φυβλαςのβλογ
phyblasのブログ



พิพิธภัณฑ์เกษตรกรรมจีน (ต่อ)
เขียนเมื่อ 2014/03/17 08:00
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
#อังคาร 11 มี.ค. 2014

หลังจากที่ตอนที่แล้วไปชมหอจัดแสดงอารยธรรมเกษตรกรรมจีน (中华农业文明馆) มาแล้ว https://phyblas.hinaboshi.com/20140314

คราวนี้จะไปชมอาคารที่เหลือ



เริ่มจากอาคาร ๗ หอจัดแสดงวิทยาศาสตร์ด้านเกษตรกรรมทั่วไปสำหรับเยาวชน (青少年农业科普馆)



บรรยากาศภายใน อาคารนี้ไม่ใหญ่เท่าไหร่นักหรอก ตรงกลางมีทีวีจอใหญ่ตั้งอยู่



ตรงนี้แสดงอาหารแล้วบอกปริมาณสารอาหาร



อาหารต่างๆที่มีประโยชน์



มีเกมให้เล่นด้วยสำหรับเด็กๆ



เกี่ยวกับการทอผ้า




เปรียบเทียบให้ดูว่าข้าวคุณภาพสูงกับต่ำต่างกันยังไง



เห็ดหูหนูคุณภาพสูงกับต่ำ



ฝ้ายคุณภาพสูงกับต่ำ



มีเกมจิ๊กซอว์ให้เด็กเล่น



บรรยายเกี่ยวกับท้องนา



จอตรงนี้เป็นแผนที่แสดงพื้นที่เพาะปลูกในจีน มีปุ่มควบคุมให้เลือกดูได้ว่าจะดูการปลูกพืชชนิดไหน



เรากดเลือกดูเกี่ยวกับพื้นที่เพาะปลูกข้าวเจ้า มันก็จะอธิบายว่าแต่ละภาคมีการเพาะปลูกข้าวเป็นยังไง แสดงเป็นสีต่างกัน



ตรงนี้ภาพผักผลไม้ต่างๆเต็มไปหมดเลย แสดงให้เห็นว่าผักผลไม้แต่ละชนิดปลูกยังไง



ทางนี้แสดงพวกแมลงที่เป็นประโยขน์ต่อการเกษตร



แมลงที่มีผลเสียต่อผลผลิตทางการเกษตร



แมลงที่เป็นโทษต่อผัก



แมลงที่เป็นโทษต่อผลไม้



ก็หมดแค่นี้ ไม่มีอะไรมาก วนจนครบรอบกลับมาที่เดิม



จากนั้นก็ไปต่อกันที่อาคาร ๘ ซึ่งเป็นหอจัดแสดงตัวอย่างดินจีน (中国土壤标本馆)



เข้ามาด้านในบรรยากาศเป็นแบบนี้



รูปปั้นมือแบกดินตั้งอยู่ด้านหน้าสุด



ในนี้จะมีตัวอย่างดินชนิดต่างๆอยู่มากมาย





มีคำอธิบายดินแต่ละชนิดอย่างละเอียด



แผนที่แสดงดินชนิดต่างๆในจีน แบ่งพื้นที่ตามชนิดดิน



ตรงนี้อธิบายว่าจีนเป็นประเทศแรกที่มีการแบ่งพื้นที่ตามชนิดดินมาตั้งแต่สมัยโบราณ คือตั้งแต่ ๔๑๐๐ ปีก่อนแล้ว



อธิบายเรื่ององค์ประกอบของดิน



เกี่ยวกับการแบ่งดิน



อธิบายเกี่ยวกับลักษณะของดินแต่ละชนิด อธิบายว่าสีของดินที่ต่างกันบอกถึงอะไร



อธิบายการก่อตัวของดิน



ทางนี้อธิบายเรื่องการกัดกร่อนของดิน



การสะสมสารอินทรีย์ภายในดิน



ดินคือรากฐานของระบบนิเวศน์ของโลกนี้




แนวคิดทั่วไปเกี่ยวกับดิน



ความสำคัญของดินในด้านการเกษตร



ตัวอย่างหินที่จะก่อให้เกิดดิน





ตรงนี้อธิบายความแตกต่างระหว่างอักษรคำว่า ถู่ (土) กับ หร่าง (壤) ซึ่งแปลว่าดินเหมือนกัน ต่างกันตรงที่ว่า 土 หมายถึงดินโดยทั่วไป แต่ 壤 มักจะหมายถึงผืนดินหรือที่ดิน คือดินที่เกี่ยวข้องกับผู้คน





ต่อไปก็มาที่อาคาร ๙ ซึ่งเป็นหอจัดแสดงอุปกรณ์เกษตรกรรมพื้นบ้านจีน (中国传统农具馆)



เข้ามาถึงด้านหน้าสุดเห็นกำแพงที่สลักเป็นภาพแสดงการใช้อุปกรณ์การเกษตรของคนสมัยก่อน



ภายในจัดแสดงพวกอุปกรณ์ต่างๆไว้ มีทั้งในตู้และวางอยู่ด้านนอก คล้ายๆกับที่เห็นมาแล้วในอาคาร ๒



อุปกรณ์จัดการกับเสบียง



อุปกรณ์ตวง



หินโม่



หม้อต้มข้าว



หม้อนวดข้าว



นี่ก็สำหรับนวดข้าว



อุปกรณ์สำหรับบรรจุขนถ่าย



อุปกรณ์เก็บเกี่ยว



อุปกรณ์หว่านเมล็ด และปลูกถ่าย



อุปกรณ์ไถนา



แบบจำลองแสดงการเพาะปลูก




ใช้ควายไถนา





สุดท้ายมาที่อาคาร ๑๐ ซึ่งเป็นหอจัดแสดงเกษตรกรรมโบราณในเครื่องปั้นเคลือบลาย (彩陶中的远古农业馆)



ภายในก็มีเครื่องปั้นเคลือบลายโบราณอยู่มากมายในตู้




ดูแต่ละอันสวยงามดี










จอภาพอธิบายการทำเครื่องปั้น



แบบจำลองแสดงการทำเครื่องปั้นของคนในสมัยก่อน



ที่พื้นมีจำลองการขุดเจอในดินอยู่ใต้กระจก



จบแล้ว ดูครบทั้งหมดทุกอาคาร โดยรวมแล้วก็คิดว่าได้อะไรมากมายทีเดียวนะ เสียดายที่ไม่มีเวลาได้เก็บรายละเอียดมากนัก แต่แค่นี้ก็ใช้เวลาไปถึงสองชั่วโมงครึ่งแล้ว เดินจนเมื่อขาไปหมดเลย

ขอเล่านอกเรื่องเรื่อยเปื่อยต่ออีกนิดว่าหลังจากที่เที่ยวชมที่นี่เสร็จเราก็เดินทางต่อไปยังมหาวิทยาลัยชิงหัวเพื่อรับผลสอบวัดระดับภาษาญี่ปุ่น N1 ที่ไปสอบเมื่อธันวาคมปีที่แล้ว ซึ่งเล่าไปใน https://phyblas.hinaboshi.com/20131201

ผลก็ออกมาว่าผ่านเรียบร้อยตั้งแต่ตอนช่วงเดือนกุมภาพันธ์แล้ว แต่ว่าเพิ่งจะสามารถไปรับใบได้ตอนนี้ ในที่สุดก็ได้มาแล้ว ก็หวังว่าจะได้ใช้ประโยชน์ ถึงจะไม่ได้ใช้อะไรแต่ก็เก็บไว้เป็นความภาคภูมิใจได้และก็แสดงให้เห็นถึงผลจากการพยายามมาโดยตลอด



-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ท่องเที่ยว >> พิพิธภัณฑ์
-- ประเทศจีน >> จีนแผ่นดินใหญ่ >> ปักกิ่ง

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

目次

日本による名言集
モジュール
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
機械学習
-- ニューラル
     ネットワーク
javascript
モンゴル語
言語学
maya
確率論
日本での日記
中国での日記
-- 北京での日記
-- 香港での日記
-- 澳門での日記
台灣での日記
北欧での日記
他の国での日記
qiita
その他の記事

記事の類別



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  記事を検索

  おすすめの記事

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

ไทย

日本語

中文