φυβλαςのβλογ
phyblasのブログ
ทวีต
หอพักนักศึกษาเทียตเกน หอพักนักศึกษาที่สวยที่สุดในโลก
เขียนเมื่อ 2014/06/03 03:32
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
#อาทิตย์ 4 พ.ค. 2014
รถไฟออกจากเมืองเฮลซิงเออร์เพื่อไปยังเมืองโคเปนเฮเกน
https://phyblas.hinaboshi.com/20140601
นี่เป็นการมาโคเปนเฮเกนเป็นรอบที่สองแล้ว ถ้านับรวมตอนลงเครื่องบินที่สนามบินด้วยก็ถือเป็นรอบที่สามแล้ว
เนื่องจากเที่ยวเฮลซิงเออร์เสร็จยังเหลือเวลาดังนั้นจึงอยากจะมาเก็บสถานที่เที่ยวที่น่าสนใจอีกแห่งในเมืองนี้ เป็นสถานที่ที่เราเคยได้ยินคนพูดถึงมานานตั้งแต่วางแผนจะมาเที่ยวนี้แล้ว พอรู้ว่าจะได้มาโคเปนเฮเกนก็เลยคิดว่าเป็นสถานที่อันดับแรกที่อยากไปมากที่สุด
สถานที่นั้นไม่ใช่พระราชวังหรือปราสาทหรืออะไร แต่มันคือหอพักนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมดาซึ่งไม่ธรรมดาเพราะว่าการออกแบบที่สวยงาม ถือได้ว่าเป็นหอพักนักศึกษาที่สวยที่สุดแห่งหนึ่งของโลก
นี่คือสถานที่เที่ยวแห่งเดียวในเดนมาร์กที่เรารู้จักและเคยได้ยินชื่อมานานตั้งแต่ก่อนเที่ยว
หอพักนักศึกษาเทียตเกน (Tietgenkollegiet)
ถูกสร้างขึ้นโดยได้รับแรงบันดาลใจมาจากบ้านดิน (土楼) สิ่งก่อสร้างโบราณของชาวจีนฮากกา (客家) ในมณฑลฝูเจี้ยนของจีน สร้างเสร็จในปี 2006
ชื่อเทียตเกนนั้นมาจากชื่อของ
คาร์ล เฟรเดอริก เทียตเกน (Carl Frederik Tietgen)
นักลงทุนชาวเดนมาร์กในศตวรรษที่ 19
เกี่ยวกับบ้านดินที่มณฑลฝูเจี้ยนของจีนนั้นเมื่อก่อนเคยมีเขียนถึงไว้นิดหน่อยตรงที่เล่าถึงบันทึกเที่ยวในมณฑลฝูเจี้ยน ๖ วันแต่ไม่ได้กล่าวถึงโดยละเอียดเพราะจังหวะนั้นไม่มีเวลาเล่า
https://phyblas.hinaboshi.com/20120726
จากลิงก์นี้ดูตรงหัวข้อที่ ๕ จะเป็นรูปของบ้านดินที่หย่งติ้ง สิ่งก่อสร้างรูปทรงกระบอกสวยงามที่จุผู้อยู่อาศัยได้มากมายนี้ ในที่สุดก็ได้กลายมาเป็นแรงบันดาลใจให้สิ่งก่อสร้างยุคปัจจุบัน
ตอนอยู่บนรถไฟระหว่างทางจากเฮลซิงเออร์มาโคเปนเฮเกนเราเกิดอาการปวดหัวขึ้นมาอย่างไม่ทราบสาเหตุ จนตอนแรกคิดว่าสงสัยไปถึงโคเปนเฮเกนแล้วจะไปไหนต่อไปไหวต้องรีบนั่งรถไฟต่อเพื่อกลับทันทีเลย แต่พอทานยาแล้วรู้สึกดีขึ้นนิดหน่อยก็เลยตัดสินใจว่าจะลุยดูแม้จะยังไม่หายดีก็ตาม
หอพักเทียตเกนอยู่ในมหาวิทยาลัยโคเปนเฮเกนวิทยาเขตใต้ ซึ่งอยู่ในเขต
เอร์สแตด (Ørestad)
บนเกาะอามา การเดินทางไปนั้นสามารถนั่งรถเมล์ไปหรือว่านั่งรถไฟใต้ดินไปก็ได้ ไม่ว่าจะวีธีไหนก็ต้องเดินต่ออีกหน่อย ขาไปเราไปโดยนั่งรถเมล์ไป โดยต้องลงที่ป้าย Amagerfælled Skole
แล้วก็มาถึง ได้เห็นหอพักเทียตเกนแล้ว หน้าตาเป็นอย่างนี้เอง
เทียบกับบ้านดินที่อำเภอหย่งติ้งจังหวัดหลงหยานมณฑลฝูเจี้ยน
คลองบริเวณนี้มีเป็ด
อีกมุมนึงจากบนสะพานข้ามคลอง
ขยายเข้าไปดูแต่ละช่องเป็นแต่ละห้องแบบนี้
ชั้นล่างก็จะเห็นว่าเป็นห้องสำหรับทำกิจกรรมต่างๆ
ภายในตัวอาคารจะเป็นสวน ถึงตรงนี้เราคิดว่าคงไม่สามารถเข้าไปด้านในได้ ก็เลยได้แต่ส่องดูจากด้านนอก
ตรงนี้เทียบกับภายในบ้านดินของจีนดูอีกหน่อย
แต่ระหว่างที่เราส่องจากด้านนอกอยู่นั้นก็มีคนเดินผ่านมา น่าจะเป็นนักศึกษาที่พักในนี้ เขาเดินอยู่ในสวนด้านในเห็นเรากำลังยืนมองสวนภายในจากด้านนอกอยู่ก็เลยบอกว่าจะเข้าไปด้านในก็เข้าได้นะ แล้วก็ชี้ทางให้ว่ามีประตูอยู่จุดหนึ่งที่ไม่ได้ล็อก ก็เลยสามารถเดินเข้าไปได้จนได้ ต้องขอบคุณเขาคนนี้ไม่งั้นเราก็คงไม่มีโอกาสได้ชมด้านใน
เทียบกับภายในบ้านดินดูอีกสักรูป
ด้านใน
อีกภาพ
จากมุมใกล้
อันนี้เป็นบ้านดินหลังใหญ่สุด ขอเอามาเทียบด้วย แต่ต่างกันหน่อยตรงที่ไม่มีที่ว่างเป็นสวนตรงกลางแต่จะเป็นอาคารซ้อนอีกชั้นด้านใน แต่แบบนี้อยู่กันอย่างแออัดดูจะไม่ค่อยสบายเท่าไหร่
อาคารนี้มีทั้งหมดเจ็ดชั้น
รูปปั้นของเทียตเกน คนที่เป็นที่มาของชื่ออาคารนี้
แม้จะเข้ามาถึงในสวนด้านในได้ แต่ว่าการเข้าไปยังตัวอาคารก็ไม่สามารถทำได้ สำหรับใครที่อยากชมด้านในนั้นที่จริงแล้วก็สามารถทำได้ แต่ต้องมากับทัวร์เท่านั้น ไม่สามารถเข้าไปเดินเล่นได้ถ้าไม่ใช่คนที่พักอยู่ข้างใน แต่ก็ไม่เป็นไร แค่นี้ก็ได้เห็นมากพอแล้ว
หมดแค่นี้สำหรับหอพักเทียตเกน ก็ถือว่าเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงเสน่ห์ของสถาปัตยกรรมจีน แม้อะไรๆหลายอย่างจะต่างออกไปมาก ดูทันสมัยกว่ามาก แต่เค้าโครงก็ยังคงเป็นเช่นเดียวกัน ใครสนใจสถาปัตยกรรมสวยๆก็ขอแนะนำให้แวะมาชมที่นี่ให้เห็นกับตาตัวเองสักครั้ง
หลังจากชมเสร็จที่เหลือก็ไม่มีอะไร เดินดูอาคารรอบๆบริเวณอีกสักพักแล้วก็ไป พวกนี้ก็เป็นอาคารของมหาวิทยาลัยโคเปนเฮเกน
ขากลับเราเดินไปอีกเส้นทางหนึ่งที่ต่างจากตอนขามาเพื่อที่จะกลับโดยนั่งรถไฟใต้ดินแทน
ป้ายรถไฟใต้ดินของสถานีที่ใกล้ที่สุด คือสถานี Islands Brygge
ทางเข้าสู่รถไฟใต้ดินเป็นบันไดลงทื่อๆแบบนี้เลย ไม่ได้สร้างเป็นอาคารเหมือนอย่างของสถานีส่วนใหญ่ในกรุงเทพฯหรือปักกิ่ง
ลงมาก็ถึงชานชลาที่รอรถไฟทันทีเลย ไม่ต้องผ่านจุดตรวจบัตร ที่ขายบัตรก็อยู่ตรงนั้นพอซื้อบัตรเสร็จก็เดินขึ้นรถไฟได้เลย บนรถไฟไม่มีใครตรวจบัตรด้วย ในภาพนี้คือที่สถานี Nørreport ซึ่งเป็นสถานีที่ต้องแวะมาเปลี่ยนรถ
รถไฟมาแล้ว
บนรถไฟ
แล้วรถไฟก็เดินไปถึงสถานีรถไฟกลางโคเปนเฮเกน ที่แท้แล้วรถไฟใต้ดินที่นี่ก็ใช้รางร่วมกับรถไฟสายหลัก สถานีคือสถานีเดียวกัน
นี่ก็เย็นมากแล้ว หกโมงกว่า แต่กว่าจะได้กินข้าวก็ต้องรอกลับถึงที่พักก่อน ดังนั้นเลยแวะ 7-11 ซื้อขนมรองท้องสักหน่อย
ขนมนี้อร่อยมาก คล้ายๆเลย์แต่ว่าเค็มกว่า
น้ำแอปเปิลมะนาว อร่อย
จากนั้นเราก็นั่งรถไฟเพื่อกลับไปยังเมืองคริครานสตา
สำหรับวันนี้ไม่ต้องกลับไปบ้านที่หมู่บ้านเดเกแบร์ยาเหมือนอย่างวันอื่น แต่กลับไปที่หมู่บ้านฟูรูบูดาที่เราพักอยู่โดยตรงเลย เพราะวันนี้พอดีว่าพ่อแม่ของสามีซึ่งพักอยู่ที่บ้านข้างๆกันในฟูรูบูดาเขาไม่อยู่ ก็ใช้ครัวในห้องเขาทำหารแทน
รถไฟที่เราขึ้นนั้นออกเวลา 18:52 และถึงตอนเวลา 20:32 แน่นอนว่าฟ้ายังสว่างอยู่เลย จากนั้นก็ไปรอรถบัสสาย 551 เพื่อจะกลับไปยังหมู่บ้านฟูรูบูดา
โชคดีรถมีรอบ 20:41 พอลงจากรถไฟก็ไปขึ้นรถบัสได้ทันทีเลย กว่าจะไปถึงก็ประมาณสามทุ่มครึ่ง
หลังจากนั้นก็ทานอาหารมื้อเย็น แล้วก็ไปพักผ่อน เที่ยววันนี้ก็จบลงเท่านี้
หลังจากนี้ก็ไม่ได้ข้ามกลับไปเที่ยวเดนมาร์กอีกแล้ว ที่จริงแล้วเดนมาร์กแม้จะเป็นประเทศเล็กๆแต่ว่ามีที่เที่ยวมากมายทีเดียว แค่ในโคเปนเฮเกนเมืองเดียวก็น่าจะต้องเที่ยวหลายวันแล้ว และยังมีอีกหลายเมืองน่าไป อย่างไรก็ตามครั้งนี้จุดประสงค์หลักในการมาเที่ยวคือสวีเดน ที่แวะมาเดนมาร์กก็เพื่อมาเปิดหูเปิดตาให้ได้รู้จักเพิ่มอีกประเทศเท่านั้น จึงไม่ได้เที่ยวแบบเน้นมาก ขอแค่ที่หลักๆ
หากมีโอกาสละก็ครั้งหน้าอาจจะมาลองเที่ยวเดนมาร์กแบบเน้นๆหลายๆวันดู ต้องสนุกแน่นอน สำหรับวันต่อๆไปที่เหลือจะเป็นการเที่ยวไปตามเมืองต่างๆของสวีเดน ติดตามกันต่อไปได้
https://phyblas.hinaboshi.com/20140605
ทวีต
-----------------------------------------
囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧
ดูสถิติของหน้านี้
หมวดหมู่
--
ต่างแดน
>>
ยุโรป
>>
เดนมาร์ก
--
ท่องเที่ยว
>>
รถไฟ
ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ
三
~ 自己紹介 ~
目次
日本による名言集
python
モジュール
-- numpy
-- matplotlib
-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
機械学習
-- ニューラル
ネットワーク
javascript
モンゴル語
言語学
maya
確率論
日本での日記
中国での日記
-- 北京での日記
-- 香港での日記
-- 澳門での日記
台灣での日記
北欧での日記
他の国での日記
qiita
その他の記事
記事の類別
==เลือกหมวด==
ดาราศาสตร์
คณิตศาสตร์
-ความน่าจะเป็น
คอมพิวเตอร์
-เขียนโปรแกรม
--python
---numpy
---scipy
---matplotlib
---pandas
---manim
---pyqt
---sklearn
---pytorch
---mayapython
--ruby
--javascript
--dart
--MATLAB
--SQL
--regex
--opencv
-shell
-3D
--maya
--MMD
-microsoft_office
-pdf
-ปัญญาประดิษฐ์
--โครงข่ายประสาทเทียม
--สเตเบิลดิฟฟิวชัน
---comfyui
-การสุ่ม
ภาษาศาสตร์
-ตัวอักษร
-เรียนภาษา
-หลักเกณฑ์การทับศัพท์
-ภาษาจีน
--ภาษาจีนกลาง
-ภาษาญี่ปุ่น
-ภาษามองโกล
-ภาษาลาว
-ภาษาเขมร
ประวัติศาสตร์
-ประวัติศาสตร์จีน
-ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น
ปรัชญา
ประเทศจีน
-จีนแผ่นดินใหญ่
--ปักกิ่ง
--เทียนจิน
--เหลียวหนิง
--เหอเป่ย์
--เหอหนาน
--ซานตง
--ซานซี
--อานฮุย
--เจ้อเจียง
--หูเป่ย์
--หูหนาน
--ฝูเจี้ยน
--กวางตุ้ง
---แต้จิ๋ว
--ยูนนาน
--ซินเจียง
-ฮ่องกง
-มาเก๊า
-ไต้หวัน
--ไทเป
--จีหลง
--เถาหยวน
--ซินจู๋
--เหมียวลี่
--ไถจง
--จางฮว่า
--หยวินหลิน
--เจียอี้
--ไถหนาน
--เกาสยง
--ผิงตง
--อี๋หลาน
ประเทศญี่ปุ่น
-ฮกไกโด
-อาโอโมริ
-อิวาเตะ
-มิยางิ
-อากิตะ
-ยามางาตะ
-ฟุกุชิมะ
-อิบารากิ
-โทจิงิ
-กุมมะ
-ไซตามะ
-จิบะ
-โตเกียว
-คานางาวะ
-นีงาตะ
-โทยามะ
-อิชิกาวะ
-ฟุกุอิ
-ยามานาชิ
-นางาโนะ
-กิฟุ
-ชิซึโอกะ
-ไอจิ
-มิเอะ
-ชิงะ
-เกียวโต
-โอซากะ
-เฮียวโงะ
-นาระ
-วากายามะ
-โอกายามะ
-ฮิโรชิมะ
-ยามางุจิ
-ฟุกุโอกะ
ต่างแดน
-อุษาคเนย์
--กัมพูชา
--พม่า
--สิงคโปร์
-ยุโรป
--สวีเดน
--เดนมาร์ก
--ฟินแลนด์
ท่องเที่ยว
-มหาวิทยาลัย
-พิพิธภัณฑ์
--พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์
--หอศิลป์
-สวนสัตว์
--พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ
-ท้องฟ้าจำลอง
-ตึกระฟ้า
-ปราสาท☑
--ปราสาทญี่ปุ่น
--ปราสาทขอม
--ปราสาทยุโรป
-ศาสนสถาน
--วัด
--ศาลเจ้า
--โบสถ์
--มัสยิด
-สุสาน
-มรดกโลก
-ทะเล
-ทะเลสาบ
-ภูเขา
-หิมะ
-ดอกซากุระ
-แมว
-รถไฟ
-เรือ
-ตลาดกลางคืน
-งานเทศกาล
-ที่ระลึกภัยพิบัติ
-ตามรอย
บันเทิง
-เกม
--อาเตอลีเย
--โปเกมอน
--caligula
--vn
-อนิเมะ
-มังงะ
-นิยาย
-เพลง
--เพลงอนิเมะ
--เพลงเกม
เรื่องแต่ง
บันทึก
ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ
記事を検索
最新記事
วัดโทวโจวและศาลเจ้าคุชิดะกับฮากาตะคาแนลซิตีฮากาตะในย่านเมืองเก่าฮากาตะ
ปราสาทฟุกุโอกะกับศาลเจ้าโกโกกุและหอจัดแสดงโควโระกัง
สวนสาธารณะโอโฮริล้อมรอบทะเลสาบกลางเมืองฟุกุโอกะ
วันสุดท้าย นั่งรถไฟความเร็วสูงจากเซินเจิ้นสุ่กว่างโจวเพื่อขึ้นเครื่องบินกลับ
เดินเล่นที่สถานีเซินเจิ้นและด่านหลัวหูผ่านสู่ฮ่องกงในยามค่ำคืน
おすすめの記事
ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ
月別記事
2024年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2023年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2022年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2021年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2020年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
もっと前の記事
ไทย
日本語
中文