φυβλαςのβλογ
phyblasのブログ
ทวีต
เดินทางไกลจากสนามบินคันไซสู่เกียวโต เดินเล่นที่ถนนย่านร้านค้าซันโจว
เขียนเมื่อ 2013/02/01 23:35
แก้ไขล่าสุด 2023/03/30 14:04
#พฤหัส 17 ม.ค. 2013
หลังจากที่กลับจากเที่ยววากายามะ
https://phyblas.hinaboshi.com/20130130
เมื่อกลับมาถึงสนามบินคันไซแล้วก็รีบไปเอากระเป๋าที่ฝากไว้ในตู้ แล้วก็รีบออกเดินทางสู่หอพักของเพื่อนที่
มหาวิทยาลัยเกียวโต (京都大学)
ซึ่งอยู่ในเมืองเกียวโตทันที คราวนี้เป็นการเดินทางบนรถไฟที่ยาวไกลและใช้เวลานานทีเดียว
ดังที่ได้กล่าวถึงไปแล้วในหน้าแรก
https://phyblas.hinaboshi.com/20130118
ว่าโดยทั่วไปแล้วเส้นทางรถไฟในญี่ปุ่นแบ่งออกเป็นสองชนิดหลักๆ คือรถไฟของ JR กับ ของบริษัทรถไฟเอกชนท้องถิ่น ซึ่งต่างก็สามารถนั่งจากสนามบินคันไซไปเข้าสู่เมืองหลักอย่างโอซากะหรือเกียวโตได้ทั้งนั้น
ซึ่งการเดินทางเที่ยวในวันนี้เราตัดสินใจใช้บัตร
Kansai thru pass
ซึ่งได้เริ่มใช้มาตั้งแต่ตอนที่ไปเที่ยววากายามะแล้ว ใช้ประโยชน์ได้อย่างคุ้มค่ามาก
บัตรนี้ราคา ๕๐๐๐ เยน ใช้ได้ ๓ วัน โดยวันที่ใช้ไม่ต้องต่อเนื่องก็ได้ สามารถขึ้นรถไฟเอกชนท้องถิ่นที่ไม่ใช่ JR ในแถบคันไซได้เกือบทั้งหมด และยังนั่งพวกรถไฟฟ้าและรถเมล์บางแห่งได้ด้วย แต่ถ้าจะขึ้นพวกรถด่วนต้องเสียตังเพิ่ม
รายละเอียดของ Kansai thru pass
http://www.surutto.com/tickets/kansai_thru_english.html
ข้อเสียของบัตรนี้คือไม่สามารถใช้นั่งรถไฟของ JR ได้ ซึ่งรถไฟของ JR มักจะอยู่ในเส้นทางที่เป็นสายหลักสำคัญกว่า จึงทำให้มีข้อจำกัดมากพอสมควรในการเดินทางข้ามเมืองเป็นระยะทางไกล
แต่ในขณะเดียวกันการใช้รถไฟของบริษัทเอกชนท้องถิ่นจะมีข้อได้เปรียบตรงที่มีจำนวนสถานีเยอะกว่า โดยรวมแล้วครอบคลุมบริเวณมากกว่า มีทางเลือกเยอะกว่า โดยเฉพาะถ้าเที่ยวในตัวเมืองโอซากะ หรือเกียวโต สามารถนั่งรถไฟใต้ดินได้ด้วย
นอกจากนี้บัตรนี้ยังใช้นั่งรถเมล์ได้ด้วย นี่เป็นข้อดีที่เหนือกว่าอย่างเห็นได้ชัด เพราะรถเมล์สามารถไปได้ทุกที่ที่ต้องการมากยิ่งกว่ารถไฟ และการเที่ยวในวันนี้ของเราก็ได้นั่งรถเมล์ที่วากายามะไป ๓ ครั้ง และตอนไปถึงเกียวโตก็ยังไปใช้นั่งที่เกียวโตได้ด้วย จึงถือว่าคุ้มค่า
ดังนั้นทำให้วันนั้นเราเลือกที่จะใช้บัตร
Kansai thru pass
แม้ว่าจะทำให้การเดินทางสู่เกียวโตนั้นค่อนข้างยากกว่าใช้
JR west rail pass
สำหรับหนทางสู่โอซากะนั้นจะนั่ง JR หรือรถไฟเอกชนท้องถิ่น (ในที่นี้หมายถึงนังไก) ก็ไม่มีความแตกต่างกันมากนัก มีทั้งรถไฟธรรมดาและรถด่วน สามารถถึงตัวเมืองโอกาซากะได้ด้วยเวลาพอๆกันคือราวๆไม่ถึงชั่วโมง
แต่สำหรับการเดินทางไปเกียวโตนั้น JR มีทางรถไฟต่อเนื่องจากสนามบินคันไซไปถึงสถานีเกียวโตโดยตรง หากนั่งรถด่วนพิเศษฮารุกะก็จะเดินทางรวดเดียวถึง ใช้เวลาราวๆ ๘๐ นาที
แต่สำหรับสายรถไฟเอกชนท้องถิ่นนั้น ไม่มีเส้นทางที่ต่อเนื่องยาวจากสนามบินไปถึงเกียวโต เพราะแต่ละท้องถิ่นก็ต้องใช้รถไฟของแต่ละบริษัทซึ่งต่างกันออกไป จึงต้องต่อรถหลายครั้งอย่างเลี่ยงไม่ได้
เริ่มแรกเรานั่งรถไฟของ
นังไก (南海)
ซึ่งรถไฟนี้มุ่งหน้าสู่ปลายทางที่
สถานีนัมบะ (難波駅)
ย่านใจกลางเมืองโอซากะ
ก่อนหน้านี้ตอนที่ไปวากายามะเราก็นั่งสายนี้ทีหนึ่งแล้ว แต่นั่งแค่ไปลง
สถานีอิซึมิซาโนะ (泉佐野駅)
เพื่อต่อรถไฟของนังไกอีกสายเพื่อไปยังเมืองวากายามะ
แต่ว่าครั้งนี้เราจะนั่งต่อยาวเข้าสู่ตัวเมืองโอซากะเลย
รถไฟรอบที่เราขึ้นนี้ออกจากสถานีสนามบินคันไซตอน 13:14 และถึง
สถานีเทงงาจายะ (天下茶屋駅)
ซึ่งเป็นสถานีที่ต้องไปลงเพื่อเปลี่ยนรถ ใช้เวลา ๔๒ นาที ถึงเวลา 13:56
สถานีเทงงาจายะนี้เป็นสถานีที่อยู่ก่อนนัมบะไป ๒ สถานี หากเลยไปก็จะผ่าน
สถานีชินอิมามิยะ (新今宮駅)
และก็จะไปถึงปลายทางที่สถานีนัมบะ
แต่เราต้องมาเปลี่ยนรถไฟใต้ดินที่สถานีเทงงาจายะนี้ ซึ่งเป็นเส้นทางที่สั้นที่สุด ไม่ต้องเดินทางไปถึงนัมบะ
เมื่อมาถึงสถานีนี้แล้วก็ขอออกไปเดินเล่นสูดอากาศข้างนอกสักหน่อย ไหนๆก็ต้องเดินออกมาเพื่อลงไปขึ้นใต้ดินอยู่แล้ว
ทิวทัศน์บริเวณรอบๆสถานี ที่นี่อยู่ไม่ห่างจากนัมบะซึ่งเป็นย่านใจกลางเมืองมากนักจึงคับคั่งไม่น้อย
แล้วก็กลับมาที่ทางเข้าสู่รถไฟใต้ดิน
ถึงบริเวณชานชลาที่จะขึ้นรถไฟแล้ว
แล้วก็ขึ้นมานั่งรถบนรถไฟ เนื่องจากที่นี่เป็นสถานีต้นทางของรถไฟใต้ดินสายนี้ รถก็เลยมาก่อน ต้องรอสักพักถึงจะออก
แผนผังเครือข่ายรถไฟใต้ดินทั้งหมดในโอซากะ ทั้งเยอะและซับซ้อนมาก (ไม่รวมทางรถไฟของ JR และบริษัทเอกชนท้องถิ่นอื่นๆที่มีส่วนมุดลงมาใต้ดินเมื่ออยู่ใจกลางเมือง ซึ่งแสดงไว้คร่าวๆเป็นเส้นประ ถ้ารวมก็ซับซ้อนขึ้นอีกเยอะ)
สถานีเทงงาจายะอยู่ที่ปลายล่างสุดของสายสีน้ำตาลตรงกลาง
นั่งไปลง
สถานีคิตาฮามะ (北浜駅)
ซึ่งสถานีนี้เป็นจุดเปลี่ยนรถไฟยังรถไฟของบริษัทรถไฟเอกชนท้องถิ่นอีกแห่งคือ
เคย์ฮัง (京阪)
เคย์ฮังเป็นทางรถไฟสายที่เชื่อมระหว่างโอซากะกับเกียวโตเป็นหลัก และยังมีสายที่เชื่อมไปยัง
เมืองโอตสึ (大津市)
จังหวัดชิงะ (滋賀県)
ด้วย
คำว่า
เคย์ฮัง (京阪)
นั้นมาจากชื่อของเมืองทั้งสองคืออักษรตัวแรกของชื่อ
เกียวโต (京都)
และอักษรตัวหลังของชื่อ
โอซากะ (大阪)
รวมกันแล้วก็อ่านแบบเสียงเลียนจีน (เสียงองโยมิ) กลายเป็นเคย์ฮัง (ถ้าถามว่าทำไมรวมกันแล้วต่างออกไปคนละเรื่องละก็ เรื่องจะยาวนิดหน่อย เป็นความยุ่งยากอย่างหนึ่งของภาษาญี่ปุ่น)
สายที่นั่งนั้นเป็นเส้นทางเคย์ฮังสายหลัก คือ
เคย์ฮังฮนเซง (京阪本線)
ซึ่งเริ่มจาก
สถานีโยโดยาบาชิ (淀屋橋駅)
แล้วไปสิ้นสุดที่
สถานีเดมาจิยานางิ (出町柳駅)
แต่ถ้าพูดให้ละเอียดจริงๆส่วนปลายในเมืองเกียวโตตั้งแต่
สถานีซันโจว (三条駅)
ไปจนถึงเดมาจิยานางิจะเรียกว่าเป็น
สายโอวโตว (鴨東線)
สถานีที่เราขึ้นนี้คือสถานีคิตาฮามะ เป็นสถานีที่สองจากต้นทางถัดจากสถานีโยโดยาบาชิซึ่งเป็นต้นทาง
เมื่อออกจากรถไฟใต้ดินสถานีคิตาฮามะ ก็จะเป็นทางเดินใต้ดินซึ่งมีพวกร้านค้าอยู่เยอะ เส้นทางนี้เชื่อมไปยังสถานีรถไฟของเคย์ฮังซึ่งอยู่ใต้ดินเช่นกัน แต่ไม่เรียกว่าเป็นรถไฟใต้ดินเพราะพอออกไปนอกเมืองสักพักก็จะกลายเป็นรถไฟบนพื้นดินธรรมดา
ทางเข้าสู่รถไฟเคย์ฮัง
แล้วก็รอรถสักพัก
ป้ายตรงนี้บอกเวลาที่รถไฟจะมาจอดที่สถานี ซึ่งทำให้รู้ว่ารถไฟรอบต่อไปจะออกเวลา 14:31 ขณะที่เราไปถึงเป็นเวลา 14:26 ต้องรออีก ๕ นาที รถไฟที่นี่มาถี่มาก โดยทั่วไปรออย่างมากก็ไม่เกินสิบนาที
แต่ก็ต้องระวังว่ารถที่ขึ้นเป็นรถธรรมดาหรือว่ารถด่วน ถ้าขึ้นรถธรรมดามันจะจอดแทบทุกสถานี ซึ่งจะช้ามาก แต่รถด่วนจะจอดแค่สถานีสำคัญ ซึ่งระยะเวลาผิดกัน สำหรับการเดินทางไกลข้ามเมืองแบบนี้ต้องใช้รถด่วนเท่านั้น ถ้านั่งผิดไปนั่งรถช้าจะเสียเวลามาก
ปลายทางของเราอยู่ที่สถานีเดมาจิยานางิซึ่งใกล้กับมหาวิทยาลัยเกียวโตที่สุด สถานีนี้เป็นสุดสายของรถไฟนี้ เรียกได้ว่านั่งจากเกือบต้นสายไปยังสุดสายเลย
รอสักพักรถไฟก็มา บรรยากาศในรถไฟก็เป็นแบบนี้ คนเยอะพอดู แต่ก็ยังพอมีที่นั่ง
พอรถไฟวิ่งผ่าน
สถานีเคียวบาชิ (京橋駅)
ไปก็เริ่มออกสู่นอกเมือง รถไฟก็เริ่มโผล่มาเหนือพื้นดินจึงเริ่มเห็นทิวทัศน์ขึ้นมา
หลังจากสถานีเคียวบาชิแล้ว รถไฟก็วิ่งแบบไม่หยุดเป็นระยะยาว ข้ามเมืองไปยัง
เมืองฮิรากาตะ (枚方市)
เมืองซึ่งอยู่ตะวันออกเฉียงเหนือสุดของจังหวัดโอซากะ จอดที่
สถานีฮิรากาตะชิ (枚方市駅)
ที่นี่คนขึ้นลงมากมายเพราะเป็นสถานีใจกลางเมืองฮิรากาตะ และยังเป็นจุดเปลี่ยนรถไฟยัง
สายคาตาโนะ (交野線)
แล้วรถไฟก็มุ่งหน้าต่อไปเรื่อยๆจนเริ่มเข้าเขตจังหวัดเกียวโต
พอเข้าสู่เมืองเกียวโตทางรถไฟก็มุดไปอยู่ใต้ดินอีก
แล้วรถไฟก็มาจอดที่สถานีเดมาจิยานางิอันเป็นสถานีปลายทางเวลา 15:25 เป็นอันจบการเดินทางด้วยรถไฟอันยาวนานวันนั้นลง ถ้านับจากเวลาที่เริ่มขึ้นรถไฟคือ 13:14 ละก็ เท่ากับใช้เวลาเดินทางสองชั่วโมงกว่าจึงมาถึง
สรุปเส้นทางเดินทางก็เป็นดังนี้
สนามบินคันไซ
>(รถไฟของนังไก)>
เทงงาจายะ
เทงงาจายะ
>(รถไฟใต้ดิน)>
คิตาฮามะ
คิตาฮามะ
>(รถไฟของเคย์ฮัง)>
เดมาจิยานางิ
แผนที่จังหวัดเกียวโต สีม่วงเข้มคือเขตเมืองเกียวโต
เมื่อมาถึงสถานีเพื่อนเราก็มารอรับอยู่ที่ทางออก จากนั้นก็พาเราเดินไปยังมหาวิทยาลัยเกียวโต เส้นทางเดินนั้นไม่ไกลมาก เดินประมาณสิบนาทีก็ถึง
มหาวิทยาลัยเกียวโตนั้นประกอบไปด้วย ๓ วิทยาเขต คือวิทยาเขต
โยชิดะ (吉田) อุจิ (宇治)
และ
คัตสึระ (桂)
โดยที่นี่คือวิทยาเขตโยชิดะ เป็นวิทยาเขตหลัก
ที่นี่ไม่ได้อยู่ใจกลางเมืองแต่ค่อนไปทางตอนเหนือของตัวเมือง จึงค่อนข้างเงียบสงบอยู่พอสมควร
ประตูทางเข้ามหาวิทยาลัย
แค่เข้าไปเพื่อเอากระเป๋าสัมภาระไปเก็บในอาคารที่เพื่อนทำวิจัยอยู่เท่านั้น หลังจากนั้นก็รีบออกมาขึ้นรถเมล์ทันทีเพื่อไปเดินหาอะไรกินที่ย่านใจกลางเมือง
รถเมล์ของที่นี่ก็ใช้บัตร Kansai thru pass ขึ้นได้เช่นกัน ไม่เช่นนั้นต้องเสียค่าขึ้นรถเมล์รอบละ ๒๒๐ เยน ซึ่งแพงมากผิดกับรถเมล์ไทย ปกติถ้าไม่จำเป็นละก็เดินเอาดีที่สุด
ใช้เวลาประมาณยี่สิบกว่านาทีก็มาถึงย่าน
ซันโจว (三条)
ซึ่งเป็นย่านใจกลางเมืองที่ผู้คนคับคั่งมาก
ที่ไปเดินคือ
ถนนย่านร้านค้าซันโจว (三条名店街)
เป็นสถานที่ลักษณะโถงทางเดินยาวซึ่งมีเพดานสูง
ข้างในเต็มไปด้วยร้านค้ามากมาย ทั้งขายของที่ระลึกและของกิน
ฉากโถงทางเดินที่นี่ถูกใช้เป็นฉากในอนิเมะเรื่อง
เคย์อง (k-on!)
ด้วย
อนิเมะเรื่องนี้ใช้ฉากในเมืองเกียวโตเยอะมาก หลังจากวันนี้ไปเราก็ยังมีโอกาสได้ไปชมอีกหลายที่ซึ่งเป็นฉากในเรื่องนี้
ภาพนี้ปรากฏในอนิเมะภาค ๑ ตอนที่ ๑๐ ลองเทียบกับที่ถ่ายไว้ดู สังเกตว่าลักษณะอะไรต่างๆตรงกัน เพราะว่าเป็นโถงทางเดินเดียวกัน แม้ว่าจะไม่ใช่บริเวณเดียวกันกับภาพที่ปรากฏในอนิเมะ เพราะที่นี่กว้างมากและตอนที่ไปก็ยังไม่รู้เลยว่าที่นี่ก็ถูกใช้เป็นฉากด้วย ก็เลยไม่ได้เอาภาพในอนิเมะมาเทียบ ที่จริงไม่ได้ตั้งใจหรือวางแผนไว้ก่อนเลยด้วยว่าจะมาที่นี่ พอดีเพื่อนชวนก็เลยมาเท่านั้น นับว่าบังเอิญจริงๆ
นี่เป็นร้านที่ยุยมาซื้อกีตาร์ในภาคแรกตอนที่ ๒ แต่เป็นภาพในตอนที่ ๑๐ ซึ่งยุยกลับมาเพื่อซ่อมกีตาร์ ส่วนภาพที่เราถ่ายนั้นเป็นคนละบริเวณกันภายในโถงทางเดิน เสียดายที่ไม่มีถ่ายติดภาพร้านนี้มาด้วยเลย ไม่ได้สังเกตด้วยว่าอยู่ตรงไหน จากภาพถ้าไม่ดูรายละเอียดว่าตำแหน่งร้านต่างๆไม่ตรงกันละก็ องค์ประกอบอะไรโดยรวมก็ใกล้เคียงกันอยู่
นาฬิกาและโคมไฟที่แขวนอยู่บนเพดานนี่ก็เหมือนกับในอนิเมะเลย
เพื่อนแนะนำให้เข้าไปกินร้านนี้ เป็นร้านทงคัตสึชื่อดัง เมื่อเข้าไปก็ต้องตกใจกับราคาของทงคัตสึซึ่งแพงมากถึง ๑๑๓๐ เยน แต่ก็ช่วยไม่ได้ ขอเปิดฉากมื้อแรกในญี่ปุ่นด้วยของแพงสักหน่อยก็ไม่เสียหาย แต่มื้อต่อไปถ้ากินแบบนี้อีกได้หมดตัวอย่างรวดเร็วแน่ ต้องประหยัดกว่านี้อีกมาก
ร้านที่นี่ซอสต้องปรุงเอาเอง โดยเริ่มจากบดงาเอาเอง
ซอสก็มีให้เลือกหลายชนิด มีแบบข้น แบบอ่อน แบบเผ็ดก็มี
แล้วทงคัตสึก็มา อร่อยมากอย่างที่ว่า แต่ถ้าแพงอย่างนี้เรายอมกลับไปกินที่ไทยถูกๆดีกว่า ยังไงก็อร่อยเหมือนกัน
เมื่อกินเสร็จเพื่อนก็ชวนไปเล่น
ยูโฟแคทเชอร์ (UFOキャッチャー)
ซึ่งก็คือเกมคีบตุ๊กตานั่นเอง ที่ไทยเองก็มีแบบนี้แต่ว่าที่ญี่ปุ่นคนนิยมเล่นกันอย่างแพร่หลายมาก ถึงกับมีร้านที่มีแต่ยูโฟแคทเชอร์อย่างเดียว
เมื่อเข้าไปในร้านก็เจอตู้คีบตุ๊กตาแบบต่างๆมากมาย
ไม่ได้มีอยู่แค่ร้านเดียวด้วย เจออยู่มากมายในบริเวณนั้น
มาที่ตรงนี้จะเจอกับโรงหนังที่อาซึสะกับอุยมาดูหนังกันในภาคตอนที่ ๑๓
ในบริเวณก็มีส่วนที่อยู่นอกโถงทางเดินซึ่งมีที่นั่งให้นั่ง นี่เป็นสถานที่ที่อาซึสะฝันถึงว่าเจอกับมุงิและอุย และเล่นเกมจับสลากได้รางวัลใหญ่ ฉากนี้อยู่ในภาค ๒ ตอนที่ ๑๓ เช่นกัน เทียบภาพอนิเมะกับภาพจริงสังเกตว่าทางขวามีร้านสีน้ำเงินชื่อ BASS แต่ของจริงร้านชื่อ BOSS
เราเดินอยู่ในย่านนั้นจนราวๆห้าโมงครึ่ง ฟ้าเริ่มมืดลงทุกทีเราจึงได้เวลากลับ
หลังจากนั้นก็กลับไปเอาของที่วางไว้ที่ห้องแล็บของเพื่อน แล้วก็ขนไปยังหอพักซึ่งอยู่ไม่ไกลจากตัวมหาวิทยาลัยนัก
จากนั้นก็ได้ไปเดินในมหาวิทยาลัยตอนกลางคืน แต่ก็เพราะมืดแล้วเลยไม่ได้เห็นอะไรมากนัก และภาพที่ถ่ายได้ก็ไม่ชัดด้วย
นี่เป็นอาคารหอนาฬิกา และต้นคุสึโนกิที่เป็นเหมือนสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัย
ระหว่างที่เดินอยู่นั้นหิมะก็ได้โปรยปรายตกลงมาด้วย เราปรับกล้องเป็นโหมดจับวัตถุเคลื่อนไหวแล้วถ่ายเอาไว้ ก็สวยดีไปอีกแบบ เป็นภาพที่เห็นได้เฉพาะกลางคืนแบบนี้
การเที่ยวในวันแรกก็จบลงเพียงเท่านี้ หลังจากนั้นเราก็กลับไปพักผ่อนที่หอเพื่อนเพื่อนอนเอาแรงสำหรับตื่นขึ้นมาเที่ยวในวันต่อไป
การเที่ยวญี่ปุ่นเพิ่งจะแค่เริ่มต้นเท่านั้น ต่อจากนี้ไปยังคงมีเรื่องราวอีกมากมาย
https://phyblas.hinaboshi.com/20130203
ขอปิดท้ายหน้านี้ด้วยการลองคำนวณดูว่าในการเดินทางวันนี้ใช้ Kansai thru pass ประหยัดเงินไปได้เท่าไหร่
รถไฟนังไก : สนามบินคันไซ > สถานีอิซึมิซาโนะ > สถานีวากายามะชิ (ไปกลับ)
840x2=1680
รถเมล์ : สถานีวากายามะชิ > เคนโจวมาเอะ
220
ส่วนลดค่าเข้าปราสาทวากายามะ
100
รถเมล์ : เคนโจวมาเอะ > อาเกโบโนบาชิ
360
รถเมล์ : กงเงงมาเอะ > สถานีวากายามะชิ
370
รถไฟนังไก : สนามบินคันไซ > สถานีเทงงาจายะ
890
รถไฟใต้ดิน : สถานีเทงงาจายะ > สถานีคิตาฮามะ
230
รถไฟเคย์ฮัง
:
สถานีคิตาฮามะ > สถานีเดมาจิยานางิ
460
รถเมล์ : มหาวิทยาลัยเกียวโต > ถนนย่านร้านค้าซันโจว (ไปกลับ)
220x2=440
รวมแล้วเป็น
4750
เยน ในขณะที่ Kansai thru pass ราคา 5000 เยน ใช้ได้ ๓ วัน แต่เราใช้แค่วันเดียวก็เกือบจะเท่าราคาบัตรแล้ว และยังใช้ได้อีก ๒ วันซึ่งยังไงก็ใช้คุ้มแน่นอน จึงเห็นได้ชัดว่าถ้าเที่ยวแบบนี้ใช้ Kansai thru pass เป็นอะไรที่คุ้มค่าสุดๆ
ในบทความนี้มีการนำภาพจากอนิเมะ "k-on!" มาใช้อ้างอิงเพื่อการวิจัยศึกษาภาพเปรียบเทียบ ลิขสิทธิ์ทั้งหมดเป็นของผู้จัดทำ "
k-on!
"
この記事では、比較研究を目的としてアニメ「けいおん!」の画像を引用しています。画像の著作権はすべて「けいおん!」の製作者に帰属します。
{{s.chue}}
〇
✖
ทวีต
-----------------------------------------
囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧
ดูสถิติของหน้านี้
หมวดหมู่
--
ประเทศญี่ปุ่น
>>
เกียวโต
--
ท่องเที่ยว
>>
ตามรอย
--
ท่องเที่ยว
>>
รถไฟ
ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ
三
~ 自己紹介 ~
目次
日本による名言集
python
モジュール
-- numpy
-- matplotlib
-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
機械学習
-- ニューラル
ネットワーク
javascript
モンゴル語
言語学
maya
確率論
日本での日記
中国での日記
-- 北京での日記
-- 香港での日記
-- 澳門での日記
台灣での日記
北欧での日記
他の国での日記
qiita
その他の記事
記事の類別
==เลือกหมวด==
ดาราศาสตร์
คณิตศาสตร์
-ความน่าจะเป็น
คอมพิวเตอร์
-เขียนโปรแกรม
--python
---numpy
---scipy
---matplotlib
---pandas
---manim
---pyqt
---sklearn
---pytorch
---mayapython
--ruby
--javascript
--dart
--MATLAB
--SQL
--regex
--opencv
-shell
-3D
--maya
--MMD
-microsoft_office
-pdf
-ปัญญาประดิษฐ์
--โครงข่ายประสาทเทียม
--สเตเบิลดิฟฟิวชัน
---comfyui
-การสุ่ม
ภาษาศาสตร์
-ตัวอักษร
-เรียนภาษา
-หลักเกณฑ์การทับศัพท์
-ภาษาจีน
--ภาษาจีนกลาง
-ภาษาญี่ปุ่น
-ภาษามองโกล
-ภาษาลาว
-ภาษาเขมร
ประวัติศาสตร์
-ประวัติศาสตร์จีน
-ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น
ปรัชญา
ประเทศจีน
-จีนแผ่นดินใหญ่
--ปักกิ่ง
--เทียนจิน
--เหลียวหนิง
--เหอเป่ย์
--เหอหนาน
--ซานตง
--ซานซี
--อานฮุย
--เจ้อเจียง
--หูเป่ย์
--หูหนาน
--ฝูเจี้ยน
--กวางตุ้ง
---แต้จิ๋ว
--ยูนนาน
--ซินเจียง
-ฮ่องกง
-มาเก๊า
-ไต้หวัน
--ไทเป
--จีหลง
--เถาหยวน
--ซินจู๋
--เหมียวลี่
--ไถจง
--จางฮว่า
--หยวินหลิน
--เจียอี้
--ไถหนาน
--เกาสยง
--ผิงตง
--อี๋หลาน
ประเทศญี่ปุ่น
-ฮกไกโด
-อาโอโมริ
-อิวาเตะ
-มิยางิ
-อากิตะ
-ยามางาตะ
-ฟุกุชิมะ
-อิบารากิ
-โทจิงิ
-กุมมะ
-ไซตามะ
-จิบะ
-โตเกียว
-คานางาวะ
-นีงาตะ
-โทยามะ
-อิชิกาวะ
-ฟุกุอิ
-ยามานาชิ
-นางาโนะ
-กิฟุ
-ชิซึโอกะ
-ไอจิ
-มิเอะ
-ชิงะ
-เกียวโต
-โอซากะ
-เฮียวโงะ
-นาระ
-วากายามะ
-โอกายามะ
-ฮิโรชิมะ
-ยามางุจิ
-ฟุกุโอกะ
ต่างแดน
-อุษาคเนย์
--กัมพูชา
--พม่า
--สิงคโปร์
-ยุโรป
--สวีเดน
--เดนมาร์ก
--ฟินแลนด์
ท่องเที่ยว
-มหาวิทยาลัย
-พิพิธภัณฑ์
--พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์
--หอศิลป์
-สวนสัตว์
--พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ
-ท้องฟ้าจำลอง
-ตึกระฟ้า
-ปราสาท☑
--ปราสาทญี่ปุ่น
--ปราสาทขอม
--ปราสาทยุโรป
-ศาสนสถาน
--วัด
--ศาลเจ้า
--โบสถ์
--มัสยิด
-สุสาน
-มรดกโลก
-ทะเล
-ทะเลสาบ
-ภูเขา
-หิมะ
-ดอกซากุระ
-แมว
-รถไฟ
-เรือ
-ตลาดกลางคืน
-งานเทศกาล
-ที่ระลึกภัยพิบัติ
-ตามรอย
บันเทิง
-เกม
--อาเตอลีเย
--โปเกมอน
--caligula
--vn
-อนิเมะ
-มังงะ
-นิยาย
-เพลง
--เพลงอนิเมะ
--เพลงเกม
เรื่องแต่ง
บันทึก
ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ
記事を検索
最新記事
ปราสาทฟุกุโอกะกับศาลเจ้าโกโกกุและหอจัดแสดงโควโระกัง
สวนสาธารณะโอโฮริล้อมรอบทะเลสาบกลางเมืองฟุกุโอกะ
วันสุดท้าย นั่งรถไฟความเร็วสูงจากเซินเจิ้นสุ่กว่างโจวเพื่อขึ้นเครื่องบินกลับ
เดินเล่นที่สถานีเซินเจิ้นและด่านหลัวหูผ่านสู่ฮ่องกงในยามค่ำคืน
เดินซื้อของที่ย่านร้านค้าถนนคนเดินตงเหมินของเซินเจิ้น
おすすめの記事
ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ
月別記事
2024年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2023年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2022年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2021年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2020年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
もっと前の記事
ไทย
日本語
中文