φυβλαςのβλογ
phyblasのブログ



แนะนำวิทยาเขตซางามิฮาระ (สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์อวกาศ)
เขียนเมื่อ 2014/01/18 00:27
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
บทความนี้เขียนต่อจาก https://phyblas.hinaboshi.com/20140116 ซึ่งได้แนะนำเกี่ยวกับองค์การวิจัยและพัฒนาการบินอวกาศ (JAXA) ไปแล้ว สำหรับในหน้านี้จะมาอธิบายเกี่ยวกับวิทยาเขตซางามิฮาระโดยละเอียด

ข้อมูลแปลและเรียบเรียงจาก
http://www.jaxa.jp/pr/brochure/pdf/06/centers03.pdf
http://www.jaxa.jp/about/centers/sagamihara/index_j.html
รวมทั้งรูปภาพที่ใช้ประกอบในนี้
และมีการเรียบเรียงเพิ่มเติมเนื้อหาตามความเหมาะสม





วิทยาเขตซางามิฮาระตั้งอยู่ห่างจากโตเกียว ๔๐ กม. มีพื้นที่ ๗๓,๐๐๑ ตร.ม. รายล้อมไปด้วยสภาวะแวดล้อมที่เงียบสงบใกล้กับเขาทันซาวะ (丹沢山) เมืองซางามิฮาระ จังหวัดคานางาวะ ถูกสร้างขึ้นเมื่อปี 1989 เพื่อเป็นสำนักงานใหญ่ของสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์อวกาศ (宇宙科学研究所, ISAS) ก่อนที่จะรวมกลายเป็นส่วนหนึ่งขององค์การวิจัยและพัฒนาการบินอวกาศ (宇宙航空研究開発機構, JAXA) ปัจจุบันเป็นสถานที่ทำการวิจัยเพื่อไขปริศนาต่างๆของอวกาศ เช่น กิจกรรมของดวงอาทิตย์ และจุดกำเนิดของดวงจันทร์, ดาวเคราะห์, หลุมดำ หรือดาราจักรต่างๆ

ภายในวิทยาเขตมีอาคารวิจัยและบริหารจัดการ, อาคารศูนย์วิจัย แล้วก็กลุ่มอาคารสำหรับทำการทดสอบเฉพาะทางที่ใช้ทดลองและพัฒนาจรวดและพาหนะสำหรับบรรทุกดาวเทียม

นอกจากเป็นที่สำหรับทำการวิจัยแล้ว ยังมีส่วนที่เปิดให้คนทั่วไปเข้ามาชมได้ ภายในห้องจัดแสดงมีแบบจำลองของดาวเทียม, จรวด, ยานอวกาศ และชิ้นส่วนต่างๆมากมายจัดแสดงพร้อมคำอธิบายเพื่อให้ความรู้กับคนที่เข้ามาชม และภายนอกอาคารยังมีจรวด Μ-V-2 ตั้งอยู่ พร้อมกับแบบจำลองขนาดเท่าของจริงของจรวด Μ-3SII

เกี่ยวกับเรื่องของจรวด
Μ-V มีเขียนไว้ใน https://phyblas.hinaboshi.com/20140120


จรวด Μ-V-2 (ขวา) และแบบจำลองขนาดเท่าของจริงของจรวด Μ-3SII (ซ้าย)

นอกจากนี้ด้านข้างวิทยาเขตซางามิฮาระยังมีพิพิธภัณฑ์ประจำเมืองซางามิฮาระ (相模原市立博物館) ซึ่งภายในก็มีจัดแสดงเกี่ยวกับดาราศาสตร์เช่นกัน



แผนที่ภายในบริเวณวิทยาเขตซางามิฮาระ


1. อาคารทดสอบสภาพแวดล้อมยานบิน
2. อาคารทดสอบโครงสร้างและสมรรถภาพ
3. อาคารเครื่องจักรศูนย์กลาง
4. อาคารทดลองเฉพาะทาง (I)
5. อาคารวิจัยและบริหารจัดการ (I)
6. อาคารศูนย์วิจัย
7. อาคารทดลองอุโมงค์ลม
8. ป้อมยามหน้าประตู
9. ที่พักแรมสำหรับนักวิจัย
10. โรงเก็บรถ
11. อาคารทดลองเฉพาะทาง (II)
12. อาคารวิจัยรวม
13. โรงเก็บอุปกรณ์
14. โรงเก็บใต้ดิน
15. อาคารวิจัยและบริหารจัดการ (II)



สิ่งปลูกสร้างหลัก

อาคารวิจัยและบริหารจัดการ

    อาคารบริหารจัดการซึ่งเป็นส่วนหลักนั้นประกอบไปด้วยห้องผู้อำนวยการสำนักงานใหญ่, ห้องวิจัยของแต่ละสาขาวิจัย และหน่วยส่งเสริมวิทยาศาสตร์ ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของวิทยาเขตซางามิฮาระ

ด้านหน้าอาคารวิจัยและบริหารจัดการ (I)

อาคารศูนย์วิจัย

    ประกอบด้วยห้องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่ใช้ในการวิจัยสาขาต่างๆ ห้องควบคุมนั้นถูกใช้เป็นสถานีควบคุมภาคพื้นดินให้กับฐานสังเกตการณ์อวกาศอุสึดะ (臼田宇宙空間観測所) และฐานสังเกตการณ์อวกาศอุจิโนอุระ (内之浦宇宙空間観測所) ซึ่งมีส่วนประกอบที่ติดต่อเชื่อมกันอยู่ สำหรับการปล่อยจรวดที่ส่งดาวเทียวไปโคจรรอบโลกหรือยานอวกาศไปสำรวจดาวเคราะห์


ห้องควบคุมภายในอาคารศูนย์วิจัย

อาคารทดสอบสภาพแวดล้อมยานบิน

    เป็นที่ทดสอบเพื่อตรวจสอบสมรรถภาพและการทำงานของอุปกรณ์ที่จะส่งดาวเทียมและจรวดสังเกตการณ์ ภายในอาคารทดสอบสภาพแวดล้อมยานบินนี้ประกอบด้วยห้องทดสอบสภาวะเครื่องกลซึ่งใช้ทดสอบการสั่น, การกระเทือน หรือสมดุลการเคลื่อนที่, ห้องกันคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าสำหรับวัดสภาพทางแม่เหล็กในห้วงอวกาศ, ห้องจำลองสภาวะแวดล้อมในอวกาศสำหรับทดสอบดาวเทียมในสภาวะสูญญากาศร้อน และห้องที่รักษาระดับความสะอาดไว้ในระดับสูงอยู่ตลอดเวลา


ห้องสะอาดภายในอาคารทดสอบสภาพแวดล้อมยานบิน

อาคารทดสอบโครงสร้างและกลไก

    เป็นที่สำหรับทดสอบความแข็งแรงและความทนทานของชิ้นส่วนแต่ละชิ้นของจรวดหรือโครงสร้างตัวดาวเทียม และทดสอบการทำงานของส่วนข้อต่อเครื่องยนต์หรือส่วนหัวจรวด เพื่อทดสอบความแข็งแรงและความทนทานจึงได้เผื่อพื้นที่ทดสอบซึ่งกว้าง ๕-๖ ม. ยาว ๑๒ ม. สูง ๘ ม. และอุปกรณ์วัด ในอนาคตยังจะติดตั้งพื้นที่ทดสอบโครงสร้างตัวดาวเทียมด้วย
    การทดสอบการทำงานของจรวดนั้นประกอบด้วยการทดลองแยกส่วนข้อต่อเครื่องยนต์, เปิดหัวจรวด, แยกส่วนบูสเตอร์ย่อย เป็นต้น มีการจัดเตรียมที่ว่าง ๑๕ ม. ที่ประกอบไปด้วยโต๊ะหมุนตรงกลาง, อุปกรณ์แขวน และแสงไฟที่ใช้ในกล้องความเร็วสูง เป็นต้น


ภายในอาคารทดสอบโครงสร้างและกลไก

อาคารทดลองเฉพาะทาง

    เป็นสถานที่ปฏิบัติการณ์การทดลองทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมอวกาศที่ปฏิบัติได้ในห้องทดลอง มีส่วนสนับสนุนงานวิจัยขั้นพื้นฐานในทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมอวกาศ โดยการพัฒนาและทดสอบขั้นพื้นฐานของจรวดและพาหนะบรรทุกดาวเทียม, ทำการจำลองปรากฏการณ์ต่างๆในอวกาศ อีกทั้งจัดเตรียมการทดลองเฉพาะทางขนาดใหญ่ในการวิจัยพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมอวกาศ อุปกรณ์หลักๆมีอุโมงค์ลมชนิดต่างๆ, ห้องปฏิบัติการณ์พลาสมาอวกาศ, อุปกรณ์ทดสอบรังสีจากอวกาศ, อุปกรณ์ปรับแก้อนุภาค, อุปกรณ์ทดสอบการร่วงในสภาพไร้แรงโน้มถ่วง


ห้องปฏิบัติการณ์พลาสมาอวกาศภายในอาคารทดลองเฉพาะทาง


อาคารทดลองอุโมงค์ลม

    มีการติดตั้งแหล่งกำเนิดกระแสอากาศ, อุโมงค์ลมความเร็วใกล้เสียง, อุโมงค์ลมความเร็วเหนือเสียง และระบบวัด เพื่อที่จะทำการวิจัยขั้นพื้นฐานทางอากาศพลศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการบินอย่างรวดเร็วของจรวดหรือยานอวกาศ, การวิจัยพัฒนาหรือทดสอบก่อนการบินจริง อุโมงค์ลมความเร็วใกล้เสียงครอบคลุมความเร็วในช่วง ๐.๓~๑.๓ มัค ส่วนอุโมงค์ลมความเร็วเหนือเสียงครอบคลุมความเร็วในช่วง ๑.๕~๔.๐ มัค อุปกรณ์วัดของอุโมงค์ลมแต่ละอันนั้นมีพื้นที่หน้าตัดเป็นสี่เหลี่ยมจตุรัสกว้าง ๖๐ ซม. ในการทดลองจะสร้างกระแสอากาศความเร็วสูงที่ตรงกับสถาพตอนที่บินจริง แล้ววัดแรงขับเคลื่อนอากาศและความดันที่เกิดขึ้นในแบบจำลองชนิดต่างๆ พร้อมทั้งทำการวัดและสังเกตการณ์ทางแสงในบริเวณที่อากาศไหลด้วย


อุโมงค์ลมความเร็วใกล้เสียง (ด้านหน้า) และอุโมงค์ลมความเร็วเหนือเสียง (ด้านใน)



องค์กรภายในวิทยาเขตซางามิฮาระ
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์อวกาศ

    เป็นกลุ่มที่ทำกิจกรรมด้านวิทยาศาสตร์อวกาศ โดยเน้นไปที่การสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์, วิทยาศาสตร์ด้านระบบสุริยะ, วิทยาศาสตร์การประยุกต์ใช้สภาวะแวดล้อมแบบในอวกาศ และวิศวกรรมอวกาศ และยังมุ่งหวังที่จะขยายขอบเขตออกไป นอกจากนั้นยังมีส่วนในการเป็นสื่อถ่ายทอดการทดลองและผลสำเร็จใหม่ๆให้คนทั่วไปรู้ และยังติดต่อกับสังคมนานาชาติ ช่วยยกระดับตำแหน่งขององค์กรในระดับนานาชาติ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์อวกาศวางแผนโครงสร้างองค์กรและการบริหารจัดการอย่างเหมาะสมตามคุณลักษณะของวิชาวิทยาศาสตร์อวกาศ และมุ่งหวังจะมีส่วนในการสนับสนุนงานวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์อวกาศผ่านความสัมพันธ์ร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับมหาวิทยาลัย พร้อมทั้งประยุกต์ใช้การพัฒนาอวกาศโดยอาศัยผลสำเร็จของการวิจัยเหล่านั้น

กลุ่มแผนงานสำรวจดวงจันทร์และดาวเคราะห์
    เป็นกลุ่มที่พิจารณาแผนงานเกี่ยวกับการสำรวจดวงจันทร์และดาวเคราะห์ และดำเนินโครงการที่ชัดเจน อีกทั้งยังผลักดันงานวิจัยให้ก้าวหน้า สนับสนุนความร่วมมือระดับนานาชาติและการพัฒนาเทคโนโลยีด้วยกิจกรรมต่างๆที่จะขยายขอบเขตความรู้ความเข้าใจ เริ่มตั้งแต่การไขปริศนาต้นกำเนิดและวิวัฒนาการของอวกาศ ไปจนถึงการสำรวจดวงจันทร์และดาวเคราะห์เพื่อที่จะขยายขอบเขตอยู่อาศัยของมนุษยชาติ

ศูนย์การศึกษาด้านอวกาศ
    วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเกี่ยวกับอวกาศ และความเคลื่อนไหวของอวกาศนั้นเต็มไปด้วยเสน่ห์และอิทธิพลอันยิ่งใหญ่ที่สร้างแรงบันดาลใจให้กับเยาวชนได้อย่างที่สาขาอื่นไม่อาจเทียบได้ มีศักยภาพสูงในฐานะวัตถุดิบสำหรับกิจกรรมการศึกษาระดับประถมและมัธยม ที่ศูนย์การศึกษาด้านอวกาศนี้จะมีส่วนในการใช้วัตถุดิบเหล่านี้เพื่อการศึกษาสร้างคนที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกล พัฒนาและเสริมสร้างบุคลากรที่จะรับผิดชอบประเทศชาติในยุคต่อไปในหลายๆความหมาย

ห้องติดต่อประสานงานมหาวิทยาลัยและองค์กรวิจัย
    เพื่อที่จะรับความรู้จากภายนอกเข้ามาได้อย่างเต็มที่ JAXA สร้างระบบที่มหาวิทยาลัยต่างๆในสาขาวิทยาศาสตร์อวกาศใช้ร่วมกันได้ และให้แต่ละกลุ่มหรือคณะได้ทำการวิจัยร่วมกับมหาวิทยาลัยและหน่วยงานวิจัยทั้งในและนอกประเทศหรือมีการแลกเปลี่ยนแบ่งปันบุคลากร นอกจากนี้เพื่อการพัฒนาบุคลากรในรุ่นต่อไป ยังได้ทำการสร้างความร่วมมือสู่การศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาหรือเสริมสร้างนักวิจัยและนักเทคโนโลยี โดยอาศัยสิ่งแวดล้อมการวิจัยระดับแนวหน้าของโลก
    ห้องติดต่อประสานงานมหาวิทยาลัยและองค์กรวิจัยได้ถูกสร้างขึ้นในปี 2008 โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเสริมโครงสร้างการทำงานที่มีการติดต่อประสานงานทั่วญี่ปุ่นในลักษณะนี้ เนื่องจากความจำเป็นที่สูงขึ้นของสาขาวิทยาศาสตร์อวกาศและความต้องการที่จะขยายขอบเขตอยู่อาศัยของมนุษย์เพิ่มขึ้น จึงต้องมีการติดต่อกับสาขาอื่นเช่นวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมหรือสายมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มากขึ้น การติดต่อระหว่างกับมหาวิทยาลัยและหน่วยงานวิจัยมีความสำคัญมากขึ้น



การเข้าชม
    ภายในวิทยาเขตซางามิฮาระมีการจัดแสดงแบบจำลองจรวด, ดาวเทียม, รถสำหรับวิ่งบนดวงจันทร์ เพื่อที่จะให้คนทั่วไปได้รู้ถึงข้อมูลข่าวสารด้านการวิจัยต่างๆ
เวลาเปิด : 9:45~17:30 น.
วันหยุด : ตลอดปีไม่มีวันหยุด แต่อาจมีวันหยุดชั่วคราว ให้โทรศัพท์มาสอบถามก่อน
สอบถาม : โทร 042-759-8008, โทรสาร 042-759-8440
ที่วิทยาเขตซางามิฮาระในช่วงปิดเทอมฤดูร้อนมีจัดงานประชาสัมพันธ์พิเศษ ๒ วัน


แบบจำลองยานฮายาบุสะขนาดเท่าของจริงภายในห้องจัดแสดงที่เปิดให้คนทั่วไปเข้าชม



วิธีการเดินทางมายังวิทยาเขตซางามิฮาระอ่านได้ใน https://phyblas.hinaboshi.com/20131209
เรื่องเล่าบันทึกการเข้าชมส่วนจัดแสดงที่นี่อ่านได้ใน https://phyblas.hinaboshi.com/20140131


-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ดาราศาสตร์
-- ประเทศญี่ปุ่น

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

目次

日本による名言集
モジュール
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
機械学習
-- ニューラル
     ネットワーク
javascript
モンゴル語
言語学
maya
確率論
日本での日記
中国での日記
-- 北京での日記
-- 香港での日記
-- 澳門での日記
台灣での日記
北欧での日記
他の国での日記
qiita
その他の記事

記事の類別



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  記事を検索

  おすすめの記事

รวมร้านราเมงในเมืองฟุกุโอกะ
ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

月別記事

2025年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

もっと前の記事

ไทย

日本語

中文