลย จนทำให้คนคิดว่าพระราชวังที่นี่แต่เดิมเป็นแบบยุโรป ทั้งที่จริงๆส่วนนี้เป็นเพียงส่วนน้อย
แต่พื้นที่ส่วนใหญ่ปัจจุบันเป็นสวนสาธารณะที่กว้างใหญ่ และหลายส่วนก็โล่งร้าง ไม่มีอะไรเป็นพิเศษ และไม่ได้ถูกตกแต่งให้สวยงามอย่างพระราชวังฤดุร้อนที่อี๋เหอหยวน
รัฐบาลจีนเคยมีแผนที่จะสร้างพระราชวังในหยวนหมิงหยวนขึ้นมาใหม่เหมือนกับที่ทำกับสิ่งก่อสร้างหลายแห่งในปักกิ่ง แต่สุดท้ายก้ตัดสินใจเหลือซากเอาไว้
บริเวณที่เรียกรวมๆว่าสวนสาธารณะหยวนหมิงหยวนนี้ที่จริงแบ่งเป็นสามส่วนใหญ่ๆ คือ
หยวนหมิงหยวน ฉี่ชุนหยวน (绮春园)
และ
ฉางชุนหยวน (长春园)
ปัจจุบันทางเข้าหลักของที่นี่อยู่ที่ฉี่ชุนหยวน มีสถานีรถไฟฟ้าส่งถึงหน้าประตู
มีคนพูดถึงหยวนหมิงหยวนกันไปต่างๆนาๆ บางคนก็ว่าเป็นที่ที่ไม่น่าเข้า ไม่ค่อยมีอะไรน่าสนใจเท่าไหร่ มีแต่ซากปรักหักพังไม่มีอะไรสวยงามเท่าไหร่
แต่บางคนก็ถือว่านี่เป็นสถานที่ที่มาปักกิ่งแล้วต้องแวะมาสักครั้ง ยิ่งตั้งอยู่ใกล้พระราชวังฤดูร้อน อี๋เหอหยวน ซึ่งไม่ว่าใครมาปักกิ่งก็ต้องแวะมาอยู่แล้วนั้นด้วย จึงถือโอกาสแวะมาเที่ยวได้ไม่เสียเวลา
พระราชวังฤดูร้อนเราเคยไปเที่ยวมาแล้วเมื่อตอนมาปักกิ่งใหม่ๆ ตอนนั้นเป็นปลายฤดูร้อน อากาศกำลังเย็นสบาย
ส่วนหยวนหมิงหยวนนี้เรามาเมื่อเดือนก่อน เป็นช่วงต้นฤดูหนาว อากาศหนาวมาก ต้นไม้ใบไม้ร่างร่วงโรยหมดแล้ว
สถานีรถไฟฟ้าหยวนหมิงหยวน (地铁圆明园站)
ภายในสถานีรถไฟฟ้าที่สถานีนี้มีผนังแกะสลักสวยงามเป็นข้อความเกี่ยวกับหยวนหมิงหยวน ดูโดดเด่นกว่าสถานีอื่นๆส่วนใหญ่ แสดงให้เห็นว่าเขาให้ความสำคัญกับสถานที่ท่องเที่ยวแห่งนี้อยู่ไม่น้อย
เห็นเขาถ่ายกันเราก็ถ่ายด้วย
เมื่อขึ้นมาด้านนอกสถานีรถไฟฟ้า มองไปฝั่งตรงข้ามก็จะเห็นอาคารของ
มหาวิทยาลัยปักกิ่ง (北京大学)
ด้วย มหาวิทยาลัยแห่งนี้ตั้งอยู่ติดกับที่นี่เลย ถ้าเรียนที่นี่ละก็ คงไม่ต้องนั่งอะไรมา เดินมาเที่ยวหยวนหมิงหยวนได้สบาย
ก่อนอื่นต้องซื้อตั๋วเข้า ราคาเข้าประตูคือ ๑๐ หยวน ถือว่าไม่แพงเลย เห็นเขาเขียนว่าบัตรนักศึกษาสามารถลดครึ่งราคาได้เหลือ ๕ หยวน แต่พอเอาบัตรไปยื่นเขาก็บอกว่าไม่รวมนักศึกษาต่างชาติ ก็เลยอด ต้องจ่ายเต็มราคาไป
ประตูทางเข้า
มีแผนที่ตั้งอยู่ เมื่อมองก็น่าตกใจเลยเพราะบริเวณสีเขียวคือบริเวณที่เขาก่อสร้างอยู่ มันมีเยอะขนาดนี้เชียว เลยรู้สึกว่าไม่คุ้มเลยที่มาแต่ก็ช่วยไม่ได้เพราะมาถึงที่แล้ว อย่างน้อยส่วนสำคัญมันก็ไม่ได้ปิดอยู่
หน้าประตูทันทีที่เข้ามา ตอนนี้เราอยู่ในบริเวณส่วนหน้าที่เรียกว่า
ฉี่ชุนหยวน (绮春园)
ศาลากลางน้ำ
เจี้ยนปี้ถิง (鉴碧亭)
ด้านใน
ทิวทัศน์ริมน้ำที่นี่ก็สวยไม่ต่างจากสวนสาธารณะอื่นที่ไปมา
ภาพวาดแผนที่หยวนหมิงหยวนสมัยอดีตที่รุ่งเรือง
เดินต่อไปเรื่อยๆภายในบริเวณของฉี่ชุนหยวน
ชอบทิวทัศน์ริมน้ำจริงๆ
เดินไปเรื่อยๆเพื่อไปส่วนบริเวณฉางชุนหยวน
ตรงนี้เป็นถนนรอยต่อระหว่างสว่นหยวนหมิงหยวนทางซ้ายกับส่วนฉางชุนหยวนทางขวา
จากนั้นเราเลี้ยวไปทางขวา ก็เข้าสู่บริเวณของฉางชุนหยวน ซึ่งตรงนี้ที่จริงเป็นบริเวณที่ปิดซ่อมอยู่ แต่ก็สามารถเข้าได้ไม่มีปัญหา แค่ว่าสภาพมันอาจดูไม่ค่อยน่าดูเท่าที่ควรจะเป็น
ตรงนี้เรียกว่า
ไห่เยวี่ยไคจิน (海岳开襟)
เป็นเกาะอยู่กลางทะเลสาบ แต่เนื่องจากเขากำลังปิดอยู่ก็เลยเข้าไม่ได้ น่าเสียดาย
จากนั้นเราเดินไปทางเหนือเรื่อยๆก็จะมาถึงส่วนที่สำคัญที่สุดของหยวนหมิงหยวนซึ่งเป็นเป้าหมายของคนส่วนใหญ่ที่มาเดินที่นี่ นั่นคือซากปรักหักพังของสิ่งก่อสร้างแนวยุโรปซึ่งตั้งอยู่ส่วนเหนือสุดของที่นี่ เรียกว่า
ซีหยางโหลว (西洋楼)
เนื่องจากเป็นส่วนสำคัญการเข้าที่นี่ต้องเสียเงินเพิ่มอีก ๑๕ หยวน แต่ใช้บัตรนักเรียนเข้าก็ลดให้เหลือ ๕ หยวน ตรงนี้ต่างจากหน้าประตูตรงที่บัตรนักศึกษาต่างชาติก็ใช้เข้าได้ด้วย
สภาพซากปรักหักพังในบริเวณนี้
ข้่างหน้านี้เป็นเขาวงกต
เราต้องเดินผ่านทางวกวนซับซ้อนนี้เพื่อเข้าไปยังปราสาทตรงกลาง
และแล้วก็เข้ามาถึง
มองลงไปแล้วรู้สึกว่ามันวงกตจริงๆ
ออกมาดูซากปรักหักพังส่วนต่อไป
แล้วก็มาโผล่ทางแถวประตูตะวันออก เป็นทางออกเล็กๆ
เรากลับเข้ามาเดินยังบริเวณฉางชุนหยวนต่อ ซึ่งรกร้างมาก
จากนั้นก็ออกจากบริเวณฉางชุนหยวน มุ่งสู่บริเวณของหยวนหมิงหยวน
ทะเลสาบฝูไห่ (福海)
เป็นทะเลสาบที่ใหญ่ที่สุดของที่นี่ แต่สภาพตอนนี้ก็ไม่มีอะไรน่าดึงดูดเท่าไหร่เพราะมันกำลังก่อสร้างอยู่
เกาะกลางทะเลสาบ เกาะนี้ไม่มีสะพานข้าม มีทางเดียวคือต้องนั่งเรือไปเท่านั้น
ตอนที่เดินเลียบทะเลสาบไปนี่พบว่าคนน้อยมากเลย ดูรกร้างจริงๆ รู้สึกว้าเหว่มากมาย
หลังจากเดินเลียบทะเลสาบไปเรื่อยๆก็มาถึงบริเวณส่วนตะวันตกของหยวนหมิงหยวน ซึ่งมันรกร้างมากกว่าที่จินตนาการไว้มากทีเดียว
เนื่องจากมองไปข้างหน้าไม่เห็นมีอะไรที่น่าดูเลย เราเลยตัดสินใจถามคุณลุงที่นั่งอยู่ตรงนั้นซึ่งดูแล้วน่าจะเป็นคนทำงานที่นั่น ว่าเดินต่อไปมีอะไร คุณลุงตอบว่าไม่มีอะไรเลยเราก็เลยตัดสินใจไม่เดินต่อ
ที่จริงหากเดินต่อไปบริเวณนั้นคือส่วนที่เรียกว่า
จิ่วโจว (九州)
สมัยก่อนเป็นส่วนหลักของหยวนหมิงหยวน เพราะเป็นที่ตั้งของพระราชวังที่ฮ่องเต้อยู่ รวมทั้งที่ทำการต่างๆ แต่ปัจจุบันก็อย่างที่รู้ว่าถูกเผาทำลายไปหมดแล้ว และตัวอาคารแถบนี้ทำจากไม้ทั้งนั้นจึงไม่เหลือร่องรอย ผิดกับอาคารแบบยุโรปที่อยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งสร้างด้่วยหินจนเหลือซากปรักหักพังให้ชม
นี่คือแผนที่แสดงบริเวณต่างๆในจิ่วโจว และก็จะเห็นภาพปัจจุบันด้วย ซึ่งมันดูไม่มีอะไรเหลือเลยจริงๆนอกจากซากส่วนที่เห็นหินเพียงเล็กน้อย
ก่อนกลับเราแวะอีกส่วนหนึ่งของฉี่ชุนหยวนซึ่งตอนแรกไม่ได้แวะ มีวัดแห่งหนึ่งตั้งอยู่นั่นคือ
วัดเจิ้งเจวี๋ย (正觉寺)
ภายในบริเวณวัด
ตรงนี้เป็นทางออก สามารถออกจากตรงนี้ได้เช่นกัน ก็ไม่ไกลจากประตูที่เข้ามาตอนแรกสุด ใกล้รถไฟฟ้าเหมือนกัน ภาพนี้คือออกมาข้างนอกแล้วถ่าย
เมื่อออกมาก็เป็นเวลาที่ตะวันคล้อยเต็มที
สรุปแล้วที่คนบอกว่าหยวนหมิงหยวนเป็นสถานที่ที่ไม่น่ามานั้นก็อาจถือว่าถูกอยู่ส่วนหนึ่ง คือถ้าจะมาเพื่อดูโบราณสถานที่สวยงามละก็มันก็ไม่ได้มีอะไรโดดเด่น มีแค่ซากปรักหักพังซึ่งเหลือร่องรอยอยู่ไม่มากเมื่อเทียบกับบริเวณที่กว้างใหญ่
แต่ในอีกแง่มุมหนึ่งบริเวณนี้ก็ถือเป็นสวนสาธารณะที่สวยเหมือนกัน แถมกว้างกว่าที่อื่นใดในปักกิ่งด้วย เสียดายที่ตอนที่ไปเขาปิดบำรุงอยู่หลายส่วน เลยดูไม่ค่วยสวยเท่าที่ควร
{{s.chue}}
〇
✖
ทวีต
-----------------------------------------
囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧
ดูสถิติของหน้านี้
หมวดหมู่
--
ประเทศจีน
>>
จีนแผ่นดินใหญ่
>>
ปักกิ่ง
--
ประวัติศาสตร์
>>
ประวัติศาสตร์จีน
--
ท่องเที่ยว
>>
ทะเลสาบ
ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ
三
~ 自己紹介 ~
目次
日本による名言集
python
モジュール
-- numpy
-- matplotlib
-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
機械学習
-- ニューラル
ネットワーク
javascript
モンゴル語
言語学
maya
確率論
日本での日記
中国での日記
-- 北京での日記
-- 香港での日記
-- 澳門での日記
台灣での日記
北欧での日記
他の国での日記
qiita
その他の記事
記事の類別
==เลือกหมวด==
ดาราศาสตร์
คณิตศาสตร์
-ความน่าจะเป็น
คอมพิวเตอร์
-เขียนโปรแกรม
--python
---numpy
---scipy
---matplotlib
---pandas
---manim
---pyqt
---sklearn
---pytorch
---mayapython
--ruby
--javascript
--dart
--MATLAB
--SQL
--regex
--opencv
-shell
-3D
--maya
--MMD
-microsoft_office
-pdf
-ปัญญาประดิษฐ์
--โครงข่ายประสาทเทียม
--สเตเบิลดิฟฟิวชัน
---comfyui
-การสุ่ม
ภาษาศาสตร์
-ตัวอักษร
-เรียนภาษา
-หลักเกณฑ์การทับศัพท์
-ภาษาจีน
--ภาษาจีนกลาง
-ภาษาญี่ปุ่น
-ภาษามองโกล
-ภาษาลาว
-ภาษาเขมร
ประวัติศาสตร์
-ประวัติศาสตร์จีน
-ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น
ปรัชญา
ประเทศจีน
-จีนแผ่นดินใหญ่
--ปักกิ่ง
--เทียนจิน
--เหลียวหนิง
--เหอเป่ย์
--เหอหนาน
--ซานตง
--ซานซี
--อานฮุย
--เจ้อเจียง
--หูเป่ย์
--หูหนาน
--ฝูเจี้ยน
--กวางตุ้ง
---แต้จิ๋ว
--ยูนนาน
--ซินเจียง
-ฮ่องกง
-มาเก๊า
-ไต้หวัน
--ไทเป
--จีหลง
--เถาหยวน
--ซินจู๋
--เหมียวลี่
--ไถจง
--จางฮว่า
--หยวินหลิน
--เจียอี้
--ไถหนาน
--เกาสยง
--ผิงตง
--อี๋หลาน
ประเทศญี่ปุ่น
-ฮกไกโด
-อาโอโมริ
-อิวาเตะ
-มิยางิ
-อากิตะ
-ยามางาตะ
-ฟุกุชิมะ
-อิบารากิ
-โทจิงิ
-กุมมะ
-ไซตามะ
-จิบะ
-โตเกียว
-คานางาวะ
-นีงาตะ
-โทยามะ
-อิชิกาวะ
-ฟุกุอิ
-ยามานาชิ
-นางาโนะ
-กิฟุ
-ชิซึโอกะ
-ไอจิ
-มิเอะ
-ชิงะ
-เกียวโต
-โอซากะ
-เฮียวโงะ
-นาระ
-วากายามะ
-โอกายามะ
-ฮิโรชิมะ
-ยามางุจิ
-ฟุกุโอกะ
-ซางะ
-นางาซากิ
-คุมาโมโตะ
-โออิตะ
ต่างแดน
-อุษาคเนย์
--กัมพูชา
--พม่า
--สิงคโปร์
-ยุโรป
--สวีเดน
--เดนมาร์ก
--ฟินแลนด์
-ออสเตรเลีย
ท่องเที่ยว
-มหาวิทยาลัย
-พิพิธภัณฑ์
--พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์
--หอศิลป์
-สวนสัตว์
--พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ
-ท้องฟ้าจำลอง
-ตึกระฟ้า
-ปราสาท☑
--ปราสาทญี่ปุ่น
--ปราสาทขอม
--ปราสาทยุโรป
-ศาสนสถาน
--วัด
--ศาลเจ้า
--โบสถ์
--มัสยิด
-สุสาน
-มรดกโลก
-ทะเล
-ทะเลสาบ
-ภูเขา
-ภูเขาไฟ
-หิมะ
-ดอกซากุระ
-แมว
-รถไฟ
-เรือ
-ตลาดกลางคืน
-งานเทศกาล
-ที่ระลึกภัยพิบัติ
-ตามรอย
-ราเมง
บันเทิง
-เกม
--อาเตอลีเย
--โปเกมอน
--caligula
--vn
-อนิเมะ
-มังงะ
-นิยาย
-เพลง
--เพลงอนิเมะ
--เพลงเกม
เรื่องแต่ง
บันทึก
ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ
記事を検索
最新記事
เดินเล่นแถวย่านจายามะและทาจิมะในเขตโจวนังใจกลางเมืองฟุกุโอกะในวันบรรลุนิติภาวะ
วันที่หิมะแรกตกในฟุกุโอกะ 10 มกราคม 2025
รอต่อแถวยาว ๒ วันเพื่อกินราเมงร้านดัง เมนยะคาเนโตระ ในย่านเทนจิงใจกลางเมืองฟุกุโอกะ
เดินหาร้านไปทั่วย่านเมย์โนฮามะและอุจิฮามะที่เงียบเหงาในวันปีใหม่ เจอแต่ความว่างเปล่า
วันปีใหม่ไปฮัตสึโมวเดะที่ศาลเจ้าวาชิโอะอาตาโงะในเขตนิชิของเมืองฟุกุโอกะ
おすすめの記事
รวมร้านราเมงในเมืองฟุกุโอกะ
ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ
月別記事
2025年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2024年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2023年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2022年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2021年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
もっと前の記事
ไทย
日本語
中文